ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร

ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 2,566

[16.4897551, 99.5140643, ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร]

       ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองกำแพงเพชร คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดกำแพงเพชร ที่ชาวจังหวัดกำแพงเพชรให้ความนับถือ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดใกล้เคียงมาหลายชั่วอายุคน ผู้ใดที่ประสบปัญหาอุปสรรค์ในการดำเนินชีวิต ก็มักไปบนบานศาลกล่าว ขอให้เจ้าพ่อหลักเมืองช่วยเหลือคุ้มครอง ซึ่งก็มักจะได้สมใจดังปรารถนาจนเป็นที่เลื่องลือ เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ดังนั้น จึงมีผู้มาบนและขอแก้บนเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน จากความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว ที่มีความเชื่อว่าการสร้างศาลหลักเมืองว่า ก่อนสร้างหลักเมืองได้ขุดหลุมกลางใจเมือง โดยทางการจะมีการป่าวประกาศหาคนชื่อ อิน จัน มั่น คง เมื่อได้บุคคลที่มีชื่อดังกล่าว จะนำบุคคลทั้งสี่คนมาไว้ที่ก้นหลุมและฝังเสาหลักเมืองลงทับร่างทั้งสี่ เพื่อให้เป็น ผีเฝ้าหลักเมืองเป็นเทพารักษ์ประจำเมือง เป็นปีศาลคุ้มครองเมือง เป็นประเพณีในการก่อสร้างเมืองทุกเมืองโดยตลอด นับว่าทั้งสี่ท่านคือ อิน จัน มั่น และคง เป็นผู้เสียสละชีวิต เพื่อมาพิทักษ์บ้านเมืองของเรา กลายมาเป็นเจ้าพ่อหลักเมืองในที่สุด เชื่อกันว่า เมืองกำแพงเพชรน่าจะสร้างพร้อมๆ กับเมืองสุโขทัยและมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง ทางทิศใต้ของสุโขทัย สังเกตได้จากแนวกำแพงสามชั้น ซึ่งเรียกว่าตรีบูรเหมือนสุโขทัยหรือร่วมสมัยกันกับสุโขทัย เจ้าพ่อหลักเมืองกำแพงเพชร สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสุโขทัย เดิมทำด้วยศิลาแลง รูปกลมยาวประมาณ 2 เมตรฝังโผล่ขึ้นดินมาประมาณหนึ่งเมตรเศษ มีรูปเศียรเทพารักษ์ อยู่บนยอดศิลาแลง เชื่อกันว่าคือเจ้าพ่อหลักเมือง ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองน่าจะร้าง เหมือนโบราณสถานทั่วไป พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร ทรงบันทึกไว้ว่าออกจากวัด ไปที่หลักเมือง ซึ่งอยู่มุมท้ายวัดอยู่ระหว่างวัดกับวัง ทรงบันทึกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2449 ไว้เพียงเท่านี้เอง
       ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรเป็นสถานที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชรที่ประชาชนให้ความเคารพสักการะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตั้งอยู่ในเมืองโบราณกำแพงเพชรทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดพระแก้ว ริมถนนหมายเลข 101 (สุโขทัย – กำแพงเพชร) ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรปรากฏในพระราชนิพนธ์ครั้งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือในปี พ.ศ. 2449 และ พ.ศ. 2450 ตามลำดับ ดังนี้
       เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ ได้พระราชนิพนธ์ถึงศาลหลักเมืองในเสด็จประพาสต้น ความว่า “...ชื่อวัดนี้ไม่ปรากฏ ถ้าเรียกตามลพบุรีก็เป็นวัดหน้าพระธาตุ ถ้าจะเรียกตามกรุงเก่าก็เป็นวัดพระศรีสรรเพชญ ซึ่งยอมรับว่าจะเรียกวัดพระแก้วก็ได้นั้น เพราเหตุที่มีตำนานว่า พระแก้วได้เคยมาอยู่เมืองนี้ ถ้าหากว่าได้มาอยู่คงจะไม่ได้อยู่วัดอื่น คงอยู่วัดนี้เป็นแน่ ออกจากวัดไปที่หลักเมือง ซึ่งอยู่มุมท้ายวัดอยู่ในระหว่างวัดกับวัง...” เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ ได้พระราชนิพนธ์ถึงศาลหลักเมืองในเที่ยวเมืองพระร่วง ความว่า “...ในกำแพงเพชรเมืองนี้ ที่ซึ่งจำเป็นต้องไปก่อนคือ หลักเมือง ซึ่งได้ไปบวงสรวงตามธรรมเนียม แต่ผู้ที่ไปดูอย่าได้คิดหาหลักเลย เพราะไม่มีหลักศิลา และรูปยักษ์ที่ตั้งไว้เป็นเครื่องหมายเดี๋ยวนี้ เชื่อว่าไม่ใช่ของที่ตั้งอยู่เดิม...” 
       จากการดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณพื้นที่ทางทิศใต้ของศาลหลักเมืองในปีงบประมาณ 2549 พบหลักฐานทางโบราณคดี ดังนี้
            - ชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผามุงหลังคาประเภทดินขอ
            - ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาแม่น้ำน้อย แหล่งเตาบ้านบางปูน แหล่งเตาบ้านเกาะน้อย/ป่ายาง เมืองศรีสัชนาลัย และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง กำหนดอายุอยู่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22
       ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นศาลเจ้าตามกฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า พ.ศ. 2463 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 และอยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
       ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรมีการบูรณะปรับปรุงอาคารหลายครั้งเท่าที่ปรากฏหลักฐานมี ดังนี้
            - พ.ศ. 2472 หลวงมนตรีราช ได้สร้างอาคารศาลหลักเมืองขึ้นเป็นศาลาทรงไทยทำด้วยไม้
            - พ.ศ. 2484 หลวงปริวรรต วรวิจิตร (จันทร์ เจริญชัย) ข้าหลวงประจำจังหวัดกำแพงเพชร มอบหมายให้นายฉกาจ กุลสุ ปั้นเศียรเทพารักษ์ขึ้นใหม่
            - พ.ศ. 2526 นายเชาว์วัศ สุดลาภา ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ได้ปรับปรุงอาคารบริเวณสถานที่ตามรูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบัน 
            - วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณสยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ประกอบพิธีเจิมเสาหลักเมือง ทรงเจิมเสาหลักเมืองเสาใหม่
            - วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ทำพิธีเชิญเสาหลักเมือง และเศียรเทพารักษ์ขึ้นศาล
            - วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้สำรวจความเสียหาย และทำการบูรณะอนุรักษ์เสาหลักเมืองเดิม พร้อมจัดทำเสาหลักเมืองจำลองใหม่จากไม้สักทองขนาดความสูง 2.29 เมตร ความกว้างฐาน 64 เซนติเมตร โดยอัญเชิญเสาหลักเมืองจำลองมาวางไว้ ณ ศาลารายชื่อผู้จัดสร้างศาลหลักเมือง 

คำสำคัญ : ศาลหลักเมือง กำแพงเพชร

ที่มา : http://info.dla.go.th/public/travel.do?cmd=goDetail&id=510652&random=1488095195836

รวบรวมและจัดทำข้อมูล :


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร. สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=249&code_db=610002&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=249&code_db=610002&code_type=01

Google search

Mic

พระบรมสารีริกธาตุ

พระบรมสารีริกธาตุ

เมื่อมาเยือนถิ่นตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล วัดแรกที่นักท่องเที่ยวต้องมาเพื่อกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา และหุ่นขึ้ผึ้งจำลองหลวงพ่อหนู เป็นทีี่พึ่งทางใจประชาชนชาวตำบลนิคทุ่งโพธิ์ทะเล ตำบล จังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพและสักการะยิ่ง วัดพัฒนานิคม (บ่อทอง) นี้ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สำหรับเส้นทางการมากราบสักการะ พระบรมสารีริกธาตุนั้นไม่ยาก เนื่องจากติดริมทางสายหลักสายกำแพงเพชร-พิจิตร

เผยแพร่เมื่อ 06-01-2020 ผู้เช้าชม 830

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

กรมศิลปากรได้ดำเนินการคุ้มครองป้องกันโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรและเมือนครชุม โดยการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2480 ต่อมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2511 ในส่วนของการขุดแต่ง บูรณะ และพัฒนาโบราณสถาน ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรก เมื่อพ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรจึงได้บรรจุงานปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525-2529) โดยใช้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่ และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือเสื่อมค่า

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 2,118

กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี

กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี

ป้อมทุ่งเศรษฐี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเมืองกำแพงเพชร มีลักษณะเป็นป้อมปราการรูปสี่เหลี่ยม สร้างด้วยก้อนศิลาแลง ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ก่อนถึงตัวเมืองกำแพงเพชรเล็กน้อย จะเห็นกำแพงศิลาแลงเป็นป้อม มีใบเสมาเหลืออยู่ ป้อมก่อด้วยศิลาแลงกว้าง 83.5 เมตร รูปสี่เหลี่ยมสูงประมาณ 6 เมตร มีประตูทางเข้าตรงกลางป้อม 4 ด้าน ทางด้านในมีเชิงเทินพอเดินหลีกกันได้ ตรงฐานป้อมใต้เชิงเทินเป็นห้องมีทางเดินต่อต่อกันได้ ตรงมุมมีป้อมยื่นออก 4 มุม มีรูมองอยู่ติดกับพื้น 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,187

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดกำแพงเพชร

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดกำแพงเพชร

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปเชียงแสน สิงห์หนึ่งขนาดใหญ่ มีหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร ถูกพบที่ริมคลองสวนหมากในลักษณะคล้ายจอมปลวกขนาดใหญ่แต่มีลักษณะประหลาดคือ มีดินที่หุ้มไม่มิด และมีเถาวัลย์ขนาดใหญ่รกทึบปกคลุมอยู่ หลวงพ่อบุญมีเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดสว่างอารมณ์ จึงขอให้หลานชายและชาวบ้านช่วยกันถางเถาวัลย์ออกจึงพบกับพระพุทธรูปเชียงแสนขนาดใหญ่ เห็นพระพักตร์เหมือนอยู่ในอุโมงค์ จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,761

“กำแพงเพชร-ตาก” เส้นทางมรดกโลกด้านวัฒนธรรม สัมผัสทุกวิถีที่จะรัก..ไม่รู้ลืม

“กำแพงเพชร-ตาก” เส้นทางมรดกโลกด้านวัฒนธรรม สัมผัสทุกวิถีที่จะรัก..ไม่รู้ลืม

“กรมการพัฒนาชุมชน” โดยภารกิจนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการเข้าถึงบริการของรัฐ เน้นการสร้างโอกาส อาชีพ และการมีรายได้ที่มั่นคงโดยการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง โดยการพัฒนาเส้น ทาง การท่องเที่ยว 8 เส้นทาง 31 จังหวัด 125 หมู่บ้าน บนพื้นฐานของอัตลักษณ์และภูมิปัญญาพื้นถิ่น วัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมของชุมชน สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเข้าสู่ชุมชนเพื่อสร้างรายได้สร้างความเข้ม แข็งให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ที่มีกลไกการขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับชาติสู่ระดับ พื้นที่ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบประชารัฐ โดยการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการของประชาชนนั้น

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 1,608

ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร

ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร

ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร เป็นศาลที่เก่าแก่มานานกว่า 700 ปี เชื่อกันว่าพระเจ้าวรมันต์(เหม่) ผู้เรืองอำนาจเป็นผู้ก่อสร้างขึ้น ทำด้วยศิลาแลงรูปกลม ยาวประมาณ 2 เมตร ผังโผล่พื้นมาประมาณ 1 เมตร มีรูปเศียรเทพารักษ์อยู่บนยอดศิลาแลง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังคาศาลได้พังลงมาทับเสาหลักเมืองและเศียรเทพารักษ์ หลังจากนั้นก็อยู่ในสภาพรกร้างมานาน และเมื่อปี พ.ศ. 2527 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ประกอบพิธีเจิมเสาหลักเมือง เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2527 และมีพิธีเชิญเสาหลักเมืองและเศียรเทพารักษ์ขึ้นศาล เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2527

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,566

หอไตรวัดคูยาง

หอไตรวัดคูยาง

สถานที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและ ศิลปกรรมท้องถิ่นกำแพงเพชรแล้ว ยังเป็นศูนย์เผนแพร่พระพุทธศาสนา เป็นสำนักเล่าเรียนพระธรรมวินัย ของพระภิกษุสามเณร และประชาชนทั่วไป เป็นสนามสอบบาลีสนามหลวงประจำจังหวัด และเป็นศูนย์รวมการปกครอง ของคณะสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชร ต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน  

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,174

หลวงพ่อเพชร วัดบาง

หลวงพ่อเพชร วัดบาง

หลวงพ่อเพชร วัดบาง มาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชร เมื่อราวสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (ครองราชย์ที่อยุธยาระหว่าง พ.ศ. 2034-2072) โอรสสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตามหลักฐานว่าประดิษฐานที่วัดตอม่อ นอกกำแพงเมืองกำแพงเพชร ตามตำนานว่าขุนแผนได้ยกกองทัพไปเชียงใหม่ ซึ่งเชียงใหม่รุกรานเมืองเชียงทองหรือจอมทองในปัจจุบัน ขณะยกกองทัพผ่านเมืองพิจิตร เจ้าเมืองพิจิตรสนิทสนมกับขุนแผนมาก จึงออกปากขอพระพุทธรูปที่มีศิลปะที่งดงามมาฝากด้วย เพื่อนำมาเป็นพระพุทธรูป ประจำเมืองพิจิตร

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 3,515

สระมรกต

สระมรกต

ริมถนนพระร่วง ใกล้กับอุโมงค์ 32 ปล่อง และจระเข้ปูน มีสถานที่สำคัญสถานที่หนึ่ง ชาวกำแพงเพชรเรียกกันว่า สระมรกต มีลักษณะพิเศษคือมีน้ำขังอยู่ตลอดปี ไม่ว่าจะเป็นฤดูอะไร แม้ฤดูแล้งน้ำก็ไม่แห้ง ทั้งๆ ที่ลึึกไม่ถึงเมตร เป็นลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เมตร มีอยู่ 3 สระติดต่อกัน เป็นเรื่องที่เล่าขานกันเป็นตำนานว่า เมื่อพระร่วงเจ้าเสด็จมาประทับที่อุโมงค์ 32 ปล่อง ได้นำนางสนมกำนัลมาอาบน้ำที่สระมรกตแห่งนี้ พระร่วงได้สาบสรรค์ไว้ว่าให้มีน้ำตลอดปี ไม่ให้แห้ง 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,857

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเพชรชมพู

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเพชรชมพู

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร สวนมะม่วงนพรัตน์ ตำบลเพชรชมภู ที่ริมถนนพหลโยธิน ตำบลเพชรชมพู อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร มีแผงขายมะม่วงตลอดทางทั้งขาขึ้นและขาล่อง มีมะม่วงหลายชนิด เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ เขียวเสวย เพชรบ้านลาด โชคอนันต์ เป็นต้น เนื่องจากตำบลเพชรชมภูแห่งนี้เป็นแหล่งปลูกมะม่วงแหล่งใหญ่ของจังหวัดกำแพงเพชร ทั้งขายเองในพื้นที่ ทั้งส่งขายให้แม่ค้าคนกลางส่งขายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศด้วย จึงเป็นที่รู้จักของนักบริโภคและนักท่องเที่ยวที่ขับรถผ่านเส้นทางนี้ ซึ่งถ้าเป็นช่วงเทศกาลจะมีรถจอดตลอดเส้นทางเพื่อซื้อมะม่วงกลับบ้าน 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,278