ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้ชม 4,196

[16.3194159, 99.4823679, ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร]

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร
           นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง
           ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุลนั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้คำนำหน้า “ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)
           จึงทรงพระราชทานนามสกุลให้ว่า “นุชนิยม” ทรงอธิบายว่า มาจากคำสมาส “นุช + นิยะมะ แปลว่า "กำหนดโดยพระยากำแพงเพชร นุช" แต่เขียนให้เป็นแบบไทยๆว่า “นุชนิยม” โดยให้คงรูปภาษาโรมันไว้แบบเดิม คือ NUJANIYAMA –นูจานิยามา  (นุชนิยะมะ) ดังนั้นนามสกุลพระราชทานพิเศษลำดับที่ 4787 นี้จึงใช้นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน (บันทึก - ในการทำพาสปอร์ต มีปัญหาในการใช้นามสกุล NUJANIYAMA เพราะเวลาในการเรียกขึ้นเครื่องบิน จะออกเสียงเป็น "นูจานิยาม่า" ทางกรมการกงศุล ฝ่ายทำพาสปอร์ต จึงขอให้เปลี่ยนนามสกุลที่ออกเสียงตรงกับภาษาไทย จึงมี ทั้ง NOOCHNIYOM และ NUCHNIYOM)
           ต้นสกุล นุชนิยม คือพระยารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภัยพิริยปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร-นุช) เดิมรับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ ในรัชสมัยขององค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ พระยากำแพงเพชร-นุช มีภรรยาเรียกกันว่า ท่านผู้หญิงชี แต่ชื่อจริงเรียก “กาว” เป็นราชธิดาเจ้าผู้ครองนครเชียงราย พระยากำแพงเพชร-นุช เป็นญาติกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดระฆังเรียกกันว่าท่านเจ้าโต สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ครั้นพระยากำแพงเพชร-นุช ได้ไปราชการทัพหลายครั้ง มีความดีความชอบ องค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ได้พระราชทาน ดาบด้ามทองฝักทองคำเป็นบำเหน็จ (ดาบนี้อยู่ที่ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร) และอีกทั้งได้รับพระราชทานตำแหน่งให้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชร
           พระยากำแพงเพชร-นุช มีบุตรกับท่านผู้หญิงชี คือ
          1 ท่านผู้หญิง แพง เป็นภรรยาพระกำแพงเพชร (นาค) มีบุตรด้วยกัน 6 คน ชาย5 หญิง 1 คือ
                1.1 พระยากำแพงเพชร (บัว) ไปราชการทัพเวียงจันทร์ กลับมาก็ถึงอนิจกรรมในเวลานั้น
                1.2 เป็นพระยาสวรรคโลก (เถื่อน) ลงไปรับราชการอยู่กรุงเทพฯ เป็นพระยาราชสงครามไปราชการทัพเวียงจันทร์ ได้ลาวเชลยมา 100 ครัวมีความชอบโปรดเกล้าให้ขึ้นมาเป็นพระยากำแพงเพชรแทนพี่ชายและได้รับพระราชทานลาว 100 ครัวเรือนด้วย ได้ให้เชลยตั้งบ้านเรือนอยู่วัดป่าหมู เหนือบ้านหลวงมนตรี ปัจจุบันเรียกว่า “เกาะยายจันทร์” รับราชการได้ 16 ปีเศษ พระยากำแพงเพชร (เถื่อน) ก็ถึงอนิจกรรม
               1.3 ชื่อ น้อย เป็นพระพลอยู่แล้ว ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยากำแพงเพชร รับราชการ 15 ปี ถึงแก่อนิจกรรม
               1.4 ชื่อ เกิด รับราชการเป็นพระยาตากอยู่ 10 ปี ไปราชการทัพเชียงตุง กลับจากทัพได้เลื่อนเป็นพระยากำแพงเพชรแทนพี่ชาย อยู่ 11 ปี จึงถึงแก่อนิจกรรม (เป็นปู่ของพระกำแหงสงคราม- ฤกษ์ นุชนิยม)
               1.5 ชื่อ สุดใจ รับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ เป็นที่พลพ่าย
(ท่านทั้ง 5 นี้เป็นมหาดเล็กหุ้มแพรทุกท่าน)
              1.6 ชื่อ อิ่ม เป็นท้าวอยู่ในแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และรับราชการอยู่จนแผ่นดินพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ในระหว่างนั้น พระอินทรเดช (บัว) เป็นคนกรุงเก่าต่างสกุลมาเป็นผู้รักษาการเมืองคือ ต้นสกุลรามโกมุท มารับราชการได้ 3 ปีก็ออกจากที่นั่น
          2 ท่านผู้หญิงพลับ
          3 บุตรชายที่เป็นพระฤทธิเดช รับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ
          จาก 1.4 พระยากำแพงเพชร (เกิด) สมรสกับท่านผู้หญิงทรัพย์ มีบุตร ธิดา รวม 9 คน คือ
          1. คุณย่าหุ่น
          2. คุณย่านก-คุณปู่เสือ
          3. คุณย่าขำ
          4. หลวงวิเศษสงคราม (ดิษฐ์)
          5. คุณย่าผึ้ง-พระกำแหงสงคราม (เหลี่ยม นุชนิยม)
          6. หลวงพิพิธอภัย (ต่าย รามสูต)
          7. พระยากำแพงเพชร (อ้น รามสูต)
          8. คุณหญิงภู่-พระยากำแพงเพชร (หรุ่น อินทรสูต)
          9. คุณย่าทองหยิบ
          ต่อมาทั้ง 9 ท่านได้สืบสายสกุลรวม อย่างน้อย 15 สายสกุลคือ
          สายสกุลสายตรง - กำแหงสงคราม, กลิ่นบัว, นาคน้อย, นุชนิยม, รอดศิริ, รามบุตร, รามสูต, ศุภดิษฐ์ และอินทรสูต---เรียงตามอักษร
          สายสกุลที่เกี่ยวข้อง - กัลยาณมิตร สายพระสุจริตรักษา, ชูทรัพย์, ชูพินิจ, รัชดารักษ์, รามโกมุท และวิชัยขัทคะ-สายพระศรีพัฒนาการ
          พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) เป็นบุตรของพระกำแหงสงคราม (เหลี่ยม) เกิดจากคุณย่าผึ้ง ในวันที่พระกำแหงสงคราม (เหลี่ยม) ผู้บิดา กำลังจัดทัพไปรบในสงครามขบถเจ้าอนุวงศ์ คนที่บ้านมาแจ้งว่าท่านได้บุตรชาย ท่านบอกให้คนมารายงานว่า "ให้ตั้งชื่อลูกที่เกิดมาว่า ชื่อ"ฤกษ์" แล้วออกทัพไปราชการสงครามด้วยจิตใจที่เด็ดเดี่ยว
          พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์) รับราชการสนองพระเดชพระคุณรับใช้ชาติในสงครามปราบศึกฮ่อ รัชสมัยรัชกาลที่ 5 จนสงบราบคาบ แล้วกลับมาอยู่กำแพงเพชร จนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เกษียณอายุราชการ แต่ไปช่วยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ในตำแหน่งกรมการพิเศษ ก่อตั้งค่ายสุรศักดิ์มนตรี มณฑลทหารบกที่ 7 จังหวัดลำปาง
          ในปัจจุบัน มีผู้ใช้นามสกุล "นุชนิยม" มีจำนวนประมาณ 350 คน

คำสำคัญ : สายสกุล

ที่มา : http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php/topic,1404.0/wap2.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1337

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1337&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

ในกำแพงเพชรมีเรื่องเล่าขาน ถึงพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยงสุกสว่าง ลอยวนไปมาเหนือพระเจดีย์ อยู่หลายแห่ง อาทิเจดีย์วัดวังพระธาตุ เจดีย์วัดเสด็จ (ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน) เจดีย์วัดกะโลทัย เจดีย์วัดพระบรมธาตุ และเจดีย์วัดบ้านธาตุ มีเรื่องเล่าว่า ในวันเดือนมืดสนิท จะมีดวงไฟขนาดใหญ่ออกจากพระเจดีย์ดังกล่าว ลอยทักษิณาวรรต ๓ รอบ ณ พระเจดีย์แล้ว ทุกดวงจะเสด็จมาที่เจดีย์วัดพระบรมธาตุ แสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นบ่อยครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,415

ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ดอกพิกุล ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร พิกุลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 8–15 เมตร เป็นพุ่มทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมน สอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 5,239

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จมาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,138

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพรจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือพระพุทธเจ้าหลวงของปวงชนชาวไทย ได้เสด็จประพาสต้นหัวเมืองทางเหนือโดยมีจุดปลายปลายทางอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร ในการเสด็จประพาสต้นในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ  ที่ได้ทอดพระเนตรและทรงให้บันทึกเรื่องราวเอาไว้เป็นบทพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น ซึ่งมีเนื้อเรื่องบางตอนเกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์ ดังข้อความดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,244

เมืองคณฑี : เมืองที่ตั้งของทัพหลวงและทัพชัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ตั้งของทัพหลวงและทัพชัย

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาแม้ความสำคัญของการเป็นเมืองร่วมสมัยกับกรุงสุโขทัยอาจลดลงไป แต่ก็ยังเป็นชุมชนสืบเนื่องต่อกัน ดังหลักฐานในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ กล่าวไว้ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถได้ยกทัพไปตีเมืองเถิน ระหว่างที่เดินทางขึ้นมาได้นำทัพหลวงไปตั้งพักทัพที่ตำบลบ้านโคน ดังข้อความในประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3 กล่าวไว้ว่า “ศักราช 804 ปีจอจัตวาศก (พ.ศ.1985) แต่ทัพไปเอาเมืองศรีสพเถิน ครั้งนั้นเสด็จหนุนทัพขึ้นไปตั้งทัพหลวงตำบลบ้านโคน” ข้อความนี้ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่าเป็น ศักราช 818 ชวดศก (พ.ศ. 1999)

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,568

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2  (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,236

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 1

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 1

ย้อนหลังไปเมือง พ.ศ. 2450 หรือ 107 ปี ที่ผ่านมา ชาวกำแพงเพชรได้มีโอกาสต้อนรับการเสด็จมาของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งทรงสนพระทัยเกี่ยวกับเรื่องราวของเมืองพระร่วงคือเมืองกำแพงเพชร สุโขทัยและศรีสัชนาลัย และได้เสด็จขึ้นมาตรวจตราโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศึกษาข้อมูลตามตำนานในท้องถิ่น แล้วทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้เป็นหนังสือเรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” ซึ่งยอมรับกันว่าเป็นหนังสือนำเที่ยวเมืองไทยเล่มแรกที่มีคณุค่ายิ่งนัก และถือเป็นหนังสือดีอีกเล่มหนึ่งที่ชาวกำแพงเพชรควรต้องอ่าน ด้วยความสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงเสด็จเที่ยวเมืองกำแพงเพชรและทรงบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญเอาไว้อย่างละเอียดเป็นบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,620

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์เป็นอีกหนึ่งชุมชนโบราณที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงตอนล่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณบริเวณภาคกลางในวัฒนธรรมทวารวดี คือ ตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 1-3 ชั้น ผังเมืองจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป แต่มักจะขนานกับทางน้ำ เมื่อพิจารณาร่วมกับหลักฐานทางด้านเอกสารประวัติศาสตร์อย่างตำนานจามเทวีที่กล่าวถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 พระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งเมืองละโว้ได้อพยพผู้คนจากเมืองละโว้ขึ้นมาเมืองหริภุญชัย โดยใช้เส้นทางแม่น้ำปิงเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานประเภทโบราณวัตถุที่พบมีความคล้ายคลึงกับโบราณวัตถุที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ ตะเกียงดินเผา ลูกปัดแก้ว หรือ ลูกปัดหินเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 721

สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชร

สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชร

ภาพที่นำมาให้ชมกันนี้เป็นภาพสะพานกำแพงเพชร ซึ่งถ่ายเอาไว้เมื่อประมาณ พ.ศ. 2501อันเป็นช่วงที่สะพานแหง่นี้สร้างเสร็จใหม่ๆ มองดูโดดเด่นเป็นสง่าเหนือล้ำน้ำปิงและยืนหยัดกรำแดดกรำฝน รับใช้พี่น้องชาวกำแพงเพชรมากว่าสี่สิบปี ก่อนจะถูกบดบังจนมองเกือบไม่เห็นใน พ.ศ. 2542 ด้วย สะพานคู่ขนานขนาดใหญ่ตามวิถีการขยายตัวของสังคมเมือง เพื่อมิให้สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชรเลือนหายไปจากความทรงจำ จึงขอนำเรื่องราวความเป็นมาของสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรกของจังหวัดกำแพงเพชรมาทบทวนความทรงจำกันอีกครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,221

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้า บรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง พระพิมพ์ส่วนพระองค์นี้ สร้างขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ ทรงสร้างไว้สำหรับ บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงาย ด้านหน้าของพระพุทธนวราชบพิตร และเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และบุคคลอื่นไว้สักการะบูชา ผงศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาบรรจุในพระพิมพ์ส่วนพระองค์นั้นประกอบด้วย เส้นพระเจ้า คือเส้นผมพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเจ้าพนักงาน ได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ คือตัดผม ทุกครั้ง ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัย ที่ประชาชนทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง พระมหามณีรัตนปฏิมากร และทรงบูชาไว้ที่พระพุทธปฏิมากร ตลอดเทศกาล จนถึงคราวเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รวบรวมไว้ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนที่พระมหาเศวษฉัตร และด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล ชันและสีจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งซ่อมแซมเรือ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,901