ตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

ตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้ชม 2,876

[16.4788866, 99.507962, ตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง]

        มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจ ของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จ มาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สามองค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน องค์กลางใหญ่อยู่กลาง องค์เล็กย่อมสององค์ อยู่ด้านข้าง นอกจากนั้นได้นำ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ มาปลูกไว้เบื้องหลังพระเจดีย์ ประชาชนที่ตามเสด็จพญาลิไทและประชาชนที่ตามเสด็จจากเมืองต่างๆต่างพากัน มานบไหว้กระทำบูชา พระบรมธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ จำนวนมากมาย ประชาชนแต่ละหัวเมืองพากันมาร้องรำทำเพลง ตามที่เคยร้องเคยเล่นกันอย่างสนุกสนาน จึงเป็นที่มาแห่งประเพณี เพ็ญเดือนสาม ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และประเพณีนบพระ เล่นเพลง ของจังหวัดกำแพงเพชร มาจนทุกวันนี้ ประชาชนชาวปากคลอง นครชุม และกำแพงเพชร มีความเชื่อว่า ถ้าได้นบไหว้กระทำบูชา พระบรมสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ ที่พญาลิไทนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม เหมือนประหนึ่งกับได้นบไหว้พระพุทธเจ้าแทบพระบาทพระพุทธองค์ด้วยตนเอง
        สำหรับประเพณีนบพระ-เล่นเพลง ถือเป็นประเพณีโบราณ ทางจังหวัดกำแพงเพชร รื้อฟื้นประเพณีนี้มาจัดขึ้นตั้งแต่ปี 2526 คำว่า "นบ" เป็นคำโบราณ แปลว่า "ไหว้" ดังนั้น การ "นบพระ" จึงหมายความว่า "ไหว้พระ" สำหรับคำว่าเล่นเพลง คือ การละเล่นสนุกสนานพื้นบ้าน โดยมีการร้องเพลงพื้นบ้าน มีชายหญิงร่วมร้องและร่ายรำเป็นที่สนุกภายหลังจากได้ทำบุญทำกุศลแล้ว

 

คำสำคัญ : นบพระ เล่นเพลง

ที่มา : ตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง. https://travel.mthai.com/news/201440.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1274&code_db=610006&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1274&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร คือตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2449 และกลับพระนคร ในวันที่ 27 สิงหาคม 2449 มีอยู่หนึ่งวันที่พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสบ้านปากคลอง คือวันที่ 25 สิงหาคม ตอนเช้าเสด็จเข้าไปในคลองสวนหมากไปบ้านพะโป้ มีเรื่องเล่าว่า พะโป้ได้นำแหย่ง (ที่นั่งบนหลังช้าง) ให้พระพุทธเจ้าหลวงประทับนั่ง เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกลับ พะโป้ได้บูชาแหย่งองค์นี้อย่างดี โดยเก็บไว้ในฐานะสิ่งสักการะบูชาเลยทีเดียว เมื่อพะโป้สิ้น (ถึงแก่กรรม) แล้ว ทรัพย์สมบัติของท่านถูกแบ่งปันกันไปหลายส่วน แหย่งได้ตกไปอยู่กับหลายท่าน แต่มีเรื่องมหัศจรรย์เล่าขานกันว่าเมื่อผู้ใดขึ้นนั่งมักจะมีปัญหาเกิดกับผู้นั่งเสมอ ทั้งร้ายแรงและไม่ร้ายแรง จนเล่าขานเลื่องลือไปทั่วปากคลอง ไม่มีใครกล้านั่งหรือแตะต้องแหย่งองค์นี้อีกเลย

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 884

ตำนานวัดกาทิ้ง

ตำนานวัดกาทิ้ง

ริมฝั่งลำน้ำปิง มีเมืองโบราณคือเมืองคณฑี หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่าบ้านโคน เป็นชุมชนโบราณที่ไม่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จทอดพระเนตรชุมชนโบราณแห่งนี้ เมื่อปีพุทธศักราช 2450 ทรงกล่าวถึงชุมชนบ้านโคนว่า คงเป็นเมืองมาแต่โบราณ แต่หาคูหรือเทินและกำแพงไม่ได้ วัดเก่าที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ชื่อวัดกาทิ้ง

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 1,582

นิทานพื้นบ้าน ซากอ้อยนำทาง

นิทานพื้นบ้าน ซากอ้อยนำทาง

มีครอบครัวหนึ่งมีพ่อแม่และลูกสี่คน พ่อกับแม่ไปทำงานหาของกินมาได้ก็ไม่พอให้ลูกๆ ทั้งสี่คนกิน เพราะทั้งสี่คนกินจุ แม่จึงได้พ่อพาลูกๆ ไปปล่อย เพราะเลี้ยงไม่ไหว คนแรกให้น้ำไปกินแล้วก็ทิ้งไว้ คนที่สองให้ผลไม้ คนที่สามให้ข้าว คนที่สี่น้องสุดท้องให้อ้อย คนที่สี่เป็นคนที่กินจุที่สุด จึงเริ่มกินอ้อยตั้งแต่ออกเดินทาง แล้วคายทิ้งไปตามทาง พอถึงที่หมายพ่อบอกว่าให้รออยู่ แล้วจะกลับมารับ รอจนเช้าพ่อก็ไม่มารับ จึงเดินตามซากอ้อยที่คายไว้ตามทาง ลูกคนสุดท้องจึงกลับบ้านถูก

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 1,459

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ วัดสว่างอารมณ์ อยู่ในตำบลนครชุม เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร มีพุทธลักษณะที่งดงามยิ่งเป็นหลักฐานสำคัญประกอบข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน (ก่อนสุโขทัย) ขนาดหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร จากการบอกเล่าพบหลวงพ่อในดินลักษณะคล้ายจอมปลวกจึงขุดกันออกมา มองดูคล้ายท่านอยู่ในอุโมงค์ สันนิษฐานว่าคงหลบพวกพม่าที่มาตีเมืองในสมัยนั้น หรือปราฏิหารย์ของท่านก็ไม่อาจทราบได้ ท่านเป็นที่เคารพบูชาของชาวนครชุม และชาวกำแพงเพชรมาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 4 ชาวจังหวัดกำแพงเพชร จะจัดงานประเพณีนมัสการปิดทอง "หลวงพ่ออุโมงค์" เป็นประจำทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,617

นิทานพื้นบ้าน เรื่องดาวลูกไก่

นิทานพื้นบ้าน เรื่องดาวลูกไก่

ณ เชิงเขาแหํงหนึ่ง มีกระท่อมอยูํหลังหนึ่ง ซึ่งมีตากับยายอาศัยอยูํ 2 คน มีอาชีพทำไรํทำนาอยูํบนเชิงเขา อยูํมาวันหนึ่งมีพระธุดงค์ได้มาปักกลดอยูํใกล้บ้านตากับยาย ตากับยายเลยคิดวำจะทำอะไรให้พระฉันดี ยายก็คิดวำผลไม้บนเชิงเขาก็ไมํคํอยมี กลัวพระจะฉันไมํอิ่ม ก็เลยคิดวำที่บ้านมีไกํอยูํ 1 ตัว และแมํไกํตัวนี้ได้มีลูกอีก 7 ตัว ยายจึงคิดจะทำแกงไกํถวายพระ แมํไกํได้ยินเข้าจึงร้องไห้ แล้วเอาปีกโอบลูกไกํทั้ง 7 ตัวไว้ แล้วบอกกับลูกวำ ลูกเอยพรุํงนี้เช้าแมํต้องตายแล้ว แล้วแมํไกํได้สอนลูกไกํทั้ง 7 ตัว วำให้รักกันให้มากๆ พอรุํงเช้ามาตาก็ก่อไฟไว้เพื่อที่เตรียมจะแกงไก่ พอลูกไกํเห็นตากำลังเชือดคอแมํไกํ ลูกไกํเห็นดังนั้นจึงเสียใจกระโดดเข้ากองไฟตายตามแมํไกํทั้ง 7 ตัว ตาจึงได้ทำแกงไก่ถวายพระด้วยความที่ลูกไกํมีใจประเสริฐนึกถึงแม่ตัวเองตลอดเวลา จึงไปเกิดเป็นดาวลูกไกํ ทั้ง 7 จนถึงปัจจุบันนี้

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 36,074

ตำนานบ้านสลกบาตร

ตำนานบ้านสลกบาตร

เมื่อประมาณ 200 ปีเศษ ได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่่ง อพยพมาจากทิศตะวันออก โดยมีล้อเกวียน วัว ควายเป็นพาหนะ เพื่อมาหาที่ทำกินและที่อยู่อาศัยในสมัยนั้น รวมกันประมาณ 7-8 ครอบครัว ประมาณ 20 กว่าคน เมื่อเดินทางมาถึงได้จอดล้อเกวียนเพื่อหยุดพักให้วัว ควายกินน้ำกินหญ้า และพักหุงหาอาหารกินกันที่ข้างคลอง ชายโนนและชายคลอง ซึ่งมีต้นตะเคียน ต้นขี้เหล็ก ต้นโพธิ์ ขึ้นอยู่บนโนนอย่างหนา มีคลองน้ำไหลอยู่ในโนน ผู้ที่อพยพมาเป็นสภาพพื้นที่ เกิดความพอใจว่าสภาพที่เห็นนี้พวกเขาสามารถที่จะบุกเบิกหักร้างถางพงเพื่อใช้เป็นที่ทำกินอยู่อยู่อาศัยได้ จึงได้ปรึกษาหารือกันและตกลงกันว่า จะยึดพื้นที่ผื่นนี้เป็นท่ี่ทำไร่ ทำนาและทำกินโดยแบ่งกันไม่ไกลกันนัก แบ่งไปเป็นสัดส่วน 

เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 3,885

ตำนานท่อทองแดง

ตำนานท่อทองแดง

ในอดีตบรรพบุรุษของชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการบริหารจัดการน้ำ จึงได้คิดค้นวิธีการนำน้ำจากสายน้ำต่างๆเข้ามาสู่ชุมชน ชื่อ ท่อทองแดง หรือ ท่อปู่พระยาร่วง” ถูกสร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระร่วงเจ้า ตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่พอมาถึงสมัยอยุธยา ก็ถูกทอดทิ้งไม่ได้ใช้งาน และถมหายไปจนหมด ผู้อาวุโสของชุมชนเล่าว่า เรื่องท่อทองแดง นี้ถูกเล่าขานต่อๆ กันมาว่า ถูกฝังไว้ใต้ดินคูเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่สมัยเป็นเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยา ในขณะนั้นพม่าได้ยกทัพเข้ามาโจมตีกำแพงเพชรหลายครั้งแต่ตีไม่สำเร็จ จึงได้ล้อมเมืองไว้เพื่อให้คนในเมืองอดตาย แต่ชาวบ้านก็ได้อาศัยน้ำจากท่อทองแดงประทังชีวิต แต่ต่อมามีคนชื่อ หมื่นแสน” เกิดคิดมักใหญ่ไฝ่สูง ทรยศบ้านเมืองนำเรื่อง ท่อทองแดง” ไปบอกกับพม่า แม่ทัพพม่ารู้ดังนั้นจึงฆ่าหมื่นแสน แล้วนำศพไปใส่ไว้ในท่อทองแดงและปิดเสีย จนทำให้ชาวบ้านต้องอดอยากเพราะขาดน้ำจนเป็นผลให้พม่าเข้ายึดเมืองได้ในที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,216

นิทานพื้นบ้าน เรื่องพ่อตากับลูกเขย

นิทานพื้นบ้าน เรื่องพ่อตากับลูกเขย

มีพ่อกับลูกเขยอยูํบ้านด้วยกัน วันหนึ่งลูกเขยไปหาปลามาได้ เอาไปปิ้ง แล้วก็กินแต่หนังปลา เหลือเนื้อปลาไว้ให้พ่อตา พอพ่อตากลับมาก็ถามวำ “ทำไมเหลือแต่เนื้อปลาไม่มีหนัง ”ลูกเขยบอกวำ “กินหนังหมดแล้ว ” พ่อตาก็เลยบอกว่า “วันหลังอย่ากินหนังนะเดี๋ยวพ่อมากิน” วันต่อมาลูกเขยได้เผือกมา จึงเอามาต้ม แล้วกินเนื้อหมด เหลือแต่หนังไว้ให้พ่อตากิน

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 5,941

นิทานพื้นบ้าน เรื่องทำไมคนถึงกินข้าว 3 มื้อ

นิทานพื้นบ้าน เรื่องทำไมคนถึงกินข้าว 3 มื้อ

มนุษย์รู้จักทำไร่ทำนาเลี้ยงชีพมาหลายพันปีแล้ว โดยพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ ปีไหนฝนแล้งก็จะเหนื่อยยากอดอยากมากกว่าปีอื่นๆ เพราะข้าวตาย พระอิศวรมองลงมาจากสวรรค์ รู้สึกสงสารชาวนามาก เลยใช้ให้ควายลงไปโลกมนุษย์ไปบอกชาวนาว่า “ต่อไปนี้ ให้กินข้าว 3 วันมื้อหนึ่ง จะได้ไม่ต้องลำบากปลูกข้าวได้พอกิน” ควายรับปากดิบดีว่าจะไปบอกตามที่สั่ง พอไปถึงทุ่งนาเห็นหนองน้ำใหญ่น่าลงไปเล่นตามสัญชาติญาณของควายที่ชอบนอนแช่ในปลัก นอนแช่น้ำเย็นสบายจนบ่ายคล้อยก็นึกขึ้นได้ว่าพระอิศวรใช้มาส่งข้าว จำได้แค่ว่าอะไรสามๆ เลยบอกชาวนาว่า “ต่อไปนี้พระอิศวรให้กินข้าววันละ 3 มื้อ จากที่ลำบากอยู่แล้วยิ่งลำบากเข้าไปใหญ่ พอกลับไปเฝ้าพระอิศวร พระอิศวรทวนถามว่าไปบอกเขาว่าอย่างไร ควายตอบว่า “ก็ตามที่พระองค์สั่งพระเจ้าค่ะ ให้กินวันละสามมื้อ” “ไอ้โง่เอ๊ย ! ชาวนายิ่งเดือดร้อนเข้าไปใหญ่ ข้าสั่งให้กินสามวันมื้อ” แต่ก็แก้ไขคำพูดไม่ได้แล้ว จึงสั่งให้ควายไปช่วยชาวนาไถนาปลูกข้าวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 5,613

ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

ภาษาพูด แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ภาษาพูดของกลุ่มชนดั้งเดิมของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาแต่อดีต และภาษาคำพูดของกลุ่มชนที่อพยพโยกย้ายมาจากถิ่นอื่น ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่มหลายภาษา ชุมชนดั้งเดิมคือ ชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำปิงทั้งสองข้าง ได้แก่ เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) นครชุม ไตรตรึงษ์ และคณที กับชุมชนที่อยู่ลึกเข้าไป ระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรกับจังหวัดสุโขทัย คือ เมืองบางพาน หรือพรานกระต่ายในปัจจุบัน กลุ่มชนดังกล่าวนี้ใช้ภาษาพูดที่เป็นภาษาถิ่นไทยกลาง แต่มีเสียงและความหมาย ของคำผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยที่เรียกกันว่า เหน่อ

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2020 ผู้เช้าชม 9,130