ตับเต่านา

ตับเต่านา

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้ชม 3,618

[16.4258401, 99.2157273, ตับเต่านา]

ตับเต่านา ชื่อสามัญ Frogbit, Frog bit
ตับเต่านา ชื่อวิทยาศาสตร์ Hydrocharis dubia (Blume) Baker (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hydrocharis morsus-ranae L.) จัดอยู่ในวงศ์ HYDROCHARITACEAE
สมุนไพรตับเต่านา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักตับเต่า ผักตับเต่านา ตับเต่าน้ำ ผักเต่า ผักปอดม้า บัวฮาวาย เป็นต้น
ตับเต่า มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ชนิดแรกก็คือ ตับเต่านา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hydrocharis dubia (Blume) Backer. (วงศ์ Hydrocharitaceae) ซึ่งเป็นชนิดที่เรากำลังพูดถึงในบทความนี้ครับ ชนิดนี้สังเกตง่าย ๆ ก็คือดอกจะเป็นสีขาว ส่วนอีกชนิดคือ ตับเต่า หรือ ผักอีแปะ ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mimulus orbicularis Benth. (Scrophulariaceae) ชนิดนี้ดอกจะเป็นสีม่วงอ่อนครับ ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักได้เช่นเดียวกับตับเต่านา (ข้อมูลจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน)

ลักษณะของตับเต่านา
         ต้นตับเต่านา จัดเป็นพืชลอยน้ำ มีอายุหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะเป็นไหลทอดเลื้อย หากน้ำตื้นจะหยั่งรากลงยึดดินใต้น้ำ มักขึ้นในน้ำนิ่งทั่วไป เช่น ตามนาข้าวหรือบริเวณหนองน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแตกไหลและอาศัยเมล็ด โดยต้นตับเต่านาเป็นพืชที่มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปยุโรปและเอเชีย สามารถพบได้ตามแหล่งน้ำตื้น ๆ ที่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับ 1,200 เมตร
         ใบตับเต่านา ใบจะโผล่อยู่เหนือน้ำหรือลอยบนผิวน้ำ ก้านใบยาว แต่ถ้าในฤดูแล้งที่มีน้ำน้อยก้านใบจะสั้นลง ส่วนลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจหรือเป็นรูปไข่กว้าง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2.5-6 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ แตกที่ข้อของลำต้นเป็นกลุ่มชูขึ้นเหนือน้ำ และมีรากเกิดเป็นกระจุกอยู่ทางด้านล่างของกลุ่มใบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนด้านล่างจะสีอ่อนกว่า และมักจะมีเนื้อเยื่อลักษณะคล้ายกับฟองน้ำอยู่บริเวณกลางใบ ซึ่งมีหน้าที่ในการช่วยพยุงลำต้น
          ดอกตับเต่านา ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีขาว ออกดอกตามซอกใบ มีก้านชูดอกเรียวยาว โคนกลีบดอกมีแต้มสีเหลือง ดอกเป็นแบบแยกเพศโดยมีกาบหุ้มช่อดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ ส่วนกลีบดอกเป็น 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปกลม มีขนาดประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มีอยู่ 9-12 อัน ส่วนรังไข่เป็นรูปยาวรี มีความยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร
          ผลตับเต่านา ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีสันอยู่ 6 สัน

สรรพคุณของตับเต่านา
1. ช่วยบำรุงธาตุไฟในร่างกาย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
2. ช่วยแก้เสมหะ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
3. ช่วยแก้ลม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
หมายเหตุ : สรรพคุณดังกล่าวข้างต้นนี้มีที่มาจากวิกิพีเดีย แต่ไม่ได้ระบุไว้ว่ามีแหล่งอ้างอิงมาจากไหนและใช้ส่วนไหนเป็นยา

ประโยชน์ของตับเต่านา
1. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับหรือใช้ปลูกในบ่อเลี้ยงปลาเพื่อช่วยคลุมผิวน้ำ
2. ต้นอ่อนหรือยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก

คำสำคัญ : ตับเต่านา

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ตับเต่านา. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1627&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1627&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ผักโขม

ผักโขม

ลักษณะทั่วไป ต้นพืชล้มลุกอายุปีเดียว มีระบบรากแก้ว ลำต้นอวบน้ำตั้งตรง ลำต้นเรียบและมันมีรอยแตกเป็นร่องยาว สีเขียวเป็นมัน สีม่วง และสีแดงปนเขียว ทรงพุ่มสูงประมาณ 20-60 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ รูปร่างค่อนข้างจะเป็นสามเหลี่ยม หรือรูปไข่ฐานใบกว้าง ปลายใบค่อนข้างมน มักจะมีรอยหยักเล็กน้อย บริเวณปลายใบขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบเรียวเล็กมีความยาวใกล้เคียงกับความยาวของใบคือประมาณ 4-10 ซม. ดอกเป็นช่อแบบ Spike ออกตามปลายยอดและตามซอกใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย เกิดแยกคนละดอกอยู่บนช่อดอกเดียวกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีม่วงปนเขียว ไม่มีก้านดอกย่อย จึงเห็นติดอยู่เป็นกระจุกรอบแกนกลางช่อดอก ซึ่งยาวประมาณ 10-20 ซม. ดอกย่อยมีใบประดับสีเขียวคล้ายใบรองรับอยู่ แต่มีขนาดสั้นกว่ากลีบดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอกหลอมรวมกัน (perianth)  มี 3 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 3 อันมผิวหนัง ทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม แก้พิษแมงป่อง ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไข้ ไข้หวัดต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,636

เขยตาย

เขยตาย

เขยตายเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน ประโยชน์ของเขยตาย ผลสุกมีรสหวานใช้รับประทานได้ แต่มีกลิ่นฉุน ใบใช้เป็นอาหารของหนอนผีเสื้อ เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตร ลำต้นเขยตายมีสารอัลคาลอยด์ arborinine เป็นหลัก และอัลคาลอยด์อื่นๆ ข้อควรระวัง คือ ยางจากทุกส่วนของลำต้นมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน เพ้อคลั่งและเสียชีวิตได้

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 1,984

สมอพิเภก

สมอพิเภก

สมอพิเภก (Belleric Myrobalan) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่พบได้ทั่วไปในป่า พบมากบริเวณที่ชุ่มข้างริมน้ำหรือแหล่งน้ำ นิยมใช้ประโยชน์จากผล และเปลือก ในด้านสมุนไพรทางยา และในด้านอื่นๆที่ได้จากต้น อาทิ การแปรรูปไม้ การให้ร่มเงา เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,259

มะพลับ

มะพลับ

มะพลับ มีถิ่นกำเนิดในป่าดงดิบของประเทศไทย อินเดีย และในชวาเกาะเซลีเบส โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ทรงพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทาปนดำ หรือบางทีแตกเป็นร่องเล็กๆ ตามยาว ส่วนเนื้อไม้เป็นสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย มีน้ำและความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดดจัด มะพลับเป็นไม้ป่าดงดิบ 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 6,298

พิกุล

พิกุล

พิกุล มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย พม่า อินโดจีน และในหมู่เกาะอันดามัน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-25 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้างหนาทึบ เปลือกต้นเป็นสีเทาอมสีน้ำตาลและแตกเป็นรอยแตกระแหงตามแนวยาว ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว ส่วนกิ่งอ่อนและตามีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง ชอบขึ้นในพื้นที่ดินดี ชอบแสงแดดจัด ทนทานต่อสภาพน้ำท่วมขังได้นานถึง 2 เดือน 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 10,452

พุทรา

พุทรา

ลักษณะทั่วไป   ต้นไม้ยืนต้นสูง 5-10 เมตร  ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่แกมวงรี กว้าง 2-6 ซม. ยาว 3-8 ซม. ท้องใบมีขนสีน้ำตาลหรือขาว หลังใบสีเขียวเข้ม  ดอกช่อออกเป็นกระจุกที่ซอกใบกลีบดอกสีเขียวอ่อน หรือเหลืองอ่อน  ผลสด รูปทรงกลม สุกสีเหลืองกินได้  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด  ประโยชน์ใช้ผลแห้งหรือใบปิ้งไฟก่อน ชงน้ำดื่ม แก้ไอ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,398

มะเกลือ

มะเกลือ

มะเกลือ ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-15 เมตร อาจสูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบหรือไม่ผลัดใบ เปลือกสีดำ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามยาว แก่นสีดำสนิท เนื้อละเอียดมันสวยงาม ทุกส่วนของมะเกลือเมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ใบอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบมน ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 5-10 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนสีเงิน ใบแก่หนา ผิวเรียบมัน ด้านใต้ใบสีเขียวซีด บางเกลี้ยง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,225

ครอบฟันสี

ครอบฟันสี

ครอบฟันสี (Country Mallow, Chinese Bell Flower) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น โคราชเรียกโผงผาง หรือในภาคเหนือเรียกมะก่องข้าว, ปอบแปบ, คอบแคบ, ฟันสี, ครอบ, ขัดมอน เป็นต้น ครอบฟันสีนั้นมีเหลืองแสด มีประโยชน์มากมายโดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นตัวช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ดี

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,253

ผักขวง

ผักขวง

ผักขวง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเตี้ยหรือทอดเลื้อยแตกแขนงแผ่ราบไปกับพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขาแผ่กระจายออกไปรอบ ๆ ต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ โดยมักขึ้นได้ในบริเวณที่ชื้นแฉะ ตามไร่นา และตามสนามหญ้าทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดเล็ก แตกใบออกตามข้อต้น ซึ่งในแต่ละข้อจะมีใบอยู่ประมาณ 4-5 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 3,863

หูเสือ

หูเสือ

หูเสือเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำยอดหรือต้น ขึ้นได้ในทุกสภาพดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ที่มีอินทรีวัตถุสูง ชอบความชื้นมาก และแสงแดดปานกลาง พบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป ตามที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วทุกภาคของประเทศ แต่พบได้มากทางภาคเหนือ ถือเป็นผักที่มีกลิ่นหอมฉุน มีรสเผ็ดร้อน มีรสเปรี้ยวแทรกอยู่เล็กน้อย

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 1,187