ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้ชม 927

[16.8784698, 98.8779052, ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก]

       ความเชื่อเรื่องผีเป็นความเชื่อที่อยู่คู่สังคมคนอุษาคเนย์มายาวนาน และเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุด ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบความเชื่อในเรื่องหลังความตายมากมาย ความเชื่อดังกล่าวสืบทอดส่งผ่านมายังกลุ่มชนต่าง ๆ โดยความเชื่อเรื่องผีจะถูกผูกร้อยตามบริบทของกลุ่มชนและพื้นที่ของกลุ่มชนนั้น ๆ ผีถูกแบ่งตามหน้าทีเป็นผีดี ได้แก่ ผีเสื้อบ้าน(อารักบ้าน) ผีปู่ย่า ฯลฯ และผีร้ายคือผีที่สร้างความทุกข์ร้อนใจให้กับคนทั่วไปโดยทั่วไปคนเชื่อว่าหากทำเรื่องไม่ดีไม่เป็นคุณผีดีจะกลายเป็นผีร้ายมาาร้างความทุกข์ร้อนให้คนทั่วไป เช่น ไม่เคารพกราบไหว้ ไม่ทำการบูชาเซ่นสรวงเมื่อถึงวาระสำคัญเป็นต้น
       เมืองตากเป็นเมืองหนึ่งที่มีกลุ่มชาติพันธ์อาศัยรวมกันเป็นชุมชนหมู่บ้านสลับและกระจายกันไปโดยเฉพาะบริเวณฝั่งตะวันออกของจังหวัด มีทั้งกลุ่มไทยพื้นถิ่น ลาว(ยวน) มอญ จีน ซึ่งแต่ละชุมชนก็มีความเชื่อในเรื่องผีเฉพาะกลุ่มของตน ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะกลุ่มไทย และลาวก่อนซึ่งกลุ่มอื่นจะกล่าวถึงในลำดับต่อไป
       - กลุ่มไทย ความเชื่อในเรื่องผีที่เห็นและสืบปฎิบัติให้เห็นเช่น ผีที่เป็นใหญ่ในพื้นที่มีคงวามเชื่อในเรื่องผี ศาลหลักเมือง หรือ ผีบรรพบุรุษสะท้อนให้เห็นผ่านประเพณีการทำบุญในช่วงปีใหม่ไทย เช่นการนำอัฐฐิมาปะพรมน้ำอบและทำพิธีบังสุกุล หรือความเชื่อในเรื่องผีผ่านการละเล่นในชุมชนคนไทย แถบชุมชนตรอกบ้านจีน แถบตลุกลางทุ่ง เช่น การเล่นผีนางดง ผีนางช้าง เป็นต้น
       - กลุ่มลาว(ยวน) มีความเชื่อในเรื่องผีที่แรงกล้า เนื่องจากผูกติดและยึดโยงถึงเรื่องความกตัญญูต่อบรรพชนเป็นปฐมบท ดังนั้นหมู่บ้านลาวในเมืองตาก บ้านเกือบทุกหลังล้วนมีโรงผีปูย่า(โรงคือ ศาลที่ตั้งเป็นเพิงหลังเล็กๆมาฉานยื่นออกมา โดยตั้งบนฐานที่เป็นเสาสี่เสา) ไว้เป็นเก๊าผีประจำตระกูล ส่วนบนเรือนบริเวณเสาเรือนเอกหรือเสาเรือนทางด้านทิศเหนือจะเป็นหิ้งผีปู่ย่า เก็บผ้าขาวและแดง(ผ้าผี) เมื่อถึงวาระสำคัญเช่นปีใหม่เมือง(สงกรานต์) บวช แต่งงาน ลูกหลานต้องมีการบอกกล่าวและเลี้ยงผีปู่ย่าเพื่อแสดงถึงความกตัญญูต่อญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนั้นบางชุมชนยังมีพิธีเลี้ยงผีที่เป็นใหญ่ในธรรมชาติเพื่อที่แสดงถึงความผูกพันธ์ระหว่างคนและธรรมชาติเช่นชุมชนไม้งาม อำเภอเมืองตาก ยังคงพบประเพณีการเลี้ยงพ่อหลวง(เลี้ยงผีที่เป็นใหญ่บนยอดเขาสูงด้านตะวันตกของสายลำน้ำปิง)
       ความเชื่อในเรื่องผี เป็นความเชื่อที่ปปลูกฝั่งค่านิยมความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ และยังสะท้อนความสัมพันธ์ของคนที่พยายามรักษาสภาพธรรมชาติป่าเขาลำน้ำส่งผ่านความเชื่อจากรุ่นสู่รุ่นเป็นภูมิปัญญาและกุศโลบายที่น่ายกย่องเรียนรู้

(ที่มาของเรื่อง และภาพ อาจารยวิไลวรรณ์ อินทร์อยู่ คุณรัชนิดา น้ำใจดี หนังสือ วิถีคนเมือง : ดร. วิถี พานิชพันธ์ , อาภรณ์ฟ้อนผี : อ.มานพ มานะแซม หนังสืออนุสรณ์งานพระราชฐานเพลิงศพ : คุณพร้อม ไชยนันทน์)

คำสำคัญ : ผี, ความเชื่อ

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/750908531666023

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก. สืบค้น 28 กันยายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=TK001&nu=pages&page_id=2058

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2058&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง เป็นวัดโบราณที่อยู่คู่ชุมชนริมแม่น้ำปิงที่เมืองตากมาช้านาน ดังปรากฏจากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระวชิรญาณวโรรส ที่เสด็จขึ้นมายังหัวเมืองตาก ในคราวนั้นทรงกล่าวถึงความงามของพระอุโบสถวัดพร้าว และวัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ว่างานสถาปัตยกรรมพื้นที่งดงาม ซึ่งในระยะต่อมาอุโบสถวัดพร้าว ได้ผาติการามไปสร้างที่เมืองโบราณ จังหวัดสุมทรปราการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือสถาปัตยกรรมพื้นที่ที่ยังคงยืนยงเหนือกาลเวลาเพียงแห่งเดียวที่เมืองตาก คือ วัดโบสถมณีศรีบุญเรือง ภายในพระวิหารยังปรากฏภาพเขียนที่งดงามเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติของพระพุทธเจ้า ตลอดจนสอดแทรกวิถีชีวิตของชาวเมืองตากเมื่อราวร้อยปีมาแล้วให้ระลึกถึงบรรพบุรษคนเมืองตากที่เกิดแรงบันดาลสร้างสรรค์งานศิลปกรรมชิ้นเอกคู่ท้องถิ่นของเรา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 687

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

คนตากที่พูดสำเนียงไทยวน เรียกตนเองว่าลาว เมืองตากตั้งอยู่บนลำน้ำปิง กลุ่มชาวลาวเก่งในด้านการค้าทางเรือ ค้าขายร่ำรวย กลายเป็นคหบดีค้าเรือ เรียกนายฮ้อยเรือ ร่องรอยการค้าเรือยังมีให้เห็นผ่านตระกูลสำคัญในชุมชนหัวเดียด ส่วนชุมชนลาวเชียงทองเก่งด้านค้ากองคาราวานม้าต่างติดต่อชายแดนแม่สอด การค้าทางเรือพ่อค้าแม่ค้าจะขนสินค้าการเกษตรล่องจากท่าเรือในชุมชนตนเอง ในย่านตัวเมืองเดิมมีท่าเรือใหญ่อยู่บริเวณท่าเรือ นำสินค้า ข้าวสาร ของป่า และไม้สักจนขึ้นเกวียนเดินเท้าเข้ามา และขนถ่ายลงเรือชะล่า ล่องลงตามลำน้ำปิงไปถึงเมืองปากน้ำโพ ชาวปากน้ำโพเรียกตลาดที่ชาวเหนือขนสินค้าลงมาขายว่า “ตลาดลาว”

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,162

รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ เมืองตาก วาทะท้องถิ่นกับการผลิตซ้ำ

รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ เมืองตาก วาทะท้องถิ่นกับการผลิตซ้ำ

เมืองตากแม้จะเป็นเมืองสำคัญในฐานะเมืองกึ่งกลางเส้นทางลำน้ำปิงและเมืองชายแดนพม่าก็ตาม แต่จากเอกสารในหอจดหมายเหตุท่านไม่เคยเสด็จฯมาเมืองตาก คงจะมีเพียงมงกุฏราชกุมารซึ่งต่อมาคือรัชกาลที่ 6 เท่านั้น การเสด็จในครั้งนั้นท่านเสด็จมาถึงเพียงปากน้ำโพเพื่อทรงเปิดทางรถไฟสายเหนือ ในคราวนั้น มงกุฏราชกุมารเสด็จฯพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯไปทำความคุ้นเคยกับเจ้านายหัวเมืองล้านนา ขากลับเสด็จฯ ลงมาตามลำน้ำปิงและเสด็จขึ้นเมืองตาก ในสมัยนั้นการสื่อสารคงยังไม่ทันสมัย ความแพร่ภาพเจ้านายต่อสาธารณะชนจึงน้อย และการเสด็จในครั้งนั้นเป็นการเสด็จแทนพระองค์ ชาวบ้านจึงอนุมานไปว่าเจ้านายที่เสด็จฯ คือสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็เป็นไปได้

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 689

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้ทรงกู้เงิน 60,000 ตำลึง จากเมืองจีน เพราะว่าเมืองสยามกับเมืองจีนยังไม่ได้มีความสัมพันธไมตรีกันจนถึงปลายรัชกาลของพระองค์ โดยพระองค์ทรงส่งเครื่องราชบรรณาการถวายพระเจ้ากรุงจีนมากมาย 4 ลำเรือ และในยุครัตนโกสินทร์โดยเฉพาะรัชกาลที่ 1 ทรงบอกทางจีนว่า พระเจ้าตากเป็นพระราชบิดาของพระองค์โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์แต่ประการใด

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,241

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2)

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ"

สงครามรวมชาติครั้งแรกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เริ่มต้นด้วยการเลือกตีเมืองที่แข็งแกร่งที่สุด คือพิษณุโลกก่อน ด้วยมีพระราชดำริว่า ถ้าทำสำเร็จ การรวมหัวเมืองอื่นๆ ต่อจากนั้นก็น่าจะเป็นการง่ายขึ้น แต่เจ้าพระยาพิษณุโลกมีความสามารถทางการรบสูง ส่งทัพมาดักรอโจมตี บริเวณปากน้ำโพนครสวรรค์ และเกิดการปะทะกันขึ้น สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จออกนำหน้า และทรงถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ต้องถอนทัพกลับกรุงธนบุรีโดยด่วน การชิงเมืองครั้งแรกล้มเหลว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,607

"เกียเฮงหลี" อาคารพาณิชย์ปูนหลังแรกในย่านตัวเมืองตาก

การขยายตัวของตลาดใน นำไปสู่การตัดถนนเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นเหมาะในการคมนาคม ขนข่ายผู้คนจากชุมชนโดยรอเข้ามาจับจ่ายใช้สอย และเปลี่ยนสินค้า เราเรียกกันต่อมาว่า ถนนตากสินนั้นเอง การขยายตัวส่งผลให้เกิดร้านค้าตั้งขึ้นตลอดแนวถนน หนึ่งในนั้น คืออาคารพาณิชย์ที่สร้างด้วยปูนแห่งแรกของตัวเมืองตาก นั้นคือร้านเกียเฮงหลี โด่ดเด่นในย่านถนนตากสิน ขายสินค้าจำพวกอุปกรณ์ก่อสร้าง ในปัจจุบันหากใครขับผ่านย่านถนนตากสินตรงข้ามกับธนาคารกสิกรไทย สาขาตาก ยังคงพอาคารที่สวยงามผ่านกาลเวลาของเมือง ให้เห็นเป็นร่องรอยอาคารพาณิชย์รุ่นแรกของเมือง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 677

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

ที่มาชื่อ หมู่บ้าน ภูเขา ห้วยหนอง ลำคลองบึง เป็นเครื่องบ่งชี้การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธ์ บ่งชี้ระบบนิเวศวิทยา บางทียังโยงกับเรื่องทางพุทธศาสนาอีกด้วย ในจังหวัดของเรามีตำนานพระเจ้า(พระพุทธเจ้า)เสด็จมาโปรดฯ หลายแห่ง ซึ่งส่วนมากล้วนผูกโยงกับพุทธศาสนา ดังเช่น ตำนานการสร้างเจดีย์ แห่งวัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก (เมืองตากเดิมในสมัยสุโขทัย - อยุธยาต้อนต้น) ในส่วนเมืองตากปัจจุบัน (ฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง) พบตำนานพระเจ้าเลียบโลกเช่นเดียวกัน ผ่านทางตำนานที่มาของชื่อภูเขาลูกหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของตัวเมืองตาก เราเรียกกันว่า "เขาพระเมิน"

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 661

มหาชนก ร่วมสมัย

มหาชนก ร่วมสมัย

การรังสรรค์งานศิลปะบนฝาผนังของศิลปิน เรียกว่า จิตรกรรม เป็นงานศิลปะที่ต้องใช้พลังความศรัทธาอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ วิหาร ของวัดอันเป็นจุดกลางของชุมชน ศิลปินต้องอาศัยองค์ความรู้ที่ชำนาญทั้งการวาดภาพประกอบ การจิตนภาพชาดก วรรณกรรมพื้นบ้าน การจัดวางองค์ประกอบตัวละคร รวมไปถึงการสอดแทรกเรื่องราววิถีชาวบ้านสถานการณ์บ้านเมือง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจของการชมผนังเก่าเล่าเรื่อง หรือจิตรกรรมนั้นเอง ในเมืองตากยังมีหลายวัดที่ยังคงพยายามรักษาจิตกรรมศิลปะพื้นบ้านไว้เป็นอย่างดี อย่างเช่น วัดไม้งามหลวง ตำบลไม้งาม จังหวัดตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 679

ปุนเถ่ากง หมุดยึดจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก

ปุนเถ่ากง หมุดยึดจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก

เมืองตากตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าลำน้ำปิง ด้านตะวันตกติดกับชายแดนพม่าส่งผลให้กลายเป็นชุมทางหนึ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะภายหลังจากการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้วการค้าในสยามขยายตัวมากขึ้น พร้อมกับการเข้ามาของจีนแผนดินใหญ่ในระหว่างนี้เองจีนกลุ่มต่าง ๆ จึงได้เลือกที่ลงหลักปักฐานบนย่านที่ทำการค้าได้ดี เมืองตากเป็นเมืองหนึ่งที่ชาวจีนนิยมเลือกมาทำการค้าตั้งเป็นชุมชนการค้า พร้อมทั้งน่าจะมีการสร้างศาลเจ้าจีนไว้เป็นที่เคารพของคนในย่านนั้น ศาลเจ้าปุนเถ่ากง จึงเสมือนหมุดยึดโยงความเชื่อความรักในแผ่นดินระหว่างจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก เป็นอนุสรณ์ของชาวจีนที่เมืองตากที่ยังคงมีลมหายใจของคนในพื้นที่

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,289

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

หลังจากเมืองเชียงใหม่แตก พระเจ้ามังระ ทรงเดือดดาลเป็นอย่างยิ่ง แผนการรวบแผ่นดินไทยให้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าต้องพังทลายลง ทรงบัญชาให้อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพมือหนึ่ง ยกทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก แต่การบุกจากด้านเหนือจะต้องผ่านหัวเมืองสำคัญหลายเมือง และเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อทัพพม่ามากที่สุด ก็คือพิษณุโลก

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,537