เฟื่องฟ้า

เฟื่องฟ้า

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 16,679

[16.4258401, 99.2157273, เฟื่องฟ้า]

เฟื่องฟ้า ชื่อสามัญ Paper flower, Bougainvillea

เฟื่องฟ้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Bougainvillea glabra Choisy จัดอยู่ในวงศ์บานเย็น (NYCTAGINACEAE)

เฟื่องฟ้า มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ดอกต่างใบ (กรุงเทพฯ), ดอกกระดาษ ดอกโคม (ภาคเหนือ), ตรุษจีน (ภาคกลาง), เย่จื่อฮวา จื่อซานฮวา (จีนกลาง) เป็นต้น

ประวัติเฟื่องฟ้า

ต้นเฟื่องฟ้าถูกพบครั้งแรกในประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่าง ๆ ของโลก เริ่มจากทางยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย สำหรับในประเทศไทยได้มีการนำพันธุ์ของต้นเฟื่องฟ้าเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์เป็นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2423 (รัชกาลที่ 5) และมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศอีกมากมายจนถึงปัจจุบัน โดยสายพันธุ์ของต้นเฟื่องฟ้าในประเทศก็มีจำนวนไม่น้อยไปกว่าต่างประเทศ เนื่องมาจากต้นเฟื่องฟ้าเป็นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทยแล้วยังเกิดการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นอีกมากมาย

ลักษณะของเฟื่องฟ้า

  • ต้นเฟื่องฟ้า จัดเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย มีอายุยืนหลายสิบปี สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 10 เมตร ลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่งและบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ลำต้นมีลักษณะกลมใหญ่ เนื้อแข็ง ผิวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล ลำต้นเปราะและหักได้ง่าย มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่เหนือใบ หนามมีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง เสียบยอด เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายระบายน้ำดี ชอบความชื้นต่ำและแสงแดดแบบเต็มวัน
  • ใบเฟื่องฟ้า ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปรี หรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเรียบ ใบบาง มีหนามอยู่ตามง่ามใบ มีก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
  • ดอกเฟื่องฟ้า ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบและปลายกิ่ง มี 3 ดอก ดอกมีหลายสี ทางจีนนิยมนำมาใช้เป็นยา คือ ดอกสีม่วง หรือสีแดง ดอกที่เป็นสี ๆ ก็คือใบที่เปลี่ยนสี เรียกว่า ใบดอก มีลักษณะบางคล้ายกับกระดาษ ลักษณะเป็นรูปไข่ปลายแหลม ในหนึ่งดอกจะมีใบดอก 3 ใบเชื่อมติดกัน ใบดอกจะกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร มีเกสรเป็นรูปทรงกระบอกสีเขียว
  • ผลเฟื่องฟ้า ผลมีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นสัน 5 เหลี่ยม เปลือกแข็งและมีเมล็ดติดกับเปลือก

สรรพคุณของเฟื่องฟ้า

  • ดอกเฟื่องฟ้ามีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจและระบบขับถ่าย (บางข้อมูลระบุว่าดอกเฟื่องฟ้ามีสรรพคุณช่วยบำรุงโลหิตและใช้แทนเครื่องหอมได้ด้วย) (ดอก)
  • ดอกเฟื่องฟ้า (สายพันธุ์ Bougainvillea glabra Choisy.) มีรสขมฝาด เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อตับ ใช้เป็นยาแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี รักษาสตรีที่ประจำเดือนไม่มาหรือมุตกิดตกขาวของสตรี ด้วยการใช้ดอกที่เป็นยาแห้งครั้งละ 10-15 กรัมนำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยาตามที่ต้องการ (ดอก)
  • เฟื่องฟ้าดอกขาว (Bougainvillea spectabilis Willd.) ในประเทศจีนจะไม่นิยมนำมาใช้ทำยา แต่ในประเทศไทยจะมีการนำรากมาใช้เป็นยาแก้พิษต่าง ๆ (ราก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของเฟื่องฟ้า

  • สารที่พบ ได้แก่ สารจำพวก Bougainvillein เช่น Betanidinm Bougainvillea, 6-o-B-Sophoroside, Verbascose Isobetanidin เป็นต้น

ประโยชน์ของเฟื่องฟ้า

  • ดอกเฟื่องฟ้าสามารถนำมาใช้ในการประกอบอาหารได้ เช่น การทำดอกเฟื่องฟ้าชุบแป้งทอด ด้วยการนำดอกเฟื่องฟ้ามาชุบในแป้งชุบทอด รอให้น้ำมันร้อนจัด แล้วใส่ดอกเฟื่องฟ้าที่ชุบแป้งลงไปทอดจนเหลืองกรอบ แล้วตักขึ้นมารอจนน้ำมันสะเด็ด ใช้รับประทานกับน้ำจิ้มเพื่อเพิ่มรสชาติให้อร่อยยิ่งขึ้น
  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกสวยมีหลายสีจากหลากหลายสายพันธุ์ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นซุ้มไม้เลื้อย เป็นซุ้มนั่งเล่น ปลูกในที่สาธารณะ สวนข้างทางเดิน ปลูกเป็นแนวรั้ว ปลูกเป็นไม้กระถาง หรือทำเป็นไม้บอนไซหรือไม้แคระ สามารถตัดแต่งทรงพุ่มได้ ดูแลรักษาได้ง่ายและทนความแล้งได้ดี เมื่อมีอากาศเย็นจะมีดอกออกเต็มต้น แต่ไม่ควรนำไปปลูกไว้ใกล้กับสนามเด็กเล่นเพราะมีหนามแหลม
  • ในด้านความเป็นมงคล คนไทยโบราณมีความเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกต้นเฟื่องฟ้าไว้เป็นไม้ประจำบ้านจะสามารถช่วยสร้างคุณค่าของชีวิตให้สูงขึ้น เนื่องจากต้นเฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ที่ได้รับสมญานามว่าเป็น "ราชินีแห่งไม้ประดับ" นอกจากนี้คนไทยโบราณยังมีความเชื่ออีกว่า ต้นเฟื่องฟ้าเป็นไม้มงคลสำคัญของเทศกาลตรุษจีน เพราะต้นเฟื่องฟ้าสามารถออกดอกได้บานสะพรั่งในช่วงเทศกาลตรุษจีน (จึงเป็นที่มาของการเรียกต้นเฟื่องฟ้าว่า "ต้นตรุษจีน") ดังนั้นจึงมีความเชื่อว่า เมื่อช่วงดอกเฟื่องฟ้าบานจะแสดงถึงความเบิกบาน สว่างไสว และความรุ่งเรืองที่ก้าวไกลแห่งชีวิต และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย ควรปลูกต้นเฟื่องฟ้าไว้ทางทิศตะวันออก และผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธเพื่อเอาคุณ ถ้าจะให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นสตรี เพราะเฟื่องฟ้าเป็นราชินีแห่งไม้ประดับ จึงเหมาะสมอย่างยิ่งกับสุภาพสตรี

คำสำคัญ : เฟื่องฟ้า

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เฟื่องฟ้า. สืบค้น 30 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1774&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1774&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กรรณิการ์

กรรณิการ์

กรรณิการ์ หรือกันลิกา (Night Blooming Jasmine, Night Jasmine) นั้นเป็นพืชจำพวกต้นชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ทั้งในอินเดีย ชวา สุมาตรา รวมทั้งไทยด้วย โดยของไทยเราจะมีกรรณิการ์อยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ กรรณิการ์ที่มักนำมาปลูกเป็นไม้ประดับอย่าง Nyctanthes arbor-tristis L. ส่วนกรรณิการ์อีกชนิดหนึ่งนั้นได้สูญพันธุ์ไปจากไทยแล้วคือ Nyctanthes Aculeate Craib ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก

เผยแพร่เมื่อ 28-04-2020 ผู้เช้าชม 5,707

ผักกะโฉม

ผักกะโฉม

ต้นผักกะโฉม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุเพียงปีเดียว ลำต้นต้นแตกแขนงออกไป ต้นที่ยังเล็กอยู่จะมีขนขึ้นปกคลุม แต่เมื่อโตแล้วหรือแก่ขนจะหลุดร่วงไปเอง ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-2 ฟุต มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบขึ้นอยู่ตามริมคูและชอบดินชื้นแฉะ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมนหรือแหลม ขอบใบหนา ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้ว และยาวประมาณ 2-3 นิ้ว แผ่นใบเป็นสีเขียวสด หลังใบมีขนปกคลุมและมีรอยย่น ก้านใบสั้น

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 3,525

ช้าพลู

ช้าพลู

ลักษณะทั่วไป  เป็นต้นไม้ล้มลุก เป็นไม้พันอาศัย หรือเถาทอดเลื้อย ไปตามพื้นดิน ปลายยอดตั้งขึ้นลำต้นสีเขียวมีข้อเป็นปม มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ได้  ใบเป็นใบเดี่ยว  สีเขียวเข้ม เรียงสลับ รูปหัวใจ  ผิวใบมัน มีเส้นแขนงใบชัดเจน มีกลิ่นหอม และมีรสเผ็ดเล็กน้อย ดอกเป็นช่อออกตามใบรูปทรงกระบอก ห้อยเป็นสาย มีดอกฝอย ขนาดเล็ก แยกเพศ กลีบดอกสีขาว  ผลเป็นผลสดสีเขียว ลักษณะกลมผิวมัน ชอบขึ้นอยู่ตามที่ชื้นบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ในที่ร่ม การขยายพันธุ์ โดยการปักชำ  แตกหน่อ  ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นขับเสมหะ ใบเป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ รากบำรุงธาตุ นำไปรับประทานเป็นผัก

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,465

บัวสาย

บัวสาย

บัวสาย บัวสายนั้นมีถิ่นกำเนิดในเขตที่ราบลุ่มของทวีปเอเชีย ซึ่งรวมไปถึงประเทศไทยด้วย จึงเป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยมาเนิ่นนานแล้ว จัดเป็นพืชน้ำอายุหลายปี เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมของไทย มีเหง้าอยู่ใต้ดินรากฝักอยู่ในโคลนเลน ก้านอยู่ใต้น้ำ ส่วนก้านดอกอ่อนมีเปลือกลอกออกได้เป็นสายใย ผิวเกลี้ยงและไม่มีหนาม เจริญเติบโตได้ในดินเหนียวที่มีอินทรียวัตถุสูง และเจริญเติบโตได้ดีในระดับน้ำลึกประมาณ 0.3-1 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าและเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 15,496

โคกกระสุน

โคกกระสุน

ต้นโคกกระสุน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาวได้ถึง 160 เซนติเมตร เป็นพืชจำพวกหญ้าที่มีอายุได้ประมาณ 1 ปี แตกกิ่งก้านแผ่ออกโดยรอบปกคลุมไปตามพื้นดิน ชูส่วนปลายยอดและดอกตั้งขึ้นมา มีขนตามลำต้น ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วโดยใช้เมล็ด ขึ้นได้ดีในดินทรายที่ค่อนข้างแห้ง มีการระบายน้ำดี เจริญงอกงามได้ดีในช่วงฤดูฝน เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามทางรถไฟ ตามที่รกร้าง ตามสวนผลไม้ ทุ่งหญ้า ท้องนา และริมทางสาธารณะทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคกลางของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 7,395

พรมมิแดง

พรมมิแดง

พรมมิแดง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเตี้ย แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณโคนต้น ส่วนกิ่งที่แตกนั้นจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามดินปนทรายทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ส่วนในต่างประเทศพบในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย และออสเตรเลีย

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,432

มะพร้าว

มะพร้าว

มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นที่จัดอยู่ในตระกูลปาล์ม ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบเหมือนขนนก ผลประกอบไปด้วยเปลือกนอก ใยมะพร้าว กะลามะพร้าว และชั้นสุดท้ายคือเนื้อมะพร้าว ซึ่งภายในจะมีน้ำมะพร้าว ถ้าลูกมะพร้าวแก่มาก เนื้อมะพร้าวจะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด มะพร้าวเป็นผลไม้ที่นิยมกันอย่างมากในบ้านเรา คุณสมบัติเด่น ๆ ของมะพร้าวก็คือ ส่วนต่าง ๆ สามารถนำมาใช้ทำเป็นประโยชน์ได้หมด ไม่ว่าจะทำเป็นอาหารคาวหวานเพื่อบำรุงสุขภาพและรักษาอาการหรือโรคต่าง ๆ รวมไปถึงการผลิตน้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำตาล และยังรวมไปถึงการทำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ขึ้นมาใช้สอย

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 13,906

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณหรือต้นตีนเป็ดสามารถพบได้ทุกภาคในประเทศไทยถือเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานทั้งยังเป็นไม้มงคลและเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครคนโบราณเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกไว้จะทำให้คนในบ้านมีเกียรติเป็นที่เคารพนับถือและได้รับการยกย่องจากคนทั่วไปสรรพคุณทางยาของสมุนไพรชนิดนี้ช่วยรักษาโรคบิดลำไส้ติดเชื้อและมาลาเรีย ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,407

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว (White Leadwort, Ceylon Leadwort) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ปิดปิวขาว ภาคอีสานเรียก ปี่ปีขาว ส่วนชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก ตอชุวา ชาวจีนแต้จิ๋วเรียก แปะฮวยตัง และชาวจีนกลางเรียก ป๋ายฮัวตาน เป็นต้น มีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อน โดยในประเทศไทยส่วนใหญ่มักพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,248

ชะเอมเทศ

ชะเอมเทศ

ชะเอมเทศ (Liquorice, Licorice) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ชาวสเปนเรียก ชะเอมเทศ, Sweet Root, Glycyrrhiza, Liquorice ส่วนชาวจีนเรียก กำเช่า หรือชะเอมจีน และชาวรัสเซียเรียก ชะเอมรัสเซีย เป็นต้น ซึ่งชะเอมเทศนั้นจัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับชะเอมไทย ซึ่งนับได้ว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่มีอายุยืนเลยทีเดียว และเป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้กันเป็นอย่างมาก ด้วยสรรพคุณทางยาในการแก้โรคหรืออาการต่างๆ มากมาย และเด่นในด้านการขจัดสารพิษที่สะสมอยู่ในร่างกายของเราได้ดี โดยต้นชะเอมเทศนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 10,847