เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้ชม 2,188

[16.378346, 99.5340804, เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย]

          เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ ทำนา จนหมดสิ้น แต่ยังมีคำบอกเล่าของคนเก่าคนแก่ว่า เคยมีร่องรอยของถนนโบราณที่ตัดมาจากเมืองกำแพงเพชรถึงเมืองคณฑี ทำให้สันนิษฐานได้ว่าบริเวณนี้อาจเป็นที่ตั้งของเมืองคณฑีในสมัยโบราณ
          แม้จะไม่มีร่องรอยของคูน้ำและคันดินในเขตตำบลคณฑีเป็นหลักฐานว่าเป็นที่ตั้งของเมืองคณฑีอย่างแท้จริง แต่ก็พบว่ายังมีซากโบราณอีกหลายแห่งในท้องถิ่นนี้ มีการพบซากโบราณสถานทั้งแบบกำแพงเพชรและสุโขทัย เช่น ที่วัดกาทิ้งยังมีฐานวิหารเหลืออยู่ และที่วัดปราสาทซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงในปัจจุบันยังมีซากเจดีย์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และจากการสำรวจของนักประวัติศาสตร์ ได้แก่ อาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า ใต้จากบริเวณบ้านโคนลงไปยังไม่ปรากฏพบร่องรอยของเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยจนถึงเมืองพระบางที่นครสวรรค์ หลักฐานและข้อมูลเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นเด่นชัดว่าบริเวณดังกล่าวในเขตตำบลคณฑีเป็นเขตของเมืองโบราณคณฑีทั้งสิ้น
          เมืองคณฑี คงเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งในแว่นแคว้นสุโขทัย แต่พอมาถึงสมัยอยุธยาคงได้รับภัยสงครามหรือเกิดการร้างเมือง ทำให้เมืองใหญ่ลดฐานะลงมาเป็นชุมชน
          หลักฐานสำคัญที่กล่าวมาถึงเมืองคณฑี คือศิลาจารึก ซึ่งกล่าวถึงเมืองคณฑี คือศิลาจารึกหลักที่ 1 (พ่อขุนรามคำแหง) และจารึกหลักที่ 3 (นครชุม) ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญและแสดงให้เห็นว่าเมืองคณฑีมีพัฒนาการมาตั้งแต่ครั้งโบราณ และมาเจริญรุ่งเรืองในสมัยกรุงสุโขทัย
          ศิลาจารึกหลักที่ 1 (พ่อขุนรามคำแหง) พ.ศ. 1835 ด้านที่ 4 กล่าวถึงอาณาเขตของบ้านเมืองในสสมัยสุโขทัย บ้านเมืองอยู่รวมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข เจริญรุ่งเรือง ในน้ำมีปลาในนามีข้าว มีป่าหมากป่าพลูอยู่ทั่วทุกหนแห่ง มีอาณาเขตกว้างขวาง โดยเฉพาะในบรรทัดที่ 19-20 กล่าวถึงอาณาเขตทางทิศใต้ไว้ว่า “เบื้องหัวนอนรอดคณฑีพระบาง แพรกสุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทเป็นที่แล้ว” ขยายความจากจารึกนี้ได้ความว่า อาณาเขตทางด้านทิศใต้ของกรุงสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น กินอาณาเขตตั้งแต่เมืองคณฑี (กำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค์) แพรก (สวรรค์บุรี) สุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) ราชบุรี เพชรบุรี ลงไปถึงนครศรีธรรมราช ตลอดจนแหลมมาลายู
          ศิลาจารึกหลักที่ 3 (นครชุม) พ.ศ. 1900 เป็นศิลาจารึกที่พระยาลิไทเสด็จมาประดิษฐานพระธาตุและปลูกพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองนครชุม เมื่อ พ.ศ. 1900 พร้อมทั้งจัดทำศิลาจารึก มีข้อความสรุปได้ดังนี้
         1. พระยาลิไท ได้ขึ้นเสวยราชย์ครองกรุงสุโขทัย โดยการสนับสนุนของบรรดาเจ้าเมืองและมิตรสหายต่าง ๆ
         2. ได้นำพระมหาธาตุและต้นศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จากลังกาเทวีมาประดิษฐานไว้ที่เมืองนครชุม
         3. การนับอายุเฉลี่ยของผู้คนจะลดถอยไปอีก 1 ปี จาก 100 ปี เหลือ 99 ปี
         4. ความศรัทธาในพุทธศาสนาจะลดน้อยถอยลงไป ศีลจะเหลือน้อย การแต่งกายของพระสงฆ์จะเหลือเพียงผ้าเหลืองที่เหน็บหูไว้เท่านั้น โลกจะถูกกาลล่มสลาย บรรดาพระธาตุจะมารวมกันที่พระบรมธาตุนครชุม แล้วไฟบรรลัยกัลป์ก็จะเผาไหม้พระบรมธาตุและล้างโลกให้สิ้นสุดไปพร้อม ๆ กัน
         5. ได้เล่าย้อนถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง ว่ามีอาณาเขตกว้างขวาง เมื่อสิ้นยุคของพ่อขุนรามคำแหงแล้ว บ้านเมืองในแว่นแคว้นได้แตกเป็นเมืองต่าง ๆ ตั้งตัวเป็นอิสระ ซึ่งในบรรดาของเมืองที่ตั้งตัวเป็นอิสระนั้นมีเมืองคณฑีรวมอยู่ด้วย
          จารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม) ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 19 จารึกไว้ว่า “เมืองคณฑี พระบางหาเป็นขุนหนึ่ง เมืองเชียงของหาเป็นขุนหนึ่ง... เป็นขุนหนึ่ง เมืองบางพานหาเป็นขุนหนึ่ง เมืองบางฉลังหาเป็นขุนหนึ่ง ต่างทำเนื้อทำตนเขาอยู่”
          ความหมายจากจารึกหลักนี้ ได้ความว่า “เมื่อสิ้นสมัยของพ่อขุนรรามคำแหงมหาราช อาณาจักรสุโขทัยได้แตกแยกเป็นเสี่ยง ๆ บรรดาหัวเมือง ได้แก่ เมืองคณฑี (กำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค์) เชียงทอง (ตาก) เมืองบางพาน (กำแพงเพชร) และเมืองบางฉลัง (สุโขทัย) เมืองต่าง ๆ เหล่านี้ต่างตั้งตัวเป็นรัฐอิสระไม่ยอมขึ้นแก่กรุงสุโขทัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในช่วงสมัยพระยาลิไทเมืองคณฑีคงมีเจ้าเมืองที่มีความเข้มแข็งขึ้นปกครองบ้านเมือง มีความเจริญรุ่งเรืองจนกล้าที่จะตั้งตนเป็นอิสระจากการปกครองของกรุงสุโขทัยได้ จนเป็นเหตุให้พระมหาธรรมราชาลิไทต้องมาปราบปราม
          หลักฐานจากศิลาจารึกทั้ง 2 หลักดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นว่าเมืองคณฑีเป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เคยรุ่งเรืองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง และเจริญรุ่งเรืองสูงสุดจนแยกตนเป็นเมืองอิสระในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ก่อนที่จะเข้ามาสวามิภักดิ์อีกครั้งหนึ่ง และเมื่อสิ้นยุคของพระมหาธรรมราชาลิไทแล้ว เมืองคณฑีก็เสื่อมความสำคัญลง จากเมืองกลายเป็นชุมชนใหญ่ริมแม่น้ำปิง

คำสำคัญ : คณฑี

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2549). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1374

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1374&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ดาบที่สร้างจากประวัติศาสตร์

ดาบที่สร้างจากประวัติศาสตร์

พระแสงราชศัสตราแห่งเมืองกำแพงเพชร เป็นพระแสงประจำเมืองเล่มเดียวในประเทศที่เป็นของเก่าที่แท้จริง เนื่องด้วยเป็นพระแสงที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ให้เป็นบำเหน็จความดีความชอบในการศึกปัตตานี ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์แก่พระยากำแพงเพชร (นุช ) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรคนที่ 2 ต่อจากบิดา ส่วนพระแสงประจำเมืองของจังหวัดอื่น ๆ ล้วนสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,301

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่อีกเมืองหนึ่งของจังหวัด กำแพงเพชรพบหลักฐานแสดงว่าเป็นเมืองเก่าในสมัยทวารวดีต่อเนื่องมาถึงสมัยสุโขทัย ดังหลักฐานวัตถุโบราณจากการขุดค้นภายในบริเวณเมืองพบเศษภาชนะ ดินเผา ตะกรันขี้เหล็กจ้านวนมาก พบตะเกียงดินเผาสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้น่าจะพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือก่อนหน้านั้น

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,479

ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ตราประจำจังหวัด คือ เป็นรูปกำแพงเมืองประดับเพชรเปล่งประกายแห่งความงดงามโชติช่วงประดิษฐานอยู่ในรูปวงกลม รูปกำแพงเมือง หมายถึง กำแพงเมืองโบราณของเมืองกำแพงเพชรซึ่งเป็นมรดกที่ล้ำค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแสดงเกรียติประวัติที่น่าภาคภูมิใจของชาวเมืองนี้และเป็นที่มาของชื่อจังหวัดกำแพงเพชร รูปวงกลม หมายถึง ความกลมเกลียว สมัครสมานสามัคคี รักใคร่มีน้ำใจ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวกำแพงเพชรทั้งมวลความหมายโดยสรุป คือ กำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีกำแพงเมืองมั่นคงแข็งแกร่งสวยงามเป็นมรดกแห่งอดีตอันยิ่งใหญ่ประจักษ์พยานแห่งความรุ่งโรจน์โชติช่วงในอดีตที่น่าภาคภูมิใจ เมืองมีความเจริญรุ่งเรือง ผู้คนพลเมืองมีความสมัครสมานสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกันเป็นอันดี

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 6,437

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จมาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,106

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอกเมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน จากเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มีเส้นทางที่ใช้เชื่อมต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่เดิมอาจเป็นเส้นทางธรรมดา ภายหลังมีการยกคันดินขึ้นเป็นถนนแล้วเรียกชื่อว่า “ถนนพระร่วง”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,359

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่สำคัญยิ่ง มาตลอดยุคสมัย และเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยมาโดยตลอด อาจนับตั้งแต่ พระร่วงโรจนราช กษัตริย์ต้นราชวงศ์พระร่วง
จากตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ว่ามาจากบ้านโคน เมืองคณฑี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งชาวบ้านโคนถือกันว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้ตำนานท้าวแสนปม ได้กล่าวถึงท้าวแสนปมเป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา..เป็นความเชื่อทั้งสองเรื่องที่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรเล่าขานสืบต่อกันมาช้านาน…ว่าปฐมกษัตริย์ทั้งกรุงสุโขทัย และอยุธยามาจากกำแพงเพชรทั้งสองพระองค์ …. จากตำนานสิงหนวติกุมาร ฉบับสอบค้น ของนายมานิต วัลลิโภดม ได้กล่าวถึงกำแพงเพชรที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หลายตอน

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,643

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุลนั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้คำนำหน้า “ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 4,132

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

มีตำนานของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกี่ยวข้องอยู่กับเมืองไตรตรึงษ์อยู่ด้วย โดยได้เค้าเรื่องมาจากสมุดข่อย วัดเขื่อนแดง ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในปัจจุบันสมุดข่อยดังกล่าวนี้ได้สูญหายและไม่ทราบว่าผู้ใดเอาไป แต่นายอ้อม ศรีรอด แห่งโรงเรียนศรีสัคควิทยา ตลาดสะพานดำ ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ได้เรียบเรียงเอาไว้ ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 1893 พระเจ้าอู่ทอง ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติทรงพระนามว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1" ในขณะที่พระองค์ทรงได้ขึ้นครองราชย์นั้นได้ให้พระราเมศวรราชบุตรไปปกครองเมืองลพบุรี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 4,411

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,412

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

ผู้เขียนกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “เล่าเรื่องเมืองชากังราว” มาแล้วว่า เมืองชากังราวนั้นได้ตรวจสอบเอกสารจากหลายฉบับ พบว่าเป็นชื่อของเมืองซึ่งซ้ำกัน 2 เมือง คือเมืองกำแพงเพชร และเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) และในข้อความสุดท้ายว่า พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  หน้า 212-213 ได้กล่าวถึง “สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) ที่ 1” ได้ยกทัพมาปราบปรามเมือง “ชากังราว” ถึง 4 ครั้งนั้น ท่านปราบปราม “เมืองชากังราว” ไหนแน่ ผู้เขียนพยายามสืบค้นจากเอกสารหลายฉบับ พบว่ามีเอกสารที่สามารถจะวินิจฉัยได้ว่า “เมืองชากังราว” ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  ยกทัพมาปราบปรามนั้นหมายถึง “เมืองศรีสัชนาลัย” ตามหลักฐานจากเอกสารที่สืบค้น ได้แก่

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,057