เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา

เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 1,491

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา]

        มีบทละครเรื่อง ท้าวแสนปม พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสันนิษฐานเพิ่มเติมจากตำนานเรื่องท้าวแสนปม ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้ดังนี้ เมื่อราวจุลศักราช 550 พ.ศ.1731 มีพระเจ้าแผ่นดินไทยองค์หนึ่ง เป็นเชื้อวงศ์ของพระเจ้าพรหมมหาราช ทรงพระนามว่าท้าวไชยศิริ ครองเมืองฝางอยู่ ได้ถูกข้าศึกจากรามัญประเทศยกมาตีเมือง ท้าวไชยศิริสู้ ไม่ได้ จึงหนีลงมาทางใต้ พบพวกไทยที่อพยพกันลงมาแต่ก่อนแล้ว ตั้งอยู่ตำบลแพรก พวกไทยเหล่านั้นหาเจ้านายเป็นขุนครองมิได้ จึงอัญเชิญท้าวไชยศิริขึ้นเป็นขุนเหนือตน ท้าวไชยศิริจึงสร้างราชธานีใหม่ เรียกนามว่านครไตรตรึงษ์ ท้าวไชยศิริครอง นครไตรตรึงษ์จนทิวงคตเชื้อพระวงศ์ได้ครองราชสมบัติสืบมาอีก 4 ชั่วคนท้าวไตรตรึงษ์ชั่วที่ 4 มีราชธิดาอยู่องค์หนึ่ง มีรูปโฉมงดงามมาก กิตติศัพท์เล่าลือระบือไปในเมืองต่าง ๆ ทราบถึงพระเจ้านครศรีวิชัย จึงใช้ทูตไปทาบทามเพื่อขอนางนั้นเป็นมเหสีแห่งพระชินเสนราชโอรสผู้เป็นยุพราช แต่ท้าวไตรตรึงษ์ไม่มีราชโอรสก็ปรารถนาจะได้เขยมาเป็นกษัตริย์ครองเมืองสืบไป จึงตอบว่าถ้าท้าวศรีวิชัยยอมเป็นเมืองขึ้นจึงจะยกพระธิดาให้ท้าวศรีวิชัยก็ไม่ยอมจึงงดกันไป ครั้นเมื่อราวปีฉลู จุลศักราช 675 พ.ศ.1857 พระชินเสนมีความปรารถนาจะใคร่เห็นตัวนางธิดาไตรตรึงษ์ จึงลาพระราชบิดาไปยังเมืองไตรตรึงษ์ แต่ครั้นจะตรงเข้าไปก็เห็นไม่สะดวกด้วย พระบิดากับท้าวไตรตรึงษ์ผิดใจกันอยู่ จึงใช้อุบายแปลงตัวเป็นยาจกเอาฝุ่นและเขม่าทาให้เปื้อนเปรอะ เอารงค์แต้มตัวให้ดู ประหนึ่งว่าเป็นปมปุ่มทั่วไปทั้งตัว นุ่งห่มให้ปอนแล้วก็เข้าไปในเมืองไตรตรึงษ์ ไปอาสารับใช้ผู้เฝ้าสวนหลวงอยู่ เพื่อหาช่องดูตัวนาง อยู่มาวันหนึ่งนางธิดาไตรตรึงษ์ออกไปประพาสสวนหลวง พระชินเสนไปเที่ยวเดินเก็บผลหมาก รากไม้และผักหญ้าอยู่ ได้เห็นตัวนางก็มีความรัก จึงเข้าไปหาและนำผักไปถวาย นางสังเกตดูพระชินเสนเห็นได้ ว่าไม่ใช่คนไพร่จริงจึงให้นางข้าหลวงซักดู พระชินเสนก็ให้การแต่เพียงว่าชื่อนายแสนปม นางสั่งว่าให้หมั่นเก็บผัก ส่งเข้าไปในวัง แล้วก็กลับเข้าวัง  ฝ่ายพระชินเสนกลับไปถึงที่พักแล้ว ไตร่ตรองดูเห็นว่าท่าทางนางจะมีความรักใคร่บ้างแต่ยังไม่แน่ใจ จึง ใช้อุบายเอาเหล็กแหลมจารเป็นหนังสือบนมะเขือเป็นถ้อยค้าเกี้ยวเลียบเคียงเป็นนัย ๆ แล้วน้ามะเขือกับผักอื่น ๆ ส่งไปให้นางฝ่ายนางได้เห็นหนังสือนั้นแล้วก็เขียนตอบใส่ห่อหมากฝากไปให้นายแสนปม พระชินเสนได้รับหนังสือตอบ เข้าใจได้ว่านางสมัครรักใคร่ในตนเป็นแน่แล้ว จึงเข้าไปหานางที่ในวัง และพบปะกันหลายครั้ง จนนางตั้งครรภ์ต่อมาพระบิดาของพระชินเสนประชวร พระชินเสนต้องรีบกลับไปนครศรีวิไชย เมื่อไปถึงพระบิดาโปรดให้เป็นผู้ช่วยว่าราชการ จึงไม่มีโอกาสที่จะไปรับนาง ครั้น ณ วันที่ 2 เดือน 8 ขึ้น 5 ค่ำ ปีขาล จุลศักราช 676 พ.ศ. 1857 พระราชธิดาท้าวไตรตรึงษ์ประสูติพระโอรสโหรท้านายว่าจะได้เป็นพระยามหากษัตริย์ทรงเดชานุภาพยิ่งใหญ่ ท้าวไตรตรึงษ์ผู้เป็นตา อยากทราบว่าใครเป็นบิดาแห่งหลาน ถามพระธิดาก็ไม่ให้การอย่างไรทั้งสิ้น ถามพวกข้าหลวงก็ไม่มีใครรู้เรื่องอะไร คงเป็นแต่โจษกันว่าตั้งแต่ได้เสวยมะเขือซึ่งนายแสนปม ถวายแล้วก็ทรงครรภ์ ท้าวไตรตรึงษ์ทรงไตร่ตรองดูก็คิดว่าผู้ชายถ้าไม่เป็นคนดี ที่ไหนจะบังอาจลอบลักสมัครสังวาสกับพระธิดาเช่นนั้นได้ จึงคิดหาวิธีที่จะหาบิดาแห่งกุมาร โดยปรึกษากับมหาราชครูเป็นที่ตกลงพร้อมกันว่าให้ป่าวประกาศให้บรรดาทวยลูกเจ้าลูกขุน และทวยราษฎรมาพร้อมกันยังหน้าพระลานให้ถือขนมนมเนย ติดมือมาแล้วอธิษฐานว่าถ้าผู้ใดเป็นบิดาพระกุมาร ขอให้พระกุมารรับของจากมือผู้นั้น กิตติศัพท์คำประกาศทราบไปถึงพระชินเสน จึงให้เตรียมรี้พลสกลโยธาเป็นทัพใหญ่ ตั้งพระทัยว่าอย่างไร ๆ ก็ต้องรับพระธิดามาให้ได้
        พอใกล้ถึงนครไตรตรึงษ์ก็สั่งให้ทัพหยุดพักอยู่แล้ว สั่งอุบายแก่ขุนพลไว้เสร็จแล้วพระชินเสนจึงแปลงเป็นนายแสนปมถือข้าวเย็นก้อนหนึ่งเข้าไปยังพระลาน ครั้นถึงเวลากำหนด ท้าวไตรตรึงษ์ก็ออกยังหน้าพระลานให้เชิญพระนัดดาออกมาและพระองค์ทรงตั้งสัตยาธิษฐานแล้วก็ให้อุ้มพระนัดดาไปเที่ยวดูคน พระกุมารก็ไม่รับของ ๆ ใครสักคนเดียว จนกระทั่งนายแสนปมชูก้อนข้าวเย็นให้จึงได้รับ ท้าวไตรตรึงษ์เห็นหลานรับก้อนข้าวเย็นของนายแสนปมเป็นการผิดคาดคะเนทั้งรู้สึกอับอายแก่ธารกำนัลว่าพระธิดาเล่นชู้กับคนเลวเช่นนั้น ขับพระธิดาออกจากพระนครโดยทันที และด่าว่านายแสนปมต่าง ๆ นายแสนปมจึงกล่าวว่าถึงขับไล่ก็ไม่วิตกเมืองจะสร้างอยู่เองใหม่ สักเท่านี้ก็ได้ ทั้งไม่มีความเกรงกลัวใครเลยเพราะพอตีอินทเภรีขึ้นรี้พลก็จะมีมาเหมือนน้ำมหาสมุทร ท้าวไตรตรึงษ์สำคัญว่านายแสนปมพูดอวดดีจึงท้าให้ตีกลอง แสนปมก็ตีกลองอินทเภรีขึ้น 3 ลำ ขณะนั้นขุนพลแห่งนครศรีวิไชยได้ยินเสียงกลองก็ให้พลโห่ร้องขึ้นตามที่พระชินเสนได้ตรัสสั่งไว้ ไตรตรึงษ์ตกใจตะลึงหมดท่ามิรู้ที่จะท้าประการใดต่อไป แลเห็นถนัดว่าเสียท่าเขาแล้วก็ได้แต่จ้ายอมท้าวเท่านั้น และถึงแม้ว่าจะวิงวอนงอนง้อพระชินเสนให้เขาอยู่เขาก็คงไม่อยู่ พระชินเสนก็คงเป็นอันได้รับนางและบุตรกลับไปนครศรีวิไชย 
        นิทานเรื่องนายแสนปม ถือเป็นมูลเหตุหนึ่งที่ท้าให้ผู้คนทั้งหลายเชื่อกันว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ซึ่งเป็นราชบุตรของนายแสนปมและเป็นรัชทายาทครองเมืองเทพนคร ต่อมาได้ 6 ปี พระเจ้าอู่ทองทรงย้ายราชธานี ใหม่ซึ่งมีความบริบูรณ์พูนสุขกว่าเมืองเทพนคร โดยทรงเห็นว่าตำบลหนองโสน มีชัยภูมิเหมาะสมดี พระเจ้าอู่ทองจงสั่งเคลื่อนย้ายไพร่พลลงมาสร้างเมืองใหม่ที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

คำสำคัญ : นิยายปรัมปรา นิทานพื้นบ้าน วรรณกรรมพื้นบ้าน

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ปงป กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610006&code_type=01&nu=pages&page_id=1319

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1319&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

นิทานเรื่อง เหตุเกิดเมื่อฉันเสร็จ

นิทานเรื่อง เหตุเกิดเมื่อฉันเสร็จ

วันนี้เป็นวันพระ มีญาติโยมมาทำบุญกันเต็มศาลา ปกติพอฉันเสร็จพระมักใช้เณรให้เป็นคนล้างจาน เณรเจ็บใจมาเรื่อย วันนี้คิดจะเอาคืน พอฉันเสร็จเณรจึงยกมือขึ้นพนมแล้วสวดกรวดน้ำว่า “ยถาวริวโหน ยัดห่าหลายคน ให้กูล้างคนเดียว” พระได้ยินก็สวดตอบมาทันทีว่า “สัพพีตีโยม เสียงดังโครม เณรหัวแตก” เณรสวนมาว่า “เณรเตะพระ เณรชนะ พระหัวแตก” วันนั้นพระกับเณรช่วยกันล้างจานจนเลือดสาด

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 1,508

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร คือตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2449 และกลับพระนคร ในวันที่ 27 สิงหาคม 2449 มีอยู่หนึ่งวันที่พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสบ้านปากคลอง คือวันที่ 25 สิงหาคม ตอนเช้าเสด็จเข้าไปในคลองสวนหมากไปบ้านพะโป้ มีเรื่องเล่าว่า พะโป้ได้นำแหย่ง (ที่นั่งบนหลังช้าง) ให้พระพุทธเจ้าหลวงประทับนั่ง เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกลับ พะโป้ได้บูชาแหย่งองค์นี้อย่างดี โดยเก็บไว้ในฐานะสิ่งสักการะบูชาเลยทีเดียว เมื่อพะโป้สิ้น (ถึงแก่กรรม) แล้ว ทรัพย์สมบัติของท่านถูกแบ่งปันกันไปหลายส่วน แหย่งได้ตกไปอยู่กับหลายท่าน แต่มีเรื่องมหัศจรรย์เล่าขานกันว่าเมื่อผู้ใดขึ้นนั่งมักจะมีปัญหาเกิดกับผู้นั่งเสมอ ทั้งร้ายแรงและไม่ร้ายแรง จนเล่าขานเลื่องลือไปทั่วปากคลอง ไม่มีใครกล้านั่งหรือแตะต้องแหย่งองค์นี้อีกเลย

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 879

ตำนานวัดปราสาท

ตำนานวัดปราสาท

ประวัติของวัดปราสาทในช่วงแรกนั้นยังคลุมเครือ แต่ก็พอสรุปได้ดังนี้ คือ นานมาแล้วมีพวกห่มขาว ได้นำเรือชะล่ามาฝากกับตาเฮง ยายสาท ผัวเมียที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำหน้าวัด เมื่อพวกห่มขาวฝากเรือแล้วก็ขึ้นมาที่ท่านำแล้วก็หายไป โดยที่เรือนั้นก็ยังอยู่กับตาเฮงและยายสาท นานไปคนพวกนั้นก็ไม่มาเอาเรือคืน ตาเฮงและยายสารทก็มาค้นเรือดู พบทองและเงินจำนวนมาก จึงนำมาสร้างวัด ตาเฮงก็มาสร้างศาล เรียกกันว่าศาลตาเฮง ส่วนยายสาทก็นำเงินมาจ้างคนสร้างปราสาทซึ่งใหญ่โตมาก

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 1,721

ทุ่งมหาราช

ทุ่งมหาราช

เรียมเอง เป็นนามแฝงของมาลัย ชูพินิจ (2449-2506) ซึ่งนอกจากจะเป็นนักหนังสือพิมพ์ผู้มีชื่อเสียงแล้ว ยังเป็นนักเขียนเรื่องหลายประเภท ที่รู้จักกันดีในวงการนักอ่าน ไม่ว่าจะใช้นามจริงหรือนามแฝง เช่น ม. ชูพินิจ, เรียมเอง, น้อย อินทนนท์, แม่อนงค์ ทุ่งมหาราช เป็นนวนิยายเสมือนบันทึกเหตุการณ์ของผู้เขียนสมัยเมื่อครั้งใช้ชีวิตอยู่กับบิดา มารดาที่คลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งในยุคนั้นผู้คนต้องผ่านพบความยากลำบากนานับประการ ตั้งแต่ความอดอยากยากแค้น โรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะไข้ทรพิษ และน้ำท่วม หนังสือเล่มนี้สะท้อนภาพของเรื่องราวดังกล่าว โดยผ่านตัวละครที่มีเลือดเนื้อและวิญญาณ เช่น รุ่ง หรือขุนนิคมบริบาล ซึ่งคาเรือนและบ้านไร่ ก็เพิ่งมีชาวเวียงจันทน์อพยพมาอยู่ไม่กี่ครอบครัว ความคิดของรุ่งสะท้อนความรู้สึกส่วนใหญ่ของชาวบ้านต่อการทำมาหากินด้วยความเป็นอิสระของตนเอง

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 4,584

นิทานเรื่อง พ่อตากับลูกเขยโค่นต้นตาล

นิทานเรื่อง พ่อตากับลูกเขยโค่นต้นตาล

วันหนึ่งลูกเขยชวนพ่อตาไปโค่นต้นตาล ฝ่ายลูกเขยก็พูดว่า “เอ้าพ่อ ! พ่อฟันข้างนอกก่อนเลยฟันเปลือกมันก่อนนะพ่อนะ เดี๋ยวแก่นมันผมฟันเอง” ฝ่ายพ่อตาก็ฟันใหญ่เลยแล้วก็บ่นอีก “โอ๊ยขนาดเปลือกมันยังแข็งขนาดนี้นะเนี่ยไอ้หนู แล้วแก่นมันเอ็งจะฟันไหวรึ มันจะขาดให้เอ็งรึ” พอพ่อตาฟันเสร็จแล้วไอ้ลูกเขยก็ฟันบ้าง แต่มันฟันฉวบๆ เลย ก็ต้นตาลนะมันจะมีอะไรล่ะ ข้างในนะ ไอ้ที่ว่าแก่นแข็งๆ นะมันอยู่ข้างนอกรอบต้นมันนี่ ฝ่ายพ่อตาเห็นลูกเขยตัวก็ยังชมมันอีกว่า “เอ่อไอ้หนูเอ็งนี่แรงดีว่ะ ขนาดพ่อฟันแค่เปลือกมันยังหมดแรงเลยวะ”

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 1,926

ตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

ตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจ ของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จ มาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สามองค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน องค์กลางใหญ่อยู่กลาง องค์เล็กย่อมสององค์ อยู่ด้านข้าง นอกจากนั้นได้นำ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ มาปลูกไว้เบื้องหลังพระเจดีย์

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 2,863

ตำนานพระพุทธบาท 4 รอย

ตำนานพระพุทธบาท 4 รอย

เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในศาสนาปัจจุบันนี้ได้เสด็จจารึกประกาศธรรม และโปรดเวไนยสัตว์มายังปัจจัยตะประเทศ (ประเทศไทยในปัจจุบัน)จนกระทั่งมาถึงเทือกเขาทางตอนเหนือของประเทศ ชื่อเขา เวภารบรรพตซึ่งขณะนั้นได้เสด็จพร้อมกับพุทธสาวก 500 องค์ และได้แวะฉันจังหันอยู่บนเขา เวภารบรรพตแห่งนี้ เมื่อพระพุทธองค์ฉันจังหันเสร็จ ขณะประทับอยู่ที่นั้น ก็ได้ทราบด้วยญาณสมาบัติว่าบนเทือกเขาแห่งนี้ ได้มีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ามาประทับอยู่บนก้อนหินก้อนใหญ่คือ พระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ภัทรกัลป์นี้ แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงเล็งดูรอยพระพุทธบาทแห่งพระพุทธเจ้าทั้ง พระองค์ คือ พระพุทธเจ้ากุสันธะ ,พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ พระพุทธเจ้ากัสสปะ

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 1,969

นิทานพื้นบ้าน เรื่องสามเกลอ

นิทานพื้นบ้าน เรื่องสามเกลอ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเด็กอยู่สามคน มีชื่อว่า ขี้มูกมาก ตูดแหลม และสามมือปาม วันหนึ่งสามคนนี้ชวนกันไปทอดแห พอถึงที่มาสามคนนี้ก็เกี่ยงกันทอดแห สามมือปามก็เลยทอดเอง ความที่เป็นคนมือใหญํจึงจับปลาได๎เต็มลำเรือ ขากลับชาวบ๎านเห็นได้ปลามาเยอะก็ขอปลาบ้างสามเกลอก็เกี่ยวกับเป็นผู๎หยิบปลาให้อีก สามมือปามเลยหยิบปลาให้เอง ปลายุบไปเยอะเลยพอพายเรือไปสักพักก็เจอชาวบ้านขออีก แล้วก็เกี่ยงกันอีก สามมือปามเลยหยิบปลาให้จนหมดเรือเจ้าตูดแหลมโมโหที่ปลาหมดจึงนั่งลงอยำงแรง เรือก็เลยรั่ว สามเกลอตกใจมาก เจ้าขี้มูกมากนึกได้จึงสั่งขี้มูกมาอุดเรือ เรือก็เลยหายรั่ว สามเกลอดีใจมาก แล๎วจึงบอกวำ “เราจะเป็นเพื่อนรักกันจะไมํเกี่ยวกันทำอีกแล้ว จะสามัคคีกัน” แล้วสามเกลอก็พายเรือกลับบ๎านอยำงมีความสุข

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 11,018

ท้าวแสนปม 3 เรื่อง 3 ที่มา

ท้าวแสนปม 3 เรื่อง 3 ที่มา

เรื่อง “ท้าวแสนปม” เป็นเรื่องที่เล่าขานต่อเนื่องกันมาช้านาน กล่าวถึงบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ของเมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร ในระยะแรก ผู้เขียนรู้สึกแปลกใจที่พยายามจะศึกษาเรื่องราวของท้าวแสนปม แต่ละคนที่ให้ความรู้ให้ข้อมูลแตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกัน จึงได้พยายามสืบค้นจากเอกสารต่าง ๆ จึงรู้ได้ว่าสาเหตุที่แตกต่างกันนั้น เกิดจากต้นเรื่องหรือข้อมูลของเรื่องมาจากหลายแหล่ง ซึ่งพอที่จะกล่าวถึงที่มาและเนื้อเรื่องดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 5,489

ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ

ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ

ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่าเดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่าบริเวณแห่งนี้เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พระเจ้าพังคราช พระราชบิดาของพระเจ้าพรหมมหาราช แห่งเมืองเชียงแสนอยู่ใต้อำนาจของขอมพระเจ้าพรหมไม่ยอม จึงต่อสู้กับขอม ตั้งแต่พระชมมายุได้เพียงสิบหกปี สามารถขับไล่ขอมมาถึงลำน้ำปิง

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 2,032