ศาลพระอิศวร

ศาลพระอิศวร

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 3,685

[6.4870505, 99.5219639, ศาลพระอิศวร]

ศาลพระอิศวร ตั้งอยู่ด้านหลังศาลจังหวัด เป็นฐานก่อด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมยกพื้นสูง 1.5 เมตร มีบันไดขึ้นด้านหน้า บนฐานชุกชีอยู่เป็นที่ตั้งของเทวรูปพระอิศวรสัมฤทธิ์ ซึ่งจำลองขึ้นในสมัยที่นายเชาวน์วัศ สุดลาภา เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เทวรูปพระอิศวรองค์จริงปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร รูปพระอิศวรนี้ ในสมัยรัชการที่ 5 ชาวเยอรมันมาเที่ยวเมืองกำแพงเพชร ได้ลักลอบตัดเศียรและพระหัตถ์ส่งลงเรือมากรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2429 เจ้าเมืองกำแพงเพชรได้บอกเข้ามายังกรุงเทพฯ จึงโปรดฯ ให้ขอพระเศียรและพระหัตถ์คืน และได้ทรงสร้างพระอิศวรจำลองประทานให้ ซึ่งปัจจุบันตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์ลิน

ศาลพระอิศวร

 

คำสำคัญ : ศาลพระอิศวร

ที่มา : http://www.siamganesh.com/osotho4.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล :


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ศาลพระอิศวร. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610002&code_type=01&nu=pages&page_id=226

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=226&code_db=610002&code_type=01

Google search

Mic

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล

ประเพณีบุญบั้งไฟ ถือเป็นการแจ้งข่าวให้พระยาแถนได้รับรู้ด้วยการจุดบั้งไฟเป็นสัญญาณบอกให้ท่านประทานฝนลงมาเป็นการเริ่มฤดูเพาะปลูก เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีระบบชลประทาน และเมื่อจัดประเพณีดังกล่าว ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ทำให้การเกษตรอุดมสมบูรณ์ จึงทำมีการจัดประเพณีสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประเพณีดังกล่าวจะจัดในช่วงเดือนหกต่อเดือนเจ็ดไทย ซึ่งจะอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,189

กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี

กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี

ป้อมทุ่งเศรษฐี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเมืองกำแพงเพชร มีลักษณะเป็นป้อมปราการรูปสี่เหลี่ยม สร้างด้วยก้อนศิลาแลง ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ก่อนถึงตัวเมืองกำแพงเพชรเล็กน้อย จะเห็นกำแพงศิลาแลงเป็นป้อม มีใบเสมาเหลืออยู่ ป้อมก่อด้วยศิลาแลงกว้าง 83.5 เมตร รูปสี่เหลี่ยมสูงประมาณ 6 เมตร มีประตูทางเข้าตรงกลางป้อม 4 ด้าน ทางด้านในมีเชิงเทินพอเดินหลีกกันได้ ตรงฐานป้อมใต้เชิงเทินเป็นห้องมีทางเดินต่อต่อกันได้ ตรงมุมมีป้อมยื่นออก 4 มุม มีรูมองอยู่ติดกับพื้น 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,497

ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร

ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร

ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร เป็นศาลที่เก่าแก่มานานกว่า 700 ปี เชื่อกันว่าพระเจ้าวรมันต์(เหม่) ผู้เรืองอำนาจเป็นผู้ก่อสร้างขึ้น ทำด้วยศิลาแลงรูปกลม ยาวประมาณ 2 เมตร ผังโผล่พื้นมาประมาณ 1 เมตร มีรูปเศียรเทพารักษ์อยู่บนยอดศิลาแลง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังคาศาลได้พังลงมาทับเสาหลักเมืองและเศียรเทพารักษ์ หลังจากนั้นก็อยู่ในสภาพรกร้างมานาน และเมื่อปี พ.ศ. 2527 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ประกอบพิธีเจิมเสาหลักเมือง เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2527 และมีพิธีเชิญเสาหลักเมืองและเศียรเทพารักษ์ขึ้นศาล เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2527

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,678

วัดสุนทรีกาวาส

วัดสุนทรีกาวาส

วัดสุนทริกาวาส ตั้งอยู่เลขที่ 92 บ้านป่าใหม่ ถนนชิดวะนา ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตากเป็นวัดของชาวไทใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2447 เมื่อนายหม่งเสง แซ่กวา (ต้นตระกูลกวาตระกูล) ได้สร้างหอสวดมนต์ ศาลาอเนกประสงค์และกุฏิสงฆ์อย่างละ 1 หลังพร้อมทั้งถวายที่เกือบ 7 ไร่ให้ก่อตั้งเป็นวัดขึ้น เดิมมี ชื่อว่า “วัดตอยะใหม่” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดสุนทริกาวาส”

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 802

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

กรมศิลปากรได้ดำเนินการคุ้มครองป้องกันโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรและเมือนครชุม โดยการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2480 ต่อมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2511 ในส่วนของการขุดแต่ง บูรณะ และพัฒนาโบราณสถาน ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรก เมื่อพ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรจึงได้บรรจุงานปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525-2529) โดยใช้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่ และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือเสื่อมค่า

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 2,235

วัดป่าเขาเขียว (หลวงพ่อถัง)

วัดป่าเขาเขียว (หลวงพ่อถัง)

เป็นวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านความเชื่อและศรัทราของประชาชนในจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดใกล้เคียง โดยมีเจ้าอาวาสชื่อ พระครูสังฆรักษ์ ปัญญาสีลโชโต (ธ) หรือเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ "หลวงพ่อถัง" ชาวบ้านมีความเชื่อว่าท่านเจ้าอาวาสมีความสามารถพิเศษในการลงยันต์ และเสกคาถาอาคมลงบนถังตวงข้าวสาร หากใครนำไปบูชาแล้วจะทำมาค้าขายดี

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,460

โบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง

โบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง

วัดหนองปลิง จัดพื้นที่วัดเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมหาชน โดยท่านเจ้าอาวาส พระครูวิเชียรธรรมนาท หรือหลวงพ่อสีหนาท เน้นจัดพื้นที่เพื่อการจัดกิจกรรมปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน เพื่อให้มนุษย์เข้าใจในการมีสติ ภายในวัดประกอบด้วยอาคารขนาดใหญ่ สามชั้นที่ประกอบด้วย ห้องพักชั้นดีสำหรับผู้มาอาศัยปฏิบัติธรรม ชั้นที่ 2 เป็นห้องสำหรับประกอบพิธีบุญ และชั้นที่ 3 เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ที่ใช้อบรมสัมมนา และยังมีโบสถ์ที่สร้างด้วยศิลาแลงจากหินธรรมชาติ แห่งเดียวในโลก

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 2,110

เมืองพลับพลา

เมืองพลับพลา

บริเวณริมถนนพระร่วง ถัดจากจระเข้ปูนมาเล็กน้อย ชาวบ้านแถบนั้นทำไร่มันสำปะหลัง แต่มีบริเวณหนึ่งประมาณ 3 ไร่เศษ ชาวไร่เล่าว่า ไม่สามารถนำรถไถไปไถได้ เพราะเครื่องจะดับ เมื่อเราเข้าใกล้ พบบ่อน้ำโบราณจำนวนมาก ที่ก่อด้วยศิลาแลง วางผังของบ่อน้ำไว้ เป็นแนวสี่เหลี่ยม มีบ่อน้ำทำมุมกับวัดเก่า ซึ่งไม่มีชื่อ อยู่กลาง มีลักษณะเป็นวัดร้างที่ถูกขุดทำลายโดยสิ้นเชิง เจดีย์หรือเฉพาะฐานวิหารโบสถ์ ถูกขุดอย่างยับเยิน แต่แนวกำแพงแก้วยังเห็นได้ชัด เมืองที่เราเห็นนี้ ห่างจากริมถนนพระร่วงเพียงเล็กน้อย 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,480

สวนเกษตรบ้านลุงฮุย

สวนเกษตรบ้านลุงฮุย

สวนเกษตรบ้านลุงฮุย สถานที่ท่องเที่ยวการเกษตรแบบผสมผสาน มีสวนเงาะ, ทุเรียน, ลำใย, ฯลฯ ผลไม้ที่นี่รสชาติดี โดยเฉพาะเงารซึ่งเป็นจุดเด่นของตำบลสระแก้ว มีรสหวาน กรอบ อร่อย และภายในสวนมีห้องพักซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของที่นี่ เป็นบ้านดินซึ่งสร้างโดยมีรูปแบบสวยงาม และร่มรื่น เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,118

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนอ่างทอง

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนอ่างทอง

หมู่บ้านหัถกรรมบ้านวังตะเคียน เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม เช่น ผ้าไหม, ผ้าฝ้าย, ผ้าขาวม้า, ผ้าห่มจากเศษผ้า, ผ้าคุมไหล่, ผ้าโสร่ง, เครื่องประดับจากแก้วขนเหล็ก และของที่ระลึกตัวต่อจากกะลามะพร้าว ซึ่งเป็นการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,046