เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้ชม 1,202

[16.2851021, 98.9325563, เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร]

บทนำ
         เครื่องเงินชาวเขาในอำเภอคลองลานจังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตเครื่องเงินชาวเขานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ชนเผ่าหลักๆ ได้แก่ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) และกลุ่มชนเผ่าม้ง ซึ่งทั้งสองกลุ่มชนเผ่านี้ มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการเริ่มต้นทำเครื่องเงินชาวเขาที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) เป็นช่างผลิตเครื่องเงินขาวเขากลุ่มแรกที่มีวิธีการผลิตสืบทอดงานฝีมือมาจากบรรพบุรุษ สำหรับกลุ่มชนเผ่าม้งนั้น เริ่มต้นทำเครื่องเงินจากการไปฝึกทักษะวิชาชีพที่จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากที่นั่นได้ขึ้นชื่อเรื่องวิธีการผลิตเครื่องเงินชาวเขาเผ่าม้งและเมื่อหลังจากที่ชนเผ่าม้งได้เรียนรู้วิธีการผลิตเครื่องเงินแล้ว ก็ได้นำความรู้นั้นมาใช้เป็นการประกอบอาชีพ ณ ถิ่นฐานบ้านเกิดของตน (บุญมา อินต๊ะ, สัมภาษณ์, 22 ธันวาคม 2560) งานหัตถกรรมเครื่องเงินชาวเขานี้ เป็นงานฝีมือประเภทเครื่องประดับซึ่งมีความละเอียดและความประณีตเป็นอย่างมาก ลวดลายของเครื่องเงินนั้นจะใช้ลวดลายแบบโบราณดั้งเดิม อาทิ ลายธรรมชาติ ลายต้นไม้ ลายรอยเท้าสัตว์ ซึ่งเลียนแบบมาจากธรรมชาติ สิ่งที่อยู่รอบตัว หรือสิ่งของเครื่องใช้ทำมาหากิน

 

ข้อมูลทั่วไป อำเภอคลองลาน
         คำขวัญอำเภอคลองลาน : คลองลานเมืองคนงาม น้ำตกสวย เต็มไปด้วยไม้สัก อนุรักษ์ วัฒนธรรมมากมี ของดีเครื่องเงิน (ศูนย์บริการข้อมูลอำเภอ, 2561)
         จากคำขวัญของอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชรจะเห็นได้ว่า ของดี ที่ขึ้นชื่ออย่างหนึ่งของอำเภอคลองลาน นอกจากธรรมชาติที่สวยงามแล้ว นั้นก็คือ “เครื่องเงิน” เครื่องเงินเป็นสิ่งแสดงอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และวัฒนธรรมการดำรงชีวิตของผู้คนอำเภอคลองลานมาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะเครื่องเงินชาวเขา ซึ่งเป็นสิ่งแสดงอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ การดำรงชีวิต รวมไปถึงความผูกพันระหว่างคนกับธรรมชาติ ผ่านลวดลายของเครื่องเงินชาวเขานั้นเอง
         เครื่องเงินชาวเขาที่ขึ้นชื่อมากอยู่ในตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งตำบลคลองลานพัฒนาประกอบไปด้วย 20 หมู่บ้าน ได้แก่
         1. บ้านกะเหรี่ยงคลองลาน จำนวน 2 หมู่บ้าน
         2. บ้านคลองลาน 1
         3. บ้านคลองลาน 2
         4. บ้านปางข้าวสาร
         5. บ้านมอมะค่า1
         6. บ้านมอมะค่า2
         7. บ้านปางตาแอ
         8. บ้านสวนส้ม
         9. บ้านคลองน้ำไหลใต้
        10. บ้านปากคลองลาน
        11. บ้านท่าข้ามสามัคคี
        12. บ้านเลิงกระพงษ์
        13. บ้านใหม่ธงชัย
        14. บ้านแม่พืช(แปลงสี่)
        15. บ้านคลองเตย
        16. บ้านทะเลพัฒนา
        17. บ้านโชคชัยพัฒนา
        18. บ้านมอตะแบก
        19. บ้านคลองปลาร้า
         จากจำนวนหมู่บ้านในตำบลคลองลานที่มีทั้งหมด 20 หมู่บ้าน แสดงให้เห็นว่า ตำบลคลองลานพัฒนาเป็นตำบลขนาดใหญ่ ซึ่งมีประชากรชาย หญิง รวมกันทั้งสิ้น 1,356 คน หรือ 496 ครัวเรือน โดยมีหมู่บ้านคลองเตยเป็นหมู่บ้านที่มีชาวเขาทำเครื่องเงินมากที่สุด (เทศบาลตำบลคลองลานพัฒนา, 2561)

ภาษาท้องถิ่นและการแต่งกาย
         ในด้านภาษาและการแต่งกายภาพรวมของอำเภอคลองลานสามารถแบ่งตามลักษณะภาษาและลักษณะการแต่งกายตามแต่ละตำบล คือ ตำบลโป่งน้ำร้อนและตำบลสักงามจะมีภาษาและลักษณะการแต่งกายสวนใหญ่เน้นไปทางภาคกลางหรือลักษณะทั่วไปที่นิยมใส่กัน ส่วนในด้านภาษานั้นพบว่า ใช้ภาษาไทย(ภาษากลาง) เป็นภาษาหลักในการสื่อสาร ต่อมาคือตำบลคลองน้ำไหล การแต่งกายส่วนใหญ่จะแต่งกายด้วยชุดม่อฮ่อมและใช้ภาษาเหนือเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร ตำบลสุดท้ายคือ ตำบลคลองลานพัฒนา ซึ่งเป็นตำบลที่มีลักษณะการแต่งกายและการใช้ภาษาแตกต่างไปจากตำบลอื่น ๆ ในอำเภอเดียวกันนั้น ก็เพราะว่า ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลคลองลานพัฒนาเป็นชชาวเขาหลาหลายเผ่ามาอยู่ร่วมกัน หนึ่งในนั้นคือ เผ่าเมี้ยน(เย้า) ม้ง กะเหลี่ยง มูเซ่อ เป็นต้น ดังนั้นการแต่งกายของประชาชนจึงแต่งกายด้วยชุดชาวเขา และใช้ภาษาม้ง ภาษาอีสานและภาษาลาวเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารทั่วไป (เทศบาลตำบลคลองลานพัฒนา, 2561)

สภาพเศรษฐกิจ
         อาชีพหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม - ไร่มันสำปะหลัง ไร่ข้าวโพด ไร่อ้อย นาปี นาปัง สวนทุเรียน สวนลำไย สวนสตรอว์เบอร์รี่ ส้มเขียวหวาน
         อาชีพเสริม ได้แก่ ทำเครื่องเงิน - เลี้ยงสัตว์ รับจ้าง (เทศบาลตำบลคลองลานพัฒนา, 2561)

ประเพณีเด่นในตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
         1. ประเพณีแห่เจ้าพ่อ เจ้าแม่คลองลาน (งานงิ้ว)
         อำเภอคลองลาน เป็นอำเภอที่มีความหลากหลายทางเผ่าพันธุ์ มีความหลากหลายทางประเพณี ความเชื่อและวัฒนธรรม สามารถสังเกตได้จากประเพณีและวัฒนธรรมที่มีในอำเภอคลองลาน อาทิ ประเพณีแห่เจ้าพ่อ เจ้าแม่คลองลาน (งานงิ้ว) เป็นประเพณีที่สืบต่อกันมานับ 10 ปี ซึ่งเป็นประเพณีที่แสดงออกถึงความเขื่อ ความเคารพบูชาและเพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองบ้านเรือนของคนในอำเภอคลองลานมาตลอดทั้งปี ในการจัดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานนั้นในขบวนแห่จะประกอบไปด้วยสิงโตและมังกรทอง(แสดงออกถึงความเป็นคนไทยเชื้อสายจีน) ในขบวนแห่นั้นยังมีการแสดง "ต่อตัว" ของคณะเชิดสิงโต มังกรทองแห่งเมืองปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ร่วมขบวนมาด้วย
         2. ประเพณีรื่นเริงโยนลูกช่วง (ปีใหม่ม้ง)
         งานประเพณีต่อไปได้แก่ ประเพณีรื่นเริงโยนลูกช่วง (ปีใหม่ม้ง) เป็นงานประเพณีของชาวม้งคลองลาน หรือ ที่ชาวม้งเรียกกันว่า “น่อเป๊โจ่วฮ์” แปลตรงตัวได้ว่า “กินสามสิบ” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อฉลองความสำเร็จ ในการเพาะปลูกโดยจะจัดขึ้นหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตในรอบปีเรียบร้อยแล้ว นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการบูชาถึงผีฟ้า ผีป่า ผีบ้าน ที่ให้ความคุ้มครองและดูแลให้มีความสุขสำราญตลอดทั้งปี รวมถึงผลผลิตที่ได้ในรอบปีด้วย นอกจากนั้นแล้วในงานประเพณีปีใหม่ม้งยังจะมีการจัดการละเล่นต่าง ๆ อาทิ การเล่นลูกช่วง หรือที่เรียกกันว่า “จุเป๊าะ” ลูกช่วง มีลักษณะกลมเหมือนลูกบอลทำด้วยเศษผ้า มีขนาดเล็กพอที่จะถือด้วยมือข้างเดียวได้ โดยจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายหญิง กับฝ่ายชาย โดยฝ่ายหญิงจะเป็นผู้ที่เอาลูกช่วงไปให้ฝ่ายชาย เมื่อตกลงกันได้ก็จะทำการโยนลูกช่วง โดยแต่ละฝ่ายจะยืนเป็นแถวหน้ากระดานเรียงหนึ่งหันหน้าเข้าหากัน มีระยะห่างกันพอสมควร แล้วโยนลูกช่วงให้กันไปมา และสามารถทำการสนทนากับคู่ที่โยนได้ เพื่อเป็นการสร้างความสนุกสนานเป็นการฉลองปีใหม่ และเป็นการหาคู่ให้แก่หนุ่มสาว เพื่อมิตรภาพที่ดีต่อกันแต่หญิงที่แต่งงานแล้วจะไม่มีสิทธิในการเล่นลูกช่วงอีก เพราะถือว่าผิดตามธรรมเนียมของม้ง ส่วนฝ่ายชาย สามารถเล่นได้ แต่อยู่ที่ว่าฝ่ายหญิงจะทำการยินยอมเล่นกับตนหรือไม่ แล้วแต่ฝ่ายหญิงสาวคนนั้น ๆ การละเล่นดังกล่าวถือว่าเป็นการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวงานปีใหม่ม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ได้เป็นอย่างดี
         3. ประเพณีกวนข้าวทิพย์
         พิธีกวนข้าวทิพย์ เป็นประเพณีทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ยังคงรูปเค้าโครงการของการรักษาประเพณี มีความเชื่อถืออย่างมั่นคง เป็นแบบอย่างที่ดีซึ่งแฝงไปด้วยคุณธรรมและจริยธรรม โดยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงวันวิสาขบูชา เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญและรักษาไว้ซึ่งศิลปะ ประเพณีภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น อันจะเป็นการเผยแพร่ สืบสาน อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีประจำท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างยั่งยืนและส่งเสริมสนับสนุน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน สร้างความสามัคคีในชุมชน
         จากที่ยกตัวอย่างงานประเพณีที่เกิดขึ้นในอำเภอคลองลานสามารถเห็นได้ว่า อำเภอคลองลาน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชรที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์แต่ก็สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ดังกล่าวนี้ สะท้อนออกมาในประเพณีแห่เจ้าพ่อ เจ้าแม่คลองลาน(งานงิ้ว) ซึ่งเป็นความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีน งานประเพณีรื่นเริงโยนลูกช่วง (ปีใหม่ม้ง) เป็นงานประเพณีที่มีเอกลักษณ์ของชาวเขาเผ่าม้ง สุดท้ายคือ งานประเพณีกวนข้าวทิพย์ ซึ่งเป็นงานประเพณีทางพุทธศาสนา เป็นประเพณีที่รวมความเชื่อ ความศรัทธาของคนไทยที่อาศัยอยู่ในอำเภอคลองลานที่นับถือศาสนาพุทธมาร่วมประเพณี ทั้ง 3 ประเพณีเป็นประเพณีที่เฉพาะเจาะจงของชาติพันธุ์แต่ปัจจุบันคนทั่วไปก็สามารถเข้าร่วมกันประเพณีทั้ง 3 ได้ โดยไม่แยกว่าเฉพาะม้ง หรือเฉพาะคนไทยเชื่อสายจีนเท่านั้น 

ผลิตภัณฑ์เด่นของตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน
         จากการสัมภาษณ์ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร กล่าวถึงผลิตภัณฑ์เด่นในตำบลคลองลานพัฒนาไว้หลายชนิด อาทิ ตุ๊กตาเรซิ่น
         1. ตุ๊กตาเรซิ่น
         ตุ๊กตาเรซิ่นเป็นงานฝีมือของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง (นางชงกอ สัมพันธ์) ซึ่งก่อนหน้าที่นางชงกอจะมายึดอาชีพหล่อตุ๊กตาเรซิ่นนั้น นางชงกอได้ได้ยึดอาชีพทำไร่มันสำปะหลังและทำนาข้าวเป็นหลัก แต่เมื่อสามีเสียชีวิต นางชงกอจึงออกไปหางานทำที่กรุงเทพและได้ทำงานในโรงงานผลิตตุ๊กตาเรซิ่น จากการทำงานในโรงงานตุ๊กตาเรซิ่น 2 ปี ทำให้นางชงกอมีความรู้เรื่องการประดิษฐ์งานเรซิ่น นางชงกอจึงลาออกจากโรงงานผลิตตุ๊กตาเรซิ่นและกลับมาประดิษฐ์ตุ๊กตาเรซิ่นเป็นอาชีพร่วมกับการต่อยอดให้บ้านเกิดเพื่อรักษาวัฒนธรรมไทยให้สืบทอดต่อไป
         2. ไม้แกะสลักโซฟามังกร
         ไม้แกะสลักโซฟาเป็นผลงานของหมู่บ้านคลองเตย ซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มช่างแกะสลักที่นำรากไม้ ซึ่งถูกทิ้งไว้ตามหัวไร่ปลายนา เช่น ไม้มะค่า เป็นวัตถุดิบในการแกะสลักเป็นเก้าอี้ไม้และโซฟาไม้ และเน้นความเป็นธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันช่างแกพสลักจะนิยมใช้ไม้จามจุรี ซึ่งเป็นไม้ที่หาได้ง่าย มีทั่วไปในชุมชน ขั้นตอนการทำเริ่มจากนำส่วนของลำต้นตัดเป็นท่อนๆแล้วนำเข้าสู่กระบวนผลิต 9 ขั้นตอนจนออกมาเป็นโซฟาขนาดใหญ่ ส่วนลวดลายขึ้นอยู่กับจินตนาการของผู้ผลิตต้องใช้เวลาทำประมาณ 15 วัน
         3. ผ้าปักชาวเขา (หมู่บ้านคลองเตย)
         ผ้าปักชาวเขาเป็นงานฝีมือของชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) ซึ่งแสดงออกถึงวัฒนธรรมการแต่งกายชาวเมี่ยน ซึ่งจะมีการปักลวดลายทั่วทั้งเสื้อ กางเกงและผ้าพันหัว ที่จะต้องสวมใส่ในชีวิตประจำวัน ในยามว่างสตรีชาวเผ่าเมี่ยนก็จะปักผ้าไว้ใช้เองและถ่ายทอดวิธีการทำให้แก่บุตรสาว ซึ่งถือว่าเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาของเผ่าเอาไว้อีกทางหนึ่งด้วย โดยใช้ลวดลายที่มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีชื่อเรียกดังนี้
         - "ซุม"                       เป็นลวดลายที่สืบทอดมาแต่โบราณเป็นลักษณะรูปคนนั่ง
         - "ร่มเซ้ว"                    เป็นลวดลายที่สืบทอดมาแต่โบราณเป็นลักษณะของรอยเท้าสัตว์
         - "ตะเม้าเต่าเมี่ยน"          เป็นลวดลายที่สืบทอดมาแต่โบราณเป็นลักษณะร้อยเท้าของเสือ
         4. ทอพรมอเนกประสงค์ (บ้านแปลงสี่-แม่พืช)
         พรมเอนกประสงค์เริ่มดำเนินการในปี 2546 โดยเริ่มจากการที่กลุ่มแม่บ่านแปลงสี่-แม่พืช ได้ไปศึกษาดูงานกลุ่มทอพรมเช็ดเท้าของกลุ่มแม่บ้านคลองปลาสร้อย ตำบลปางตาไว อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อกลับมาจึงมาเริ่มต้นทำการผลิตพรมเอนกประสงค์ ในช่วงแรกกลุ่มแม่บ่านแปลงสี่-แม่พืช ได้ผลิตพรมส่งให้พ่อค้าคนกลางทำให้กลุ่มแม่บ้านได้กำไรจากการผลิตน้อย ต่อมากลุ่มแม่บ่านแปลงสี่-แม่พืช ได้นำพรมเอนกประสงค์จดทะเบียนสินค้ากับศูนย์สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และได้เริ่มนำสินค้าออกจำหน่ายตามงานแสดงสินค้าในท้องถิ่นระดับอำเภอจังหวัดภูมิภาคและระดับประเทศ จึงทำให้ประชาชนมีกำไรเพิ่มมากขึ้น
         5. ผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชาวเขา
         ผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชาวเขา เป็นผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อมากอย่างหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำรายได้เข้าสู่อำเภอคลองลานในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก จนผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชาวเขาได้ไปอยู่ในคำขวัญของอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมา
             เครื่องเงินชาวเขาอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ในปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตเครื่องเงินชาวเขานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มชนเผ่าหลัก ๆ ได้แก่ กลุ่มชนเมี่ยน (เย้า) และกลุ่มชนเผ่าม้ง ซึ่งทั้งสองกลุ่มชนเผ่านี้ มีประวัติความเป็นมาของเครื่องเงินชาวเขาที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มชนเมี่ยน(เย้า) เป็นช่างผลิตเครื่องเงินขาวเขากลุ่มแรกที่มีวิธีการผลิตสืบทอดงานฝีมือมาจากบรรพบุรุษ สำหรับกลุ่มชนเผ่าม้งนั้น จะเริ่มจากการไปฝึกทักษะวิชาชีพที่จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากจังหวัดสุโขทัยขึ้นชื่อเรื่องการผลิตเครื่องเงิน เครื่องทอง ที่มีความประณีตและละเอียด หลังจากชาวเขาเผ่าม้งที่เดินทางไปเรียนรู้เรื่องการผลิตเครื่องเงินมากลับบ้านเรือนของตน ก็นำความรู้ที่ตนเองได้ร่ำเรียนมาใช้ประกอบอาชีพในถิ่นฐานบ้านเกิดของตน (พงษ์ศิพัฒน์ อัศธรบัตถ์, สัมภาษณ์, 8 มีนาคม 2561)
             ลวดลายที่นำมาเป็นแบบในการทำเครื่องเงินนั้น ชาวเขาจะเน้นการทำลวดลายโบราณที่เลียนแบบมาจากธรรมชาติ สิ่งที่อยู่รอบตัว เช่น ต้นไม้ ลายรอยเท้าสัตว์ หรือสิ่งของเครื่องใช้ทำมาหากิน เป็นต้น บางครั้งลายของเครื่องเงินนั้นจะขึ้นอยู่กับลูกค้าที่มาสั่งทำ โดยทางผู้ที่ผลิตเครื่องเงินจะมีลวดลายต่าง ๆ มาให้ลูกค้าเลือกตามความต้องการ ซึ่งหนึ่งในตัวเลือกนั้นจะมีลายของที่ทางผู้ผลิตได้มีการออกแบบเอง ส่วนในเรื่องของลักษณะของเครื่องเงินส่วนใหญ่จะถูกผลิตออกมาในรูปแบบของ สร้อยคอ กำไล แหวน กระเป๋า และเข็มขัด ซึ่งในแต่ละรูปแบบของเครื่องเงินจะมีราคาจำหน่ายแตกต่างกันไป ทั้งนี้ในเรื่องของราคาจำหน่ายนั้นขึ้นอยู่กับน้ำหนักของเงินที่ใช้ในการผลิต ซึ่งน้ำหนักของเงินจะคิดเป็นกรัม กรัมละ 45-50 บาท และจะขึ้นอยู่กับราคาขึ้นลงของทองคำในแต่ละวัน      (พงษ์ศิพัฒน์ อัศธรบัตถ์, สัมภาษณ์, 8 มีนาคม 2561)

ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
          1. ผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน ชนิดสร้อยคอ
          2. ผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน ชนิดกำไลข้อมือ
          3. ผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน ชนิดชนิดต่างหู
          4. ผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน ชนิดชนิดแหวน

วัฒนธรรมของชาวเขากับเครื่องเงิน
          วัฒนธรรมของของชาวเขาอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชรสมัยก่อนนั้น บุคคลใดที่เป็นมารดาจะต้องเรียนรู้การทำเครื่องเงินไว้เพื่อทำให้ลูกสาวหลังการแต่งงาน หรือถ้าครอบครัวใดมีบุตรทั้งลูกชายและลูกสาว ครอบครัวนั้นก็จะทำเข็มขัดให้ลูกสาว และทำสร้อยคอมอบให้ลูกชาย ปัจจุบันการใส่เครื่องเงินของชาวเขา ถ้าเป็นชาวเขาที่อยู่อาศัยใกล้กับคนในเมืองนั้น ส่วนใหญ่จะนิยมใส่กันเฉพาะงานสำคัญ เช่น งานปีใหม่ม้ง เป็นต้น แต่ยังมีชาวเขาที่อาศัยอยู่บนเขาเท่านั้นที่ยังคงใส่เครื่องเงินเป็นเครื่องประดับกับชุดม้งในชีวิตประวัน (พงษ์ศิพัฒน์ อัศธรบัตถ์, สัมภาษณ์, 8 มีนาคม 2561)

คำสำคัญ : เครื่องเงินชาวเขา, รูปแบบการขาย, กลุ่มชาติพันธุ์, อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน_(เย้า)_อำเภอคลองลาน_จังหวัดกำแพงเพชร

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610007&code_type=05&nu=pages&page_id=2098

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2098&code_db=610007&code_type=05

Google search

Mic

ผ้าปักชาวเมี่ยน จังหวัดกำแพงเพชร

ผ้าปักชาวเมี่ยน จังหวัดกำแพงเพชร

ชาวเมี่ยนมีศิลปะการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าที่เลืองลือเป็นที่รู้จักและยอมรับในความงดงาม คือ การปักลวดลาย งานปักที่ปรากฏบนผืนผ้าของชาวเมี่ยน แม้ปัจจุบันก็ยังคงพบได้บนผืนผ้าแทบทุกผืนเป็นลวดลายโบราณเอกลักษณ์คงเดิมที่สืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษสมัยโบราณกาล ซึ่งมักมีความเกี่ยวข้องและผูกพันกับตำนานปรัมปรา รวมถึงความเชื่อที่สอดแทรกจากประเพณีวัฒนธรรมประจำชนเผ่าผสมกลมกลืนกับลวดลายที่มาจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน สัตว์ป่าน้อยใหญ่ รวมถึงพืชพรรณต่างๆ ด้วยความประณีตและเป็นเลิศในฝีมือ

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 1,598

ลายดอกไม้

ลายดอกไม้

ในครั้งนี้ กองศิลปาชีพ สำนักราชเลขาธิการ ในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้นำส่งเงินค่าผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาวเขาแก่สมาชิกศิลปาชีพ จำนวน 356 คน รวมเป็นเงิน 1,828,550.-บาท (หนึ่งล้านแปดแสนสองหมื่นแปดพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวสมาชิกได้ในระดับหนึ่ง ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,099

ทอลวดลายโดยแทรกวัสดุอื่นประกอบ

ทอลวดลายโดยแทรกวัสดุอื่นประกอบ

ทอลวดลายโดยแทรกวัสดุอื่นประกอบ เช่น ลูกเดือยหรือใช้พู่หรือกระจุกด้ายซึ่งเป็นการทอของกะเหรี่ยงโปว์และสะกอในบางหมู่บ้านแถบแม่ฮ่องสอน ใช้ประกอบในชุดของหญิงสาว และชุดเด็กหญิงเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 739

น้ำยาอเนกประสงค์

น้ำยาอเนกประสงค์

เป็นศูนย์เรียนรู้ของคลองน้ำไหลเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยมีโครงการปิดทองหลังพระ ของรัชกาลที่ 9 ลงมาที่หมู่ 16 บ้านสามัคคีธรรม และได้เข้าอบรมเรียนรู้การทำสมุนไพร เป็นโครงการหลวงที่สามารถนำมาช่วยลดรายจ่ายภายในครัวเรือนได้ เลยเริ่มรวมกลุ่มกันทำ น้ำยาอเนกประสงค์ เบอร์กลุ่มมีสมาชิกประมาณ 20 คนหรือ 30 ครัวเรือน โดยจะแบ่งเป็นหมู่ หมู่ละ 10 ครัวเรือน 3 หมู่ หมู่ที่ 1 จะเลี้ยงหมูหลุม หมู่ที่ 2 จะทำน้ำยาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 3 การเลี้ยงไส้เดือนดินของพ่อหลวง

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 838

ลายดอกกุหลาบ

ลายดอกกุหลาบ

หัตกรรมเครื่องเงิน อันประกอบด้วย ชุมชนบ้านคลองเตย ปัจจุบันมีชุมชนบ้านคลองเตยเป็นศูนย์กลางชุมชน เทคนิค เคล็ดลับในการผลิตชิ้นงานขึ้นอยู่กับทักษะฝีมือ เทคนิคที่ได้รับการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ ความชำนาญของช่างภูมิปัญญาชาวบ้านของแต่ละคน ในการสร้างสรรค์งานแต่ละชิ้นอย่างมีความประณีต ทรงคุณค่า แตกต่างกันออกไป งานแต่ละชิ้นจะไม่เหมือนกัน แม้แต่ช่างคนเดียวกัน สืบทอดมรดกภูมิปัญญาชาวบ้านหัตถกรรมเครื่องเงินจากบรรพบุรุษมากกว่า 200 ปี ดังเป็นที่ประจักษ์ของคนในชุมชนท้องถิ่น เป็นงานฝีมือละเอียด ประณีต รวดลายแบบโบราณดั้งเดิม เลียนแบบจากธรรมชาติสิ่งที่อยู่รอบตัว หรือสิ่งของที่ใช้ทำมาหากินในชีวิตประจำวัน และเนื้อเงินแท้ไม่ต่ำกว่า 98 เปอร์เซ็นต์

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 708

ลายดอกไม้

ลายดอกไม้

เครื่องเงิน จัดเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อ  โดยฝีมือชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) และม้ง(แม้ว) ส่วนมากทำเป็นเครื่องประดับ เช่น กำไล สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ตุ้มหู แหวน ฯลฯ ซึ่งได้ริเริ่มทำเป็นอาชีพเงิน เป็นเครื่องประดับอีกประเภทหนึ่งที่ก้าวผ่านยุคสมัยและมีการถ่ายทอด ภูมิปัญญาการทำเครื่องเงิน จากรุ่นสู่รุ่น ลวดลายเก่าแก่โบราณยังคงถูกรักษาไว้ได้อย่างดีจากงาน หัตกรรมที่ต้องใช้ความ อดทนและฝีมือควบคู่กัน ในเมืองไทยความพิเศษที่ทำให้เครื่องเงินเมืองน่านไม่เหมือนที่อื่น คือ เครื่องเงินของเมืองน่าน จะ “ผสมเม็ดเงินมากเป็นพิเศษ” เมื่อเสร็จออกมาจะเป็นเครื่องประดับที่ไม่แข็งเกินไป

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,040

กลุ่มเครื่องเงินชาวเขา

กลุ่มเครื่องเงินชาวเขา

ศูนย์หัตถกรรมชาวเขาคลองลานตั้งอยู่หมู่บ้านบ้านคลองลาน ตำบลคลองลานพัฒนา บริเวณปากทางเข้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลานห่างจากตัวจังหวัดกำแพงเพชร 55 กิโลเมตร ศูนย์นี้จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขาเผ่าต่างๆ อันได้แก่เผ่าม้ง เย้า ลีซอ มูเซอและกะเหรี่ยง ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตอำเภอคลองลานและอำเภอคลองขลุง มีรายได้และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่แหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอคลองลาน โดยนำสินค้าของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์ของแต่ละเผ่ามาจำหน่ายเช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวเขา เครื่องประดับประเภทต่างๆ ที่ทำจากเงิน มีการสาธิตการทำเครื่องประดับจากเงินให้นักท่องเที่ยวได้ชมด้วยศูนย์นี้อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 938

น้ำส้มควันไม้ เตาเผาถ่าน เตาพลังงาน เตาเศรษฐกิจ เตาย่างไร้ควัน น้ำหมักรกหมู

น้ำส้มควันไม้ เตาเผาถ่าน เตาพลังงาน เตาเศรษฐกิจ เตาย่างไร้ควัน น้ำหมักรกหมู

มีการก่อตั้งกลุ่มขึ้นมาเป็นกลุ่มของพลังงานกลุ่มหนึ่งจะมีสมาชิกอยู่ประมาณ 20-30 คนแต่จะแบ่งแยกการศึกษาตามฐานเรียนรู้หลายฐานโดยจะมีฐานผลิตน้ำส้มควันไม้ เตาเผาถ่าน เตาพลังงาน เตาเศรษฐกิจ เตาย่างไร้ควัน น้ำหมักรกหมู

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,043

ลายลงยา

ลายลงยา

แร่เงินเป็นแร่ยุคโบราณอยู่ควบคู่กับมนุษย์มาหลายยุคหลายสมัย ในอดีตแร่ที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งคือ แร่ทอง เพราะเป็นเครื่องหมายของความสมบูรณ์ ร่ำรวย ทำให้สัญลักษณ์ของทองคือรูปวงกลม เพราะวงกลมจะไม่มีรอยต่อเป็นเส้นเดียวไม่มีเริ่มต้น ไม่มีสิ้นสุดจึงหมายถึงความสมบูรณ์ ส่วนแร่เงินถึงแม้จะเป็นรองแร่ทองแต่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ก็ได้ให้ความสำคัญกับแร่เงินพอๆ กัน โดยมีสัญลักษณ์คือรูปครึ่งวงกลมหรือรูปพระจันทร์เสี้ยว มนุษย์ได้ใช้แร่เงินเป็นเครื่องประดับตกแต่งและเป็นเครื่องใช้ต่างๆมานานแล้ว แร่เงินจึงถือว่าเป็นโลหะที่มีค่าเป็นอันดับสองรองจากทองคำ

เผยแพร่เมื่อ 19-02-2017 ผู้เช้าชม 683

กลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติบ้านชัยมงคล

กลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติบ้านชัยมงคล

จัดตั้งกลุ่มเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2542 มีสมาชิกก่อตั้ง 6 คนมีกี่ทอผ้า 3 ตัวโดยใช้อาคารกลุ่มออมทรัพย์เป็นที่ตั้งทำการชั่วคราวสมาชิกลงทุนคนละ 1850 บาทสมาชิกกลุ่มได้รวมตัวกันจ้างครูฝึกสอนจาก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มาฝึกสอน 1 เดือนโดยใช้ ส่วนตัวของสมาชิก ปัจจุบันมีสถานที่ทำการกลุ่มจากกองทุนชุมชน

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,383