จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้ชม 3,480

[16.4569421, 99.3907181, จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม]

         เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ พระฤาษีประดิษฐานไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อย เป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลาย สมณชีพราหมณาจารย์ไปถ้วน ๕,๐๐๐ พรรษา พระฤาษีตนหนึ่งจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่าท่านจงไปเอาว่านทั้งหลายอันมีฤทธิ์เอามาให้ได้ ๑,๐๐๐ เก็บเอาเกสรดอกไม้อันวิเศษที่มีกฤษณาเป็นอาทิให้ได้สัก ๑,๐๐๐ ครั้นเสร็จแล้วฤาษีจึงป่าวร้องเทวดาทั้งปวงให้มาช่วยบดยาทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่ง ทำเป็นเมฆพัตรสถานหนึ่ง ฤาษีทั้ง ๓ ตนนั้น จึงบังคับฤาษีทั้งปวงให้เอาว่านทำเป็นผงปั้นเป็นก้อนถ้าผู้ใดได้ถวายพระพรแล้ว จึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกถึงพระฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิด ตำนานบนแผ่นลานเงินได้บอกวิธีสำหรับอาราธนาพระกำแพงทุ่งเศรษฐี ดังนี้
        ถ้าผู้ใดได้ไหว้ให้ถวายพระพร แล้วจึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพ ให้ระลึกถึงคุณพระฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิดฤาษีได้อุปเท่ห์ไว้ดังนี้
        แม้อันตรายสักเท่าใดก็ดีให้นิมนต์พระใส่ศีรษะ อันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล
        ถ้าจะเข้าการรณรงค์สงครามให้เอาพระใส่น้ำมันหอม เข้าด้วยนวหรคุณ แล้วเอาใส่ผม ศักดิ์สิทธิ์ตามปรารถนา
        ถ้าผู้ใดจะประสิทธิ์แก่หอกดาบศาสตราอาวุธทั้งปวงเอาพระสรงน้ำมันหอมแล้วเสกด้วย อิติปิโสภกูราติ เสก ๓ ที ๗ ทีแล้วใส่ขันสำริด พิษฐานตามควาปรารถนาเถิด
        ถ้าผู้ใดจะใคร่มาตุคามเอาพระสรงน้ำมันหอม ใส่ใบพลูทาประสิทธิ์แก่คนทั้งหลาย
        ถ้าจะสง่าเจรจาให้คนเกรงกลัวเอาพระใส่น้ำมันหอม หุงขี้ผึ้ง เสกด้วย นวหรคุณ ๗ ที
        ถ้าจะค้าขายก็ดีไปทางบกทางเรือก็ดี ให้นมัสการด้วยพาหุง แล้วเอาพระสรงน้ำมันหอมเสกด้วยพระพุทธคุณอิติปิโส ภกูราติ เสก ๗ ที ประสิทธิ์แก่คนทั้งหลายแล
        ถ้าจะให้สวัสดีสภาพรทุกวันให้เอาดอกไม้ดอกบัวบูชาทุกวัน ถ้าจะปรารถนาอันใดก็ได้ทุกอันแล
        ถ้าผู้ใดพบพระเกสรก็ดีพระว่านก็ดี พระปรอทก็ดี (เข้าใจว่าเป็นพระเนื้อชินเข้าปรอท)เหมือนกันอย่าประมาท มีอานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยแก่ผู้นั้น
        ถ้าจะให้ความสูญให้เอาพระสรงน้ำมันหอม เอาด้าย ๑๑ เส้น (หมายถึงพระฤาษี ๑๑ ตน ) ชุบน้ำมันหอม แล้วทำไส้เทียนตามถวายพระ แล้วพิษฐานตามความปรารถนาเถิด
        ถ้าผู้ใดจะสระหัวให้เขียนยันต์ใส่ไส้เทียนเถิด จะประเสริฐแล ฯลฯ
        ความเชื่อเหล่านี้ตกทอดมายังผู้คนที่มีความเชื่อในพุทธคุณของพระเครื่อง ทำให้พระเครื่องกำแพงเพชร มีราคาสูงมากๆราคาที่เช่ากัน หลายล้านบาท นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ ในเมืองกำแพงเพชร อิทธิพลจากจารึกลานเงิน ที่สมเด็จพุฒาจารย์(โต)พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุมแน่นอน

คำสำคัญ : จารึกลานเงิน, พระเครื่อง

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2549). จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร. http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php?

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1416

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1416&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

จากบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสำรวจโบราณสถานที่บริเวณเขตพระราชวัง วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ เพื่อสำรวจวัดใหญ่ๆ อีกหลายวัด สำหรับในตอนนี้จะเป็นการนำเสนอบทบนัทกึที่ทรงเสด็จ ตรวจตราโบราณสถานในเขตอรัญญิกกำแพงเพชรกันต่อ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จตรวจตราโบราณสถานที่วัดอาวาสใหญ่และบ่อสามแสนแล้ว ได้เสด็จต่อยังวัดอื่นๆ อีก ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้ “ยังมีที่วัดใหญ่ และที่มีพระเจดีย์เป็นชิ้นสำคัญอยู่อีกวัดหนึ่ง คือวัดที่ราษฎรเรียกกันว่า วัดช้างรอบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,523

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑีหรือบ้านโคน มีการสืบเนื่องของชุมชนมาช้านานแล้ว แม้ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยของคูน้ำแนวคันดินอันเป็นที่ตั้งของเมือง แต่มีวัดและซากโบราณเก่าแก่ที่ทำให้เชื่อได้ว่าครั้งหนึ่งบริเวณบ้านโคนเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ คือ เมืองคณฑี มีตำนานเล่าเรื่องถึงชาติภูมิหรือบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระมหาธรรมราชหรือพระเจ้าโรจน หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นบ้าน ว่าพระร่วง

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,564

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ จากพงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า 435-436 กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ ได้เรียงลำดับไว้ว่า ลำดับที่ 6 พระยากาแต เชื้อนเรศร์หงสา ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ลำดับที่ 8 ขุนหลวงพะงั่ว ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ซึ่ง “เชลียง” ก็หมายถึงเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เรื่อง “อธิบายรัชกาลครั้งกรุงเก่า” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเ์ธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบบักาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 356 ได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (หลวงพะงั่ว) กับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ไว้ว่า...

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 15,317

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

วันนี้ตื่นสาย อยู่ข้างจะฟกช้ำ 4โมงเช้า จึงได้ลงเรือเหลืองข้ามฟากไปฝั่งตะวันตกยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุ เลยไปคลองสวนหมาก ต้องขึ้นไปไกลอยู่หน่อย ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใส เพราะเป็นลำห้วย มีคลองแยกข้างขวามือ แต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่า แม่พล้อ ถ้าไปตามลำคลอง 3 วันจึงถึงป่าไม้แต่มีหลักตอมาก เขาเดินขึ้นไปทางวันเดียวถึง ป่าไม้นี้ พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ เมียเป็นคนไทย ชื่ออำแดงทองย้อย เป็นบุตรผู้ใหญ่บ้านวันและอำแดงไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกันในที่นั้นไปขึ้นถ่ายรูปที่บ้านสองบ้านนี้ แล้วจึงกลับออกมาจอดเรือกินกลางวันที่หาดกลางน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,653

พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) สร้างเมืองเทพนคร

พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) สร้างเมืองเทพนคร

เทศนาจุลยุทธการวงศ ์ พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) ได้ทรงสร้างเมืองเทพนคร  เมื่อจุลศักราช 681 (พุทธศกัราช 1862) ในช่วงระยะที่ยังไม่พบเมืองเทพนครนั้น นักประวัติศาสตร์จึงยังไม่เชื่อว่าเรื่องราวในเทศนาจุลยุทธการวงศ์เป็นความจริง เป็นเพียงตำนานที่เล่ากันต่อมา ในคราวหลังพบหลักฐานทางโบราณคดี มีเมืองไตรตรึงษ์และเมืองเทพนครเกิดขึ้นจริง ดังผังเมืองโบราณและภาพถ่าย ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำบัญชีทะเบียนทรัพย์สินด้านโบราณสถาน จังหวัดกำแพงเพชรไว้ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,620

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

เดิมถนนราชดำเนิน เป็นทางล้อเกวียน เส้นทางสัญจรทางบกของชาวกำแพงเพชร ยาวตั้งแต่กำแพงเมือง (หลังไปรษณีย์กำแพงเพชรเก่า) ตรงไปสิ้นสุดยังวัดบาง ผ่านด้านหลังวัดเสด็จ ตัดโดยพระวิเชียรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชรท่านใหม่ ที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้มาปฏิรูปเมืองกำแพงเพชร ถนนเส้นนี้ กว้างราว 6 เมตร มีบ้านเรือน ราษฎรปลูกอยู่บ้างแล้ว ตรง กว้าง งดงามมาก พระวิเชียรปราการ ตั้งใจที่จะรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงด้วย  

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 2,484

ตำนานสามล้อกำแพงเพชร

ตำนานสามล้อกำแพงเพชร

สามล้อถีบเมืองกำแพงเพชร มีมาก่อนพุทธศักราช 2490 มารุ่งเรืองสูงสุด ในปี 2500 รายได้ดีมาก สามารถเลี้ยงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามล้อท่านแรกที่รู้จัก คือลุงเอก บ้านอยู่หน้าโรงเรียนอนุกูลศึกษาทางไปโรงพยาบาลกำแพงเพชร (ปัจจุบันเลิกกิจการแล้ว) ผู้เขียนเป็นเพื่อนรักกับลูกชายลุงเอก คือนาย อุ่น ไปมาหาสู่กันเป็นประจำไปนอนเล่นบ้านลุงเอกเสมอ ท่านใจดีมาก ๆ มีฐานะดีด้วย 

 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,177

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอกเมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน จากเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มีเส้นทางที่ใช้เชื่อมต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่เดิมอาจเป็นเส้นทางธรรมดา ภายหลังมีการยกคันดินขึ้นเป็นถนนแล้วเรียกชื่อว่า “ถนนพระร่วง”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,385

ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ

ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ

พวกฮ่อนี้เดิมทีเป็นจีนแท้ ทำการขบถขึ้นในเมืองจีน เรียกว่าพวกขบถ “ไต้เผง” จะช่วงชิงอำนาจกับพวก “เม่งจู” ในที่สุดพวกไต้เผงสู้พวกเม่งจูไม่ได้ ต้องแตกฉานซ่านเซ็นหลบหนีไปซุ่มซ่อนตัวตามป่าเขา จีนขบถไต้เผงพวกหนึ่งมีกำลังหลายพันคน หัวหน้ากลุ่มชื่อ “จ่ออาจง” อพยพเข้ามาอยู่ในเขตแดน ญวน ทางเมืองตั้งเกี๋ยเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๐๐ ฝ่ายพวกญวนเห็นว่าพวกขบถไต้เผงอพยพเข้ามในเขตของตน เกรงว่าจะเป็นอันตราต่อญวนในภายภาคหน้า จึงแต่งฑูตเข้าไปในประเทศจีน ขอกองทัพจากกษัตริย์เม่งจู มาสมทบกับกองทัพของญวน ช่วยกันขับไล่พวกขบถ พวกกบถก็แตกทัพลงมาในดินแดนของพวกแม้ว คือชายแดนจีนติดต่อกับดินแดนสิบสองจุไทย พวกขบถได้รวบรวมกันและตั้งมั่นอยู่ และได้เรียกชื่อใหม่ว่าเป็น “พวกฮ่อ”

 

 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,733

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,569