ฆ้องสามย่าน

ฆ้องสามย่าน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้ชม 2,615

[16.4258401, 99.2157273, ฆ้องสามย่าน]

ฆ้องสามย่าน ชื่อวิทยาศาสตร์ Kalanchoe laciniata (L.) DC. จัดอยู่ในวงศ์กุหลาบหิน (CRASSULACEAE)
สมุนไพรฆ้องสามย่าน มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า เถาไฟ ฮอมแฮม (แม่ฮ่องสอน), คะซีคู่ซัวะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ส้นเส้า, มือตะเข้, ทองสามย่าน, ใบทาจีน เป็นต้น

ลักษณะของฆ้องสามย่าน
        ต้นฆ้องสามย่าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 20-100 เซนติเมตร มีผิวเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ปล้องข้างล่างจะสั้น แต่ปล้องกลางหรือปล้องบนจะยาวขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและใบมีลักษณะฉ่ำน้ำ พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพรรณไม้จำพวกมหากาฬ ใบหูเสือ หรือคว่ำตายหงายเป็น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วน ความชื้นและแสงแดดปานกลาง ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มทั่วไป กลิ่นของพรรณไม้ชนิดนี้สด ๆ จะมีกลิ่นคล้ายการบูรกับผิวส้ม
        ใบฆ้องสามย่าน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะองใบมีหลายรูปร่าง ใบบริเวณกลางลำต้นจะเว้าเป็นแฉกลึกแบบขนนกชั้นเดียวหรือสองชั้น ดูคล้ายใบประกอบ แต่ละแฉกจะมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานแคบ ตรงปลายแหลม ขอบจักเป็นฟันเลื่อยแกมซี่ฟันหยาบ ๆ มีสีเขียวและมีไขเคลือบ ใบมีที่เล็กกว่าขอบใบมักจะเรียบหรือเกือบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร และแบน ค่อนข้างจะโอบลำต้นไว้ ส่วนใบบริเวณโคนต้นจะไม่เว้าหรือเว้าเป็นแฉกตื้น ๆ หรือเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ตรงขอบเป็นจักซี่ฟันแกมเป็นคลื่นและไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบสั้น ใบทั้งสองแบบจะเป็นสีเขียวอ่อนและอาจมีสีม่วงแซม
         ดอกฆ้องสามย่าน ออกดอกเป็นช่อชูขึ้นบริเวณปลายกิ่ง มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก มีใบประดับแคบและเล็ก ส่วนกลีบรองกลีบดอกเป็นสีเขียวผิวเกลี้ยงหรือมีขนนุ่ม ตั้งตรง ตรงโคนเชื่อมติดกัน ส่วนตรงปลายแยกออกเป็นกลีบ มีลักษณะเป็นรูปหอกแกมรูปไข่ ปลายแหลม ส่วนกลีบดอกเป็นรูปทรงแจกัน ส่วนโคนนั้นจะพองออกสังเกตเห็นได้ชัด จะมีสีเขียว ส่วนบนจะมีสีเหลือง ปลายแยกเป็นกลีบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ซึ่งจะมีอยู่ 4 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 8 อัน โผล่พ้นกลีบดอกออกมาเล็กน้อย ส่วนท่อเกสรเพศเมียเกลี้ยงและยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร รังไข่มีลักษณะเป็นรูปหอก ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ผิวเกลี้ยงและเป็นสีเขียว
         ผลฆ้องสามย่าน ผลเป็นผลแห้ง ออกผลเป็นพวง ลักษณะของผลเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน แตกตามตะเข็บเดียว

สรรพคุณของฆ้องสามย่าน
1. ใบฆ้องสามย่านใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงร่างกาย (ใบ)
2. ใบใช้ผสมกับดีปลี จันทน์ทั้งสอง ใบน้ำเต้า ดอกบัวหลวงขาว ละลายน้ำดอกพิกุล ดอกมะลิ ดอกบุนนาค ดอกแคแดง น้ำตำลึง เป็นยาแก้ไข้เพื่อลม ไข้เพื่อโลหิต ไข้เพื่อเสมหะ และทำให้
    ตัวเย็น (ใบ)
3. ตำรายาไทยใช้ใบเป็นยาเย็นดับพิษร้อน แก้ร้อนใน (ใบ)
4. ใบนำมาตากแดดให้แห้งแล้วบดให้เป็นผง ใช้ทาลิ้นเด็กอ่อนเป็นยาแก้ละอองซางได้ชะงัด (ใบ)
5. ใบใช้ตำพอกหน้าอกรักษาอาการไอและเจ็บหน้าอก (ใบ)
6. ใบใช้รับประทานเป็นยาแก้บิด รักษาอาการท้องร่วง (ใบ)
7. ใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (ใบ)
8. ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบนำมาตำพอกรักษาบาดแผลมีดบาด น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาห้ามเลือดในแผลสดได้ดี (ใบ)
9. ใบใช้เป็นยาพอกบาดแผล บรรเทาอาการระคายเคืองและทำให้แผลหายได้โดยมีเนื้องอกมาปิดแทน เป็นยาสมานและฆ่าเชื้อบาดแผล (ใบ)
10. ใบใช้ตำพอกกันแผลฟกช้ำ แผลไหม้ แผลเรื้อรัง แผลฝีมีหนอง (ใบ)
11. ใบใช้ตำพอกฝีทำให้เย็นเป็นยาถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน รักษาอาการเจ็บปวด แก้พิษอักเสบปวดบวม พิษตะขาบ แมงป่องต่อย (ใบ)
13. ใช้เป็นยาแก้งูพิษกัด ด้วยการใช้ใบสด 5 กรัม ผสมกับต้นสดฟ้าทะลายโจร 15 กรัม (Andrographis paniculate Nees) เอาไปตำชงด้วยเหล้าที่หมักจากข้าว ใช้กินครั้งเดียวหมด (ใบ)
14. ใบนำมาคั้นเอาน้ำมาผสมปรุงกับน้ำมันมะพร้าว ใช้เป็นยาทาถูนวดรักษาโรคอวัยวะโตที่เรียกกันว่าโรคเท้าช้างให้ทุเลาหรือชะงักได้ (ใบ)

ประโยชน์ของฆ้องสามย่าน
      มักนำมาปลูกเป็นไม้ดับในกระถาง หรือปลูกกันไว้ตามบ้านหมอและตามสวนยาจีนทั่วไป

คำสำคัญ : ฆ้องสามย่าน

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ฆ้องสามย่าน. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1587

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1587&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

แตงไทย

แตงไทย

แตงไทยเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียแถวเชิงเขาหิมาลัย มีทั้งพันธุ์ผิวเรียบและผิวไม่เรียบ เช่น แคนตาลูป แตงเปอร์เซีย แตงกวาอาร์เมเนีย โดยเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทยเรา เพราะปลูกง่าย ทนทาน แข็งแรง และให้ผลผลิตในช่วงหน้าร้อน ลักษณะของผลอ่อนจะมีสีเขียวและมีลายสีขาวพาดยาว เมื่อผลแก่เปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวจะเรียบเป็นมัน เนื้อด้านในของผลจะมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว ให้กลิ่นหอม มีเมล็ดรูปแบนรีสีครีมจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 8,063

ตับเต่านา

ตับเต่านา

ต้นตับเต่านา จัดเป็นพืชลอยน้ำ มีอายุหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะเป็นไหลทอดเลื้อย หากน้ำตื้นจะหยั่งรากลงยึดดินใต้น้ำ มักขึ้นในน้ำนิ่งทั่วไป เช่น ตามนาข้าวหรือบริเวณหนองน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแตกไหลและอาศัยเมล็ด โดยต้นตับเต่านาเป็นพืชที่มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปยุโรปและเอเชีย สามารถพบได้ตามแหล่งน้ำตื้น ๆ ที่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับ 1,200 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,870

ผักโขม

ผักโขม

ลักษณะทั่วไป ต้นพืชล้มลุกอายุปีเดียว มีระบบรากแก้ว ลำต้นอวบน้ำตั้งตรง ลำต้นเรียบและมันมีรอยแตกเป็นร่องยาว สีเขียวเป็นมัน สีม่วง และสีแดงปนเขียว ทรงพุ่มสูงประมาณ 20-60 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ รูปร่างค่อนข้างจะเป็นสามเหลี่ยม หรือรูปไข่ฐานใบกว้าง ปลายใบค่อนข้างมน มักจะมีรอยหยักเล็กน้อย บริเวณปลายใบขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบเรียวเล็กมีความยาวใกล้เคียงกับความยาวของใบคือประมาณ 4-10 ซม. ดอกเป็นช่อแบบ Spike ออกตามปลายยอดและตามซอกใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย เกิดแยกคนละดอกอยู่บนช่อดอกเดียวกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีม่วงปนเขียว ไม่มีก้านดอกย่อย จึงเห็นติดอยู่เป็นกระจุกรอบแกนกลางช่อดอก ซึ่งยาวประมาณ 10-20 ซม. ดอกย่อยมีใบประดับสีเขียวคล้ายใบรองรับอยู่ แต่มีขนาดสั้นกว่ากลีบดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอกหลอมรวมกัน (perianth)  มี 3 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 3 อันมผิวหนัง ทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม แก้พิษแมงป่อง ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไข้ ไข้หวัดต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,872

พุดจีบ

พุดจีบ

พุดจีบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าดิบทางภาคเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 3-5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเตี้ย แต่มีการทิ้งใบในส่วนของต้นด้านล่าง จึงทำให้พุ่มดูโปร่ง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องเล็กๆ และทุกส่วนของต้นจะมียางสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ การตอน และวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวันถึงปานกลาง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 9,386

ข้าวเย็นใต้

ข้าวเย็นใต้

ต้นข้าวเย็นใต้ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อย เถาและลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน เหง้ามีลักษณะกลมหรือแบนหรือเป็นก้อน มีรูปร่างที่ไม่แน่นอน ผิวไม่เรียบ พบก้อนแข็งนูนขึ้น เสมือนแยกเป็นแขนงสั้น ๆ เหง้ามีความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-22 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเหลืองหรือเป็นสีเทาน้ำตาล ตามผิวพบส่วนที่เป็นหลุมลึกและนูนขึ้น มีร่องที่เคยเป็นจุดงอกของรากฝอย อาจพบปมของรากฝอยที่พร้อมจะงอกในลักษณะกลมยื่นนูนมาจากบริเวณผิวเหง้า 

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 7,681

เกล็ดปลาช่อน

เกล็ดปลาช่อน

ต้นเกร็ดปลาช่อน จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 0.5-2 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.2-3.7 เซนติเมตร กิ่งก้านแตกแขนงตั้งแต่โคนต้น ปลายกิ่งโค้งลง กิ่งและก้านใบมีขนนุ่มสีเทาถึงสีน้ำตาลอ่อนขึ้นหนาแน่น ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในกัมพูชา เวียดนาม ลาว ออสเตรเลีย และพบในทุกภาคของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 5,256

คูณ

คูณ

คูนเป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 15 เมตร เปลือกสีเทาอมน้ำตาล  ใบเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีใบอ่อน 3-8 คู่ ก้านช่อใบยาว 7-10 ซม. แก่นช่อใบยาว 15-25 ซม. ใบย่อยรูปป้อม ๆรูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกนรูปไข่ ปลายใบแหลม ฐานใบมน เนื้อไม้เกลี้ยงค่อนข้างบางเส้นใบแขนงใบถี่ โค้งไปตามรูปใบก้านใบอ่อน หูใบค่อนข้างเล็ก ออกเป็นช่อเป็นกลุ่มตามง่ามใบ ห้อยย้อยลงมาจากกิ่งช่อดอกค่อนข้างโปร่ง ก้านดอกย่อย ใบประดับยาว กลีบรองดอกรูปมนแกมไข่ ผิวนอกกลีบสีเหลือง ผลรูปทรงกระบอกยาว แขวนห้อยลงจากกิ่ง ผิวเกลี้ยงไม่มีขนฝักอ่อนมีสีเขียวและออกสีดำ เมื่อแก่จัดในฝักมีหนังเยื่อบาง ๆ ตามขวางของฝัก ตามช่องมีเมล็ดรูปมน แบนสีน้ำตาล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,560

แค

แค

ต้นแค หรือ ต้นดอกแค เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียหรือในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขามาก ไม่เป็นระเบียบ มีความสูงประมาณ 3-10 เมตร เนื้อไม้อ่อน ที่เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทา เปลือกหนาและมีรอยขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด สามารถเจริญเติบโตได้ทั่วไปในเขตร้อนชื้น เป็นต้นไม้ที่โตเร็ว สามารถปลูกได้ทุกที่ และมักขึ้นตามป่าละเมาะ หัวไร่ปลายนา มีอายุราว ๆ 20 ปี แต่ถ้าเก็บกินใบบ่อย ๆ จะทำให้ต้นมีอายุสั้นลง

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 10,935

ขันทองพยาบาท

ขันทองพยาบาท

ขันทองพยาบาทเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7-13 เมตร กิ่งก้านกลม มีสีเทา เปลือกมีสีน้ำตาลแก่ ผิวบางและเรียบ เนื้อไม้ข้างในมีสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 3-8 ซม. ยาว 9-22 ซม. เนื้อใบหนาทึบ หลังใบลื่นเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ฐานใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบเป็นติ่งยาว ขอบใบฟัน เส้นใบมีประมาณ 14-16 คู่ และมีก้านใบยาวประมาณ 9-16 มม. ดอกออกเป็นช่อกระจายตรงซอกใบ ช่อละ 5-10 ดอก ยาวประมาณ 16-18 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,823

ก้นจ้ำ

ก้นจ้ำ

ต้นก้นจ้ำเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นสูงประมาณ 5-2 เมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม บริเวณลำต้น กิ่ง ก้านสาขา มีขนขึ้นประปราย ใบก้นจ้ำออกเป็นช่อยอดเดี่ยว ซึ่งจะออกตรงข้ามกัน ช่อยาวราว 5-14 ซม. ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่ โคนใบสอบเข้าหากัน ปลายใบแหลมเรียว ริมขอบใบยักย่อยคล้ายฟันปลาหลัง และใต้ท้องใบมีขนประปราย หรืออาจเกลี้ยง ก้านใบจะยาวประมาณ 5 ซม. ดอกก้นจ้ำออกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอก มีสีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-10 มม. ปลายกลีบดอกค่อนข้างแหลม หรือเป็นฝอย กลีบดอกยาวประมาณ 5 มม.เป็นรูปท่อ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,347