พรมมิแดง

พรมมิแดง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 1,432

[16.4258401, 99.2157273, พรมมิแดง]

พรมมิแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Trianthema triquetra Rottler & Willd. จัดอยู่ในวงศ์ผักเบี้ยทะเล (AIZOACEAE)

สมุนไพรพรมมิแดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักเบี้ย (ราชบุรี, ชลบุรี, ภาคกลาง), พรมมิ พรมมิแดง (ประจวบคีรีขันธ์), อือลังไฉ่ อุยลักก๊วยโชะ (จีน) เป็นต้น

ลักษณะของพรมมิแดง

  • ต้นพรมมิแดง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเตี้ย แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณโคนต้น ส่วนกิ่งที่แตกนั้นจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามดินปนทรายทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ส่วนในต่างประเทศพบในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย และออสเตรเลีย (Phuphathanaphong, 2005) 
  • ใบพรมมิแดง ใบออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปเรียวแคบ โคนก้านใบแผ่ออกเป็นกาบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.05-0.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.15-0.7 เซนติเมตร ก้านใบมีขนาดสั้น 
  • ดอกพรมมิแดง ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ กลีบดอกมีประมาณ 5 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่สลับกันกับกลีบดอก 
  • ผลพรมมิแดง ออกผลเป็นฝัก ฝักมีขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 2 เมล็ด เมล็ดเป็นสีดำและมีลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไต 

สรรพคุณของพรมมิแดง

  1. ต้นมีรสเย็นและขมเล็กน้อย ใช้เป็นยาดับพิษไข้หัว เช่น รักษาอาการไข้ อาการกระหายน้ำ อาการร้อนใน เป็นฝีดาษ ส่วนมากใช้ปรุงเป็นยาเขียวดับพิษร้อนทั้งปวง (ต้น)
  2. ใบใช้เป็นยาขับเสมหะ (ใบ)
  3. ต้นใช้เป็นยาขับเลือด (ต้น)
  4. ดอกใช้เป็นยารักษาโรคประจำเดือนที่จางใส (ดอก)
  5. บางข้อมูลระบุว่า ทั้งต้นนอกจากจะมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำแล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษตานซาง แก้อักเสบบวมได้อีกด้วย (ข้อมูลจาก : www.songkhlaportal.com by เวสท์สงขลา)

คำสำคัญ : พรมมิแดง

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พรมมิแดง. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1740&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1740&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

โมกหลวง

โมกหลวง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 2 – 12 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นใบรี หรือรูปไข่ ปลายใบแหลม หรือมน ใบมี ขนาดกว้างประมาณ 2-5 นิ้วยาวประมาณ 4-10 นิ้วมีพื้นผิวใบบางใต้ท้องใบมีขนเส้นประมาณ 10-20 คู่เห็นได้ชัด  ดอกออกเป็นช่อออกบริเวณปลายยอด ช่อหนึ่งยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก  โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อเล็ก ๆ ปลายกลีบแยกเป็น 5 กลีบ ในท่อหลอดทีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมีย  ผลมีลักษณะเป็นฝักลักษณะฝักออกเป็นคู่ฝักตรง ปลายฝักแหลม ส่วนโคนแบน ฝักยาวประมาณ 6-12 นิ้ว กว้างประมาณ 6 – 7 มิลลิเมตร พื้นผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง ฝักแก่มีสีดำ แล้วแต่อ้าออกจากกันเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดเรียงกันอยู่เป็นแถวหลายเมล็ดเป็นรูปขอบขนานยาวประมาณ 15 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,933

ถั่วแปบ

ถั่วแปบ

ถั่วแปบ (Hyacinth Bean, Bonavista Bean, Lablab) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ถั่วมะเปกี, มะแปบ, ถั่วแล้ง หรือถั่วหนัง เป็นต้น โดยเป็นพืชสมุนไพรที่มีสายพันธุ์มากมายหลากหลาย จะเรียกว่ามากกว่าบรรดาพืชสมุนไพรชนิดอื่นๆ เลยก็ว่าได้ ซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่ว มีแหล่งกำเนิดในแถบร้อนของทวีปเอเชีย รวมทั้งในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเราด้วย สำหรับถั่วแปบนี้มักนิยมนำมาทำเป็นขนมหวานของไทย โดยผสมกับแป้งเคี้ยวเหนียวนุ่มรับประทานอร่อย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 9,056

บุก

บุก

บุก จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีอายุหลาย ลำต้นแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน มีความสูงของต้นประมาณ 50-150 เซนติเมตร หัวที่อยู่ใต้ดินนั้นมีขนาดใหญ่ ลักษณะของหัวเป็นรูปค่อนข้างกลมแบนเล็กน้อย หรือกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ลำต้นและกิ่งก้านมีลักษณะกลมใหญ่ เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวมีลายแต้มสีขาวปะปนอยู่

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 6,856

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre) เป็นพืชผักสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมารับประทานทั้งในแบบผักปกติและในแบบสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีใบและยอดสีเขียวอ่อน ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีโปรตีน วิตามินและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากความนิยมบริโภคผักหวานป่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงที่การนำผักหวานป่ามาปลูกเป็นสวนเกษตร ทำให้สามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,983

เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต เป็นไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยมเป็นข้อต่อกัน ใบเป็นใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยม แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ออกเรียงสลับตามข้อต้น ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่าง ๆ ก้านยาว ดอกเป็นสีเขียวอ่อน ออกเป็นช่อตามข้อตรงข้ามกับใบ กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านนอกสีแดง ด้านในเขียวอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่จะงองุ้มไปด้านล่าง ผลเป็นรูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงออกดำ โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ได้แก่ เถา ราก ใบยอดอ่อน และน้ำจากต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,480

ชำมะเลียง

ชำมะเลียง

ชำมะเลียงเป็นไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 8 เมตร ใบชำมะเลียงเป็นใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 2-8 ซม. ยาว 9-30 ซม. ปลายใบแหลมทู่ โคนใบสอบ ผิวใบเกลี้ยง มีหูใบ แผ่เป็นแผ่น รูปเกือบกลม ขนาดกว้าง 2-3.5 ซม. เรียงเวียน ซ้อนกันบริเวณโคนก้านใบใกล้ปลายยอด ดอกชำมะเลียงสีขาวครีม ออกเป็น ช่อห้อย ยาวถึง 75 ซม. แยกเพศ ดอกบานกว้าง 5-7 มม. กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปเกือบกลม กลีบดอก 4 กลีบ เกสรผู้ 5-8 อัน รังไข่มี 2 ช่อง

  • ผลชำมะเลียงรูปไข่ถึงรูปรีป้อม สีม่วงดำถึงออกแดง ผิวเกลี้ยงมักมี 2 เมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 1,745

พลูคาว

พลูคาว

พลูคาวเป็นพืชล้มลุกที่พบได้ทั่วไปในแถบทวีปเอเชียในแถบเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงเวียดนาม ญี่ปุ่น รวมถึงไทยด้วย เป็นที่รู้จักกันดีในทางภาคเหนือ วิธีใช้ทั้งต้นแห้งประมาณ 15-30 กรัม (ต้นสด 30-60 กรัม) นำมาแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วนำมาต้มน้ำให้เดือดประมาณ 5 นาทีแล้วนำมาดื่ม แต่หากใช้ร่วมกับสมุนไพรหรือยาชนิดอื่น ให้ต้มยาอื่นให้เดือดก่อนจึงใส่ยา ต้มให้เดือด การรับประทานถ้ามากเกินไปอาจจะทำให้หัวใจเต้นสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,892

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง

ผักบุ้งมีชื่อเรียกอื่นว่าผักทอดยอด เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่เรามักจะคุ้นเคยกันมาตลอดว่ามีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา แต่จริงๆ แล้วผักชนิดนี้ยังมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญๆ แต่ก่อนจะไปรู้ถึงประโยชน์มาดูกันก่อนว่าผักบุ้งที่นิยมนำมาใช้รับประทานนั้นมีสายพันธุ์อะไรบ้าง ซึ่งในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ คือ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,542

ผักปลาบใบกว้าง

ผักปลาบใบกว้าง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ล้มลุก ซึ่งลำต้นนั้นจะเลื้อย แต่ชูขึ้น แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านจะมีขนอ่อน ๆ ปกคลุม  เลื้อยชูได้สูงประมาณ 4-12 นิ้วมีสีเขียว  ใบออกใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่มันปลายแหลมหรือมน  โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบมีขนปกคลุมทั่วทั้งใบ ขนาดใบกว้างประมาณ 0.5-1.5 นิ้ว ยาว1.5-3 นิ้ว สีเขียวก้านใบจะเป็นกาบมีขนยาว ดอกเป็นช่อ อยู่ตรงส่วนปลายของต้น ดอกนี้จะอยู่ภายในกาบรองดอกสีฟ้าอ่อน มีอยู่ 3 กลีบ แต่กลีบดอกนี้จะไม่เท่ากันกลับกลางจะใหญ่กว่ากลีบด้านข้าง  กลีบรองกลีบดอกมี 3 กลีบสีเขยว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,038

ชะคราม

ชะคราม

ชะครามไม้ล้มลุก หลายปี ลำต้นเกลี้ยง กิ่งก้านเล็กสีน้ำตาลแดง แตกแขนงที่โคนต้น สูง 30-100 ซม. ใบชะครามเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ อวบน้ำ รูปแถบหรือรูปขอบขนาน แผ่นใบยาว 5-4 ซม. กว้าง 0.5-1.5 มม. ปลายใบแหลม เมื่อแก่ใบจะมีทั้งสีเขียวและสีแดงหรือบริเวณที่แล้งจัดจะมีใบสีม่วง ดอกชะครามช่อดอก แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายยอด ยาว 4-15 ซม. ดอกสมบุรณ์เพศออกเป็นกระจุกๆละ2-3 ดอก ใบประดับ ยาว 2-5 มม. กลีบดอก 5 กลีบ รูปหอก วงกลีบรวม มี 2-3 ใบ รูปขอบขนานสีเขียวอ่อน

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,094