ประเพณีการตาย

ประเพณีการตาย

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 7,351

[16.4264988, 99.215725, ประเพณีการตาย]

ประเพณีและพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย
       เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนจะต้องประสบและไม่สามารถหลีกหนีจุดจบของชีวิตได้ ประเพณีไทยมีพิธีกรรมในการจัดการกับศพเพื่อแสดงถึงความรักและอาลัยให้แก่ผู้ตายและเป็นการส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสู่สุขคติ
       เมื่อมีคนสิ้นลมหายใจแล้ว นำมาทำพิธี พิธีที่จะทำเริ่มแรก คือ การอาบน้ำศพหรือที่เรียกกันว่า พิธีรดน้ำศพ ซึ่งการรดน้ำศพจะจัดพิธีหลังจากคนตายไปไม่นานนัก โดยใช้น้ำมนต์ผสมน้ำสะอาด โรยด้วยดอกไม้หอมหรืออาจะใช้น้ำอบผสมด้วย ผู้ที่มารดน้ำศพจะรดที่มือข้างหนึ่งของผู้ตายที่ยื่นออกมาและกล่าวคำไว้อาลัย
       หลังจากพิธีรดน้ำศพเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะต้องนำศพมาแต่งตัว โดยการหวีผมให้ศพ และเมื่อหวีผมเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องหักหวีโยนลงโลงศพในการนุ่งผ้าสวมเสื้อให้ศพนั้นจะต้องสวมเสื้อเอาหน้าไว้หลังเอาหลังไว้หน้าเสื้อที่ใส่เป็นสีขาว นุ่งผ้าขาว ให้เอาชายพกไว้ข้างหลัง จากนั้นจึงเป็นการนุ่งห่มตามธรรมดาอีกครั้งหนึ่ง
       การนำเงินใส่ศพ และการนำหมากใส่ปากศพนั้นก็เพื่อเป็นการให้คติข้อคิดเตือนใจให้กับคนที่มีชีวิตอยู่ว่า บรรดาทรัพย์สมบัติที่ผู้ตายมีไม่ว่าจะน้อยหรือมากเพียงใด เมื่อตายไปก็ไม่สามารถเอาไปได้ เช่น เดียวกันกับหมากที่ผู้ตายชอบ แต่เมื่อตายไปแล้วก็ไม่สามารถเคี้ยวได้ ดังนั้น จึงไม่ควรมีความโลภลุ่มหลงในทรัพย์สินเงินทองแต่ควรหมั่นสร้างบุญสร้างกุศล
       การปิดหน้าศพ นั้นก็เพื่อป้องกันการอุจาดตา สัปเหร่อจะเป็นผู้มัดตราสัง ก็คือการมัดศพโดยใช้ด้ายดิบขนาดใหญ่มาทำการมัดมือที่คอ แล้วโยงมาที่มือที่ประนมอยู่ที่หน้าอก โยงไปที่เท้า และมีการท่องคาถา หลังจากนั้นสัปเหร่อก็จะนำศพลงโลงโดยมีการทำพิธีเบิกโลงก่อน และมีการนำมีดหมอเสกสับปากโลงด้วย เมื่อสัปเหร่อทำพิธีการเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะสามารถนำศพออกจากเรือนหรือย้ายศพไปเผาได้และจะตั้งศพโดยจะหันไปทางทิศตะวันตกเพราะเชื่อว่าเป็นทิศของคนตาย
       การสวดศพ เจ้าภาพอาจจะใช้เวลา 5 วัน หรือ 7 วัน ตามความสะดวกและฐานะของเจ้าภาพ และนิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป สวดศพอภิธรรมในการเผาศพ วันเผาศพนั้นจะต้องไม่ใช่วันศุกร์ วันพฤหัสบดี วันพระ วันเลขคู่ ในข้างขึ้น วันเลขคี่ในข้างแรม ในวันเผาศพจะมีการทำบุญและทำมาติกาบังสกุลก่อน จากนั้นก็จะเคลื่อนศพเวียนซ้าย 3 รอบ ยกขึ้นเชิงตะกอนหรือขึ้นเมรุ ผู้ที่มาร่วมงานศพจะนำดอกไม้จันทร์ที่เจ้าภาพแจกให้ขึ้นไปวางไว้ที่ฝาโลงศพ ซึ่งในพิธีการเผาศพจะมี 2 ช่วงคือ ช่วงแรกจะเรียกว่าการเผาหลอก คือพิธีการที่บรรดาญาติพี่น้องและแขกที่มาร่วมงานจะนำดอกไม้จันทน์ขึ้นไปวางไว้ แต่ยังไม่มีการจุดไฟจริง แต่พิธีการเผาจริงจะเป็นบรรดาญาติสนิทขึ้นไปวางดอกไม้จันทน์ และมีการจุดไฟเผาจริง
       เมื่อพิธีเผาศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว เช้าวันรุ่งขึ้นสามารถมาเก็บอัฐิได้แต่ถ้าเป็นชนบทจะเก็บอัฐิภายหลังการเผาแล้ว 3 วัน เนื่องจากชนบทจะใช้ฟืนเผาจึงจะต้องรอให้ไฟมอดสนิทก่อน ลูกหลานจะเก็บส่วนที่สำคัญไว้บูชา และบางส่วนอาจจะนำไปลอยอังคาร ซึ่งอาจจะเป็นแม่น้ำ หรือทะเล ทั้งนี้มีความเชื่อที่ว่าจะทำให้วิญญาณของผู้ตายมีความสงบและร่มเย็น
       พิธีกรรมที่จัดขึ้นเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันถึงแม้จะมีพิธีบางอย่างที่ปรับเปลี่ยนไปเพื่อให้เข้ายุคสมัย แต่ข้อคิด คติเตือนใจที่แฝงอยู่ในความเชื่อต่างๆ สามารถช่วยย้ำเตือนให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ข้อคิดในการดำเนินชีวิตและพยายามทำความดีงามเพื่อที่จะได้เจอแต่สิ่งดีๆ

ภาพโดย : http://variety.teenee.com/foodforbrain/img7/110511.jpg

 

คำสำคัญ : การตาย

ที่มา : http://www.9bkk.com/article/custom/custom5.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ประเพณีการตาย. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610004&code_type=01&nu=pages&page_id=177

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=177&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

การทำขวัญข้าว

การทำขวัญข้าว

ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด จนเกิดประเพณี บูชาแม่โพสพ และขอขมาแม่พระโพสพ หลังการเก็บเกี่ยว

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 5,555

ระบำ ก. ไก่

ระบำ ก. ไก่

ชุมชนบ้านวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นชุมชนโบราณมีความเป็นมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์หลายด้าน เช่น นิทานเรื่องท้าวแสนปม การละเล่นพื้นบ้านต่างๆ และขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงระบำ ก. ไก่ ซึ่งมีลักษณะการใช้ภาษาที่โดดเด่นเล่นคำอักษร ก ถึง ฮ เนื้อหาของบทร้องเป็นไปในเชิงเกี้ยวพาราสี โดยสะท้อนถึงชีวิตของคนไทยสมัยหนึ่ง จึงเป็นกิจกรรมที่พึงกระทำ และเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้สืบสานต่อมา

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,102

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 3,581

ระบำคล้องช้าง

ระบำคล้องช้าง

เป็นการละเล่นพื้นบ้านเก่าแก่ของตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร การละเล่นนี้ได้ดัดแปลงการคล้องช้างลากไม้มาแสดงรำคล้องช้างในเทศกาลสงกรานต์ การทำบุญกลางบ้าน เพื่อหนุ่มสาวได้มีโอกาสพบปะกัน ผู้สืบค้น แม่เฟี้ยม กิตติขจร แม่ลำภู ทองธรรมชาติ แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น ดนตรีและนักรองจะเริ่มบรรเลง ฝ่ายชายจะจับชายผ้าทั้งสอง ชายรำป้อออกมาคล้องหญิงที่ตนสนใจ แล้วรำต้อนไปมาอยู่กลางวง ฝ่ายหญิงนำฝ่ายชายมาส่งแล้วไปคล้องชายคนอื่นๆ สลับกัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 9,641

เพลงกล่อมเด็กนครไตรตรึงษ์

เพลงกล่อมเด็กนครไตรตรึงษ์

เพลงกล่อมเด็ก เป็นบทเพลงที่จัดอยู่ในเพลงพื้นบ้านโดยมีจุดประสงค์ใช้ร้องกล่อมเด็ก หรือปลอบเด็ก เพื่อให้เด็กนอนหลับ การร้องเพลงกล่อมเด็กมักสืบทอดกันด้วยวิธีการจดจำจากรุ่นสู่รุ่น เป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมมขุปาฐะ โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดที่สำคัญส่วนเนื้อหาและท่วงทำนองจะแตกต่างกัน ตามลักษณะท้องถิ่นนั่น ๆ เช่น เพลงกล่อมเด็กในภาคเหนือเรียก “เพลงอื่อลูก” ภาคอีสานเรียก “เพลงนอนสาหล่า” “เพลงนอนสาเดอ” ภาคกลางเรียก “เพลงกล่อมเด็ก” “เพลงกล่อมลูก” ภาคใต้ เรียก “เพลงชาน้อง” “เพลงร้องเรือ” เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,636

วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย

วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย

ความงามของนางในวรรณคดีของไทยทุกเรื่อง นางเอกต้องมีฟันดำราวกับนิล จึงจะถือว่างดงาม ดังนั้นการกินหมากจึงอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน และกำลังจะสูญหายไปจากสังคมไทยในไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะคนไทยทุกคนเลิกกินหมาก เราจึงบันทึกวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตไว้ให้เป็นหลักฐาน เพื่ออนุชนที่รักของเราได้เข้าใจในวัฒนธรรมการกินหมาก การกินหมากในสังคมไทยมีมาหลายศตวรรษ ประเทศในแถบตะวันออกใช้หมากเป็นเครื่องดับกลิ่นปากและทำให้ฟันคงทน จากวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ มีคำว่า สลา ซึ่งหมายถึงหมากปู่เจ้าสมิงพราย เสกหมากให้พระลอเสวย ที่เรียกกันว่าสลาเหิน หรือหมากบิน

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 3,185

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว หมายถึง การที่เจ้าของนาจะบอกเพื่อนบ้านให่รู้ว่าจะเกี่ยวข้าวเมื่อใด และเมื่อถึงวันที่กำหนดเจ้าของนาก็จะต้องปักธงที่ที่นาของตนเพื่อให้เพื่อนบ้านหรือแขกที่รู้จะได้มาช่วยเกี่ยวได้ถูกต้องทั้งนี้เจ้าของนาจะต้องจัดเตรียมอาหาร คาวหวาน สุรา บุหรี่ น้ำดื่ม ไว้รองรับด้วย และในการขณะเกี่ยวข้าวก็จะมีการละเล่นร้องเพลงเกี่ยวข้องระหว่างหนุ่มสาวเป็นที่สนุกสนานและเพลิดเพลินเพื่อคลายความเหน็ดเหนื่อยได้ 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 8,310

การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร

การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร

จุดกำเนิดของการแต่งกายต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการพบชุมชนโบราณที่เขากะล่อน พบเครื่องประดับประเภททำด้วยหิน เช่น กำไล หินขัด ชุมชนโบราณบ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดทำจากแร่อะเกตตา เนียล และชุมชนโบราณเมืองไตรตรึงษ์ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินทำเป็นสร้อยคอและสร้อยข้อมือ เป็นจุดกำเนิดของการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรสมัยก่อนประวัติศาสตร์เท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 5,438

ชากังราวว่าวไทย

ชากังราวว่าวไทย

เทศบาลเมืองกำแพงเพชรจัดงาน "ชากังราวว่าวไทย" เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมการเล่นว่าว ในประเทศไทยขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ บริเวณลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิริจิตอุทยาน ภายในงานมีกิจกรรมดังนี้ การประกวดว่าวไทย ในระดับเยาวชนและประชาชนทั่วไป การประกวดปลากัดและปลาสวยงาม เพื่อส่งเสริมกิจกรรม ยามว่างของเยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,541

ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง

ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง

“นบพระ เล่นเพลงในแผ่นดินพระเจ้าลิไท ริ้วขบวนยาตราสู่วัดพระบรมธาตุ นครชุม น้อมสักการะพระบรมสารีริกธาตุ สืบทอดประเพณีเก่าแก่นับแต่ครั้งสมัยสุโขทัย งานมหรสพ การละเล่นโลดแล่นอยู่ท่ามกลางร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมครั้งอดีตที่ชวนหลงใหล”

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 4,723