อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้ชม 2,127

[16.5070493, 99.5200578, อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร]

อุทยานประวัติศาสตร์
       สถานที่แห่งประวิติศาสตร์ที่ได้ยอมรับว่าเป็นหนึ่งในมรดกโลกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาติ (UNESCO) โดยได้ประกาศได้เป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534 และเป็นอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและศรีสัชนาลัยที่สร้างจากสมัยสุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้แบ่งออกเป็นโบราณสถานฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง ซึ่งมีความแตกต่างกันในการใช้วัสดุก่อสร้าง โบราณสถานด้านตะวันออกของแม่น้ำปิงเป็นที่ตั้งเมืองกำแพงเพชร โบราณสถานสร้างด้วยศิลาแลงและมีขนาดใหญ่ ส่วนโบราณสถานฝั่งตะวันตกคือเมืองนครชุมก่อสร้างด้วยอิฐและมีขนาดเล็ก แต่รูปแบบศิลปะที่ปรากฏนั้นมีลักษณะร่วมสมัยระหว่างสุโขทัยและอยุธยา นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานนอกเมืองกำแพงเพชรหรือเขตอรัญญิก ซึ่งเป็นที่อยู่ของสงฆ์เพื่อปฏิบัติวิปัสสนาอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือระยะทาง 2 กิโลเมตร         

การจัดตั้งอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
       กรมศิลปากรได้ดำเนินการคุ้มครองป้องกันโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรและเมือนครชุม โดยการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2480 ต่อมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2511 ในส่วนของการขุดแต่ง บูรณะ และพัฒนาโบราณสถาน ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรจึงได้บรรจุงานปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525 – 2529) โดยใช้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่ และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือเสื่อมค่า พัฒนาโบราณสถาน และบริเวณเพื่อให้เป็นแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม เกิดความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของชาติ กรมศิลปากรได้ดำเนินการเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรอย่างเป็นทางการเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พุทธศักราช 2524 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเป็นองค์ประธาน
       โบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ยังเป็นงานสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ทั้งในด้านการใช้วัสดุศิลาแลงเป็นวัสดุก่อสร้าง รูปแบบทางศิลปกรรมเป็นของแท้ดั้งเดิมที่แสดงถึงฝีมือและความเชื่อของบรรพชนในอดีต ตลอดจนโบราณสถานรวมกลุ่มหนาแน่นในบริเวณป่าธรรมชาติ ซึ่งยังคงบรรยากาศพุทธสถานเขตอรัญวาสีดังเช่นในอดีต ดังนั้นคณะกรรมการมรดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและฑรรมชาติของโลก จึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองสุโขทัยและเมืองบริวารคือ เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชรเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปีพุทธศักราช 2534

เวลาทำการ 08.00-17.00 น.
ค่าธรรมเนียเข้าชม       
        ค่าเข้าชมชาวไทย 20 บาท      
        ชาวต่างชาติ 100 บาท 
อัตราค่ายานพาหนะ
        รถจักรยานสองล้อ  คันละ 10 บาท/คัน
        รถจักรยานยนต์ คันละ 20 บาท/คัน
        รถจักรยานสามล้อ คันละ 20 บาท/คัน
        รถจักรยานยนต์สามล้อ คันละ 30 บาท/คัน
        รถยนต์ทุกชนิด คันละ 50 บาท/คัน

 

คำสำคัญ : อุทยาน อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร

ที่มา : http://www.oceansmile.com/N/Kampangphet/kampang.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล :


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. สืบค้น 24 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=213&code_db=610002&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=213&code_db=610002&code_type=01

Google search

Mic

สระมรกต

สระมรกต

ริมถนนพระร่วง ใกล้กับอุโมงค์ 32 ปล่อง และจระเข้ปูน มีสถานที่สำคัญสถานที่หนึ่ง ชาวกำแพงเพชรเรียกกันว่า สระมรกต มีลักษณะพิเศษคือมีน้ำขังอยู่ตลอดปี ไม่ว่าจะเป็นฤดูอะไร แม้ฤดูแล้งน้ำก็ไม่แห้ง ทั้งๆ ที่ลึึกไม่ถึงเมตร เป็นลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เมตร มีอยู่ 3 สระติดต่อกัน เป็นเรื่องที่เล่าขานกันเป็นตำนานว่า เมื่อพระร่วงเจ้าเสด็จมาประทับที่อุโมงค์ 32 ปล่อง ได้นำนางสนมกำนัลมาอาบน้ำที่สระมรกตแห่งนี้ พระร่วงได้สาบสรรค์ไว้ว่าให้มีน้ำตลอดปี ไม่ให้แห้ง 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,868

พระบรมสารีริกธาตุ

พระบรมสารีริกธาตุ

เมื่อมาเยือนถิ่นตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล วัดแรกที่นักท่องเที่ยวต้องมาเพื่อกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา และหุ่นขึ้ผึ้งจำลองหลวงพ่อหนู เป็นทีี่พึ่งทางใจประชาชนชาวตำบลนิคทุ่งโพธิ์ทะเล ตำบล จังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพและสักการะยิ่ง วัดพัฒนานิคม (บ่อทอง) นี้ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สำหรับเส้นทางการมากราบสักการะ พระบรมสารีริกธาตุนั้นไม่ยาก เนื่องจากติดริมทางสายหลักสายกำแพงเพชร-พิจิตร

เผยแพร่เมื่อ 06-01-2020 ผู้เช้าชม 836

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดกำแพงเพชร

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดกำแพงเพชร

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปเชียงแสน สิงห์หนึ่งขนาดใหญ่ มีหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร ถูกพบที่ริมคลองสวนหมากในลักษณะคล้ายจอมปลวกขนาดใหญ่แต่มีลักษณะประหลาดคือ มีดินที่หุ้มไม่มิด และมีเถาวัลย์ขนาดใหญ่รกทึบปกคลุมอยู่ หลวงพ่อบุญมีเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดสว่างอารมณ์ จึงขอให้หลานชายและชาวบ้านช่วยกันถางเถาวัลย์ออกจึงพบกับพระพุทธรูปเชียงแสนขนาดใหญ่ เห็นพระพักตร์เหมือนอยู่ในอุโมงค์ จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,774

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนอ่างทอง

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนอ่างทอง

หมู่บ้านหัถกรรมบ้านวังตะเคียน เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม เช่น ผ้าไหม, ผ้าฝ้าย, ผ้าขาวม้า, ผ้าห่มจากเศษผ้า, ผ้าคุมไหล่, ผ้าโสร่ง, เครื่องประดับจากแก้วขนเหล็ก และของที่ระลึกตัวต่อจากกะลามะพร้าว ซึ่งเป็นการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 782

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

กรมศิลปากรได้ดำเนินการคุ้มครองป้องกันโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรและเมือนครชุม โดยการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2480 ต่อมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2511 ในส่วนของการขุดแต่ง บูรณะ และพัฒนาโบราณสถาน ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรก เมื่อพ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรจึงได้บรรจุงานปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525-2529) โดยใช้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่ และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือเสื่อมค่า

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 2,127

เมืองเทินทอง

เมืองเทินทอง

บริเวณวัดหนองปลิงใหม่ที่ติดกับค่ายลูกเสือจังหวัดกำแพงเพชร มีหลักฐานว่ามีเมืองโบราณเมืองหนึ่ง ชาวกำแพงเพชรเรียกว่าเมือง เนินทอง หรือเทินทอง หรือกองทอง ตั้งอยู่บนเขาลูกเตี้ยๆ ปัจจุบันมีการขุดลูกรังบ้าง ไถทำค่ายลูกเสือบ้าง ทำให้หลักฐานต่างๆ ถูกทำลายไปเกือบหมด 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 703

ตลาดย้อนยุคนครชุม

ตลาดย้อนยุคนครชุม

บรรยากาศตลาดแบบย้อนยุคภายในตลาดจะมีพ่อค้า แม่ค้าแต่งกายด้วย ชุดไทยนำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวนครชุมหรือ ร่วมสมัยวางจำหน่ายรวมถึงศิลปหัตถกรรม อาทิ การจักสานไม้ไผ่ งานผีมือใบตองหรือการวาดรูป ระบายสี มุ่งเน้นการ แต่งกายพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยสร้างสำนึกในการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งสร้างแหล่งเรียนรู้ปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่เยาวชนรุ่นลูกๆ หลานๆ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,272

วัดบาง

วัดบาง

วัดบางเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองกำแพงเพชร จากคำบอกเล่าของผู้อาศัยอยู่บริเวณนั้น ที่มาของวัดบางมาจากวัดแห่งนี้ ตั้งอยู่ใกล้คลองน้ำซึ่งแยกจากแม่น้ำปิงไปสู่หนองรี และคลองน้ำในสมัยก่อนชาวบ้านเรียกกันว่าบาง เมื่อมีวัดตั้งอยู่บริเวณคลองน้ำ จึงเรียกขานกันว่าวัดบาง ซึ่งภายในวัดบาง มีหลวงพ่อเพชร ที่อยากจะเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไป เดินทางมายังวัดแห่งนี้ หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสนรุ่นแรก (สิงห์หนึ่ง) ที่งดงามที่สุด อายุประมาณ 898 ปี ถูกนำมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชร เมื่อราวสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (ครองราชย์ที่อยุธยาระหว่าง พ.ศ. 2034 - 2072) ตามหลักฐานกล่าวว่าประดิษฐานที่วัดตอม่อ นอกกำแพงเมืองกำแพงเพชร (ปัจจุบันคือตลาดศูนย์การค้า)

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,384

เมืองพลับพลา

เมืองพลับพลา

บริเวณริมถนนพระร่วง ถัดจากจระเข้ปูนมาเล็กน้อย ชาวบ้านแถบนั้นทำไร่มันสำปะหลัง แต่มีบริเวณหนึ่งประมาณ 3 ไร่เศษ ชาวไร่เล่าว่า ไม่สามารถนำรถไถไปไถได้ เพราะเครื่องจะดับ เมื่อเราเข้าใกล้ พบบ่อน้ำโบราณจำนวนมาก ที่ก่อด้วยศิลาแลง วางผังของบ่อน้ำไว้ เป็นแนวสี่เหลี่ยม มีบ่อน้ำทำมุมกับวัดเก่า ซึ่งไม่มีชื่อ อยู่กลาง มีลักษณะเป็นวัดร้างที่ถูกขุดทำลายโดยสิ้นเชิง เจดีย์หรือเฉพาะฐานวิหารโบสถ์ ถูกขุดอย่างยับเยิน แต่แนวกำแพงแก้วยังเห็นได้ชัด เมืองที่เราเห็นนี้ ห่างจากริมถนนพระร่วงเพียงเล็กน้อย 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,393

ศาลพระอิศวร

ศาลพระอิศวร

ศาลพระอิศวร ตั้งอยู่ด้านหลังศาลจังหวัด เป็นฐานก่อด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมยกพื้นสูง 1.5 เมตร มีบันไดขึ้นด้านหน้า บนฐานชุกชีอยู่เป็นที่ตั้งของเทวรูปพระอิศวรสัมฤทธิ์ ซึ่งจำลองขึ้นในสมัยที่นายเชาวน์วัศ สุดลาภา เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เทวรูปพระอิศวรองค์จริงปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร รูปพระอิศวรนี้ ในสมัยรัชการที่ 5 ชาวเยอรมันมาเที่ยวเมืองกำแพงเพชร ได้ลักลอบตัดเศียรและพระหัตถ์ส่งลงเรือมากรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2429 เจ้าเมืองกำแพงเพชรได้บอกเข้ามายังกรุงเทพฯ จึงโปรดฯ ให้ขอพระเศียรและพระหัตถ์คืน และได้ทรงสร้างพระอิศวรจำลองประทานให้ ซึ่งปัจจุบันตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์ลิน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,505