บัวสาย

บัวสาย

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 15,490

[16.4258401, 99.2157273, บัวสาย]

บัวสาย ชื่อสามัญ Lotus stem, Water lily, Red indian water lily
บัวสาย ชื่อวิทยาศาสตร์ Nymphaea pubescens Willd.[4],[7] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Nymphaea lotus var. pubescens (Willd.) Hook. f. & Thomson)[1],[3],[5],[8] จัดอยู่ในวงศ์บัวสาย (NYMPHAEACEAE)[
สมุนไพรบัวสาย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า บัวสายกิน, บัวกินสาย, สายบัว, บัวขม, บัวขี้แพะ, บัวแดง, บัวสายสีชมพู, บัวจงกลนี, จงกลนี, สัตตบรรณ, สัตตบุษย์, ปริก, ป้าน, ป้านแดง, รัตอุบล, เศวตอุบล และยังมีชื่อเรียกต่างกันไปตามสีของดอก โดยดอกสีชมพูจะเรียก ลินจง หากเป็นดอกสีขาวจะเรียก กมุท กุมุท โกมุท เศวตอุบล และถ้าดอกเป็นสีม่วงแดงจะเรียกว่า สัตตบรรณ รัตนอุบล

ลักษณะของบัวสาย
         ต้นบัวสาย บัวสายนั้นมีถิ่นกำเนิดในเขตที่ราบลุ่มของทวีปเอเชีย ซึ่งรวมไปถึงประเทศไทยด้วย จึงเป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยมาเนิ่นนานแล้ว[3] จัดเป็นพืชน้ำอายุหลายปี เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมของไทย มีเหง้าอยู่ใต้ดินรากฝักอยู่ในโคลนเลน ก้านอยู่ใต้น้ำ ส่วนก้านดอกอ่อนมีเปลือกลอกออกได้เป็นสายใย ผิวเกลี้ยงและไม่มีหนาม เจริญเติบโตได้ในดินเหนียวที่มีอินทรียวัตถุสูง และเจริญเติบโตได้ดีในระดับน้ำลึกประมาณ 0.3-1 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าและเมล็ด
         ใบบัวสาย ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบมีลักษณะกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25-30 เซนติเมตร ขอบใบหยักและแหลม ฐานหยักเว้าลึก หูใบเปิด ผิวใบอ่อนวางอยู่บนผิวน้ำ แผ่นใบด้านบนเรียบเป็นมัน มีสีเขียวเหลือบน้ำตาลอ่อนหรือสีแดงเลือดหมู ผิวใบด้านล่างของใบอ่อนเป็นสีม่วง ใบเมื่อแก่จะเป็นสีเขียว ผิวใบด้านล่างของใบแก่เป็นสีน้ำตาลมีขนนุ่ม ๆ เส้นใบใหญ่นูน ส่วนก้านใบมีสีน้ำตาลอมเขียวอ่อน มีลักษณะค่อนข้างเปราะ ข้างในก้านใบเป็นรูอากาศ
          ดอกบัวสาย มีอยู่ด้วยกันหลายสีแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด เช่น ชนิดดอกสีชมพู ดอกขาว ดอกแดง ดอกม่วงแดง ดอกเหลือง ดอกเขียว ดอกคราม ดอกน้ำเงิน ฯลฯ[3],[4] ดอกมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ เป็นสีเขียวเหลือบน้ำตาลแดง ส่วนดอกมีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมถึงค่อนข้างกลม ดอกมีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกันอยู่หลายชั้น (19 กลีบ) ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปหอกหลับ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีความกว้างประมาณ 15-20 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลืองเป็นสีตามกลีบดอก มีจำนวนมาก (60 อัน) มีลักษณะเป็นแผ่นแบนและแต่ละเกสรมีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ส่วนอับเรณูเป็นร่องขนานตามยาว รังไข่มีขนาดใหญ่ติดกับชั้นของกลีบดอก ส่วนเกสรตัวเมียจะติดกับรังไข่ด้านบนตามแนวรัศมี และก้านดอกมีสีน้ำตาลอวบกลมส่งดอกลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ (สายบัว) โดยดอกบัวสายจะบานในช่วงเวลาใกล้ค่ำถึงตอนสายของวันรุ่งขึ้นและจะหุบในเวลากลางวัน
           ผลบัวสาย ผลสดเรียกว่า "โตนด" มีเนื้อและเมล็ดลักษณะกลมจำนวนมาก เมล็ดมีขนาดเล็กสีดำอยู่ในเนื้อหุ้ม มีลักษณะเป็นวุ้นใส ๆ

สรรพคุณของบัวสาย
1. ช่วยบำรุงร่างกาย (หัว)
2. ช่วยบำรุงกำลัง (ดอก, เมล็ด)
3. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (หัว, เมล็ด)
4. ช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่น (ดอก, หัว)
5. ในประเทศฟิลิปปินส์มีการใช้รักษาโกโนเรีย แต่ไม่ได้ระบุส่วนที่ใช้ไว้ ด้วยการนำมาถูที่หน้าจะช่วยทำให้ง่วงนอน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
6. ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง (สายบัว)
7. ดอกช่วยแก้ไข้ตัวร้อน (ดอก)
8. ช่วยแก้อาการร้อนใน (ดอก)
9. ก้านบัวสายมีรสจืดและเย็น ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกาย (ก้านบัว)
10. สายบัวมีเบตาแคโรทีน ซึ่งช่วยป้องกันและต้านโรคมะเร็งในลำไส้ (สายบัว)
11. ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี (ดอก, หัว, เมล็ด)
12. บัวขมจัดอยู่ใน "ตำรับยาพิกัดบัวพิเศษ" อันประกอบไปด้วยบัวขม บัวเผื่อน บัวหลวงขาว บัวหลวงแดง บัวสัตตบงกชขาว และบัวสัตตบงกชแดง ซึ่งเป็นตำรับยาที่ช่วยแก้ไข้อันเกิดเพื่อธาตุทั้งสี่ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เสมหะ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้ลม และ
      โลหิต ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่น (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
13. ดอกบัวขมจัดอยู่ใน "ตำรับยาหอมเทพจิตร" โดยมีดอกบัวขมและสมุนไพรอื่น ๆ อีกหลายชนิดในตำรับ ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ลมกองละเอียด (อาการหน้ามืดตาลาย สวิงสวาย) แก้อาการใจสั่น และช่วยบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น (ช่วยผ่อนคลาย
      ความเครียด ทำให้อารมณ์แจ่มใส สบายใจ หรือสุขใจ) (ดอก)
หมายเหตุ : สำหรับวิธีการใช้หัว ให้ใช้หัวบัวสายประมาณ 30 กรัม ใส่น้ำ 1 ลิตร ต้มนานประมาณ 15 นาที แล้วนำมาดื่มก่อนอาหารครั้งละครึ่งถ้วยกาแฟวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น

ประโยชน์ของบัวสาย
1. ก้านดอกและไหลใช้รับประทานได้ โดยนำก้านดอกหรือใบมาลอกผิวหรือเปลือกที่หุ้มอยู่ออกแล้วเด็ดดอกและใบทิ้ง แล้วนำมาใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงเป็นอาหาร เช่น การทำแกง ผัด แกงส้ม แกงกะทิ ฯลฯ นอกจากนี้ยังสามารถ
    นำไปใช้ทำขนมได้อีกด้วย
2. บัวสายสามารถใช้วัดความลึกของระดับน้ำบริเวณนั้นได้ เนื่องจากความยาวของก้านใบและก้านดอกจะมีเท่ากับความลึกของแหล่งน้ำ
3. เด็ก ๆ ในชนบทมักชอบเด็ดสายบัวเป็นท่อนสั้น ๆ ที่มีใยบัวติดกันอยู่ ใช้เป็นสร้อยคอหรือสร้อยข้อมือได้
4. ก้านดอกของบัวสายสามารถนำมาสกัดย้อมสีเส้นไหมได้ โดยจะให้สีเทา
5. นอกจากจะใช้รับประทานเป็นผักแล้ว บัวสายยังใช้ปลูกเป็นไม้ประดับสระน้ำได้เป็นอย่างดี เนื่องจากบัวสายมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด มีขนาดและสีของดอกที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังมีราคาไม่แพงและดูแลรักษาง่าย

คำสำคัญ : บัวสาย

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บัวสาย. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1650&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1650&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

หญ้าแพรก

หญ้าแพรก

หญ้าแพรก มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียและยุโรป เจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและอากาศอบอุ่น โดยจัดเป็นพรรณไม้จำพวกหญ้า ต้นมีขนาดเล็ก มีอายุได้หลายปี ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาปกคลุมดิน เจริญเติบโตแบบแผ่ราบไปตามพื้นดินหรือเลื้อยปกคลุมดินไปได้ยาวประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อและมีรากงอกออกมา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด กิ่ง ราก และแตกลำต้นไปตามพื้นดิน เจริญเติบเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ต้องการความชื้นในปริมาณค่อนข้างมาก หญ้าชนิดนี้มักพบขึ้นเองตามพื้นที่แห้งแล้ง ที่ว่างริมถนน หรือในบริเวณสนามหญ้า ทนน้ำท่วมทังและสามารถขึ้นได้ในดินเค็ม 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 53,799

ปรู๋

ปรู๋

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูง 5-15 เมตร ผลัดใบต้นมักบิด   คอดงอ เปลือกสีน้ำตาลแดงแตกล่อน เปลือกในสีเหลืองอ่อน  ใบรูปไข่กลับ รูปขอบขนาน หรือรูปหอกกลับ ดอกสีขาวนวล กลิ่นหอม ออกเป็นกระจุก ผลป้อม มีเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดแข็ง มีเมล็ดเดียว  เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,511

กระเบียน

กระเบียน

ต้นกระเบียน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เรือนยอดค่อนข้างเล็ก ไม่เป็นรูปทรง เปลือกต้นเป็นสีเทาเข้มแกมน้ำตาลหรือเป็นสีน้ำตาลหม่น ล่อนออกเป็นแผ่นบางๆ กิ่งก้านแข็งแรงหรืออาจมีหนามตรงออกเป็นคู่ที่ข้อ มักขึ้นเป็นกลุ่มหรือขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบเป็นรูปไข่กลับ กลม หรือรูปรี ปลายใบมนหรือแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบเรียวไปจนถึงก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ท้องใบมีขนนุ่ม ก้านใบสั้นมาก มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบเป็นรูปสามเหลี่ยม 1 คู่ อยู่ตรงข้ามกัน

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 4,703

กระเช้าสีดา

กระเช้าสีดา

ต้นกระเช้าสีดาไม้เถา รากมีเนื้อแข็ง กิ่งยาวเรียวเป็นร่อง ใบกระเช้าสีดาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปสามเหลี่ยมแคบ กว้าง 5-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนตัดตรง ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นใบออกจากโคนใบ 3-5 เส้น ใบมีกลิ่น ดอกกระเช้าสีดาช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบ กลิ่นเหม็น ช่อหนึ่งมีเพียง 2-3 ดอก ก้านดอกยาว 5-1 ซม. กลีบดอกมีเพียงชั้นเดียว ยาว 2-3.5 ซม. เชื่อมติดกันเป็นหลอด โคนหลอดพองออกเป็นกระเปาะกลม กระเปาะและหลอดดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ภายในกระเปาะเป็นที่ดักย่อยแมลงเพื่อเป็นอาหารเสริม 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 5,278

คำแสด

คำแสด

คำแสดเป็นไม้ต้น พุ่มขนาดเล็ก มีลำต้นสูงประมาณ 3-8 เมตร บริเวณยอดเป็นพุ่มกลม หนาทึบ แตกกิ่งก้านสาขามากมาย เป็นใบเดี่ยว ออกแบบเรียงเวียนรอบๆ ต้น รูปทรงไข่ ตรงโคนมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ บาง เกลี้ยง และนุ่ม สีเขียวเหลือบแดง ออกเป็นช่อตรงบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 5-10 ดอก ส่วนกลีบดอกเป็นรูปไข่ สีชมพูอ่อน กลีบดอกมีทั้งหมด 5 กลีบ ส่วนผลเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมปลายแหลม มีขนสีแดงคล้ายผลเงาะ เมื่อผลแก่จะแตกออก 2 ซีก ภายในมีเมล็ดเล็กๆ สีน้ำตาลอมแดงจำนวนมากหลายเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,544

กระท้อน

กระท้อน

ต้นกระท้อนเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-40 เมตร ต้นเปลา ตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ ใบกระท้อนใบแก่จัดสีแดงอิฐหรือสีแสด ใบช่อ ยาว 20-40 ซม. ช่อติดเรียงสลับเวียนกันไป ใบปลายช่อเป็นใบเดี่ยว ดอกกระท้อนดอกช่อ ออกรวมเป็นช่อ ไม่แยกแขนงตามปลายกิ่ง ช่อยาว 5-15 ซม. มีขนนุ่มทั่วไป ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อนอมเหลือง ดอกสมบรูณ์เพศ กลิ่นหอมอ่อนๆ ผลกระท้อนผลกลมหรือแป้น อุ้มน้ำ ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดสีเหลือง เมล็ดรูปไต เรียงตามแนวตั้ง 5 เมล็ด ออกดอกเดือน มกราคม -มีนาคม และเป็นผลเดือน มีนาคม-พฤษภาคม

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 4,294

มะเขือดง

มะเขือดง

ต้นมะเขือดง จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบตามฤดูกาล ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร เปลือกต้นเป็นสีขาว ทุกส่วนของต้นมีขน มีเขตการกระจายพันธุ์จากทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาถึงอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตามชายป่าละเมาะและที่เปิด และตามที่รกร้างทั่วไป ที่ระดับความสูงใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,603

พญาดง

พญาดง

พญาดง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น ลำต้นมีความสูงได้ถึง 4 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร ผิวใบเรียบหรือมีขน มีหูใบเป็นปลอกหุ้มลำต้น ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบ มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพู ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปเกือบกลม สีน้ำเงินเข้ม 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,466

ขนุน

ขนุน

ขนุน (Jackfruit) เป็นผลไม้และพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดใหญ่ ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียกมะหนุน เขมรเรียกขะเนอ ภาคอีสนเรียกหมักมี้ กะเหรี่ยงเรียกนะยวยซะ จันทร์บุรีเรียกขะนู ปัตตานีเรียกนากอ และชาวเงี้ยวเรียกล้าง เป็นต้น ซึ่งขนุนนี้มีรสชาติหวานอร่อยเป็นที่ถูกอกถูกใจของหลายๆ คนเลยทีเดียว แต่ผู้เป็นเบาหวานไม่ควรรับประทานนะคะ แถมเม็ดขนุนนั้นก็สามารถนำไปต้มรับประทานได้อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,361

บานไม่รู้โรยป่า

บานไม่รู้โรยป่า

บานไม่รู้โรยป่า จัดเป็นไม้ล้มลุก แผ่กิ่งที่โคนต้น แตกกิ่งก้านสาขานอนราบไปกับพื้นดิน ส่วนปลายยอดและช่อดอกชูขึ้น มีความสูงได้ประมาณ 40 เซนติเมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวแกมขาว ไม่มียาง แต่มีขนยาวคล้ายสำลีขึ้นปกคลุมอย่างเห็นได้ชัด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ แพร่กระจายพันธุ์มาสู่เขตร้อนที่อบอุ่นกว่า ในประเทศไทยมักพบขึ้นเป็นวัชพืชในพื้นที่เปิดโล่งมีแดดส่องถึง ตามที่รกร้างริมทาง ตามที่สาธารณะทั่วไป เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ขอนแก่น พิษณุโลก นครราชสีมา สระบุรี กรุงเทพฯ เพชรบุรี กาญจนบุรี จันทบุรี และภาคใต้ทุกจังหวัด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 11,370