สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้ชม 1,127

[16.5212962, 97.4942877, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]

        นักประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่า ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดของกระบวนการสร้างชาติจนสามารถพัฒนามาเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ได้คือ ช่วงเวลาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ.2310 ขณะนั้นอาณาจักรได้เกิดการแตกแยกออกเป็นสี่ส่วนใหญ่ๆ ตามภาค คือ พิษณุโลกคุมภาคเหนือ นครศรีธรรมราชมีอำนาจในภาคใต้ทั้งหมด นครราชสีมาและพิมาย มีอิทธิพลครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จันทบุรีเป็นหัวเมืองใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออก ส่วนเชียงใหม่ตกเป็นของพม่าเรียบร้อยแล้ว
        หลังจากกรุงศรีฯล่มสลาย ผู้นำตามหัวเมืองแต่ละแห่งพากันสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นเจ้าผู้ปกครองนคร อีกทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีและลักษณะของประชาชนในแต่ละภาคที่ค่อนข้างแตกต่างกัน มีโอกาสที่จะทำให้เกิดการแตกออกเป็นประเทศต่างๆ ทันที แต่คาดว่า พม่าคงยกทัพมาปราบหัวเมืองเหล่านี้ในภายหลัง
        ส่วนอยุธยาและภาคกลางทั้งหมด พม่าประกาศไปทั่วโลกว่า เป็นส่วนหนึ่งของพม่า และอังกฤษซึ่งเข้ามายึดพม่าเป็นเมืองขึ้น ต้องประกาศรับรองตามหลักสากลอย่างแน่นอน หลังจากนั้นเขตแดนประเทศจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้อีกต่อไป
        ในการเสียกรุงฯ ครั้งที่สอง กรุงศรีอยุธยาได้ถูกพม่าทำลายอย่างถอนรากถอนโคน ชนิดที่ว่าไม่ให้มีโอกาสฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่พม่าเคยทำสำเร็จมาครั้งหนึ่งแล้วกับมอญ
        ก่อนหน้าที่พม่าจะตีกรุงศรีอยุธยาแตกไม่กี่ปี พระเจ้าอลองพญาได้ยกทัพเข้าตีหงสาวดี เมืองหลวงของมอญ แล้วเผาเมืองจนราบคาบ แม้ว่าในอดีตมอญจะมีกษัตริย์ที่เก่งกล้าสามารถหลายพระองค์ ถึงขนาดเคยตีอังวะเมืองหลวงของพม่าสำเร็จ แต่ในช่วงเวลาวิกฤติของการสร้างชาติ มอญกลับไม่สามารถหาผู้นำในการกู้เอกราชคืนมา ทำให้มอญ ที่เป็นเชื้อชาติหลักของพม่า ซึ่งมีศักดิ์และสิทธิ์เหนือดินแดนนั้นมาก่อนหลายพันปี จนชาวต่างชาติพากันเรียกขานดินแดนแห่งนั้นว่า “รามัญประเทศ” มาแต่โบราณกาล วันหนึ่งกลับต้องกลายเป็นชนกลุ่มน้อย ไม่มีอาณาเขตประเทศเป็นของตนเอง และถูกคนเชื้อสายพม่ากดขี่ข่มเหงอยู่ตลอดเวลาตราบจนปัจจุบัน
        ครั้งที่กรุงศรีฯแตก ชาวอยุธยาเสียชีวิตไปประมาณสามแสนคน ที่เหลือถูกกวาดต้อนกลับไปพม่า ไม่มีใครเลยที่คิดจะลุกขึ้นมาเป็นผู้นำในการกอบกู้ชาติบ้านเมือง ต่างคนต่างหนีเอาตัวรอด บ้างก็เข้าสวามิภักดิ์กับพม่า เช่น เชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าเอกทัศหลายพระองค์ยอมเข้าด้วยกับแม่ทัพพม่า เพื่อให้ไม่ถูกประหารชีวิต
        พม่าเป็นชาตินักรบที่เก่งกล้า เป็นมหาอำนาจของดินแดนแถบนี้ในยุคนั้น แม้แต่กองทัพจีนและอินเดียก็เคยถูกพม่าตีจนยอมยุติศึก การที่คิดจะกู้ชาติไม่ใช่เรื่องง่าย และเชื้อสายราชวงศ์ไทย ก็ถูกเข่นฆ่าหรือควบคุมตัวไปอยู่ที่พม่าจนหมด
        ในช่วงเวลานั้น โอกาสสิ้นชาติไทยมีสูงถึง 90 % ถ้าไม่มีทหารเอกที่ชื่อ “พระยาตาก” พาทหารห้าร้อยนาย ตีฝ่าวงล้อมของทหารพม่าออกมา
        แล้วเรื่องเหลือเชื่อก็เกิดขึ้นจริงๆ ชั่วเวลาเพียงเจ็ดเดือนหลังจากเสียกรุง ได้มีกองทัพเรือกว่าร้อยลำระดมพลมาจากเมืองจันทบุรี แล่นไล่เลาะชายฝั่งตะวันออกมาจนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วกรรเชียงฝ่ากระแสน้ำเข้าสู่อยุธยา ทำสงครามไล่ฆ่าฟันพวกพม่าล้มตายแตกทัพกระจัดกระจาย รวมไปถึงสังหารสุกี้พระนายกอง แม่ทัพพม่าผู้ซึ่งเคยฆ่าล้างบางชาวบ้านบางระจันอย่างโหดเหี้ยม
        ในที่สุด กองทัพเรือก็ชิงกรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ ทำให้เอกราชกลับมาเป็นของไทยอีกครั้งหนึ่ง ผู้นำในการต่อสู้ครานั้นก็คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั่นเอง
        สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเริ่มต้นชีวิตราชการอย่างนายทหารสามัญผู้หนึ่งที่มีความรักชาติอย่างแรงกล้า และเกิดในตระกูลคนจีนที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ จึงไม่มีพระบารมีโดยกำเนิด การกู้ชาติและสร้างชาติสำหรับพระองค์จึงยากลำบากกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใด
        >>> กู้ชาติว่ายากแล้ว แต่สร้างชาติขึ้นมาใหม่ยากกว่านั้น อยุธยาโดนเผาทำลายจนไม่เหลืออะไรเลย ตอนต่อไปจะมาเล่าถึง การสร้างอาณาจักรไทยขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยต้องไล่ตีนครศรีธรรมราช โคราช พิมาย พิษณุโลกและเชียงใหม่ กลับคืนมา เลยไปถึงลาว เขมร ทวาย มะริด ตะนาวศรี กลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี เพื่อรวบรวมผืนแผ่นดินให้พวกเราได้อยู่อาศัยตราบจนทุกวันนี้

คำสำคัญ : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ที่มา : https://www.facebook.com/doctorsom

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=TK001&nu=pages&page_id=2134

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2134&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

ความเชื่อเรื่องผี เป็นความเชื่อที่อยู่คู่สังคมคนอุษาคเนย์มายาวนาน และเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุด ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบความเชื่อในเรื่องหลังความตายมากมาย ความเชื่อดังกล่าวสืบทอดส่งผ่านมายังกลุ่มชนต่าง ๆ โดยความเชื่อเรื่องผีจะถูกผูกร้อยตามบริบทของกลุ่มชนและพื้นที่ของกลุ่มชนนั้น ๆ ผีถูกแบ่งตามหน้าทีเป็นผีดี ได้แก่ ผีเสื้อบ้าน(อารักบ้าน) ผีปู่ย่า ฯลฯ และผีร้ายคือผีที่สร้างความทุกข์ร้อนใจให้กับคนทั่วไปโดยทั่วไปคนเชื่อว่าหากทำเรื่องไม่ดีไม่เป็นคุณผีดีจะกลายเป็นผีร้ายมาาร้างความทุกข์ร้อนให้คนทั่วไป เช่น ไม่เคารพกราบไหว้ ไม่ทำการบูชาเซ่นสรวงเมื่อถึงวาระสำคัญเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 770

พระบารมี ปกเกล้าชาวตาก

พระบารมี ปกเกล้าชาวตาก

ชาวตากนับว่ามีโอกาสดีเคยรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่หลายครา แต่คราที่อยู่ในความทรงจำคือ ในคราวปีพ.ศ.2501 มีการจัดแต่งซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติบริเวณเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินบนถนนตากสิน ในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทอดพระเนตรกิจในการสร้างเขื่อนภูมิพล และทรงเสด็จมาประทับที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตากในย่านตัวเมืองตากเดิม (ย่านตรอกบ้านจีน) เหตุการณ์ในครั้งนั้นสร้างความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวตากอย่างหาที่สุดมิได้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 431

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

คนตากที่พูดสำเนียงไทยวน เรียกตนเองว่าลาว เมืองตากตั้งอยู่บนลำน้ำปิง กลุ่มชาวลาวเก่งในด้านการค้าทางเรือ ค้าขายร่ำรวย กลายเป็นคหบดีค้าเรือ เรียกนายฮ้อยเรือ ร่องรอยการค้าเรือยังมีให้เห็นผ่านตระกูลสำคัญในชุมชนหัวเดียด ส่วนชุมชนลาวเชียงทองเก่งด้านค้ากองคาราวานม้าต่างติดต่อชายแดนแม่สอด การค้าทางเรือพ่อค้าแม่ค้าจะขนสินค้าการเกษตรล่องจากท่าเรือในชุมชนตนเอง ในย่านตัวเมืองเดิมมีท่าเรือใหญ่อยู่บริเวณท่าเรือ นำสินค้า ข้าวสาร ของป่า และไม้สักจนขึ้นเกวียนเดินเท้าเข้ามา และขนถ่ายลงเรือชะล่า ล่องลงตามลำน้ำปิงไปถึงเมืองปากน้ำโพ ชาวปากน้ำโพเรียกตลาดที่ชาวเหนือขนสินค้าลงมาขายว่า “ตลาดลาว”

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,046

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

ที่มาชื่อ หมู่บ้าน ภูเขา ห้วยหนอง ลำคลองบึง เป็นเครื่องบ่งชี้การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธ์ บ่งชี้ระบบนิเวศวิทยา บางทียังโยงกับเรื่องทางพุทธศาสนาอีกด้วย ในจังหวัดของเรามีตำนานพระเจ้า(พระพุทธเจ้า)เสด็จมาโปรดฯ หลายแห่ง ซึ่งส่วนมากล้วนผูกโยงกับพุทธศาสนา ดังเช่น ตำนานการสร้างเจดีย์ แห่งวัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก (เมืองตากเดิมในสมัยสุโขทัย - อยุธยาต้อนต้น) ในส่วนเมืองตากปัจจุบัน (ฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง) พบตำนานพระเจ้าเลียบโลกเช่นเดียวกัน ผ่านทางตำนานที่มาของชื่อภูเขาลูกหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของตัวเมืองตาก เราเรียกกันว่า "เขาพระเมิน"

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 605

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

กลุ่มจีนแคะ เป็นจีนกลุ่มๆที่เดินทางเข้ามา จีนกลุ่มแรกที่เข้ามามีบทบาทสำคัญคือ จีนแต้จิ๋ว กลุ่มจีนแคะเดินทางเข้ามาระลอกใหญ่ หลังจากการเปิดเส้นทางรถไฟสถานีปากน้ำโพและสถานีเมืองพิษณุโลก ภายหลังอพยพต่อมายังเมืองใกล้เคียง เช่น แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร และที่เมืองตากก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่จีนแคะเลือกมาทำการค้า โดยหอบเอาความรู้ด้านเชิงช่างงาน ฝีมือติดตัวมาด้วย เลือกลงหลักปักฐานในย่านถนนตากสิน ซึ่งเป็นถนนการค้าริมน้ำที่สำคัญมาแต่ช่วงหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นต้นมา 

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 852

รำวงบ้านเสาสูง

รำวงบ้านเสาสูง

บ้านเสาสูง เป็นชื่อที่คนในรุ่นปัจจุบันของเมืองตากเลือนไปแล้วตามการเปลี่ยนผ่านของเมือง คำว่าเสาสูงในที่นี้หมายถึงเสารับสัญญาโทรเลขที่ส่งตรงมาจากชุมสายต้นทางที่ปากครองโอ่งอ่างกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชุมสายโทรเลขต่างประเทศที่สำคัญนับเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง เป็นต้นมา ส่งตรงจากกรุงเทพฯ มายังย่านตัวเมืองตากและไปส่งสัญญานต่อที่อำเภอแม่สอด บ้านเสาสูงในปัจจุบันคือบริเวณย่านซอย 21 ซึ่งเป็นย่านตัวเมืองตากเดิมในสมัยรัชกาลที่ 2-7 หรือในปัจจุบันอาจจะเรียกย่านนั้นว่าย่านระแวกชุมชนตรอกบ้านจีนนั้นเอง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 422

รถคอกหมู หมุดหมายการเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก

รถคอกหมู หมุดหมายการเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก

รถโดยสารที่มีตัวถังของรถสร้างด้วยไม้ด้านในกรุพื้นด้วยไม้ด้านบนในห้องผู้โดยสารทำไม้เป็นระแนง เป็นรถยอดนิยมที่ขนถ่ายผู้คนจากนอกเมืองตากเพื่อเข้ามายังย่านการค้าแห่งใหม่ย่านตลาดริมน้ำ ผู้คนเรียกขานตามรูปลักษณ์ที่พบเห็นว่า "รถคอกหมู" ปัจจุบันยังคงพอจะเห็นรถคอกหมูวิ่งไปมาในย่านตัวเมืองอยู่บ้าง เพื่อให้ระลึกถึงช่วงการเปลี่ยนผ่านของเมืองเป็นหมุดหมายกาลเวลาที่อีกไม่นานคงเหลือให้ชมจากภาพก็น่าจะเป็นได้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 702

ปี่พาทย์รามัญ ลมหายใจรามัญแห่งลุ่มแม่น้ำปิงที่เมืองตาก

ปี่พาทย์รามัญ ลมหายใจรามัญแห่งลุ่มแม่น้ำปิงที่เมืองตาก

เมืองตากมีความใกล้ชิดกับเมืองพม่าอันเป็นเมืองท่าของมอญส่งผลให้เกิดการอพยพโยกย้ายเข้ามาของมอญ เมื่อมอญอพยพเข้ามาจึงมาอพยพโยกย้ายเข้ามาของกลุ่มนักดนตรีมอญด้วย หรือวงปีพาทย์รามัญ หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนต่าง ๆ ในเมืองตาก ยังมีปรากฏจากจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ที่แสดงให้เห็นร่องรอยของผู้คนในเมืองตากที่สัมพันธ์กัน ในปัจจุบันยังคงพบวงดนตรีปีพาทย์มอญที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษหลงเหลืออยู่เป็นประจักษ์พยานการตั้งถิ่นฐานย่านชุมชนมอญที่เมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 977

โทรเลข

โทรเลข

การสื่อสารที่แสนทันสมัยในยุครัชกาลที่ 5 จังหวัด ตากเป็นเมืองที่มีอาณาเขตทางฝั่งตะวันตกในอำเภอแม่สอดติดกับประเทศพม่าสามารถเดินทางต่อไปยังเมืองท่ามะละแหม่ง ตากจึงเป็นชุมทางโทรเลขที่สำคัญมากที่สุดในการติดต่อกับชาติตะวันตกในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังความนิยมใช้โทรเลขก็ลดบทบทลงตามสมัยนิยม เหลือไว้เพียงชื่อหมู่บ้านที่เป็นชุมทางโทรเลข เช่น ในเมืองตากย่านตรอกบ้านจีน ยังเคยเป็นชุมทางไปรณีย์ที่สำคัญในเมืองตาก เป็นที่ตั้งของเสาโทรเลขชาวตากจึงเรียกย่านนั้นว่า บ้านเสาสูง

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 464

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

แม่ตาก-บ้านตาก-เมืองตาก เป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นเมืองหน้าด่านเหนือสุดบนสายแม่น้ำปิงของอยุธยาที่ต่อแดนกับรัฐล้านนา ลำปาง-เชียงใหม่ เมืองตากถูกยกให้เป็นชื่อเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เพื่อรำลึกถึงการเป็นเมืองที่พระเจ้าตากทรงเคยมาเป็นเจ้าเมืองก่อนที่จะได้เป็นกษัตริย์ แต่ความสำคัญของกลุ่มเมืองตรงนี้อยู่ที่เมืองบ้านระแหงมากกว่า ดังนั้นจึงมีการใช้ชื่อเมือง 2 เมืองเข้าด้วยกันว่า บ้านระแหงเมืองตาก เมืองตากบ้านระแหง หรือบ้านระแหงแขวงเมืองตาก ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาลในกลางสมัยรัชกาลที่ 5 อาณาบริเวณตรงนี้ก็ถูกเรียกว่าเมืองตาก ที่มีศูนย์บริหารของผู้ว่าเมืองตั้งอยู่ที่บ้านระแหงกระทั่งได้ยกฐานะเป็นจังหวัดตากที่มีศูนย์กลางการบริหารในเขตเทศบาลเมืองตากมาจนถึงทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,158