เมืองพลับพลา

เมืองพลับพลา

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้ชม 1,400

[16.5080687, 99.5160231, เมืองพลับพลา]

       บริเวณริมถนนพระร่วง ถัดจากจระเข้ปูนมาเล็กน้อย ชาวบ้านแถบนั้นทำไร่มันสำปะหลัง แต่มีบริเวณหนึ่งประมาณ 3 ไร่เศษ ชาวไร่เล่าว่า ไม่สามารถนำรถไถไปไถได้ เพราะเครื่องจะดับ เมื่อเราเข้าใกล้ พบบ่อน้ำโบราณจำนวนมาก ที่ก่อด้วยศิลาแลง วางผังของบ่อน้ำไว้ เป็นแนวสี่เหลี่ยม มีบ่อน้ำทำมุมกับวัดเก่า ซึ่งไม่มีชื่อ อยู่กลาง มีลักษณะเป็นวัดร้างที่ถูกขุดทำลายโดยสิ้นเชิง เจดีย์หรือเฉพาะฐานวิหารโบสถ์ ถูกขุดอย่างยับเยิน แต่แนวกำแพงแก้วยังเห็นได้ชัด เมืองที่เราเห็นนี้ ห่างจากริมถนนพระร่วงเพียงเล็กน้อย
       จากหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วงของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 เมื่อปีพุทธศักราช 2450 หรือเมื่อ 93 ปีที่ผ่านมา พระองค์เสด็จมาที่เมืองกำแพงเพชร บันทึกบริเวณนี้ว่า ...ที่ริมที่พักร้อน มีที่อันหนึ่งเรียกว่าเมืองพลับพลา ราษฏรแถบนี้เล่าเรื่องว่า ในกาลครั้งหนึ่ง มีผู้เดินทางไปตามถนนพระร่วง พบตาผ้าขาว อยากเข้าเฝ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช เมืองกำแพงเพชร มีข่าวจะกราบทูล ตาขาวบอกว่าให้สร้างเทวรูปพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือพระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหมไว้ จากจารึกฐานพระอิศวร ย่อมปรากฏหลักฐานชัดเจน เมืองที่เราพบนี้อยู่ในจุดระหว่างเมืองกำแพงเพชรกับเมืองบางพาน มีชัยภูมิพอเหมาะ และมีหลักฐานบางประการที่เชืื่อได้ว่าน่าจะเป็นเมืองพลับพลาที่หายไปจากประวัติศาสตร์บนถนนพระร่วง

คำสำคัญ : สถานที่ท่องเที่ยว

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2548). หนองปลิง : เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). เมืองพลับพลา. สืบค้น 25 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1130&code_db=610002&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1130&code_db=610002&code_type=01

Google search

Mic

วัดบาง

วัดบาง

วัดบางเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองกำแพงเพชร จากคำบอกเล่าของผู้อาศัยอยู่บริเวณนั้น ที่มาของวัดบางมาจากวัดแห่งนี้ ตั้งอยู่ใกล้คลองน้ำซึ่งแยกจากแม่น้ำปิงไปสู่หนองรี และคลองน้ำในสมัยก่อนชาวบ้านเรียกกันว่าบาง เมื่อมีวัดตั้งอยู่บริเวณคลองน้ำ จึงเรียกขานกันว่าวัดบาง ซึ่งภายในวัดบาง มีหลวงพ่อเพชร ที่อยากจะเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไป เดินทางมายังวัดแห่งนี้ หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสนรุ่นแรก (สิงห์หนึ่ง) ที่งดงามที่สุด อายุประมาณ 898 ปี ถูกนำมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชร เมื่อราวสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (ครองราชย์ที่อยุธยาระหว่าง พ.ศ. 2034 - 2072) ตามหลักฐานกล่าวว่าประดิษฐานที่วัดตอม่อ นอกกำแพงเมืองกำแพงเพชร (ปัจจุบันคือตลาดศูนย์การค้า)

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,386

หลวงพ่อเพชร วัดบาง

หลวงพ่อเพชร วัดบาง

หลวงพ่อเพชร วัดบาง มาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชร เมื่อราวสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (ครองราชย์ที่อยุธยาระหว่าง พ.ศ. 2034-2072) โอรสสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตามหลักฐานว่าประดิษฐานที่วัดตอม่อ นอกกำแพงเมืองกำแพงเพชร ตามตำนานว่าขุนแผนได้ยกกองทัพไปเชียงใหม่ ซึ่งเชียงใหม่รุกรานเมืองเชียงทองหรือจอมทองในปัจจุบัน ขณะยกกองทัพผ่านเมืองพิจิตร เจ้าเมืองพิจิตรสนิทสนมกับขุนแผนมาก จึงออกปากขอพระพุทธรูปที่มีศิลปะที่งดงามมาฝากด้วย เพื่อนำมาเป็นพระพุทธรูป ประจำเมืองพิจิตร

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 3,547

ถนนพระร่วง

ถนนพระร่วง

ถนนพระร่วงเป็นถนนสายประวัติศาสตร์ที่ตัดผ่านตำบลหนองปลิง มีหลักฐานที่ชัดเจนและมีตำนานที่เล่าขานกันมานาน ว่าพระร่วงเจ้า ทรงใช้พระบาทซ้ายและพระบาทขวา กวาดให้เป็นถนนพระร่วง ตั้งแต่กำแพงเพชรไปสุโขทัย และสุโขทัยไปศรีสัชนาลัย ระยะทางประมาณ 128 กิโลเมตร นับว่าเป็นส่ิงมหัศจรรย์ ทางการก่อสร้างที่ถนนกว้างถึง 8-12 เมตร สูง 2-5 เมตร ตัดผ่านจากประตูสะพานโคม บริเวณสระมนพระราชวังโบราณของเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 3,391

เจดีย์เจ็ดยอด

เจดีย์เจ็ดยอด

เจดีย์เจ็ดยอด เป็นกลุ่มเจดีย์ก่อด้วยอิฐ เจดีย์ประธานเป็นทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานล่างเป็นแบบฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนกันสี่ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำและบัวหงาย แล้วเป็นส่วนเรือนธาตุย่อไม้ยี่สิบ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,709

เมืองพลับพลา

เมืองพลับพลา

บริเวณริมถนนพระร่วง ถัดจากจระเข้ปูนมาเล็กน้อย ชาวบ้านแถบนั้นทำไร่มันสำปะหลัง แต่มีบริเวณหนึ่งประมาณ 3 ไร่เศษ ชาวไร่เล่าว่า ไม่สามารถนำรถไถไปไถได้ เพราะเครื่องจะดับ เมื่อเราเข้าใกล้ พบบ่อน้ำโบราณจำนวนมาก ที่ก่อด้วยศิลาแลง วางผังของบ่อน้ำไว้ เป็นแนวสี่เหลี่ยม มีบ่อน้ำทำมุมกับวัดเก่า ซึ่งไม่มีชื่อ อยู่กลาง มีลักษณะเป็นวัดร้างที่ถูกขุดทำลายโดยสิ้นเชิง เจดีย์หรือเฉพาะฐานวิหารโบสถ์ ถูกขุดอย่างยับเยิน แต่แนวกำแพงแก้วยังเห็นได้ชัด เมืองที่เราเห็นนี้ ห่างจากริมถนนพระร่วงเพียงเล็กน้อย 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,400

ริมน้ำปิง

ริมน้ำปิง

บรรยากาศริมน้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนกำแพงเพชร อีกหนึ่งสถานที่ ช่วงเวลายามเย็นจะมีประชาชนมาวิ่งออกกำลังกาย นั่งชมบรรยากาศริมปิง เดินทางมาเป็นครอบครัว เป็นคู่ และบริเวณแม่น้ำปิง ตรงข้ามกับสวนสิริจิตอุทยาน ยังมีบริการนวดผ่าเท้า เพื่อผ่อนคลายท่ามกลางบรรยากาศที่สวยงามยามเย็นอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 1,571

เสน่ห์แม่น้ำปิง

เสน่ห์แม่น้ำปิง

ลำน้ำที่ใสสะอาด มีหาดทรายขาวบริสุทธิ์มีแห่งเดียวในประเทศไทย คือแม่น้ำปิง หรือแม่พิงค์ ไหลผ่านจังหวัดกำแพงเพชร ช่วงที่งดงามที่สุดคือบริเวณหน้าเมืองกำแพงเพชร หน้าลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิริจิตต์อุทยาน แม่น้ำปิงมีปลาหลากหลายชนิดที่ไม่เหมือนลำน้ำแห่งใด คือในลำน้ำปิงมีกรวดที่งดงามมากมาย หลากสีสันหลากรูปแบบ เป็นสินค้าสำคัญของกำแพงเพชร ในการนำมาจัดสวนไม้ดอกไม้ประดับได้อย่างลงตัว 

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,813

ฝายท่ากระดาน

ฝายท่ากระดาน

ฝายท่ากระดาน สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง ช่วยระบายน้ำ ลดปัญหาน้ำหลากในช่วงฤดูฝน และรองรับน้ำจากเทือกเขาธรรมชาติก่อนที่จะไหลผ่านลงสู่แม่น้ำปิง และด้วยทัศนียภาพที่สวยงาม ทำให้กลายเป็นสถานที่พักผ่อนของชาวท่าขุนราม ในช่วงเย็นจะได้เห็นภาพเด็กๆ มากระโดดเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน เมื่อมาถึงฝายท่ากระดานสามารถขับรถชมบรรยากาศได้รอบพื้นที่ ผ่านถนนสายเล็กๆ ทอดยาวแซมด้วยดอกหญ้าพริ้วไหว กลายเป็นจุดเช็คอินถ่ายภาพสวยได้อีกแห่งหนึ่ง 

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 681

สิริจิตอุทยาน

สิริจิตอุทยาน

สิริจิตอุทยาน เป็นสวนสาธารณะเอนกประสงค์ริมฝั่งแม่น้ำปิง มีเนื้อที่ 170 ไร่ ประกอบด้วยสนามเด็กเล่น สวนสุขภาพ ศาลาพักผ่อน สวนไม้ดอกไม้ประดับปลูก และลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ซึ่งสร้างเป็นเรือนไทย มีการแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบไทยประจำท้องถิ่นที่ลานเวทีกลางแจ้ง และมีการจำหน่ายสินค้าโครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,288

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

กรมศิลปากรได้ดำเนินการคุ้มครองป้องกันโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรและเมือนครชุม โดยการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2480 ต่อมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2511 ในส่วนของการขุดแต่ง บูรณะ และพัฒนาโบราณสถาน ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรก เมื่อพ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรจึงได้บรรจุงานปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525-2529) โดยใช้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่ และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือเสื่อมค่า

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 2,129