กระยาสารทมอกล้วยไข่กำแพงเพชร

กระยาสารทมอกล้วยไข่กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้ชม 3,289

[16.38366, 99.523922, กระยาสารทมอกล้วยไข่กำแพงเพชร]

บทนำ
         กระยาสารท เป็นขนมที่พบได้โดยทั่วไป ถือเป็นภูมิปัญญาไทยในการถนอมอาหาร และที่กำแพงเพชรได้มีการกวนกระยาสารทกันมาอย่างยาวนาน ในอดีตมีการกวนกันเกือบทุกบ้าน จะไม่มีจำหน่าย แต่จะแจกกันเมื่อกวนแล้ว ส่วนสำคัญจะนำไปถวายพระเนื่องในวันสำคัญต่างๆ ปัจจุบันนิยมทำกินกันในช่วงเทศกาลสารทไทยระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปีที่กำแพงเพชร กำแพงเพชรเป็นเมืองกล้วยไข่จึงมีกล้วยไข่เป็นเครื่องเคียงที่อร่อยมาก ที่ชุมชนอนันตสิงห์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชุมชนอนันต์สิงห์ได้รวมตัวกันกวนกระยาสารทเพื่อจัดจำหน่ายวันละหลายกระทะ มีรสชาติอร่อยหวานมัน หาที่เปรียบเทียบได้ยาก และได้มีการสาธิตการกวนกระยาสารทด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดียิ่ง เพราะมีความภูมิใจในอาชีพนี้เป็นอย่างยิ่ง นับว่าน่ายกย่องแม่บ้านกลุ่มนี้ที่สุดบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติความเป็นมา 2) เครื่องปรุง และ 3) ขั้นตอนการทำ

ความสำคัญของกระยาสารท
         กระยาสารท คือ ขนมไทยจังหวัดกำแพงเพชร พอถึงช่วงเทศกาลก็จะมีการทำขนมกระยาสารทและชาวจังหวัดกำแพงเพชรก็จัดงานประจำปีคือ งานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่และของดีเมืองกำแพง เป็นงานประจำปีของชาวกำแพงเพชรและวันสารทไทย ชาวกำแพงเพชรก็ต่างพากันเข้าร่วมทำบุญวันสารทไทยกล้วยไข่ประจำปี และมีของสำคัญที่นำมาทำบุญก็คือขนมกระยาสารทไทย กระยาสารท (/กระยาสาด/) เป็นขนมไทย ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว และน้ำตาล มักทำกันมากในช่วงสารทไทย แรม 15 ค่ำ ปลายเดือน 10 และบางท้องถิ่นนิยมรับประทานกับกล้วยไข่ มีกล่าวถึงในนิราศเดือนว่า ขนมกระยาสารทเป็นขนมโบราณ มีความพิเศษตรงที่เป็นขนมสำหรับงานบุญประเพณีของไทยเรียกได้ว่าเป็นขนมที่มีประเพณีและวันเวลาเป็นของตัวเองชัดเจนมากเลยทีเดียว (วิกิพีเดีย, 2549)

ประวัติความเป็นมา
         กระยาสารท เป็นขนมที่พบได้โดยทั่วไป ถือเป็นภูมิปัญญาไทยในการถนอมอาหาร และที่กำแพงเพชรได้มีการกวนกระยาสารทกันมาอย่างยาวนาน ในอดีตมีการกวนกันเกือบทุกบ้าน จะไม่มีจำหน่าย แต่จะแจกกันเมื่อกวนแล้ว ส่วนสำคัญจะนำไปถวายพระเนื่องในวันสำคัญต่าง ๆ ปัจจุบันนิยมทำกินกันในช่วงเทศกาลสารทไทยระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปีที่กำแพงเพชร กำแพงเพชรเป็นเมืองกล้วยไข่ จึงมีกล้วยไข่เป็นเครื่องเคียงที่อร่อยมาก กล้วยไข่ที่กำแพงเพชรมีมานานแล้วมิใช่พึ่งมีเหมือนดังที่เข้าใจกัน และประเพณีสารทไทยกล้วยไข่นั้นคู่กับกำแพงเพชรมานับร้อยปี (ณัฐศิมา  รอดอุนา, ม.ป.ป.)
         สอนให้เยาวชนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงความเป็นมาเป็นการสร้างคุณค่าทางด้านจิตใจให้ผลิตภัณฑ์กระยาสารท นอกเหนือคุณค่าทางโภคชนาการจะเป็นยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้ดีขึ้นอย่างมั่นคง ที่ชุมชนอนันตสิงห์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชุมชนอนันต์สิงห์ได้รวมตัวกันกวนกระยาสารทเพื่อจัดจำหน่ายวันละหลายกระทะ มีรสชาติอร่อยหวานมัน หาที่เปรียบเทียบได้ยาก นางทองล้วน นาควังไทร ประธานกลุ่ม ได้มีการสาธิตการกวนกระยาสารท ด้วยอัธยาศัย ไมตรีอันดียิ่ง ท่านเล่าว่า ได้กวนกระยาสารทมาหลายสิบปีแล้ว จึงมีความภูมิใจในอาชีพนี้เป็นอย่างยิ่ง นับว่าน่ายกย่องแม่บ้านกลุ่มนี้ที่สุด (ณัฐศิมา  รอดอุนา, ม.ป.ป.)
         กระยาสารท นับว่าเป็นภูมิปัญญาที่คู่กับชาติไทย คู่กับกำแพงเพชร อย่างไม่เสื่อมคลาย แม้การกวนกระยาสารทจะผ่านมาหลายร้อยปีแล้ว ความทรงจำยังอยู่คู่กำแพงเพชรคู่ชาติไทยไปตลอดกาล ไม่เสื่อมคลาย(ณัฐศิมา  รอดอุนา, ม.ป.ป.)
         อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์ มีเปรตตนหนึ่งปลอมตัวเป็นพระสงฆ์เข้าเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรู เปรตตนนั้นได้เผยความจริงว่า ตนเคยเป็นพระสงฆ์แต่มีความโลภจึงต้องชดใช้กรรมเป็นเปรต แล้วเปรตตนนั้นก็ขอให้พระองค์พระราชทานกระยาสารท ซึ่งปรุงแต่งด้วยของ 7 อย่าง ได้แก่ น้ำตาล น้ำผึ้ง ถั่ว งา ข้าวตอก ข้าวเม่า น้ำนมวัว เพื่อประทังความหิวโหย ดังนั้นในวันรุ่งขึ้นตรงซึ่งกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 พระเจ้าอชาตศัตรูจึงทำขนมกระยาสารทแล้วกรวดน้ำอุทิศให้แก่เปรตตามที่ขอไว้ (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี, 2561)
         ในพิธีสารทมีการนำอาหารเทศกาลสารทไปถวายเป็นภัตตาหารแด่พระสงฆ์เพื่อเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษและผู้ล่วงลับของครอบครัว ต่อมาภายหลังจึงได้กลายเป็นเทศกาลทำบุญที่ปฏิบัติกันทั่วทุกภูมิภาคในสังคมไทย เช่น ประเพณีชิงเปรตในภาคใต้ การทำบุญข้าวสารทในภาคอีสาน เป็นต้น สำหรับธรรมเนียมการปรุงอาหารจากพืชพันธุ์ธัญญาหารแรกเก็บเกี่ยวในเทศกาลสารทนั้น ถือว่าเป็นการประกอบอาหารที่มีความประณีตเพื่อแสดงความสักการะต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือพระพุทธคุณ โดยมีความพิถีพิถันแตกต่างกันไปตามลำดับชั้นของผู้ประกอบพิธีกรรมด้วย ในพระราชพิธีสารทของหลวงจะมีการปรุงอาหารที่ประณีตกว่า มีธรรมเนียมการปรุงอาหารในวันสารทที่ชื่อว่า ข้าวทิพย์ ซึ่งเป็นอาหารโบราณในพระราชพิธีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยนำพืชพันธุ์ธัญญาหารต่าง ๆ อาทิ ข้าว ถั่ว งา น้ำผึ้ง น้ำอ้อย รวมถึงผลไม้ชั้นดีชนิดต่าง ๆ มากวนในกระทะให้เป็นเนื้อเดียวกันจนได้เป็นขนมเหนียวๆ ข้าวทิพย์มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มธุปายาส ซึ่งเปรียบเป็นอาหารที่นางสุชาดาถวายแด่พระพุทธเจ้าก่อนที่พระพุทธองค์จะตรัสรู้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้เพิ่มอาหารอีกชนิดหนึ่งในพระราชพิธีสารทคือ ข้าวยาคู ทำจากข้าวที่แตกรวงอ่อนๆ ซึ่งข้าวยังไม่แข็งเป็นเมล็ดคั้นออกมาเป็นน้ำข้าวที่เรียกว่า น้ำนมข้าว แล้วนำไปผสมกวนกับแป้งให้จับตัวเป็นก้อน ได้ขนมที่มีลักษณะคล้ายแป้งเปียกรับประทานกับน้ำนมหรือกะทิ เนื่องจากปัจจุบันราชสำนักได้ยกเลิกพระราชพิธีสารท จึงไม่ค่อยพบเห็นอาหารทั้ง 2 ชนิดนี้แล้ว สำหรับอาหารในเทศกาลสารทที่เป็นธรรมเนียมการปรุงของชาวบ้านโดยทั่วไป เรียกว่า กระยาสารท ซึ่งเป็นอาหารประเภทเดียวกับข้าวทิพย์ของราชสำนัก โดยเป็นการกวนพืชพันธุ์ธัญญาหารชนิดต่าง ๆ รวมเข้าด้วยกัน แต่กระยาสารทมีส่วนประกอบน้อยกว่าและไม่ใช้เวลาในการกวนส่วนประกอบนานจนกลายเป็นเนื้อเดียว โดยใช้ข้าวตอกที่ได้จากการคั่วข้าวเหนียวทั้งเปลือกให้แตก ถั่วลิสง งาขาว และข้าวเม่า กวนรวมกับน้ำอ้อยและกะทิ ได้เป็นขนมกรอบรสชาติหอมหวาน นิยมทานคู่กับกล้วยไข่เพื่อตัดรสหวานปัจจุบันสามารถ หากระยาสารทรับประทานได้ตลอดปี เนื่องจากทั่วทุกภูมิภาคนิยมทำกระยาสารทเป็นสินค้าจำหน่ายตามท้องถิ่น ซึ่งมีการเพิ่มเติมส่วนประกอบอื่น ๆ เพื่อให้ได้รสชาติและจุดขายที่แตกต่างกัน อาทิ ผลไม้แห้งต่าง ๆ เม็ดมะม่วงหินพาน หรือปรุงด้วยน้ำใบเตยเพื่อเพิ่มความหอมของขนม (สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561) ส่วนตำราความเชื่อของขนมกระยาสารทมีอยู่ 2 ตำราด้วยกัน ตำราหนึ่งกล่าวว่า มีพี่น้องอยู่สองคนชื่อ มหากาลผู้พี่ และจุลกาลผู้น้อง ทั้งสองทำการเกษตรกรรมร่วมกันคือ ปลูกข้าวสาลีบนที่ผืนเดียวกัน จุลกาลนั้นเห็นว่าข้าวสาลีที่กำลังท้องนั้นมีรสหวานอร่อย ก็เลยอยากนำข้าวนั้นไปถวายแด่พระสงฆ์ จึงปรึกษากับมหากาลพี่ชาย แต่มหากาลไม่เห็นด้วย มหากาลจึงแบ่งที่ดินออกเป็น 2 ส่วน เพื่อให้ต่างคนต่างนำข้าวไปใช้กิจอันใดก็ได้ จุลกาลจึงนำเมล็ดข้าวที่กำลังตั้งท้องมาผ่า แล้วต้มกับน้ำต้มสด ใส่เนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายกรวด เมื่อเสร็จแล้วจึงนำไปถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อถวายภัตตาหารเหล่านี้แด่พระสงฆ์ จุลกาลได้ทูลความปรารถนาของตนกับพระพุทธเจ้าว่า ขอให้ตนบรรลุธรรมวิเศษก่อนใคร และเมื่อกลับบ้านไป ก็พบว่านาข้าวสาลีของตนนั้นออกรวงอุดมสมบูรณ์สวยงาม จนเก็บเกี่ยวไป 9 ครั้งก็ยังอุดมสมบูรณ์อยู่อย่างนั้นตลอดไป (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี, 2561)
         กระยาสารทเป็นอาหารหวานที่เป็นสัญลักษณ์ของวันสารทไทยตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นเทศกาลทำบุญเดือน 10 ของประเทศไทย ซึ่งคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธจะทำอาหารคาวหวานไปทำบุญให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
         หมู่บ้านได้มีประเพณีสืบทอดการกวนกระยาสารทในช่วงเดือนสิบของทุกปี โดยทุกครัวเรือนจะกวนกระยาสารทเพื่อไปทำบุญ ต่อมาไม่นิยมกวนกระยาสารทกันเหมือนสมัยก่อน แต่มีความต้องการใช้ทุกครัวเรือนเลยมีการตั้งกลุ่มกวนกระยาสารทแม่บ้านตะเคียนงาม ขึ้นในปี พ.ศ.2539 และเข้าสู่การแข่งขันกวนกระยาสารทในงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง โดยสำนักงานเกษตรอำเภอลานกระบือ ในปี พ.ศ.2550 ชนะเลิศ การกวนกระยาสารท ประเภทรสชาด (องค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมา, 2561)
         ชูเกียรติ์ ดวงชาถม (สัมภาษณ์, 9 กันยายน 2564) พบว่า กระยาสารทถือเป็นประเพณีนิยมมาแต่โบราณกาลว่าเทศกาลทำบุญสิ้นเดือน 10 คือ วัน เวลา เดือนและปี ที่ผ่านพ้นไปกึ่งปี และโดยที่มนุษย์ชาติดำรงอยู่ได้ด้วยเกษตรกรรมเป็นหลักสำคัญ เมื่อถึงกึ่งปีเป็นฤดูกาลที่ข้าวออกรวงเป็นน้ำนมจึงได้มีกรรมวิธี   ปรุงแต่งที่เรียกกันว่า กวนข้าวทิพย์หรือข้าวปายาสข้าวยาคูและขนมชนิดหนึ่งเรียกว่ากระยาสารทแล้วประกอบการบำเพ็ญ กุศล ถวายพระสงฆ์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนาทั้งอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนผู้มีพระคุณ และแจกสมนาคุณญาติมิตรตามคติที่ชาวไทยเป็นพุทธศาสนิกชนแม้จะเป็นประเพณีที่มีส่วนมาจากลัทธิ พราหมณ์ ชาวไทยก็นิยมรับเพราะเป็นประเพณีในส่วนที่มีคุณธรรมอันดีพึงยึดปฏิบัติ ประเพณีวันสารทตรงกับ วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 อาหารหวานที่ใช้ถวายพระในวันนั้น คือกระยาสารท ในอดีตเมื่อถึงเทศกาลสารทไทยจะมีการกวนกระยาสารทแข่งกันเป็นที่สนุกสนาน และตามธรรมเนียมแล้วคนรุ่นเก่าจะนิยมนำกระยาสารท   ซึ่งถือเป็นขนมชั้นดีไปมอบให้ผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือหรือแลกกันกินเป็นการประชันฝีมือกันอีกด้วยและถ้าจะกินกระยาสารทให้ครบเครื่องจริง ๆ จะต้องมีมะพร้าวขูดโรยบนกระยาสารทและกินคู่กับกล้วยไข่การทำบุญในเทศกาลสารทนี้ทั่วทุกภูมิภาคของไทยจะทำบุญวันสารทไทยเหมือนกันแต่เรียกชื่อต่างกันไปในภาคใต้เรียกประเพณีชิงเปรต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกทำบุญข้าวสารท ภาคเหนือเรียก ตาลก๋วยสลาก
         กระยาสารท เป็นขนมไทย ทำจากถั่วงา ข้าวคั่ว และน้ำตาล มักทำกันมากในช่วงกระยาสารทไทย แรม 15 ค่ำ ปลายเดือน 10 และบางท้องถิ่นนิยมรับประทานกับกล้วยไข่ มีกล่าวถึงในนิราศเดือนว่า ขนมกระยาสารทเป็นขนมโบราณ มีความพิเศษตรงที่เป็นขนมสำหรับงานบุญประเพณีของไทย เรียกได้ว่าเป็นขนมที่มีประเพณี และวันเวลาเป็นของตัวเองชัดเจนมากเลยทีเดียว จนอาจจะทำให้หลายคนนึกสงสัยขึ้นมาได้ ว่าทำไมขนมกระยาสาทรหอมหวานที่เป็นแพเหนียว ๆ นี้ จึงมีความสำคัญมากเสียจนต้องจัดพิธีทำบุญด้วยขนมกระยาสารท แม้ขนมกระยาสารทจะเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่รากศัพท์ของคำว่าสารทจริง ๆ แล้วเป็นคำในภาษาอินเดีย มีความหมายว่า ฤดูใบไม้ร่วง หรือช่วงระยะปลายฝนต้นหนาว ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับฤดูการผลิดอกออกผลของพืชพันธุ์ โบราณจึงถือกันวาควรจะนำผลผลิตเหล่านั้นมาถวายแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นการสักการะ และขอพรให้พืชของตนออกดอกออกผลดกดี และประเพณีนี้ก็มีในแถบประเทศจีนและตอนเหนือของยุโรปด้วย แต่สำหรับไทยแล้วประเพณีนี้มาแพร่หลายในช่วงสมัยสุโขทัย พร้อม ๆ กับพราหมณ์ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในไทย แต่ช่วงเวลาของประเพณีตามอินเดีย เป็นช่วงเวลาที่ตรงกับระยะข้าวเริ่มออกรวงของไทย ชาวบ้านจึงเกี่ยวข้าวที่ยังมีเปลือกอ่อน ๆ และเมล็ดยังไม่แก่ เอามาคั่วแล้วตำให้เป็นเมล็ดข้าวแบน ๆ เรียกว่า ข้าวเม่าแทน (วิกิพีเดีย, ม.ป.ป.)

เครื่องปรุงและขั้นตอนการทำ
        1. ข้าวตอก 1 ½ กิโลกรัม
        2. ถั่วลิสง 6 กิโลกรัม
        3. งาขาวคั่ว 5 กิโลกรัม
        4. ข้าวเม่า 12 กิโลกรัม
        5. แบะแซ 8 กิโลกรัม
        6. น้ำตาลปี๊บ 15 กิโลกรัม
        7. กะทิ 12 กิโลกรัม

ขั้นตอนการทำ
         เตรียมของ กระบวนการทำ
         การสัมภาษณ์ ชูเกียรติ์ ดวงชาถม ถึงขั้นตอนการทำส่วนผสมของขนมกระยาสารท ประกอบด้วย กะทิ น้ำตาลมะพร้าว แบะแซ นมข้น นมสด เนย ข้าวเม่าคั่ว ถั่วลิสง งาขาว และมะนาว
         วิธีการ
         1. นำน้ำตาลลงกวนให้ละลายมีกลิ่นหอมก่อน
         2. จากนั้นก็ใส่กะทิลงไปกวน พร้อมกับเติมแบะแซนมข้นนมสดและเนยลงไป ที่สำคัญคือต้องบีบมะนาวลงไปด้วย
         3. เคี่ยวนาน 1 ชั่วโมงเศษ ๆ จนเหนียวข้น สีของส่วนผสมต้องไม่เข้มเกินไปเพราะจะทำให้อาหารดูไม่สวยไม่น่ารับประทาน
         4. จากนั้นยกลงมาตั้งให้เย็น ส่วนข้าวเม่าคั่ว ถั่วลิสง ถั่วและงาขาว ทุกอย่างต้องคั่วให้สุก
         5. จากนั้นนำมาอบควันเทียนให้มีกลิ่นหอม
         6. แล้วนำมาเทใส่กระทะคลุกเคล้ากับน้ำกะทิที่เคี่ยวจนได้ที่แล้ว
         7. ก็จะกลายเป็นขนมกระยาสารทที่มีรสชาติอร่อย กรอบ หอม มัน หวานน้อย ร่วน สีสวยออกน้ำตาลอ่อนเหลืองนวล ๆ
         8. นำส่วนผสมที่คั่วไว้แล้ว เทลงในกระทะน้ำกะทิ คนให้เข้ากัน
         9. แล้วทิ้งไว้ให้อุ่น
         10. จึงตัดเป็นแผ่นๆ
         11. หรือ บรรจุใส่ถุง หรือภาชนะที่เหมาะสม สามารถเก็บไว้ได้นาน

บทสรุป
         จากการศึกษาเรื่อง กระยาสารทมอกล้วยไข่กำแพงเพชร มีวัตถุประสงค์ 1) ความสำคัญของกระยาสารท พบว่า กระยาสารทเป็นขนมไทยชนิดหนึ่งที่ดำรงคงอยู่คู่พระพุทธศาสนาเกี่ยวพันกับประเพณีความเชื่อถือใน วิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย การผลิตกระยาสารทล้วนเป็นผลผลิตของเกษตรที่มีคุณค่าทางโภชนาการแต่เดิมจะมีการกวนกระยาสารทกันเฉพาะในเดือนสิบเพื่อเป็นการทำบุญประเพณีวันสารทอาจจะเป็นเพราะแต่เดิมมีการปลูกข้าวเพียงปีละหน จึงมีวัตถุดิบที่เหมาะสมเพียงปีละครั้ง 2) จากการสัมภาษณ์ประวัติความเป็นมาของกระยาสารทพบว่า ที่กำแพงเพชรได้มีการกวนขนมกระยาสารทกันมาอย่างยาวนาน ในอดีตมีการกวนกันเกือบทุกบ้าน จะไม่มีจำหน่าย แต่จะแจกกันเมื่อกวนแล้ว แล้วจึงนำไปถวายพระเนื่องในวันสำคัญต่าง ๆ ปัจจุบันกระยาสารทนิยมทำกินกันในช่วงเทศกาลสารทไทย ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม ของทุกปี และกำแพงเพชรเป็นเมืองกล้วยไข่ จึงมีกล้วยไข่เป็นเครื่องเคียงรับประทานคู่กับกระยาสารทเสมอ กล้วยไข่ที่กำแพงเพชรมีมานานแล้ว มิใช่พึ่งมีเหมือนดังที่เข้าใจกัน และประเพณีสารทไทยกล้วยไข่นั้นคู่กับกำแพงเพชรมานับร้อยปี นอกจากนี้ เครื่องปรุงและขั้นตอนการปรุง จะมีสูตรเฉพาะร้านเพื่อให้มีเอกลักษณ์แปลกใหม่เป็นที่น่าจดจำ กระยาสารท นับว่าเป็นภูมิปัญญาที่คู่กับชาติไทย คู่กับกำแพงเพชร อย่างไม่เสื่อมคลาย จากการสำรวจสรุปได้ว่า แม้การกวนกระยาสารทจะผ่านมาหลายร้อยปีแล้ว ความทรงจำ ยังอยู่คู่กำแพงเพชรคู่ชาติไทยไปตลอดกาล ไม่เสื่อมคลายอีก ในพิธีสารทจึงมีการนำอาหารเทศกาลสารทไปถวายเป็นภัตตาหารแด่พระสงฆ์ เพื่อเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษและผู้ล่วงลับของครอบครัว ต่อมาภายหลังจึงได้กลายเป็นเทศกาลทำบุญที่ปฏิบัติกันทั่วทุกภูมิภาคในสังคมไทย เช่น ประเพณีชิงเปรตในภาคใต้ การทำบุญข้าวสารทในภาคอีสานปัจจุบันสามารถหากระยาสารทรับประทานได้ตลอดปี เนื่องจากทั่วทุกภูมิภาคนิยมทำกระยาสารทเป็นสินค้าจำหน่ายตามท้องถิ่น ซึ่งมีการเพิ่มเติมส่วนประกอบอื่น ๆ เพื่อให้ได้รสชาติและจุดขายที่แตกต่างกัน อาทิ ผลไม้แห้งต่าง ๆ เม็ดมะม่วงหินพาน หรือปรุงด้วยน้ำใบเตยเพื่อเพิ่มความหอมของขนม

คำสำคัญ : กระยาสารท

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=กระยาสารทมอกล้วยไข่กำแพงเพชร

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). กระยาสารทมอกล้วยไข่กำแพงเพชร. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610008&code_type=01&nu=pages&page_id=2083

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2083&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

ขนมทองเอก

ขนมทองเอก

ขนมทองเอกเป็นขนมที่มีใช้ในงานบุญพิธีบวงสรวงและงานมงคลต่างๆ เพราะชื่อของขนมปะเภทนี้นั้นมีความหมายที่ดี เช่น ทองเอก และ เสน่ห์จันทร์ ผู้ทำจะต้องมีความชำนาญประณีตละเอียดอ่อนเนื่องด้วยเป็นขนมที่ใช้ออกงานเป็นหลัก ต้องรักษาลักษณะและสีของขนมไว้ตามแบบโบราณ

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,169

ขนมไข่นกกระทา

ขนมไข่นกกระทา

ขนมไข่นกกระทา คือ ขนมชนิดหนึ่ง เป็นขนมที่นิยมมากในอดีตตั้งแต่สมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา แม้กระทั่งรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบันเพราะสามารถทำได้ง่าย ราคาถูก และมีรสชาติติดปาก รับประทานง่าย มีลักษณะเป็นก้อนกลม สีเหลืองอ่อน ทำด้วยแป้งมัน แล้วนำไปทอด รสชาติหอมหวานมัน ข้างนอกจะแข็ง ข้างในนุ่ม

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 7,908

แกงหยวกกล้วยไข่กับเมี่ยงนครชุม

แกงหยวกกล้วยไข่กับเมี่ยงนครชุม

จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่อยู่ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบนทำให้ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตได้รับการผสมผสานจากทั้งภาคเหนือ (ล้านนา) และภาคกลาง (อยุธยาและสุโขทัย) ซึ่งแสดงออกในหลาย ๆ อย่าง อาทิ ประเพณี วัฒนธรรม โดยเฉพาะอาหาร อย่างเมี่ยงคำหรือเมี่ยงลาว เป็นต้น เมี่ยงเป็นอาหารที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษโดยการย้ายถิ่นฐานของผู้คนที่มาจากภาคเหนือและภาคอีสาน แต่เมื่อย้ายถิ่นมาอยู่กำแพงเพชรเป็นเวลานานก็เริ่มผสมผสานความเป็นภาคกลางเข้าไปในอาหารหรือแม้แต่วิธีการกิน รวมถึงส่วนประกอบที่นำมาใช้ในการทำเมี่ยง นอกจากเมี่ยงแล้วเมื่อมาจังหวัดกำแพงเพชร คนส่วนใหญ่จะนึกถึงกล้วยไข่กำแพงเพชร เนื่องจากกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชรนั้น มีลักษณะเด่นที่ลูกเล็กกำลังดี มีกลิ่นหอมและรสชาติหวาน แขกบ้านแขกเมืองจึงนิยมนำกล้วยไข่ไปเป็นของฝาก สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรมีการปลูกกล้วยไข่อยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อมีกล้วยสุกเป็นจำนวนมากชาวบ้านจึงคิดหาวิธีที่จะนำกล้วยมาทำเป็นอาหารประเภทต่าง ๆ เพื่อให้คนในครอบครัวไม่เกิดความเบื่อหน่ายจากการรับประทานอาหารชนิดเดิมซ้ำ ๆ ก่อเกิดเป็นแกงหยวกกล้วยไข่ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 07-06-2022 ผู้เช้าชม 856

แกงหยวกกล้วย

แกงหยวกกล้วย

หยวกหรือต้นกล้วย ส่วนที่นำมาแกง คือใจกลางต้นที่ยังอ่อนอยู่ นิยมแกงใส่ไก่บ้าน และวุ้นเส้น บ้างแกงใส่ปลาแห้ง มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ อีกแบบหนึ่งมีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักหวาน สูตรที่แกงแบบเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ นั้น นิยมใช้เลี้ยงแขกในงานบุญต่างๆ หรืองานอื่นๆ เมื่อทำหม้อใหญ่ ไม่นิยมใส่วุ้นเส้น

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 5,564

แกงหยวก

แกงหยวก

อาหารพื้นบ้าน "แกงหยวก” มีความสำคัญสำหรับครอบครัวชนบทในพื้นตำบลนครชุมมาก เพราะเป็นวิถีชีวิตที่คนรุ่นบรรพบุรุษในอดีตได้ทำอาหารแกงหยวกรับประทานกับข้าวมาแต่ดั้งเดิมแสดงถึงความรักความสามัคคีการอยู่การกินที่เรียบง่าย ประหยัดเพราะใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ตามธรรมชาติปลูกขึ้นในสวนใกล้บ้าน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายรับประทานได้ทั้งครอบครัว แสดงถึงคุณค่าทางสังคมที่รักสงบ มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง หยวกหรือต้นกล้วย ส่วนที่นำมาแกง คือใจกลางต้นที่ยังอ่อนอยู่ นิยมแกงใส่ไก่บ้าน และวุ้นเส้น บ้างแกงใส่ปลาแห้ง มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ อีกแบบหนึ่งมีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักหวาน สูตรที่แกงแบบเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ นั้น นิยมใช้เลี้ยงแขกในงานบุญต่างๆ หรืองานอื่นๆ เมื่อทำหม้อใหญ่ ไม่นิยมใส่วุ้นเส้น

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 2,218

กล้วยทอด

กล้วยทอด

กล้วยแขก หรือ กล้วยทอด เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งซึ่งปรุงโดยการนำกล้วยตัดเป็นแผ่นหรือหั่นคริ่งแล้วมาชุบน้ำแป้งซึ่งมีส่วนผสมของแป้งข้าวเจ้ามะพร้าวขูดขาว งาคั่ว น้ำตาล และกะทิ แล้วจึงนำไปทอดในน้ำมันร้อนในกระทะ ใช้รับประทานเป็นอาหารว่าง

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 5,180

กล้วยฉาบ

กล้วยฉาบ

กล้วยฉาบ เป็นขนมประเภทของว่าง รับประทานเล่นในชุมชนมานานแล้ว เนื่องจากกล้วยเป็นต้นไม้ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน โดยเฉพาะกล้วยไข่ เป็นต้นไม้ที่พบมากในพื้นที่ของเมืองกำแพงเพชร ผู้อาวุโสของชุมชนหนองรี สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาตั้งแต่ตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว กล้วยฉาบ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ต้องการนำผลไม้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก มาแปรรูปเพื่อจะได้เก็บไว้รับประทานได้นานๆ และไว้รับรองญาติมิตรหรือผู้มาเยี่ยมเยียน 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 16,499

ข้าวแต๋น

ข้าวแต๋น

ข้าวแตน หรือ นางเล็ดเป็นอาหารว่างที่คนในชุมชนรู้จักกันดี อุปกรณ์ ได้แก่ กระด้ง ตะแกรง กะละมัง เตาไฟ หวดไม้ ที่พิมพ์รูปวงกลม กระทะ เตาอบ ถุง และผ้าขาวบาง เครื่องปรุงประกอบด้วย ข้าวเหนียวนึ่งให้สุก แล้วปั้นเป็นแผ่น เดิมนิยมทำเป็นแผ่นใหญ่ๆ และปัจจุบันนิยมปั้นเป็นแผ่นขนาดพอคำ แล้วจึงนำมาตากแดดให้แห้ง ก่อนนำมาทอดจนกรอบ เคี่ยวน้ำตาลน้ำอ้อยให้เหนียวแล้วราดบนแผ่นนางเล็ด บางบ้านโรยหน้าด้วยเมล็ดทานตะวัน งาดำ หรือเมล็ดแตงโม เพื่อเพิ่มรสชาติกรอบ หอม หวาน เหมาะสำหรับรับประทานเป็นของว่าง

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 4,536

แกงบอน

แกงบอน

อาหารพื้นบ้าน ที่นับวันจะหารับประทานได้ยากขึ้นทุกวัน เพราะมีผู้ทำได้น้อยคน ประกอบกับกลวิธีในการทำอาหารค่อนข้างยาก มีเคล็ดลับมากมาย และมีอาหารประเภทถุงพลาสติกขายเกลื่อนบ้านเกลื่อนเมือง จึงทำให้หาคนทำอาหารและปรุงรสได้ยากยิ่งมากขึ้น อาหารที่กล่าวถึงและหารับประทานได้ยาก คือ แกงบอน บอนเป็นพืชที่มีพิษ ใครถูกเข้าจะคัน ถ้าแพ้จะมีอาการปวดแสบปวดร้อนมาก แต่ด้วยภูมิปัญญาไทยได้นำมารับประทานได้อย่างน่าพิศวง และเป็นอาหารจานโปรดของคนไทยเกือบทุกภาค

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 4,680

แกงเห็ดเผาะปลาย่าง

แกงเห็ดเผาะปลาย่าง

แกงเห็ดเผาะปลาย่าง เป็นอาหารพืื้นถิ่นของคนนครชุม ที่สืบทอดวิถีแห่งการกินมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยเครื่องปรุงส่วนผสมหาได้ตามท้องถิ่น ทำง่ายนำโดยนำหัวกะทิตั้งไฟ เคี่ยวจนแตกมันเผ็ดผัดในน้ำกะทิผัดต่อจนมีกลิ่นหอม ใส่หมูสามชั้นลงในกระทะที่ผัดพริกแกง ผัดให้สุก ใส่น้ำปลา น้ำตาลปิ๊บ เติมหางกะทิลงในกระทะ เคี่ยวต่อจนเดือด ใส่เห็ดเผาะ เคี่ยวต่อประมาณ 5 นาที ใส่ปลาย่าง ชะอม รอจนดือดและชะอมสุก พร้อมเสิร์ฟ

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 2,617