ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้ชม 1,966

[16.3937891, 98.9529695, ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”]

           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช “ ในหลวง” ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สดุในโลก ได้ทรงอุทิศพระวรกายพระราชหฤทัย และพระสติปัญญา บำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวง เพื่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างมากมายมหาศาล จนยากยิ่งที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกมาเทียบเคียงได้ ดังนั้นในโอกาสมหามงคล จึงขอนำเรื่องราวแห่งความปลื้มปิติมาน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อชาวกำแพงเพชรด้วยการเสด็จถึง 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลากว่า 69 ปีที่ครองราชย์ เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่พร้อมทั้งความบริสุทธิ์และบริบรูณ์ตลอด 69 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นช่วงเวลาที่พสกนิกรชาวไทยอยู่ได้อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระ พระราชกรณียกิจทั้งหลายที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่เปรียบมิได้ที่พระองค์ทรงมีตอ่ประเทศชาติและประชาชนชาวไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชรเพื่อทรงประกอบพระราชกรณียกิจและทรงเยี่ยมราษฎรถึง 3 ครั้ง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ที่ยังคงประทับตราตรึงอยู่ในจิตของปวงชนชาวกำแพงเพชรอยู่มิเสื่อมคลาย พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เสด็จพระราชดำเนินในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร มีดังนี้
          ครั้งที่ 1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จในพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร โดยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลและบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ บริเวณวังโบราณในเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2510 เนื่องในวันคล้ายทรงกระทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราช ในการเสด็จเมื่อครั้งนั้น ทั้งสิงพระองค์ทรงได้ปลูกต้นสักเอาไว้ที่หน้าศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร (ปัจจุบันเป็นที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร) ซึ่งต้นสักทั้ง 2 ต้นได้เจริญงอกงามเป็นอนุสรณ์แห่งพระมหากรุณาธิคุณอยู่จนทุกวันนี้
           ความเป็นมาของการเสด็จทรงบำเพ็ญพระราชกุศลและบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชดำริว่า การเสด็จไปถวายราชสัการถวายบังคม ณ พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์เพียงแห่งเดียว ยังไม่เป็นการเพียงพอ ด้วยสมเด็จพระนเรศวรนั้นได้ทรงประกอบพระมหาวีรกรรมไว้ใหญ่หลวงนัก ได้ทรงกอบกู้เอกราชและนำความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ชาติบ้านเมืองและอาณาประชาราษฎร ซึ่งยังเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ชาติไทยอย่างเหลือล้น จึงสมควรที่จะได้เผยแพร่พระราชกฤษฏาภินิหาร เทิดทูนพระเกียรติคุณโดยกตัญญูตาธรรมให้ยิ่งขึ้น ทรงพระราชดำริว่าไม่มีทางใดที่จะดีกว่าเสด็จฯ ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบวงสรวงอุทิศส่วนพระราชกุศลถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และบรรดาบรรพชนชาวไทยในอดีตที่ได้เสียสละเลือดเนื้อเป็นชาติพลี ณ สถานที่ต่าง ๆ อันเป็นที่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เคยประทับ ได้เคยทรงประกอบพระวีรกรรม ได้เคยชุมนุมทัพหรือได้เคยกรีฑาทัพผ่าน ดังนั้นในวันที่ 24 มกราคม 2510 พระองค์ท่านจึงได้เสด็จไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ บริเวณพระราชวังโบราณในเขตจังหวัดกำแพงเพชรด้วย เพราะเมืองกำแพงเพชรเคยเป็นสถานที่ตั้งทัพหลวงของพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช การเสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชรในครั้งนั้น ได้มีพสกนิกรชาวกำแพงเพชรหลายท่านได้เข้าเฝ้าในหลวงอย่างใกล้ชิด หนึ่งในนั้นคือ คุณยายสุรีย์ โสภณโภไคย อายุ 77 ปี ที่ให้ข้อมูลแห่งความปลื้มปิติแก่หนังสือพิมพ์ข่าวสดว่า เคยเข้าเฝ้าในหลวงและได้ถวายพระพุทธรูปทองคำปางสุโขทัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะเสด็จฯ เยี่ยมราษฏรที่จังหวัดกำแพงเพชรเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2510 ในครั้งนั้นคุณยายสุรีย์ ยังมีอายุ 37 ปี เดิมอยู่ที่อำเภอคลองขลุง เปิดร้านขายทองและขายหนังสือพิมพ์ ก่อนวันที่ในหลวงเสด็จฯ ประมาณ 7 วัน ท่านผู้ว่าฯ ร.ต.ท. ปิ่น สหัสสโชติ ได้เรียกไปบอกว่าในหลวงจะเสด็จฯกำแพงเพชรเป็นครั้งแรก เห็นว่ามีพระดีก็เลยให้นำไปทูลเกล้าฯ ถวาย และมาคิดว่าจะทูลเกล้าฯ ถวายในหลวงทั้งทีจะเป็นพระองค์เล็ก ๆ ก็คงไม่ค่อยจะงาม พอดีที่บ้านมีพระพุทธรูปทองคำปางสุโขทัย สูงประมาณหนึ่งคืบ เลยนำมาถวายแก่พระองค์ท่าน ตอนที่นั่งทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูป พระองค์ท่านหยิบพระขึ้นมาดูแล้วก็บอกว่าพระพุทธรูปทองคำเหรอ ก็ตอบว่า เพคะ ท่านก็ตรัสว่า ลูกขึ้นยืนเถอะ แล้วท่านตรัสถามว่าเอามาถวายไม่เสียดายหรือ ยายก็ตอบว่าไม่เสียดายเพคะ เต็มใจและก็ปลื้มในที่ได้ถวาย ท่านก็ยิ้มและตรัสว่า พระอะไรของกำแพงเพชรที่เรียกว่าพระซุ้มกอ ยายก็ทำมือวาดเป็นตัว ก.ไก่ และบอกว่ามีพระอยู่นัว ก. ไก่ เลย เรียกว่าพระซุ้มกอ และในวันนั้นก็ได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระพระสมเด็จนางพระพญา แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถอีกด้วย หลังจากครั้งนั้น คุณยายสุรีย์ยังได้มีโอกาสถวายพระซุ้มกอเลี่ยมทองและพระกำแพงเขย่งแด่พระองค์ท่านในการเสด็จฯมาครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 อีกด้วย

คำสำคัญ : ในหลวงเสด็จกำแพงเพชร

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1285

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1285&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,841

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

ชาวบ้านปากคลองมีหลายชนชาติมาอาศัยอยู่มาก นอกจากลาวเวียงจันทน์แล้วยังมีชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ อพยพมาอยู่กันมากมาย คนที่มาอยู่บ้านปากคลองได้ ต้องเป็นคนเข้มแข็ง และแกร่งจริงๆ เพราะเล่ากันว่า เมื่อจะขึ้นล่องจากปากน้ำโพไปเมืองตาก ต้องผ่านบ้านปากคลอง ว่าต้องหันหน้าไปมองทางฝั่งกำแพง ถ้ามองมาทางบ้านปากคลองจะเป็นไข้ป่าตายเป็นสิ่งที่คนกลัวกันมากจนลือกันไปทั่วกำแพง ปากน้ำโพ และเมืองระแหง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,535

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

ในกำแพงเพชรมีเรื่องเล่าขาน ถึงพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยงสุกสว่าง ลอยวนไปมาเหนือพระเจดีย์ อยู่หลายแห่ง อาทิเจดีย์วัดวังพระธาตุ เจดีย์วัดเสด็จ (ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน) เจดีย์วัดกะโลทัย เจดีย์วัดพระบรมธาตุ และเจดีย์วัดบ้านธาตุ มีเรื่องเล่าว่า ในวันเดือนมืดสนิท จะมีดวงไฟขนาดใหญ่ออกจากพระเจดีย์ดังกล่าว ลอยทักษิณาวรรต ๓ รอบ ณ พระเจดีย์แล้ว ทุกดวงจะเสด็จมาที่เจดีย์วัดพระบรมธาตุ แสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นบ่อยครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,397

พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) สร้างเมืองเทพนคร

พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) สร้างเมืองเทพนคร

เทศนาจุลยุทธการวงศ ์ พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) ได้ทรงสร้างเมืองเทพนคร  เมื่อจุลศักราช 681 (พุทธศกัราช 1862) ในช่วงระยะที่ยังไม่พบเมืองเทพนครนั้น นักประวัติศาสตร์จึงยังไม่เชื่อว่าเรื่องราวในเทศนาจุลยุทธการวงศ์เป็นความจริง เป็นเพียงตำนานที่เล่ากันต่อมา ในคราวหลังพบหลักฐานทางโบราณคดี มีเมืองไตรตรึงษ์และเมืองเทพนครเกิดขึ้นจริง ดังผังเมืองโบราณและภาพถ่าย ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำบัญชีทะเบียนทรัพย์สินด้านโบราณสถาน จังหวัดกำแพงเพชรไว้ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,573

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสีอยู่ 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีเขียวใบไม้ มีรูปตราประจำจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ตรงกลางแถบสีแดง แถบสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของเมืองกำแพงเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางพระพุทธศาสนา กำแพงเพชรมีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมายและย่ิงใหญ่ที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย กำแพงเพรมีพระเครื่องนับพันพิมพ์ จนได้รับการยกย่องให้เป็นจังหวัดที่ีพระเครื่องมากที่สุด และทรงคุณค่ามากที่สุดจนเป็นคำขวัญประจำจังหวัดวรรณหนึ่งว่า "กรุพระเครื่อง" แถบสีเขียว หมายถึง เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เต็มไปด้วยป่าไม้ น้ำตก และพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ มีประชากรจากทุกสารทิศอพยพเข้ามาสู่เมืองกำแพงเพชรอย่างมากมาย ความหมายโดยรวม เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างย่ิงทางด้านพระพุทธศาสนา ประชาชนมีความกล้าหาญในการสงครามอย่างหาที่เปรียบมิได้ มีความอุดมสมบูรณ์ในการเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทยมาโดยตลอด

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 2,721

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

เดิมถนนราชดำเนิน เป็นทางล้อเกวียน เส้นทางสัญจรทางบกของชาวกำแพงเพชร ยาวตั้งแต่กำแพงเมือง (หลังไปรษณีย์กำแพงเพชรเก่า) ตรงไปสิ้นสุดยังวัดบาง ผ่านด้านหลังวัดเสด็จ ตัดโดยพระวิเชียรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชรท่านใหม่ ที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้มาปฏิรูปเมืองกำแพงเพชร ถนนเส้นนี้ กว้างราว 6 เมตร มีบ้านเรือน ราษฎรปลูกอยู่บ้างแล้ว ตรง กว้าง งดงามมาก พระวิเชียรปราการ ตั้งใจที่จะรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงด้วย  

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 2,444

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 931

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จมาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,106

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ จากพงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า 435-436 กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ ได้เรียงลำดับไว้ว่า ลำดับที่ 6 พระยากาแต เชื้อนเรศร์หงสา ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ลำดับที่ 8 ขุนหลวงพะงั่ว ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ซึ่ง “เชลียง” ก็หมายถึงเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เรื่อง “อธิบายรัชกาลครั้งกรุงเก่า” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเ์ธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบบักาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 356 ได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (หลวงพะงั่ว) กับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ไว้ว่า...

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 15,182

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณเทพนคร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตรงกันข้ามกับเมืองโบราณนครไตรตรึงษ์ เมืองเทพนครเป็นชุมชนโบราณมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบชั้นเดียว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมณ 800 เมตร ยาวประมาณ 900 เมตร แนวคัดดินและคูเมืองถูกทำลายไปเกือบหมด เหลือพอเห็นบ้างทางทิศตะวันออกเท่านั้น พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกไถปรับระดับเพื่อเกษตรกรรมหมด

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 3,111