เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา

เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 1,305

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา]

        มีบทละครเรื่อง ท้าวแสนปม พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสันนิษฐานเพิ่มเติมจากตำนานเรื่องท้าวแสนปม ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้ดังนี้ เมื่อราวจุลศักราช 550 พ.ศ.1731 มีพระเจ้าแผ่นดินไทยองค์หนึ่ง เป็นเชื้อวงศ์ของพระเจ้าพรหมมหาราช ทรงพระนามว่าท้าวไชยศิริ ครองเมืองฝางอยู่ ได้ถูกข้าศึกจากรามัญประเทศยกมาตีเมือง ท้าวไชยศิริสู้ ไม่ได้ จึงหนีลงมาทางใต้ พบพวกไทยที่อพยพกันลงมาแต่ก่อนแล้ว ตั้งอยู่ตำบลแพรก พวกไทยเหล่านั้นหาเจ้านายเป็นขุนครองมิได้ จึงอัญเชิญท้าวไชยศิริขึ้นเป็นขุนเหนือตน ท้าวไชยศิริจึงสร้างราชธานีใหม่ เรียกนามว่านครไตรตรึงษ์ ท้าวไชยศิริครอง นครไตรตรึงษ์จนทิวงคตเชื้อพระวงศ์ได้ครองราชสมบัติสืบมาอีก 4 ชั่วคนท้าวไตรตรึงษ์ชั่วที่ 4 มีราชธิดาอยู่องค์หนึ่ง มีรูปโฉมงดงามมาก กิตติศัพท์เล่าลือระบือไปในเมืองต่าง ๆ ทราบถึงพระเจ้านครศรีวิชัย จึงใช้ทูตไปทาบทามเพื่อขอนางนั้นเป็นมเหสีแห่งพระชินเสนราชโอรสผู้เป็นยุพราช แต่ท้าวไตรตรึงษ์ไม่มีราชโอรสก็ปรารถนาจะได้เขยมาเป็นกษัตริย์ครองเมืองสืบไป จึงตอบว่าถ้าท้าวศรีวิชัยยอมเป็นเมืองขึ้นจึงจะยกพระธิดาให้ท้าวศรีวิชัยก็ไม่ยอมจึงงดกันไป ครั้นเมื่อราวปีฉลู จุลศักราช 675 พ.ศ.1857 พระชินเสนมีความปรารถนาจะใคร่เห็นตัวนางธิดาไตรตรึงษ์ จึงลาพระราชบิดาไปยังเมืองไตรตรึงษ์ แต่ครั้นจะตรงเข้าไปก็เห็นไม่สะดวกด้วย พระบิดากับท้าวไตรตรึงษ์ผิดใจกันอยู่ จึงใช้อุบายแปลงตัวเป็นยาจกเอาฝุ่นและเขม่าทาให้เปื้อนเปรอะ เอารงค์แต้มตัวให้ดู ประหนึ่งว่าเป็นปมปุ่มทั่วไปทั้งตัว นุ่งห่มให้ปอนแล้วก็เข้าไปในเมืองไตรตรึงษ์ ไปอาสารับใช้ผู้เฝ้าสวนหลวงอยู่ เพื่อหาช่องดูตัวนาง อยู่มาวันหนึ่งนางธิดาไตรตรึงษ์ออกไปประพาสสวนหลวง พระชินเสนไปเที่ยวเดินเก็บผลหมาก รากไม้และผักหญ้าอยู่ ได้เห็นตัวนางก็มีความรัก จึงเข้าไปหาและนำผักไปถวาย นางสังเกตดูพระชินเสนเห็นได้ ว่าไม่ใช่คนไพร่จริงจึงให้นางข้าหลวงซักดู พระชินเสนก็ให้การแต่เพียงว่าชื่อนายแสนปม นางสั่งว่าให้หมั่นเก็บผัก ส่งเข้าไปในวัง แล้วก็กลับเข้าวัง  ฝ่ายพระชินเสนกลับไปถึงที่พักแล้ว ไตร่ตรองดูเห็นว่าท่าทางนางจะมีความรักใคร่บ้างแต่ยังไม่แน่ใจ จึง ใช้อุบายเอาเหล็กแหลมจารเป็นหนังสือบนมะเขือเป็นถ้อยค้าเกี้ยวเลียบเคียงเป็นนัย ๆ แล้วน้ามะเขือกับผักอื่น ๆ ส่งไปให้นางฝ่ายนางได้เห็นหนังสือนั้นแล้วก็เขียนตอบใส่ห่อหมากฝากไปให้นายแสนปม พระชินเสนได้รับหนังสือตอบ เข้าใจได้ว่านางสมัครรักใคร่ในตนเป็นแน่แล้ว จึงเข้าไปหานางที่ในวัง และพบปะกันหลายครั้ง จนนางตั้งครรภ์ต่อมาพระบิดาของพระชินเสนประชวร พระชินเสนต้องรีบกลับไปนครศรีวิไชย เมื่อไปถึงพระบิดาโปรดให้เป็นผู้ช่วยว่าราชการ จึงไม่มีโอกาสที่จะไปรับนาง ครั้น ณ วันที่ 2 เดือน 8 ขึ้น 5 ค่ำ ปีขาล จุลศักราช 676 พ.ศ. 1857 พระราชธิดาท้าวไตรตรึงษ์ประสูติพระโอรสโหรท้านายว่าจะได้เป็นพระยามหากษัตริย์ทรงเดชานุภาพยิ่งใหญ่ ท้าวไตรตรึงษ์ผู้เป็นตา อยากทราบว่าใครเป็นบิดาแห่งหลาน ถามพระธิดาก็ไม่ให้การอย่างไรทั้งสิ้น ถามพวกข้าหลวงก็ไม่มีใครรู้เรื่องอะไร คงเป็นแต่โจษกันว่าตั้งแต่ได้เสวยมะเขือซึ่งนายแสนปม ถวายแล้วก็ทรงครรภ์ ท้าวไตรตรึงษ์ทรงไตร่ตรองดูก็คิดว่าผู้ชายถ้าไม่เป็นคนดี ที่ไหนจะบังอาจลอบลักสมัครสังวาสกับพระธิดาเช่นนั้นได้ จึงคิดหาวิธีที่จะหาบิดาแห่งกุมาร โดยปรึกษากับมหาราชครูเป็นที่ตกลงพร้อมกันว่าให้ป่าวประกาศให้บรรดาทวยลูกเจ้าลูกขุน และทวยราษฎรมาพร้อมกันยังหน้าพระลานให้ถือขนมนมเนย ติดมือมาแล้วอธิษฐานว่าถ้าผู้ใดเป็นบิดาพระกุมาร ขอให้พระกุมารรับของจากมือผู้นั้น กิตติศัพท์คำประกาศทราบไปถึงพระชินเสน จึงให้เตรียมรี้พลสกลโยธาเป็นทัพใหญ่ ตั้งพระทัยว่าอย่างไร ๆ ก็ต้องรับพระธิดามาให้ได้
        พอใกล้ถึงนครไตรตรึงษ์ก็สั่งให้ทัพหยุดพักอยู่แล้ว สั่งอุบายแก่ขุนพลไว้เสร็จแล้วพระชินเสนจึงแปลงเป็นนายแสนปมถือข้าวเย็นก้อนหนึ่งเข้าไปยังพระลาน ครั้นถึงเวลากำหนด ท้าวไตรตรึงษ์ก็ออกยังหน้าพระลานให้เชิญพระนัดดาออกมาและพระองค์ทรงตั้งสัตยาธิษฐานแล้วก็ให้อุ้มพระนัดดาไปเที่ยวดูคน พระกุมารก็ไม่รับของ ๆ ใครสักคนเดียว จนกระทั่งนายแสนปมชูก้อนข้าวเย็นให้จึงได้รับ ท้าวไตรตรึงษ์เห็นหลานรับก้อนข้าวเย็นของนายแสนปมเป็นการผิดคาดคะเนทั้งรู้สึกอับอายแก่ธารกำนัลว่าพระธิดาเล่นชู้กับคนเลวเช่นนั้น ขับพระธิดาออกจากพระนครโดยทันที และด่าว่านายแสนปมต่าง ๆ นายแสนปมจึงกล่าวว่าถึงขับไล่ก็ไม่วิตกเมืองจะสร้างอยู่เองใหม่ สักเท่านี้ก็ได้ ทั้งไม่มีความเกรงกลัวใครเลยเพราะพอตีอินทเภรีขึ้นรี้พลก็จะมีมาเหมือนน้ำมหาสมุทร ท้าวไตรตรึงษ์สำคัญว่านายแสนปมพูดอวดดีจึงท้าให้ตีกลอง แสนปมก็ตีกลองอินทเภรีขึ้น 3 ลำ ขณะนั้นขุนพลแห่งนครศรีวิไชยได้ยินเสียงกลองก็ให้พลโห่ร้องขึ้นตามที่พระชินเสนได้ตรัสสั่งไว้ ไตรตรึงษ์ตกใจตะลึงหมดท่ามิรู้ที่จะท้าประการใดต่อไป แลเห็นถนัดว่าเสียท่าเขาแล้วก็ได้แต่จ้ายอมท้าวเท่านั้น และถึงแม้ว่าจะวิงวอนงอนง้อพระชินเสนให้เขาอยู่เขาก็คงไม่อยู่ พระชินเสนก็คงเป็นอันได้รับนางและบุตรกลับไปนครศรีวิไชย 
        นิทานเรื่องนายแสนปม ถือเป็นมูลเหตุหนึ่งที่ท้าให้ผู้คนทั้งหลายเชื่อกันว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ซึ่งเป็นราชบุตรของนายแสนปมและเป็นรัชทายาทครองเมืองเทพนคร ต่อมาได้ 6 ปี พระเจ้าอู่ทองทรงย้ายราชธานี ใหม่ซึ่งมีความบริบูรณ์พูนสุขกว่าเมืองเทพนคร โดยทรงเห็นว่าตำบลหนองโสน มีชัยภูมิเหมาะสมดี พระเจ้าอู่ทองจงสั่งเคลื่อนย้ายไพร่พลลงมาสร้างเมืองใหม่ที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

คำสำคัญ : นิยายปรัมปรา นิทานพื้นบ้าน วรรณกรรมพื้นบ้าน

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ปงป กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา. สืบค้น 28 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1319&code_db=610006&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1319&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

ตำนานบ่อน้ำพุร้อน

ตำนานบ่อน้ำพุร้อน

"พระร่วง" เมื่อครั้งยังเป็นหนุ่ม มีนิสัยคะนองชอบเล่นเบี้ยเล่นว่าว เล่นไก่ เจ้าชู้ โดยไม่ถือ พระองค์ชอบเสด็จไปในท้องถิ่นทุรกันดารและเมื่อเสด็จไปในที่ต่างๆ ก็มักจะเกิดเป็นตำนาน ขึ้นมากมาย กล่าวกันว่าพระร่วงเป็นผู้มีบุญญาธิการรู้ทั้ง บังเหลื่อมรู้จบไตรเทพวิทยาคม อีก ทั้งมีวาจาสิทธิ์ จากตำนานโบราณกล่าวว่า พระร่วงได้เดินทางมาถึงบริเวณเขาไก่เขี่ย พระองค์ ได้ไก่ป่าวตัวหนึ่งเมื่อเดินมาถึงบริเวณสถานที่ร่มรื่นพระองค์เกิดหิวจึงตั้งใจจะกินไก่ตัวนี้เสีย จึงได้สาป บริเวณนี้เป็นบ่อน้ำพุร้อนเพื่อที่จะได้นำน้ำร้อนมาลวดไก่และถอนขนเมื่อถอนขน เสร็จไม่มี น้ำเย็น จึงสาปน้ำเย็นขึ้น จึงเกิดมีบ่อน้ำร้อน และน้ำเย็นขึ้นบริเวณใจ กลางบึงสาปนั้น หรือจากข้อสันนิษฐาน กล่าวว่า พระองค์คงสาปน้ำร้อนน้ำเย็นเพื่อทำความสะอาดไก่หรือที่เรียกว่าให้น้ำไก่ แล้วพระองค์ก็ได้เดินทางต่อไปกลายเป็น "บ่อน้ำร้อนบึงสาป" เขาไก่เขี่ย ดังได้กล่าวแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 5,831

หลวงพ่อยักษ์ กินเณร ที่วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่อยักษ์ กินเณร ที่วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่อยักษ์ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่ในวิหารริมคลองสวนหมาก ด้านหน้าของหลวงพ่ออุโมงค์ มีพุทธลักษณะพระพักตร์เป็นแบบ ศิลปะท้องถิ่นกำแพงเพชร เล่ากันว่า ผู้ปั้นคือปู่นวนและปู่เกิด สองพี่น้องนามสกุลธรรมสอน เป็นช่างทองมาจากจังหวัดตาก พร้อมๆ กับหลวงพ่อบุญมี เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดสว่างอารมณ์ ปากคลองเหนือ ช่วยกันปั้นเศียรเปลี่ยนให้ใหม่ แต่เดิมหลวงพ่อยักษ์นี้ไม่มีชื่อเสียงเรียงนามแต่อย่างใด

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,310

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร คือตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2449 และกลับพระนคร ในวันที่ 27 สิงหาคม 2449 มีอยู่หนึ่งวันที่พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสบ้านปากคลอง คือวันที่ 25 สิงหาคม ตอนเช้าเสด็จเข้าไปในคลองสวนหมากไปบ้านพะโป้ มีเรื่องเล่าว่า พะโป้ได้นำแหย่ง (ที่นั่งบนหลังช้าง) ให้พระพุทธเจ้าหลวงประทับนั่ง เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกลับ พะโป้ได้บูชาแหย่งองค์นี้อย่างดี โดยเก็บไว้ในฐานะสิ่งสักการะบูชาเลยทีเดียว เมื่อพะโป้สิ้น (ถึงแก่กรรม) แล้ว ทรัพย์สมบัติของท่านถูกแบ่งปันกันไปหลายส่วน แหย่งได้ตกไปอยู่กับหลายท่าน แต่มีเรื่องมหัศจรรย์เล่าขานกันว่าเมื่อผู้ใดขึ้นนั่งมักจะมีปัญหาเกิดกับผู้นั่งเสมอ ทั้งร้ายแรงและไม่ร้ายแรง จนเล่าขานเลื่องลือไปทั่วปากคลอง ไม่มีใครกล้านั่งหรือแตะต้องแหย่งองค์นี้อีกเลย

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 777

เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง

เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง

เสียงกลองวัดหนองปลิง ดังรัวเต็มที่ ยังผลให้ชาวบ้านที่อยู่ในรัศมีเสียงกลองพากันหูผึ่ง กำลังทำงานอยู่ก็ละวาง มองหน้าทักถามกันด้วยสายตา ท่าทีตะลึงงัน มันเป็นเวลาใกล้ค่ำ แต่ทว่านี่ก็เลยกลางเดือน 11 ออกพรรษามาหลายเดือนแล้ว กลองย่ำค่ำ พระก็หยุตี เหลือแต่เวลาเพล 11.00 น. จึงจะได้ยินกัน สำหรับในพรรษานั้นเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมานาน วัดทีพระมาก เพราะมีพระบวชใหม่เพิ่มจำนวน ส่วนพระเก่าก็อยู่ประจำ ไม่โคจรไปไหนๆ จึงประชุมกันเพื่อกิจวัตรสวดมนต์อย่างเคร่งครัด เฉพาะเวลาเย็น ชาวบ้านจะได้ยินเสียงกลองสองครั้ง ครั้งแรก 17.00 น. ครั้งที่สองราวๆ 18.00 น.เศษ ครั้งแรกเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า พระเริ่มเตรียมลงประชุม

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 1,278

นิทานพื้นบ้าน เรื่องสามเกลอ

นิทานพื้นบ้าน เรื่องสามเกลอ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเด็กอยู่สามคน มีชื่อว่า ขี้มูกมาก ตูดแหลม และสามมือปาม วันหนึ่งสามคนนี้ชวนกันไปทอดแห พอถึงที่มาสามคนนี้ก็เกี่ยงกันทอดแห สามมือปามก็เลยทอดเอง ความที่เป็นคนมือใหญํจึงจับปลาได๎เต็มลำเรือ ขากลับชาวบ๎านเห็นได้ปลามาเยอะก็ขอปลาบ้างสามเกลอก็เกี่ยวกับเป็นผู๎หยิบปลาให้อีก สามมือปามเลยหยิบปลาให้เอง ปลายุบไปเยอะเลยพอพายเรือไปสักพักก็เจอชาวบ้านขออีก แล้วก็เกี่ยงกันอีก สามมือปามเลยหยิบปลาให้จนหมดเรือเจ้าตูดแหลมโมโหที่ปลาหมดจึงนั่งลงอยำงแรง เรือก็เลยรั่ว สามเกลอตกใจมาก เจ้าขี้มูกมากนึกได้จึงสั่งขี้มูกมาอุดเรือ เรือก็เลยหายรั่ว สามเกลอดีใจมาก แล๎วจึงบอกวำ “เราจะเป็นเพื่อนรักกันจะไมํเกี่ยวกันทำอีกแล้ว จะสามัคคีกัน” แล้วสามเกลอก็พายเรือกลับบ๎านอยำงมีความสุข

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 10,284

ตำนานท่อทองแดง

ตำนานท่อทองแดง

ในอดีตบรรพบุรุษของชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการบริหารจัดการน้ำ จึงได้คิดค้นวิธีการนำน้ำจากสายน้ำต่างๆเข้ามาสู่ชุมชน ชื่อ ท่อทองแดง หรือ ท่อปู่พระยาร่วง” ถูกสร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระร่วงเจ้า ตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่พอมาถึงสมัยอยุธยา ก็ถูกทอดทิ้งไม่ได้ใช้งาน และถมหายไปจนหมด ผู้อาวุโสของชุมชนเล่าว่า เรื่องท่อทองแดง นี้ถูกเล่าขานต่อๆ กันมาว่า ถูกฝังไว้ใต้ดินคูเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่สมัยเป็นเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยา ในขณะนั้นพม่าได้ยกทัพเข้ามาโจมตีกำแพงเพชรหลายครั้งแต่ตีไม่สำเร็จ จึงได้ล้อมเมืองไว้เพื่อให้คนในเมืองอดตาย แต่ชาวบ้านก็ได้อาศัยน้ำจากท่อทองแดงประทังชีวิต แต่ต่อมามีคนชื่อ หมื่นแสน” เกิดคิดมักใหญ่ไฝ่สูง ทรยศบ้านเมืองนำเรื่อง ท่อทองแดง” ไปบอกกับพม่า แม่ทัพพม่ารู้ดังนั้นจึงฆ่าหมื่นแสน แล้วนำศพไปใส่ไว้ในท่อทองแดงและปิดเสีย จนทำให้ชาวบ้านต้องอดอยากเพราะขาดน้ำจนเป็นผลให้พม่าเข้ายึดเมืองได้ในที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,012

นิทานพื้นบ้าน เรื่องอีกากับนกยูง

นิทานพื้นบ้าน เรื่องอีกากับนกยูง

อีกากับนกยูงเป็นเพื่อนเกลอกัน วันหนึ่งอีกากับนกยูงผลัดกันลงรักปิดทอง อีกาลงรักให้กับนกยูงกํอน โดยปิดทองลงไปด้วย ทำให้นกยูงมีลวดลายสวยงามจนถึงปัจจุบัน ก็มาถึงตานกยูงทำให้กับอีกาบ้าง พอลงรักจนสีดำสนิทแล้ว ถึงขั้นจะปิดทอง อีกาแลเห็นหมาเนำลอยมาในแมํน้ำ ก็เลยรีบไปกินตามสัญชาติญาณชอบกินของเน่า นกยูงเห็นเข้าเลยไมํยอมปิดกองให้กับอีกา อีกาเลยมีสีดาสนิทมาจนทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 2,136

ตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

ตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจ ของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จ มาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สามองค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน องค์กลางใหญ่อยู่กลาง องค์เล็กย่อมสององค์ อยู่ด้านข้าง นอกจากนั้นได้นำ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ มาปลูกไว้เบื้องหลังพระเจดีย์

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 2,606

นิทานเรื่อง แม่ผัวเกลียดลูกสะใภ้

นิทานเรื่อง แม่ผัวเกลียดลูกสะใภ้

สีมากำพร้าพ่ออยู่กับแม่มาตั้งแต่เล็ก พอโตเป็นหนุ่มก็แต่งงาน ตอนแรกทั้งครอบครัวรักใคร่กันดีแต่บรรดาสาวๆ ที่ผิดหวังจากสีมาไปยุแยงให้แม่ผัวเกลียดลูกสะใภ้ ตอนแรกลูกสะใภ้ไม่โต้ตอบเวลาแม่ผัวดุด่า แต่นานเข้าเริ่มทนไม่ไหวโต้ตอบไปบ้าง สีมาหนักใจ คิดหาวิธีจะทำให้ทั้งสองปรองดองกัน จึงบอกกับแม่ว่าจะฆ่าเมียตัวเองเพื่อให้แม่สบายใจ แต่ต้องทำดีกับลูกสะใภ้สัก 15 วันก่อน แล้วก็ไปบอกเมียตัวเองว่าจะฆ่าแม่ให้แต่ต้องทำดีให้แม่ให้ตายใจ 15 วันก่อน 

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 2,442

นิทานพื้นบ้าน เรื่องดงตาจุ้ย ดงตาจันทร์

นิทานพื้นบ้าน เรื่องดงตาจุ้ย ดงตาจันทร์

ตาจุ้ยกับตาจันทร์เป็นชาวบ้านหนองปรือ ทั้งสองคนเป็นเพื่อนรักกันมากเป็นคนขี้ยาและติดฝิ่นด้วยกัน สมัยนั้นเป็นป่าดิบดงดำ วันหนึ่งตาจุ้ยกับตาจันทร์ชวนกันมาตัดหวายที่ชายดง ตาจุ้ยตัดหวายได้เส้นหนึ่ง ยาวสวยมาก ขากลับบ้านตาจุ้ยเดินลากหวายตามทางมา ตาจันทร์กะหยอกเพื่อนเลํน จึงแกล้งใช้มีดฟันหวายผิดๆ ตาจุ้ยบอกวำ “ถ้ามึงฟันหวายกูขาด กูฟันหัวมึงขาด” เผอิญตาจันทร์ฟันโดนหวายขาดจริงๆ เกิดการทะเลาะกัน ตาจุ้ยฟันตาจันทร์ ตาจันทร์ก็ฟันตาจุ้ย ต่อสู้กันอยำงดุเดือด ปรากฏวำฟันกันตายทั้งคูํ ชาวบ๎านเลยตั้งชื่อบริเวณนี้วำบ้านดงตาจุ้ยดงตาจันทร์ แตํทุกวันนี้เรียกวำ “บ้านดงตาจันทร์” ่อย่างเดียว

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 2,062