พระนางกำแพงขาโต๊ะ

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 7,186

[16.4746251, 99.5079925, พระนางกำแพงขาโต๊ะ]

        เมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองกว้างใหญ่ มีสถาปัตยกรรมแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งวัดเก่าแก่แต่โบราณกาลซึ่งมีมากถึง 20 วัด โดยสมัยก่อนนิยมสร้างวัดไว้ภายในตัวเมืองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งสร้างไว้นอกเมืองด้วยเหตุนี้ เมืองกำแพงเพชร จึงมีพระกรุพระเก่าที่ขุดพบทั้งจากวัดในตัวเมือง และวัดนอกเมือง มากมายหลายกรุหลายวัดด้วยกัน ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการพระเครื่อง และที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคียอดนิยม คือ พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อดินเผา เป็นพระกรุที่ขุดพบบริเวณทุ่งเศรษฐี ภายในตัวเมืองกำแพงเพชรนอกจากนี้ยังมีการขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ อีกจำนวนมาก โดยได้จากวัดทั้งหลายที่อยู่ภายในเมืองกำแพงเพชร พระเครื่องที่ขุดพบนี้มีหลายพิมพ์ มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดปานกลาง และขนาดใหญ่ในจำนวนนี้ก็มี วัดอาวาสน้อย รวมอยู่ด้วย วัดนี้อยู่ภายในตัวเมืองกำแพงเพชร ได้ขุดพบพระสกุลช่างฝีมือกำแพงเพชร อย่างแท้จริง พระกรุนี้มีหลายพิมพ์ มีอยู่พิมพ์หนึ่งที่องค์พระมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าพระเครื่องทั่วๆ ไป คือ พระกำแพงขาโต๊ะ วัดนี้อยู่เยื้องกับ วัดอาวาสใหญ่ ห่างกันประมาณ 500 เมตร โดยมีทางเข้าแยกจากถนนสายกำแพงเพชร-สุโขทัย (ทางแยกนี้อยู่ตรงข้ามวัดอาวาสใหญ่) วัดอาวาสน้อย เป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่ง หลักฐานที่พบคือสถาปัตยกรรมต่างๆ ภายในวัด ล้วนมีขนาดใหญ่โตมาก โดยเฉพาะฐานที่ตั้งของวิหาร และเจดีย์ ฐานวิหารของวัดนี้นับว่ามีความยาวมากที่สุดแห่งหนึ่งของบรรดาสิ่งก่อสร้างในเมืองกำแพงเพชร บนฐานใหญ่นี้เป็นที่ตั้งของวิหาร ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ 1 องค์ เป็นเจดีย์ประธาน ภายในวิหารมีแท่นพระ เข้าใจว่าเป็นแท่นพระประธาน ด้านหลังวิหารใหญ่ ทางทิศตะวันตกมีเจดีย์ 2 องค์อยู่คู่กัน ขนาดไม่ใหญ่นัก ใกล้ๆ กันนั้นมีแนวกำแพงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเจดีย์ศิลาแลงตั้งอยู่ตรงกลางอีกองค์หนึ่งที่ด้านหลังวัดมีสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง คือ สิ่งก่อสร้างที่เข้าใจว่าน่าจะเป็น "ส้วม” มีลักษณะเป็นบ่อรูปวงกลม ภายในบ่อตรงกลางมีลักษณะคล้ายโพรงกว้าง ความลึกไม่ทราบแน่ชัด เพราะกิ่งไม้ใบไม้ตกลงไปทับถม แต่ประมาณได้ว่า คงไม่ต่ำกว่า 2 เมตร ปากบ่อปูพื้นด้วยศิลาแลง แต่เว้นช่องเล็กๆ ไว้ตรงกลางยาวประมาณ 1 ศอก กว้าง 1 คืบเศษ ช่องตรงกลางนี้ยกพื้นสูงเล็กน้อยบ่อรูปวงกลมนี้มี 3-4 บ่อ เมื่อสันนิษฐานดูแล้ว สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเดียวคือเป็น “ส้วม” ไม่น่าจะเป็นบ่อน้ำ เพราะไม่สามารถใช้สิ่งใดลงไปตักน้ำได้ อีกทั้งลักษณะการสร้างบ่อน้ำโบราณในเมืองกำแพงเพชร ก็มีเป็นแบบอย่างอื่น เช่น ชอบสร้างเป็นบ่อสี่เหลี่ยม ก่อขอบปากบ่อให้สูง เป็นต้น
         โบราณวัตถุที่พบในระหว่างการขุดแต่ง วัดอาวาสน้อย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2512 เจ้าหน้าที่ได้พบเศษทองชิ้นเล็กๆ มีลักษณะเป็นตุ้มหูแบบเสียบกับใบหู และอาจจะมีแผ่นโลหะเล็กๆ คล้องตรงปลายแหลมกันหลุดอีกชั้นหนึ่งก็ได้นอกจากนี้ยังได้พบพลอยสีขาวเม็ดเล็กๆ 1-2 เม็ดรวมอยู่ พลอยเหล่านี้เจียระไนเป็นเม็ดแล้ว และมีรอยของปรอททาไว้ให้สะท้อนแสงข้างหลังแต่ละเม็ดโบราณวัตถุเหล่านี้คงไม่เก่าไปกว่าสมัยอยุธยา และได้พบรวมกันอยู่ในเจดีย์ศิลาแลงองค์หนึ่งซึ่งหักพังเป็นส่วนมากเมื่อปี 2499 กรมศิลปากรได้ขุดค้นภายในองค์เจดีย์ศิลาแลง บนบานวิหารใหญ่ ปรากฏว่าได้พบพระพุทธรูปสมัยต่างๆ รวมกันอยู่ เช่น สมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยา มีจำนวนมาก กรมศิลปากรได้นำพระพุทธรูปดังกล่าวจำนวนหนึ่งไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครกล่าวสำหรับ พระกำแพงขาโต๊ะ กรุวัดอาวาสน้อย ที่ขุดพบในวัดนี้ สร้างด้วยเนื้อชินเงิน เนื้อตะกั่วสนิมแดง และเนื้อดิน พุทธลักษณะ เป็นพระพิมพ์ทรงรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขนาดค่อนข้างใหญ่ ขอบซุ้มเป็นเส้นนูนหนา เว้าตามองค์พระ องค์พระปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐานที่มีลักษณะคล้าย ฐานสิงห์ เหมือนขาโต๊ะ อันเป็นที่มาของชื่อพระพิมพ์นี้ คือ พระกำแพงขาโต๊ะ พุทธศิลป์สมัยสุโขทัยยุคปลาย ฝีมือสกุลช่างกำแพงเพชรอย่างแท้จริง โดยได้ถ่ายทอดพุทธลักษณะมาจาก พระบูชาของเมืองกำแพงเพชรทุกอย่าง สังเกตจากฐานขององค์พระที่เรียกว่า “ขาโต๊ะ” เป็นการถอดแบบมาจากพระบูชาที่เรียกว่า พระกำแพงสามขานั่นเอง มิติองค์พระมีลักษณะนูนสูงกว่าพระทั่วไป องค์พระจึงมีความหนาพอสมควร ทำให้เห็นพระพักตร์และทรวดทรงชัดเจน ปรากฏไรพระศกเป็นเส้นนูนเห็นเด่นชัด พระขนง (คิ้ว) ทั้ง 2 ข้างเป็นเส้นหนา และไม่ได้จรดกัน พระขนงด้านขวาสูงกว่าด้านซ้ายอย่างเห็นได้ชัด พระเนตร (ตา) ทั้ง 2 ข้างไม่เป็นเม็ดกลม แต่มีลักษณะเป็นแบบเส้นนูนยาวรี ในส่วนของพระกรรณ (หู) ด้านขวาปรากฏชัดเจน และยาวกว่าด้านซ้าย พระโอษฐ์ (ปาก) เป็นเส้น 2 เส้นโค้งมนลงคล้ายเสี้ยวพระจันทร์ บริเวณพระอุระ (อก) ปรากฏเส้นสังฆาฏิชัดเจน จากพระอังสา (ไหล่) ด้านซ้ายยาวลงมาจรดถึงบริเวณบั้นพระองค์ (เอว) ไม่ปรากฏพระนาภี (สะดือ) ให้เห็น มีเส้นประคดเอวอยู่เหนือพระหัตถ์ทั้ง 2 ข้างที่ประสานกันพระกำแพงขาโต๊ะ ยังมีการขุดพบจากวัดอื่นๆ อีกด้วย อาทิ วัดบรมธาตุ วัดช้างล้อม วัดอาวาสใหญ่ วัดป่ามืด ฯลฯ สมัยก่อนนักสะสมพระเครื่อง ต่างพยายามหาพระพิมพ์นี้มาครอบครอง เพราะเป็นพระสวยงามคมชัดพิมพ์หนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งศักดิ์ศรีของ เมืองกำแพงเพชร เป็นที่ยอมรับของนักพระเครื่องทั่วประเทศอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ พระกำแพงขาโต๊ะ มีค่านิยมที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และมีราคาสูงในสมัยนั้น แต่พอมาถึงปัจจุบันความนิยมได้ลดน้อยลงไปบ้างด้วยเหตุที่พระมีจำนวนน้อย และมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ (สูงประมาณ 5.0 ซม. กว้างประมาณ 3.5 ซม.) ทำให้คล้องคอไม่ค่อยสะดวก สนนราคาจึงไม่แพงมากนัก (สำหรับค่าของเงินในสมัยนี้ เมื่อเทียบกับคุณค่าของพระพิมพ์นี้ ซึ่งมีอายุหลายร้อยปี) คืออยู่ที่หลักหมื่นต้นถึงหมื่นกลางส่วนด้านพุทธคุณนั้น เป็นที่ยอมรับกันว่า พระกำแพงขาโต๊ะ ยอดเยี่ยมทางด้านโชคลาภ โภคทรัพย์ และเมตตามหานิยม เป็นอย่างยิ่ง

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=159&code_db=DB0003&code_type=P003

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระนางกำแพงขาโต๊ะ. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610005&code_type=01&nu=pages&page_id=198

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=198&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

ตำหนิพระซุ้มกอ

ตำหนิพระซุ้มกอ

 ...นายชิด มหาเล็กหลวงบวรเดช เดิมรับราชการในกระทรวงมหาดไทย ลาป่วย ได้กลับมารักษาตัว ที่บ้านภรรยา เมืองกำแพงเพชร ได้ทูลเกล้าฯ ถวายตำนานพระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นจารึกบนแผ่นลานทอง แด่รัชกาลที่ 5 ขุด ได้จากบริเวณทุ่งเศรษฐี ว่า การพบกรุพระครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุ นครชุม จากเจดีย์ 3 องค์ ได้ถูกซ่อมขึ้นรวมเป็นองค์เดียวโดยชาวพม่า ชื่อพระยาตะก่า แล้วนำยอดฉัตร จากประเทศพม่ามาประดับยอดพระบรมธาตุ ได้บันทึกไว้ว่า หลังจากพบพระพิมพ์จาก เจดีย์ต่างๆ ในบริเวณ ทุ่งเศรษฐี ได้พระพิมพ์ จำนวนมาก พระพิมพ์ เมืองกำแพงเพชร นี้นับถือกัน มาช้านานแล้วว่า มีอานุภาพมาก ผู้ใดมีไว้ จะทำการใด ก็มีความสำเร็จ ผลตามความปรารถนาทุกประการ ทั้งนี้นายชิดได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระพิมพ์ทุ่งเศรษฐี หลายแบบ แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 อีกด้วย ซึ่งท่านได้นำออก พระราชทาน แก่พระบรมวงศานุวงศ์ต่ออีกภายหลัง จนเป็นที่นิยม ในหมู่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สืบต่อมาอีกจนถึงปัจจุบัน ในบริเวณลานทุ่งเศรษฐีมีการพบพระกรุทุ่งเศรษฐีกันมากมายหลายพิมพ์ ที่นิยมมากเห็นจะหนีไม่พ้น พระกำแพงเขย่ง ซึ่งได้แก่พระกำแพงเม็ดขนุน กำแพงพลูจีบ กำแพงกลีบจำปา เป็นต้น และ ที่นิยมเป็นที่สุด เป็น 1 ในชุดเบญจภาคี ก็คือ พระกำแพงซุ้มกอ 

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 25,956

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระว่านหน้าทองนั้นในทรรศนะของผมเป็นพระเครื่องชั้นสูงของกำแพงเพชรอย่างแท้จริง และเป็นพระที่คู่ควรแก่การอาราธนาบูชาประจำตัว เพราะพระว่านหน้าเป็นพระที่พระมหากษตริย์ทรงสร้าง เป็นพระที่ศิลปสวยงามอลังการณ์ตามแบบของสกุลช่างสมัยสุโขทัยซึ่งเป็นยุคทองพระพุทธศาสนา การสร้างพระพิมพ์ด้วยทองคำซึ่งเป็นของสูงค่ามาตั้งแต่โบราณเป็นสิ่งที่บอกในตัวเองว่า พระว่านหน้าทองไม่ใช่พระในระดับธรรมดาแน่ พระกำแพงว่านหน้าทองที่นำมาให้ศึกษาอีกองค์หนึ่ง คือ พระกำแพงลีลาฝักดาบ สำหรับพุทธานุภาพของพระว่านหน้าทองนั้นเป็นที่ประจักษ์แก่นักพระเครื่องยุคเก่ากันมานักต่อนักว่า มีอานุภาพครอบจักรวาลสมดังคำจารึกในใบลานทอง เพื่อให้ท่านได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น จะขอคัดข้อเขียนของ อ.ประชุม ฯ ที่เขียนเล่าเรื่องพระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง ไว้ในหนังสือของท่านเมื่อกึ่งศตวรรษมาแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 8,775

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,345

พระลีลา ทุ่งเศรษฐี พิมพ์เม็ดขนุน

พระลีลา ทุ่งเศรษฐี พิมพ์เม็ดขนุน

พระลีลาเม็ดขนุน หรือกำแพงเม็ดขนุน หรือกำแพงเขย่งก็เรียก ในอดีตเป็นพระที่ได้รับความนิยมสูงกว่าพระกำแพงซุ้มกอ และถูกจัดอยู่ในชุดพระเบญจภาคีชุดใหญ่ แต่ภายหลัง พระกำแพงเม็ดขนุนเป็นพระที่ค่อนข้างหายาก และเป็นพระที่มีลักษณะทรงยาว ซึ่งไม่เข้าชุดกับพระเบญจภาคีที่เหลือ ภายหลังจึงได้มีการเปลี่ยนเอาพระกำแพงซุ้มกอเข้าไปแทนที่ พุทธลักษณะพระกำแพงเม็ดขนุน เป็นพระปางลีลาศิลปสุโขทัย แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็กส่วนเนื้อพระกำแพงเม็ดขนุน แบ่งออกได้ดังนี้ เนื้อดิน เนื้อว่านล้วนๆ เนื้อว่านหน้าทอง และเนื้อว่านหน้าเงิน (คลิกกลับไปดูกำแพงเม็ดขนุน) เนื้อชิน ส่วนเนื้อที่ได้รับความนิยมที่สุด คือเนื้อดิน มีด้วยกันหลายสี เช่น เนื้อสีแดง,เนื้อสีเหลือง, เนื้อสีเขียว, เนื้อสีดำ และเนื้อสีผ่าน (คือมีมากกว่า1 สี ในองค์เดียวกัน) รองลงมาก็จะเป็นเนื้อว่านหน้าทอง และว่านหน้าเงิน แต่ก็เป็นเนื้อที่หายากมากเช่นกัน

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 18,228

พระลูกแป้งเดี่ยว

พระลูกแป้งเดี่ยว

พระนางกำแพงลูกแป้ง เป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นพระอีกพิมพ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในบรรดาพระเครื่องของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระในตระกูลพระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์เล็กนั่นเอง พุทธลักษณะเป็นพระปางมารวิชัย ประทับนั่งสมาธิราบบนฐานหนึ่งชั้นและมีเส้นกรอบเป็นเส้นซุ้มรอบรูปสามเหลี่ยม และไม่มีการตัดขอบซึ่งจะต้องมีเส้นซุ้มรอบแบบนี้ทุกองค์ พบขึ้นจากกรุทั้งฝั่งนครชุมและลานทุ่งเศรษฐี ตลอดจนบริเวณที่ใกล้เคียง เช่นที่กรุวัดพิกุล กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดป่ามืด กรุวัดพระบรมธาตุ และกรุวัดพระแก้ว เป็นต้น พระนางกำแพงลูกแป้ง มีหลายพิมพ์ตามจำนวนองค์พระที่ปรากฎรวมกันอยู่ เช่น พระนางกำแพงลูกแป้งเดี่ยว พระนางกำแพงลูกแป้งคู่ พระนางกำแพงลูกแป้งสาม พระนางกำแพงลูกแป้งห้า เป็นต้น ส่วนทางด้านพุทธคุณนั้น เป็นที่ยอมรับการมาอย่างช้านานด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 9,522

พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ

พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ

พระซุ้มกอพิมพ์อื่นๆนอกจากพิมพ์ใหญ่ นั้นเดิมมีการแบ่งออกเป็น พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก และยังมีแยกย่อยแบบพิมพ์พิเศษ เช่น พิมพ์เล็กแบบยอดแหลม เรียกกันตามลักษณะขององค์ท่านว่าพิมพ์ พัดใบลาน ส่วนพิมพ์เล็กที่ไม่ตัดขอบก็เรียกกันว่าขนมเปี๊ยะ และดังที่ว่าไว้ว่า พระซุ้มกอนั้นขึ้นกันหลายกรุ ลักษณะในรายละเอียดมีผิดกันไปบ้าง แต่ก็ยังมีลักษณะรวมของท่าน ทั้งทางเนื้อและทางพิมพ์ทรง องค์ที่เห็นในภาพเป็นชินเงินระเบิด ด้านหลังเป็นแอ่ง ถ้าใช้จนสึกๆก็อาจมีการโต้แย้งกันว่าใช่ซุ้มกอแน่ละหรือ หากโชคดีที่ยังถือว่าสมบูรณ์ เนื้อหาสาระจัดจ้าน คนที่ผ่านพระกำแพงเนื้อชินกรุเก่าๆ นั้น ถือว่าพิจารณาง่ายพระซุ้มกอนี้ยังมีแบบเนื้อว่านล้วน และเนื้อแบบหน้าทอง

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 13,111

กรุวัดพระบรมธาตุ

กรุวัดพระบรมธาตุ

กรุวัดพระบรมธาตุ ทั้งตั้งกรุวัดพระบรมธาตุ ข้ามสะพานกำแพงเพชรไปทางตะวันตก จากหัวสะพานเลี้ยวขวาไปประมาณ 900 เมตร  ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเล็บมือนาง พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่  พระใบพุทรา พระเม็ดขนุนพิมพ์ใหญ๋ พระกลีบบัว พระเม็ดขนุนพิมพ์กลาง พระนางพญาเศียรโต พระพูลจีบ พระนางพญากำแพงห้าเหลี่ยม พระกำแพงขาวพิมพ์กลาง พระนางพญาตราตาราง พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระอูทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระเปิดโลก พระกำแพงขาโต๊ะปิดทอง พระเปิดโลก พระกำแพงห้าร้อย พระลีลากำแพง พระงบน้ำอ้อยสิบหกพระองค์ พระลีลากำแพง พระท่ามะปราง พระเชยคางข้ามเม็ดพิมพ์ใหญ่ พระเชยคางข้างเม็ดพิมพ์เล็ก พระซุ้มยอ พระยอดขุนพล พระนาคปรก พระเม็ดมะลื่น และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 9,681

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ลายกนก กรุวัดพิกุล อมตะทั้งพุทธศิลป์ เปี่ยมล้นด้วยพุทธคุณ “มีกูแล้วไม่จน” โดย ไตรเทพ ไกรงูพระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ.2447 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ.1279

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 21,333

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

ที่ตั้งกรุพระวัดทุ่งเศรษฐี อยู่ทิศตะวันตกของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันที่ตั้งกรุถูกขุดเป็นสระกว้างประมาณ 600 ตารางเมตร ชาวบ้านนิยมเรียกคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ก็เห็นจะเป็นนามมงคลของคำว่า "เศรษฐี" กรุพระต่างๆ ที่ชาวบ้านนิยมเรียกใช้นามคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ขอสรุปมีกรุดังนี้ กรุวัดทุ่งเศรษฐี กรุหนองลังกา กรุซุ้มกอ กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุตาลดำ กรุคลองไพร กรุบริเวณวัดพระบรมธาุและกรุอื่่นๆ ที่อยู่ในบริเวณลานทุ่ง กรุพระต่างๆ ที่เขียนนี้ สมัยก่อนเป็นบริเวณทุ่งนาของเศรษฐีพิกุล ปัจจุบันชาวบ้านจึงเรียกว่า "กรุทุ่งเศรษฐี"

 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 8,423

พระพลูจีบว่านหน้าทอง

พระพลูจีบว่านหน้าทอง

พระกำแพงพลูจีบ เป็นพระที่มีพุทธลักษณะลีลาก้าวย่างไปข้างหน้า แต่หันด้านข้างออก เป็นพระที่คล้ายคลึงกับพระกำแพงเม็ดขนุน ผิดกันตรงที่องค์พระผอมกว่า และตื้นกว่าพระกำแพงพลูจีบ เป็นพระที่มีการสร้างประมาณ 600 กว่าปี เท่าๆ กับพระกำแพงซุ้มกอ และพระเม็ดขนุนวัสดุในการใช้สร้าง ประกอบด้วยเนื้อดินผสมว่านเกสร เนื้อว่านล้วน ๆ มีหน้าทองปิด และเนื้อชิน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 4,037