พระกรุกำแพงเพชร

พระกรุกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 5,819

[16.4821705, 99.5081905, พระกรุกำแพงเพชร]

       "การเรียนรู้พระกรุมีความสำคัญมาก เพราะปัจจุบันผิดเพี้ยนไปเกือบทั้งหมด ความถูกต้องแท้จริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง สิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงความถูกต้องแท้จริงของพระกรุ ต้องมาจากธรรมชาติที่ปรากฏให้เห็นขององค์พระนั้นๆ" คำกล่าวของ "ชัยฤทธิ์ โสภณโภไคย" เจ้าของพิพิธภัณฑ์โสภณไคย ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร ถือเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่รวบรวมพระกรุกำแพงเพชรไว้มากที่สุดแห่งหนึ่ง
       ชื่อของ "ชัยฤทธิ์" รู้จักกันดีในแวดวงนักเลยพระกรุ โดยเฉพาะที่กำแพงเพชร เพราะนอกจากจะเป็นผู้ที่มีพระกรุกำแพงเพชรไว้ในครอบครองมากทีสุดแล้ว ยังนับเป็น "ผู้รู้" เรื่องพระกรุกำแพงเพชรอย่างหาตัวจับได้ยาก ระหว่างศึกษาข้อมูลและข้อเท็จจริงของพระกรุ บางคนถึงกับกล่าวหาว่าเขาเป็น "คนบ้า" ที่จู่ๆ ก็ปืนขึ้นไปบนกำแพงวัด ก้มๆ เงยๆ อยู่บนนั้นนานหลายวัน ขณะที่บางครั้งก็ไปขุดดินใต้ต้นไม้ลึกลงไปเป็นเมตร โดยไม่รู้ว่าเขากำลังทำอะไร แต่สำหรับชัยฤทธิ์แล้วการกระทำเหล่านั้น ทำให้ได้ความรู้กลับมาเป็นผลตอบแทน ไม่ใช้รู้แบบงูๆ ปลาๆ แต่ละเอียด ลึกซึ้ง และรอบด้าน
       นอกจากมีพิพิธภัณฑ์ของตัวเองแล้ว ชัยฤทธิ์ยังเป็นนักอนุรักษ์ที่อยากถ่ายทอดความรู้และเรื่องราวอันล้ำค่าของพระกรุกำแพงเพชรให้แก่คนรุ่นหลังได้สืบสานรักษาพระดีของเมืองกำแพงเพชรให้คงอยู่อย่างถูกต้องชั่วลูกชั่วหลาน เขาจึงตัดสินใจเปิดอบรมเรือ่งพระกรุกำแพงเพชรของแท้ในแนวทางและวิธีการของเขาเอง ซึ่งมีรายละเอียดเฉพาะตัว
       ก่อนหนัานี้ชัยฤทธิ์ ไม่คิดจะเป็น "ผู้ชี้แนะ" เท่าไหร่นัก เขามักถ่อมตัวว่าไม่มีความรอบรู้พอที่จะเป็นครูบาอาจารย์สอนใครได้ ได้แต่นำความรู้ที่มีทั้งหมดแปรเปลี่ยนเป็นตัวอักษร จนได้หนังสือดีออกมาหนึ่งเล่ม ชื่อ "พระกรุกำแพงเพชร" เนื้อหาบอกเล่าถึงพระกรุของเมืองกำแพงเพชรที่มีในปัจจุบัน รวมถึงกระกรุพิมพ์ต่างๆ ลักษณะ รูปร่างแต่ละพิมพ์เป็นอย่างไร
       ชัยฤทธิ์ กล่าวว่าที่ผ่านมาคนนจำนวนมากถูกหลอกในวงการขายพระ และคนทำพระปลอมก็นิยมทำปลอมพระซุ้มกอและพระลีลาเม็ดขนุน เพราะอยู่ในชุด "เบญจภาคี" อีกทังเชื่อ "มีกูแล้วไม่จน" ซึ่งเขากล่าวปนเสียงหัวเราะว่า คนที่ไม่จนคือคนที่ขายพระปลอมนั่นเอง เพราะทำขายกันจนรวยเป็นล่ำเป็นสัน "ในอดีตคนรุ่่นก่อนจะนิยมเรียกพระกรุ โดยระบุว่าเป็นวัดนั้น วันนี้ เช่น กรุวัดพิกุล กรุวัดบรมธาตุ เป็นต้น ที่ต้องเรียกอย่างนี้ก็เพื่อให้พระกรุของวัดนั้นๆ ทำราคาได้ ปัจจุบันก็ยังเป็นหมือนในอดีตที่เรียกกัน แต่อยากถามว่าการระบุว่าเป็นพระกรุวัดนั้้น วันนี้ เขารู้แท้แน่ชัดหรือไม่ ว่ามันใช่พระกรุจริงๆ หรือทำปลอมขึ้นมา ผมว่าทุกคนต่างก็ไม่รู้ เพราะไม่ใช่คนสร้าง ไม่ใช่คนขุด แล้วถามว่าคนวงการพระในปัจจุบันยอมรับความจริงข้อนี้กันได้ไหม คำตอบสำหรับผมคือ เขารับไม่ได้ เพราะมีเรื่องผลประโยชน์เงินทองเข้ามาเกี่ยวข้อง เขาจำเป็นเหลือเกินที่จะต้องระบุว่าเป็นพระกรุวัดอะไร" นี้คืออีกเหตุผลหนึ่งของการเปิดอบรมดูพระกรุครั้งนี้
       สำหรับการอบรม ชัยฤทธิ์บอกเล่าตั้งแต่เบื้องต้นของพระองค์จริง การดูพระเนื้อเป็นอย่างไร คราบรา นวลกรุ "คำว่านวลกรุ ต้องดูว่า รา กับ นวลกรุ อันไหนเกิดก่อนกัน คำตอบคือราต้องเกิดติดเนื้อองค์พระก่อน เพราะฉะนั้น พระองค์ไหนก็ตามถ้าเกิดราปิดทับนวลกรุ โยนท้ิงได้ทันที เพราะตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว ราต้องอยู่ใต้นวบกรุ เพราะนวลกรุเป็นส่ิงสะสมที่เกิดขึ้นทีหลัง ค่อยสะสมไปเรื่อยๆ จนติดแน่น ดังนั้นนวลกรุจะปิดทับราเสมอ ต้องไม่ลืมหลักวิทยาศาสตร์ข้อนี้ ถ้าลืมเมื่อไรก้เท่ากับว่าเราเข้าไปตกบ่วงของคนขายพระปลอม ต้องระวัน"
       ข้อสำคัญประการหนึ่งของการเรียนรู้ คือต้องเห็นด้วยตา ด้วยเหตุนี้ในการอบรมของชัยฤทธิ์ เขาจึงลงทุนหอบหิ้วพระกรุของแท้จากพิพิธภัณฑ์สมบัติส่วนตัว ไปให้คนเรียนได้ส่องพระจริงถึง 50 องค์ เพื่อให้เห็นจุดเด่นจุดด้อยกับตาตัวเองกันเลยทีเดียว "จุดประสงค์ของผม คืออยากให้ทุกคนที่มาอบรมได้เห็นพระองค์จริง พระนี้ผมจัดใส่ตู้ไว้ให้ดู ถ้าใครมีกล้องก็สามารถส่องดูที่องค์พระได้เลย นอกจากนี้ ผมยังจัดเตรียมไว้ให้หยิบสิ่งกับมือตัวเองอีกประมาณ 10 องค์ เพราะฉะนั้น ถามหน่อยว่ามีใครจะนำพระชุ้มกอ พระลีลาเม็ดขนุนที่เป็นของกรุแท้ๆ ให้คุณได้หยิบส่อง นอกจากที่นี้ที่เดียว         
       อย่างไรก็ดี การสอนให้คนรู้ดูพระให้เป็นว่าจริงหรือไม่จริง แท้หรือไม่แท้ ชัยฤทธิ์บอกว่าเหมือนโปลิสจับขโมย พอแท้ทางหนึ่งได้ ก็ไปโผล่อีกทาง "พวกขายพระปลอมมีวิธีหนึ่งที่บอกได้ยากมาก ถ้าเขาใช้วิธีนี้ต้องบอกเลยว่า จับผิดได้ยากมาก แต่ก็สามารถจับได้ ผมจะบอกว่าวิธีเป็นอย่างไร ขอไปเฉลยในการอบรม ต้องไปดูตอนอบรมเท่านั้น ไปเห็นองค์จริงแล้วผมจะบอก" เจ้าของพิพิธภัณฑ์โสภณไคยเย้าแหย่กันเล่นพอสนุก
       สุดท้ายแล้ว พระกรุกำแพงเพชรทุกรุที่คนรุ่นก่อนสร้างไว้ ในเรื่องพุทธคุณนั้นบอกได้ว่าทุกส่ิงดีหมด แต่อยู่ที่ตัวคนปฏิบัติเท่านั้นว่าจะทำอย่างไร ผิดศีลธรรมหรือไม่ เมื่อทำไม่ดี ย่อมได้ไม่ดีตอบแทน หากใครจะแย้งว่าเยอะแยะไปที่ทำไม่ดี แต่ได้ดี บอกเลยว่านั้นเป็นเพราะ "บุญเก่า" เขายังไม่หมด เมื่อไรที่หมดบุญเก่า เขาต้องประสบชะตากรรมอย่างแน่นอน

 

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : https://www.matichon.co.th/prachachuen/prachachuen-scoop/news_1390456

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). พระกรุกำแพงเพชร. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610005&code_type=01&nu=pages&page_id=1151

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1151&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุคลองไพร

กรุคลองไพร

ที่ตั้งกรุพระคลองไพร ฝั่งตะวันตกจากใต้หัวสะพานกำแพงเพชรไปทางทิศใต้ 2 กิโลเมตร ทิศตะวันออกของหัวสะพานคลองไพร ประมาณ 100 เมตร ปัจจุบันถูกทำเป็นพื้นที่การเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระพลูจีบ พระอู่ทองทองเจดีย์ พระกลีบบัว พระเปิดโลก พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 4,128

กรุสี่อิริยาบถ

กรุสี่อิริยาบถ

ที่ตั้งกรุพระวัดสี่อิริยาบถ อยู่เหนือกรุวัดป่ามือประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระท่ามะปราง พระคู่สวดอุปฌา พระกำแพงขาโต๊ะ พระเปิดโลก พระอู่ทอง ฐานสำเภา พระเทริดขนนก พระโพธิบัลลังก์ พระกำแพงห้าร้อย พระนางพญาแขนอ่อนฐานบัว พระลีลากำแพง พระประทานพร พระอู่ทอง ฐานสูง พระนาคปรก พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,980

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก

“พระวชิรสารโสภณ” หรือ “หลวงพ่อจุล อิสสรญาโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดหงษ์ทอง ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร และอดีตเจ้าคณะอำเภอขาณุวรลักษบุรี วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมคือ “เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก วัดหงษ์ทอง กำแพงเพชร พ.ศ.2499″… จัดสร้างขึ้นวาระที่คณะศิษย์ชาวเมืองกำแพงเพชร สร้างถวายไว้แจกเป็นที่ระลึก ลักษณะเป็นเหรียญรูปสี่เหลี่ยม มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อจุลนั่งขัดสมาธิเต็มองค์หันหน้าตรง ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า “ที่ระฤกในงานถวายของขวัญพระครูวิกรมวชิรสาร วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2499” ด้านหลังเหรียญไม่มีขอบ ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ ปัจจุบันเริ่มหายาก ส่วนใหญ่ถูกตามเก็บเข้ากรุ …

เผยแพร่เมื่อ 06-09-2019 ผู้เช้าชม 3,576

กรุซุ้มกอ

กรุซุ้มกอ

ที่ตั้งกรุพระวัดซุ้มกอ อยู่ตรงข้ามท่ารถ บขส. ห่างริมถนนกำแพงเพชร ประมาณ 40 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง พระเม็ดขนุน พระซุ้มยอ พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก พระลีลากำแพง พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 6,434

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

วันศุกร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 1900 กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไท พระองค์ทรงเสด็จมาสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ และทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ (วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน) การสถาปนาพระธาตุครั้งนั้นมีพระฤาษี (พระธรรมยุทธิ์ปัจจุบัน) มาร่วมในมหาพิธี 11 ตน ฤาษีทั้งปวงซึ่งมีวิชาอาคมแก่กล้าทั้งสิ้น ในจำนวนฤาษี ซึ่งมีฤาษีตาไฟ ฤาษีตาวัว (หลวงตาไฟหลวงตาวัว) เป็นใหญ่จึงปรึกษากันสร้างเครื่องประดิษฐ์ด้วยฤทธิ์ให้มีอนุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลายเพื่อสร้างถวายมหากษัตรย์ฯ ทรงเสด็จสถาปนาพระธาตุในมหาพิธี พระฤาษีตาไฟจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 4,864

พระซุ้มเสมา

พระซุ้มเสมา

พระซุ้มเสมาทิศ มีผู้ค้นพบมากมายหลากหลายกรุ ในแถบพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ล้วนเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งสิ้น ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ 2450 เป็นต้นมาจน ประมาณ พ.ศ 2490-6 มีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการและมีผู้พบพระซุ้มเสมาทิศ ทั้งที่กรุวัดอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก โดยพบพร้อมกับพระชินราชใบมะยม มีทั้งเนื้อดิน และชินแข็งสภาพผุกร่อนไม่สมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับที่พบตามวัดร้าง และเนินดินตามเขตเมืองเก่าในจังหวัดชัยนาท มีบางส่วนพบที่จังหวัดกำแพงเพชร กรุวัดอาวาสใหญ่ส่วนมากเป็นพิมพ์กลาง เนื้อดินและเนื้อชินแก่ตะกั่วมีไขขาวแซมตามซอกองค์พระและที่กรุวัดอาวาสน้อย เนื้อชินจะเป็นลักษณะเป็นชินแข็งมีสนิมตีนกาและตามรอยผุระเบิดจะเป็นปื้นเกร็ดกระดี่มีปรอทขาวสีซีดแห้งสมอายุ เมื่อสัมผัสถูกความชื้นนานไปจะกลับเป็นสีเทาเข้มจนเกือบดำ กรุสำคัญที่ถือได้ว่ามีพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศทุกพิมพ์อยู่เป็นจำนวนมาก 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 6,670

พระซุ้มยอ

พระซุ้มยอ

พระซุ้มยอนี้ นักพระเครื่องสมัยก่อนเห็นลวดลายเรือนแก้วของพระเครื่องพิมพ์นี้ใหญ่เป็นตุ่มคล้ายลูกยอ จึงเรียกกันว่า “ ปรกลูกยอ “ เนื้อดินมักมีคราบกรุจับและมีว่านดอกมะขามอยู่ทั่วไป เนื้อดินมีทั้งชนิดเนื้อค่อนข้างหยาบและเนื้อละเอียดนุ่ม มีทั้งกลังเรียบและหลังเบี้ย เนื้อชินเป็นชินเงินสนิมเขียว สนิมปรอท และสนิมดำก็มี สำหรับชนิดเนื้อชินมักทำหลังเป็นร่อง หลังเรียบก็มีบ้างแต่ก็มีน้อยมาก ขนาดมี 2 ขนาด ขนาดเล็กและขนาดใหญ่แต่ว่าต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขนาดใหญ่สูงประมาณ 2.5 ซม.กว้าง 1.5 ซม.” 
พระกำแพงซุ้มยอพบที่กรุวัดพระบรมธาตุ ทั้งชนิดเนื้อชินและเนื้อดิน จากนั้นก็พบที่บริเวณทุ่งเศรษฐีที่กรุหนองพิกุล และกรุซุ้มกอ นับว่าเป็นพระเครื่องทุ่งเศรษฐีอีกพิมพ์หนึ่งที่มีชื่อเสียงเคียงคู่มากับบรรดาพระชั้นนำของเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบันนี้พระกำแพงซุ้มยอเป็นพระที่หายากไปแล้ว ราคาค่านิยมยังไม่สูงมากเหมือนกับพระกำแพงซุ้มกอ แต่ก็ถือว่าเป็นพระที่นำมาอาราธนาบูชาติดตัวได้อย่างเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าพระพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 12,552

พระสมเด็จเนื้อดิน

พระสมเด็จเนื้อดิน

พระอธิการกลึง วัดคูยาง กำแพงเพชร ได้รวบรวม พระเครื่องของกรุกำแพงเพชรที่แตกหัก ที่ได้ค้นพบจากการรื้อสร้างบูรณะพระเจดีย์ทั้งสามองค์ของวัดพระบรมธาตุ นำมาป่นแล้วกดพิมพ์ขึ้นใหม่ โดยมักจะล้อพิมพ์พระดังๆ หลา

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 18,061

ประเภทของพระเครื่องกำแพงเพชร

ประเภทของพระเครื่องกำแพงเพชร

 พระเครื่อง พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกระหนก (กระหนกหมายถึงลวดลาย) พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ไม่มีกระหนก (ซุ้มกอดำ) และพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน พระยอดนิยมของพระเครื่องจังหวัดกำแพงเพชร พระเครื่องกำแพงเพชร มีมากมายหลายชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กันเช่น เรียกชื่อตามสถานที่ หรือกรุที่พระเครื่องบรรจุอยู่ เช่น กำแพงทุ่งเศรษฐีใช้เรียกชื่อพระเครื่องทุกชนิดที่ได้จากบริเวณเมืองเก่าฝั่งตะวันตกที่เรียกกันว่า “ทุ่งเศรษฐี”และวงการนักพระเครื่องทั่วไปเมื่อกล่าวถึงพระกำแพงเพชรหรือพระที่อื่นคล้ายพระกำแพงเพชร ก็เติมคำว่า“กำแพง”ลงข้างหน้า ชื่อพระนั้น ๆ เช่น เรียกพระลีลาศ(เดิน)ของจังหวัดกำแพงเพชรว่า“กำแพงเขย่ง”เรียกพระสุพรรณว่า“กำแพงเขย่งสุพรรณ”พระกำแพงเพชรที่มีลักษณะคล้ายกับพระอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก่อนเรียกชื่อตามนั้น เช่น กำแพงท่ามะปราง  เรียกชื่อตามพุทธลักษณะอาการขององค์พระ เช่น กำแพงลีลาศ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“กำแพงเขย่ง”)เพราะดูอาการ เดินนั้นเหมือนเขย่งพระบาทข้างหนึ่ง) กำแพงประทานพร กำแพงนาคปรก เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,041

สมเด็จพบกรุพระ

สมเด็จพบกรุพระ

ตามตำนานท่านพระมหาโต ได้ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชรสมัยอายุท่าน 62 ปี คือตรงกับ พ.ศ. 2392 ประจำวัดที่วัดเสด็จ ท่านได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ซึ่งอยู่ในโบสถ์วัดเสด็จ (คือพบเป็นศิลาจารึกหลักที่ 3) ได้ความว่า มีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง คือตรงข้ามกับตัวเมือง สมัยนั้นพระยาน้อยซึ่งเป็นเจ้าเมือง เมื่อทราบข่าวจึงได้เป่าร้องให้ชาวบ้านไปช่วยกันค้นหาจนพบ เป็นพระเจดีย์ชำรุดอยู่ 3 องค์ ต่อมาสมัยผู้ว่าราชการอ๋อง ปี พ.ศ. 2444 พญาตะก่า ได้ขออนุญาตรื้อสร้างเป็นเจดีย์องค์เดียวคือ เจดีย์วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน มีพระเครื่องพิมพ์เนื้อชินและเนื้อดินแบบพิมพ์ต่างๆ มากมาย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 2,959