พุดจีบ

พุดจีบ

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 8,374

[16.4258401, 99.2157273, พุดจีบ]

พุดจีบ ชื่อสามัญ Crepe jasmine, Clavel De La India, East Indian rosebay, Pinwheel flower

พุดจีบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Tabernaemontana divaricata (L.) R.Br. ex Roem. & Schult. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE)

สมุนไพรพุดจีบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า พุดป่า (ลำปาง), พุดซ้อน พุดลา พุดสา พุดสวน (ภาคกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของพุดจีบ

  • ต้นพุดจีบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าดิบทางภาคเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 3-5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเตี้ย แต่มีการทิ้งใบในส่วนของต้นด้านล่าง จึงทำให้พุ่มดูโปร่ง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องเล็ก ๆ และทุกส่วนของต้นจะมียางสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ การตอน และวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวันถึงปานกลาง
  • ใบพุดจีบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนานหรือเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร หลังใบเรียบลื่นเป็นมันและเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเรียบและเป็นสีอ่อนกว่า
  • ดอกพุดจีบ ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกตามซอกใบ โดยจะออกดอกตามซอกใบใกล้กับปลายยอดหรือปลายกิ่ง ช่อละประมาณ 2-3 ดอก ดอกย่อยเป็นสีขาว เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ส่วนปลายแยกเป็นแฉก 5-10 แฉก และมีลักษณะเป็นคลื่นหมุนเวียนซ้อนกัน ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นแฉกเรียวแหลม ดอกมีกลิ่นหอม สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี 
  • ผลพุดจีบ ผลเป็นผลแห้ง ลักษณะเป็นฝักคู่ติดกัน ลักษณะเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม ฝักมีลักษณะโค้งยาว 2.5-5 เซนติเมตร ปลายฝักแหลม ขอบฝักเป็นสันนูน เนื้อผลเป็นสีแดง เมื่อฝักแก่จะแตกออกเป็นแนวเดียว ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 3-6 เมล็ด 

สรรรพคุณของพุดจีบ

  1. รากมีรสเฝื่อน สรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย (ราก)
  2. กิ่งช่วยลดความดันโลหิต ด้วยการใช้กิ่ง 1 กำมือนำมาต้มกับน้ำดื่ม (กิ่ง)
  3. เนื้อไม้มีรสเฝื่อน เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาช่วยลดไข้ ลดพิษไข้ (เนื้อไม้)
  4. ใบมีรสเฝื่อน นำมาตำกับน้ำตาลชงกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ (ใบ)
  5. รากนำมาเคี้ยวช่วยแก้อาการปวดฟัน (ราก)
  6. รากเป็นยาแก้ท้องเสีย (ราก)
  7. รากเป็นยาถ่าย (ราก)
  8. ต้นมีรสเฝื่อน นำมาคั้นเอาแต่น้ำดื่มเป็นยาขับพยาธิ (ต้น) ส่วนรากก็เป็นยาขับพยาธิเช่นกัน (ราก)
  9. ดอกมีรสเฝื่อน คั้นเอาแต่น้ำทาแก้โรคผิวหนัง (ดอก)
  10. รากเอามาฝนแล้วนำมาใช้ทาผิวบริเวณที่เป็นตุ่ม จะช่วยทำให้ตุ่มยุบเร็วขึ้น (ราก) นอกจากนี้ในส่วนของรากยังมีข้อมูลที่ระบุด้วยว่ารากกับหัวมีรสขม ในทางอายุรเวทของอินเดียจะใช้เป็นยาแก้หิด แก้พยาธิไส้เดือน เพียงแต่ผู้เขียนยังหาแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมายืนยันไม่ได้
  11. รากช่วยระงับอาการปวด (ราก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพุดจีบ

  • สารสำคัญที่พบได้แก่ amyrin, ajmalicine, tryptamine, kaempferol, pericalline, voacamine, vasharine
  • มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูง ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา แก้อาการปวด ยับยั้งการหดเกร็งของมดลูกและลำไส้
  • สารสกัดจากต้นพุดจีบมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเตอเรสได้สูง (เอนไซม์ชนิดนี้จะฤทธิ์ไปทำลายสารอะเซทิลโคลีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท ทำให้ลดน้อยลง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์หรือโรคความจำเสื่อม) จึงทำให้สารอะเซทิลโคลีนในระบบประสาทส่วนกลางคงเหลืออยู่มาก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้นและในระยะปานกลาง
  • เปลือก ต้น และรากมีสารอัลคาลอยด์ Coronarine
  • เมื่อปี ค.ศ. 2002 ประเทศเกาหลีได้ทำการศึกษาทดลองผลของสารสกัดพุดจีบในหนูทดลอง พบว่าสามารถช่วยยับยั้ง HMG Co A reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ย่อยไขมันในตับอ่อนได้ และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้
  • เมื่อปี ค.ศ. 2005 ประเทศเกาหลีได้ทำการศึกษาทดลองสารสกัดพุดจีบกับสมุนไพรอีกหลายชนิด ทำเป็นรูปแบบแคปซูล ซึ่งยาผสมดังกล่าวมีผลในการรักษาโรคหัวใจ ลดความดันโลหิตสูง และภาวะเส้นเลือดอุดตัน โดยยาดังกล่าวมีส่วนผสม 1-10% พุดจีบ, 1-10% โกโก้, 1-10% บัวหลวง, 1-10% ข้าวโพด, 1-10% Cyperus rotundu แล้วนำยาดังกล่าวมาทดลองใช้กับผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง พบว่าผู้ป่วยมีระดับไขมันในเลือดลดลง
  • เมื่อปี ค.ศ. 2005 ประเทศเกาหลีได้ทำการศึกษาผลของสาร Crocin และ Crocetin ที่สกัดได้โดยใช้น้ำสกัด พบว่าสามารถช่วยยับยั้ง Pancreatic lipase เอนไซม์ในตับอ่อนของหนูทดลองที่ถูกทำให้อ้วนด้วยอาหารไขมันและคาร์โบไฮเดรตเป็นเวลา 5 สัปดาห์ พบว่าหนูทดลองดังกล่าวมีระดับคอเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลง
  • เมื่อปี ค.ศ. 2006 ประเทศเกาหลีได้ทำการศึกษาทดลองใช้สารสกัดในหนูทดลอง โดยให้สารสกัดในขนาด 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมในหนูทดลองที่ถูกให้อาหารที่มีไขมันสูงจนอ้วน โดยให้ corn oil 1 กรัมต่อกิโลกรัม ผลการทดลองพบว่าสารสกัดของพุดจีบมีผลต้านอนุมูลอิสระและ Lipid peroxidation ทำให้ไขมันในเลือดลดลง
  • เมื่อปี ค.ศ. 2007 ประเทศเกาหลีได้ทำการศึกษาทดลองผลในการลดไขมันในเลือด โดยไปยับยั้ง Lipase เอนไซม์ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการลดความอ้วน ลดคอเลสเตอรอลในเลือด และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
  • จากการทดสอบความเป็นพิษพบว่าเมื่อฉีดสารสกัดจากกิ่งแห้งด้วย 95% เอทานอลหรือสกัดด้วยน้ำเข้าช่องท้องของหนูถีบจักรในขนาด 150 หรือ 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบว่าไม่เป็นพิษ

หมายเหตุ : จากหนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด ของเภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก ตาม [7] ใช้หัวข้อเรื่องว่า "พุดซ้อน" แต่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ของพุดจีบ (ทั้งพุดจีบและพุดซ้อนต่างก็มีชื่อพ้องที่เหมือนกัน บางแห่งเรียกพุดซ้อนว่าพุดจีบ และบางแห่งก็เรียกพุดจีบว่าพุดซ้อน) ผู้เขียนจึงเข้าใจว่า "พุดซ้อน" ในหนังสือเล่มนี้หมายถึง "พุดจีบ" (ขออิงตามชื่อวิทยาศาสตร์)

ประโยชน์ของพุดจีบ

  • ต้นพุดจีบนิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประธานตามสวนหย่อม เพราะมีกิ่งก้านสวยงาม หรือจะใช้ปลูกตามริมน้ำตก ลำธาร มุมตึก หรือปลูกบังกำแพงก็ได้ อีกทั้งดอกยังส่งกลิ่นหอมในช่วงเวลากลางคืนอีกด้วย
  • ดอกสามารถนำมาร้อนมาลัยเพื่อถวายพระได้
  • ส่วนข้อมูลอื่นๆ ระบุว่า เนื้อของผลสุกใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีส้มแดง ส่วนเนื้อไม้ใช้ทำธูปได้ และดอกใช้ทำหัวน้ำหอม

คำสำคัญ : พุดจีบ

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พุดจีบ. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1752&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1752&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

อุโลก

อุโลก

อุโลก จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนออกเป็นทรงพุ่มกลมโปร่ง กิ่งแขนงแตกออกจากลำต้นเป็นวงรอบที่ปลายกิ่ง เปลือกต้นหนาแตกลอนเป็นสะเก็ด เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาบางทีมีสีเทาปนน้ำตาล ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง มักขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณผสม และตามป่าดงดิบแล้งทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,604

มะเขือเปราะ

มะเขือเปราะ

ต้นมะเขือเปราะ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นประมาณ 2-4 ฟุต มีอายุได้หลายฤดูกาล ใบมีขนาดใหญ่ ออกเรียงตัวแบบสลับ ออกดอกเดี่ยว ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นสีม่วงหรือสีขาว ลักษณะของผลมีรูปร่างกลมแบนหรือเป็นรูปไข่ ผลเป็นสีขาวอมเขียว และอาจเป็นสีขาว สีเขียว สีเหลือง หรือสีม่วง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก ผลเมื่อแก่แล้วจะมีสีเหลือง ส่วนเนื้อในผลเป็นสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่น

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,455

กุ่มน้ำ

กุ่มน้ำ

กุ่มน้ำนี้จัดเป็นพืชยืนต้นขนาดกลาง โดยมีลำต้นสูงประมาณ 5-20 เมตร เปลือกนั้นจะค่อนข้างเรียบสีเทา ส่วนใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือค่อนข้างหนาสีเขียว แต่ด้านล่างจะเป็นสีเขียวอ่อนกว่าด้านบน มีใบย่อยรูปหอกอยู่ 3 ใบ หูใบเล็ก ร่วงหล่นจากต้นได้ง่าย และมีเส้นแขนงของใบอยู่ข้างละประมาณ 9-22 เส้น ซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนดอกนั้นจะออกเป็นช่อถี่ตามยอด มีหลายดอกในแต่ละช่อ กลีบเลี้ยงรูปทรงไข่ ปลายแหลม โดยกลีบดอกกุ่มน้ำนี้จะมีสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง จะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน และผลกลุ่มน้ำนี้จะเป็นรูปทรงกลมรี เปลือกค่อนข้างหนา ผลดิบสีนวลประมาณเหลืองอมเทา เมื่อผลสุกจะเป็นสีเทา ด้านในมีเมล็ดอยู่มากเป็นรูปเกือกม้า สีน้ำตาลเข้ม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,477

ตรีผลา

ตรีผลา

ตรีผลา (Triphala) (อ่านออกเสียงว่า ตรี-ผะ-ลา) คืออะไร ? คำว่าตรี แปลว่า สาม ส่วนคำว่าผลานั้นหมายถึงผลไม้ จึงหมายถึงผลไม้ 3 อย่าง ซึ่งประกอบไปด้วยลูกสมอพิเภก (Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb.), ลูกสมอไทย (Terminalia chebula Retz.), ลูกมะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.) สรุปก็คือ ตรีผลาเป็นยาสมุนไพรที่เป็นส่วนผสมของสมอพิเภก สมอไทย และมะขามป้อม เมื่อผลไม้ทั้งสามตัวนี้มารวมกันก็จะมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยควบคุมและกำจัดสารพิษในร่างกาย ซึ่งจะส่งเสริมสรรพคุณซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 2,235

ขันทองพยาบาท

ขันทองพยาบาท

ขันทองพยาบาทเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7-13 เมตร กิ่งก้านกลม มีสีเทา เปลือกมีสีน้ำตาลแก่ ผิวบางและเรียบ เนื้อไม้ข้างในมีสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 3-8 ซม. ยาว 9-22 ซม. เนื้อใบหนาทึบ หลังใบลื่นเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ฐานใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบเป็นติ่งยาว ขอบใบฟัน เส้นใบมีประมาณ 14-16 คู่ และมีก้านใบยาวประมาณ 9-16 มม. ดอกออกเป็นช่อกระจายตรงซอกใบ ช่อละ 5-10 ดอก ยาวประมาณ 16-18 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,710

กระทืบยอบ

กระทืบยอบ

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก สูงไม่เกิน 30 ซม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ แก่นกลางใบประกอบยาว 7-17 ซม. มีขนสีน้ำตาล  มีใบย่อย 18-27 คู่  ใบย่อยคู่อื่น รูปแคบยาวขอบขนาน ช่อดอก มี 2-9 ดอก ก้านช่อดอกยาว 0.5-2 ซม.  ก้านดอกยาว 0.5-1.7 ซม. กลีบดอกสีขาว โคนกลีบสีเหลือง ผลรีกว้าง 2-3 มม. ยาว 3-4 มม. ผิวเรียบ มีเมล็ด 10-15 เมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 1,591

ก้ามปู

ก้ามปู

ต้นจามจุรีมีชื่อวิทยาศาสตร์ Samanca Saman (Jacq) Merr. เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีอายุได้นานเป็นร้อยปี มีลำต้นสูงได้มากกว่า 25 เมตร และมีขนาดทรงพุ่มกว้่างได้มากกว่า 25 เมตร มักพบทั่วไปตามข้างถนน หัวไร่ ปลายนา และตามสถานที่ราชการต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,148

งาดำ

งาดำ

งาดำ (Black Sesame Seeds) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น งาดำอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณประโยชน์สูงมากๆ อย่าง เซซามิน (Sesamin) ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระรวมทั้งวิตามินมากมายหลากหลายชนิดเลยทีเดียว ที่ช่วยเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ที่สำคัญในร่างกายของเรา รวมทั้งช่วยบำรุงเซลล์ผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ช่วยให้ผมดกดำ ตลอดจนทำให้ระบบหัวใจแข็งแรง

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 5,906

ฝอยทอง

ฝอยทอง

ฝอยทอง จัดเป็นพรรณไม้จำพวกกาฝากขึ้นเกาะ ดูดน้ำกินจากต้นไม้อื่น มีอายุประมาณ 1 ปี ลำต้นมีลักษณะเป็นเส้นกลม อ่อน แตกกิ่งก้านสาขามากเป็นเส้นยาว มีสีเหลืองทอง ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด จัดเป็นพรรณไม้ที่ต้องการความชื้นในปริมาณมาก มักพบขึ้นตามบริเวณพุ่มไม้ที่ชุ่มชื้นทั่วไป ตามสวน เรือนเพาะชำ ริมถนน พื้นที่รกร้างทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 7,542

ถั่วเขียว

ถั่วเขียว

ถั่วเขียว (Green Bean) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นล้มลุก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ถั่วมุม ส่วนภาคกลางเรียก ถั่วทอง หรือถั่วเขียว และเชียงใหม่เรียก ถั่วจิม เป็นต้น ซึ่งถั่วเขียวนี้จัดเป็นพืชในตระกูลถั่ว โดยเปลือกนอกจะมีสีเขียวต่างจากเนื้อเมล็ดข้างในที่มีสีเหลือง เป็นพืชที่ปลูกงอกง่ายแต่มีวงจรชีวิตสั้น ซึ่งมีแหล่งกำเนิดอยู่ในเอเชียกลางและอินเดีย โดยในประเทศไทยเราได้มีการศึกษาและพบถั่วเขียวในถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน สมัยหินกลาง อายุประมาณ 10,000 ปีเลยทีเดียว จึงนับเป็นพืชที่มีมาหลายชั่วอายุคนแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 14,393