กรรณิการ์

กรรณิการ์

เผยแพร่เมื่อ 28-04-2020 ผู้ชม 5,704

[16.4258401, 99.2157273, กรรณิการ์ ]

กรรณิการ์ หรือกันลิกา (Night Blooming Jasmine, Night Jasmine) นั้นเป็นพืชจำพวกต้นชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ทั้งในอินเดีย ชวา สุมาตรา รวมทั้งไทยด้วย โดยของไทยเราจะมีกรรณิการ์อยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ กรรณิการ์ที่มักนำมาปลูกเป็นไม้ประดับอย่าง Nyctanthes arbor-tristis L. ส่วนกรรณิการ์อีกชนิดหนึ่งนั้นได้สูญพันธุ์ไปจากไทยแล้วคือ Nyctanthes Aculeate Craib ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก

ข้อมูลทางพฤษศาสตร์
        อาณาจักร : Plantae
        หมวด : Magnoliophyta
        ชั้น : Magnoliopsida
        อันดับ : Scrophulariales
        วงศ์ : Oleaceae
        สกุล : Nyctanthes
        สปีชีส์ : N. arbor-tristis
       ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nyctanthes arbor-tristis L.
       ชื่อสามัญ : Night blooming jasmine
       ลักษณะทั่วไปของกรรณิการ์
       สำหรับต้นกรรณิการ์นั้นเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 3 – 5 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลขรุขระ ใบเดี่ยวรูปไข่ ปลายแหลม โคนมน โดยดอกจะออกเป็นช่อช่อละประมาณ 3 – 7 ดอก สีขาว มีกลิ่นหอม ส่วนผลของกรรณิการ์นั้นจะเป็นรูปไข่กลับ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ส่วนผลที่แก่จัดจะแตกออกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดซีกละหนึ่งเมล็ด กลมแบนสีน้ำตาล

ประโยชน์และสรรพคุณของกรรณิการ์
       สำหรับประโยชน์และสรรพคุณของกรรณิการ์นั้นมีมากมายตั้งแต่ลำต้น เปลือก ดอก ใบ ยันรากเลยทีเดียว โดยสรรพคุณของกรรณิการ์มีดังนี้
       ลำต้น – ใช้สำหรับแก้อาการปวดศีรษะ แก้ไข้ ปวดข้อ โดยมีรสขมเย็น หวานๆ ฝาดๆ
       เปลือก – นำเปลือกทั้งต้นชั้นในมาต้มสำหรับดื่มแก้อาการปวดศีรษะได้ดี ให้รสขมเย็น
       ดอก – ใช้สำหรับแก้อาการวิงเวียนศีรษะ แก้ไข้ ให้รสขมหวาน
       ใบ – ใช้แก้แก้อาการไข้ ปวดข้อ ตานขโมย บำรุงน้ำดี ตลอดจนเจริญอาหาร ให้รสขม
       ราก – ช่วยแก้อาการไอ แก้พรรดึก (อุจจาระที่แห้งติดอยู่กับผนังลำไส้ทำให้ถ่ายลำบาก) ท้องผูก แก้ลมและดี บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ผมหงอก ตลอดจนบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง ให้รสขม หวานๆ ฝาดๆ
       นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่ากรรณิการ์นั้นเป็นพืชสมุนไพรมีในไทยตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ จากเดิมมีถิ่นกำเนิดในตอนกลางของอินเดีย และสามารถขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง เพาะเมล็ด หรือปักชำกิ่ง ซึ่งนับได้ว่ากรรณิการ์นั้นเป็นพืชของไทยที่มีอายุมานานนับร้อยปีเลยทีเดียว

คำสำคัญ : กรรณิการ์

ที่มา : เกร็ดความรู้.net/กรรณิการ์/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กรรณิการ์ . สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1449&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1449&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ข้าวเย็นเหนือ

ข้าวเย็นเหนือ

ข้าวเย็นเหนือ มักพบขึ้นตามป่าดงดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง พบได้มากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีใช้หัวฝังดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนชุ่มชื้น ระบายน้ำได้ดีและมีอินทรียวัตถุ และเป็นไม้ที่เลี้ยงยากและหาดูได้ยาก โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นหรือเลื้อยไปตามพื้นดิน อาจเลื้อยได้ยาวถึง 5 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 6,349

มะดูก

มะดูก

มะดูก ชื่อวิทยาศาสตร์: Siphonodon celastrineus เป็นพืชในวงศ์ Celastraceae มีหูใบแต่ร่วงง่าย ใบเดี่ยว มักจักเป็นซี่ฟันตื้นๆ ดอกช่อออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกสีขาวครีม มีจุดสีน้ำตาลแดง มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก เกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านชูแบน ผลรูปรีหรือกลม สีเขียวหรือเขียวอมเหลืองผลสุกรับประทานได้ รากใช้แก้พิษฝี หรือผสมกับสมุนไพรอื่นเพื่อทำเป็นยาบำรุงกระดูก ดับพิษ

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,012

มะพลับ

มะพลับ

มะพลับ มีถิ่นกำเนิดในป่าดงดิบของประเทศไทย อินเดีย และในชวาเกาะเซลีเบส โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ทรงพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทาปนดำ หรือบางทีแตกเป็นร่องเล็กๆ ตามยาว ส่วนเนื้อไม้เป็นสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย มีน้ำและความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดดจัด มะพลับเป็นไม้ป่าดงดิบ 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 6,299

ขมิ้น

ขมิ้น

  ขมิ้นชัน หรือขมิ้น, ขมิ้นแกง (Turmeric, Curcuma, Yellow Root) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเหง้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ทางภาคใต้หรืออีสานเรียกขี้มิ้น ส่วนชาวกะเหรี่ยงเรียกขมิ้นทอง, ขมิ้นป่า, ขมิ้นหัว, ขมิ้นแดง, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นไข, ขมิ้นดี, พญาว่าน, ตายอ เป็นต้น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2017 ผู้เช้าชม 3,527

กระทิง

กระทิง

ต้นกระทิงเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มกลมหรือรูปไข่ ทรงพุ่มแน่นทึบ แตกกิ่งในระยะต่ำ ลำต้นมักจะบิดงอไม่ตั้งตรง โคนต้นเป็นพูพอนเล็กน้อย เปลือกสีเทาเข้มเกือบดำค่อนข้างเรียบ แตกเป็นสะเก็ดหรือร่องเล็กๆ ทั่วไป มียางสีเหลืองอมเขียวซึมออกมาจากร่องของเปลือกที่แตก ใบกระทิงใบเดี่ยวออกเรียงตรงกันข้าม รูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 8-16 เซนติเมตร ปลายใบกว้างกลมเว้าเข้าเล็กน้อย แล้วค่อยสอบเรียวจากกลางใบไปสู่โคนใบและก้านใบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันเกลี้ยงและหนา 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,811

ครอบฟันสี

ครอบฟันสี

ครอบฟันสี (Country Mallow, Chinese Bell Flower) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น โคราชเรียกโผงผาง หรือในภาคเหนือเรียกมะก่องข้าว, ปอบแปบ, คอบแคบ, ฟันสี, ครอบ, ขัดมอน เป็นต้น ครอบฟันสีนั้นมีเหลืองแสด มีประโยชน์มากมายโดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นตัวช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ดี

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,254

ต้นตะเคียน

ต้นตะเคียน

ต้นตะเคียนทอง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 20-40 เมตร วัดรอบได้ถึงหรือกว่า 300 เซนติเมตร ลักษณะของเรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ กลม หรือเป็นรูปเจดีย์แบบต่ำๆ เปลือกต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กะพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนแก่นไม้ตะเคียนเป็นสีน้ำตาลแดง ลักษณะของไม้ตะเคียน เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมสีเหลือง มักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมันหรือยาง เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลาง 

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 12,012

มะเกลือ

มะเกลือ

มะเกลือ ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-15 เมตร อาจสูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบหรือไม่ผลัดใบ เปลือกสีดำ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามยาว แก่นสีดำสนิท เนื้อละเอียดมันสวยงาม ทุกส่วนของมะเกลือเมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ใบอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบมน ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 5-10 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนสีเงิน ใบแก่หนา ผิวเรียบมัน ด้านใต้ใบสีเขียวซีด บางเกลี้ยง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,226

เขยตาย

เขยตาย

เขยตาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำตั้งแต่โคนต้นเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา ผิวลำต้นตกกระเป็นวงสีขาว ใบออกดกทึบ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เป็นพืชในเขตร้อนของทวีปเอเชียและออสเตรเลีย พบได้ในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ประเทศในแถบคาบสมุทรอินโดจีน สุมาตราและชวา ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 7,609

สกุณี

สกุณี

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลาง จนถึงขนาดใหญ่ จะแตกกิ่งก้านสาขา ที่เรือนยอดของต้น จะแผ่กว้างยาแบน มักจะมีพูพอนขนาดเล็กกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม เปลือกเป็นร่องตื้น ๆ สีน้ำตาลอมเทา ต้นสูง 8-30 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบเนื้อใบค่อนข้างหนา  ด้นบนของใบเป็นมันเป็นตุ่มบนผิวใบ ก้านใบยาว 0.5-1.5 นิ้ว  ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อดอกยาว 3-6 นิ้ว ลักษณะของดอกที่โคนเป็นหลอดส่วนปลายแผ่ ออกเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ปลายแยกออกเป็นรูปสามเหลี่ยม  ผลเป็นรูปสามเหลี่ยมและมีปีกหนา 2 ปีก อยู่ปีกละข้างของผลรูปร่างและขนาดของผลนั้นจะแตกต่างกัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,478