สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 3,879

[16.4264988, 99.2157188, สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ]

           ผู้เขียนกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “เล่าเรื่องเมืองชากังราว” มาแล้วว่า เมืองชากังราวนั้นได้ตรวจสอบเอกสารจากหลายฉบับ พบว่าเป็นชื่อของเมืองซึ่งซ้ำกัน 2 เมือง คือ เมืองกำแพงเพชร และเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) และในข้อความสุดท้ายว่า พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  หน้า 212-213 ได้กล่าวถึง “สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) ที่ 1” ได้ยกทัพมาปราบปรามเมือง “ชากังราว” ถึง 4  ครั้งนั้น ท่านปราบปราม “เมืองชากังราว” ไหนแน่ ผู้เขียนพยายามสืบค้นจากเอกสารหลายฉบับ พบว่ามีเอกสารที่สามารถจะวินิจฉัยได้ว่า “เมืองชากังราว” ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  ยกทัพมาปราบปรามนั้นหมายถึง “เมืองศรีสัชนาลัย” ตามหลักฐานจากเอกสารที่สืบค้น ได้แก่
          1. หนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้คัดลอกข้อความในหน้า 153-155 มาเสนอดังนี้ “เมื่อได้ตรวจเรื่องเมืองสวรรคโลกในพงศาวดารเหนือแล้ว ก็ควรตรวจดูเรื่องราวของเมืองนั้น ที่มีอยู่ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาสืบไป จำเดิมเริ่มที่จะกล่าวถึงเมืองสวรรคโลกในพงศาวดารกรุงเก่าก็มีอยู่ในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดี (อู่ทอง) ปรากฏอยู่ว่าในสมัยนั้นมีพระยาประเทศราชขึ้น 16 เมือง และเมืองสวรรคโลกเป็นเมืองประเทศราชเมืองหนึ่ง ต่อนี้มานามเมืองสวรรคโลกก็หายไปนาน แต่ใช่ว่าตัวเมืองนั้นจะวิบัติสูญไป เป็นแต่จะเรียกชื่อแปลกไปจนจำไม่ได้เท่านั้น คือ ข้าพเจ้าเชื่อตามความเห็นของท่านนักเลงโบราณคดีบางท่าน ว่าเมืองชากังราวที่กล่าวถึงในพงศาวดารกรุงเก่าเป็นหลายครั้งนั้นไม่ใช่อื่นไกล คือเมืองสวรรคโลกนั่นเอง พิเคราะห์ดูตามข้อความในพงศาวดาร ซึ่งมีอยู่ว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้เสด็จขึ้นไปเอาเมืองชากังราวถึง 3 ครั้ง คือจุลศักราช 735 ปีฉลู เบญจศก เสด็จขึ้นไปเอาเมืองชากังราว พระยาชัยแก้ว พระยากำแหงเจ้าเมืองออกต่อรบพระยาชัยแก้วตาย แต่พระยกำแหงและไพร่พลหนีเข้าเมืองได้ ทัพหลวงก็ยกกลับคืนพระนครนี่เป็นครั้งที่ 1 จุลศกัราช 738 ปีมะโรง อัฐศก เสด็จขึ้นไปเอาเมืองชากังราว ได้พระยากำแหงกับท้าวผากองคิดกันว่าจะยกตีทัพหลวงไม่สำเร็จเลิกหนีไป ทัพหลวงตีทัพผากองแตก ได้ท้าวพระยาเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก แล้วก็เลิกทัพหลวงกลับพระนคร นี้เป็นครั้งที่ 2 จุลศักราช 740 ปีมะเมีย สัมฤทธิ์ศก ไปเอาชากังราวอีกเป็นครั้งที่ 3 ครั้งนั้นพระมหาธรรมราชาออกมาถวายบงัคม ตรวจดูกับพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ อักษรนิติ ได้ความงอกออกไปอีกว่าขุนหลวงพงั่วได้เสด็จไปเอาเมืองชากังราวอีกครั้ง 1 เป็นครั้งที่ 4 เมื่อจุลศกัราช 750 ปีมะโรง สัมฤทธิ์ศก ครั้งนี้สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ทรงพระประชวรหนักต้องเสด็จกลับ  ตามข้อความเหล่านี้พึงเข้าใจได้อยู่แล้วว่า เมืองชากังราวมิใช่เมืองเล็กน้อย เป็นเมืองสำคัญอันหนึ่ง  แต่เมื่อก่อนได้พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐมานั้น ไม่มีผู้ใดเดาได้เลยว่าเมืองชากังราวคือเมืองใด อยู่แห่งหนตำบลใด มาได้หนทางเดาในพงศาวดารฉบับที่กล่าวแล้วนั้น คือแห่งหนึ่งมีข้อความกล่าวไว้ว่า  “ศักราช 813 มะแมศก ครั้งนั้นมหาราชมาเอาเมืองชากังราวได้แล้วจึงมาเอาเมืองสุโขทัย เข้าปล้นเมืองมิได้ก็เลยยกทัพกลับคืน” ดังนี้จึงเป็นเครื่องนำให้สันนิษฐานเมืองชากังราวนั้น คือเมืองสวรรคโลก  เพราะปรากฏว่ามหาราช (เมืองเชียงใหม่) ได้ชากังราว แล้วเลยไปเอาเมืองสุโขทัย ต้องเข้าใจว่าเป็นเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน ถ้าจะนึกถึงทางที่เดินก็ดูถูกต้องดี แต่เหตุไฉนจึงเรียกชื่อเมืองสวรรคโลกว่า ชากังราว ข้อนี้ยังแปลไม่ออก เมืองสวรรคโลกนี้ถึงแม้เมื่อกรุงศรีอยุธยามีอำนาจขึ้นแล้ว ใช่ว่าจะเสียอิสรภาพ ยังคงเป็นเมืองมีกษัตริย์ครองเรื่อยมา แม้พระมหาธรรมราชาได้ออกมาถวายบังคมขุนหลวงพะงั่วแล้ว เมืองก็ยังคงเป็นเมืองมีอิสรภาพอยู่ เพราะในสมัยนั้นไม่สู้จะฝักใฝ่ในเรื่องอาณาเขตนัก  ต้องการแต่เรื่องคนเท่านั้น แต่วงศ์กษัตริย์ครองสวรรคโลกจะได้สูญไปเมื่อใดแน่ก็ไม่ปรากฏ” จากข้อความทั้งหมดที่คัดลอกมานั้น สรุปได้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรง วินิจฉัยในครั้งที่สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้เสด็จขึ้นไปเอาเมืองชากังราวถึง 4 ครั้งนั้น หมายถึงเมืองศรีสัชนาลัยหรือเมืองสวรรคโลก                  
            2. หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ได้กล่าวถึงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ว่าได้ทรงยึดเมืองชัยนาท (พิษณุโลก) ได้ ให้สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขนุหลวงพะงั่ว) เจ้าเมืองสุพรรณบุรีขึ้นมาครอบครอง พระยาลิไทต้องยินยอมและต้องส่งบรรณาการเป็นอันมาก ในเวลาต่อมาพระยาลิไทได้ขอเมืองพิษณุโลกคืนจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้คืนเมืองพิษณุโลกให้กับพระยาลิไท ส่วนสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ซึ่งเคยครองเมืองพิษณุโลกกลับไปครองเมืองสุพรรณบุรีตามเดิม พระยาลิไทครองเมืองพิษณุโลก ทรงตั้งพระมหาเทวีซึ่งเป็นขนิษฐาครองเมืองสุโขทัย และทรงตั้งติปัญญาอำมาตย์ (หรือเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าพระยาญาณดิส) ครองเมืองกำแพงเพชร ในช่วงครองเมืองกำแพงเพชรอยู่นั้น พระยาญาณดิสได้ยินยอมให้พระมารดาไปเป็นมเหสีแก่สมเด็จพระบรมราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ซึ่งขณะนั้นได้ครองกรุงศรีอยุธยา และพระมารดานั้นได้เป็นที่รักใคร่โปรดปานของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขนุหลวงพะงั่ว) จนสามารถขอพระแก้วมรกตจากสมเด็จพระบรมราชาธิราช (หลวงพะงั่ว) มาไว้ที่เมืองกำแพงเพชร
            3.  ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า 576-579 มีข้อความสรุป ได้ว่า จุลศักราช 762 (พ.ศ.1943) ท้าวมหาพรหมเจ้าเมืองเชียงรายซึ่งเคยหลบหนีเจ้าเมืองเชียงใหม่มา พึ่งพาพระยาญาณดิสที่เมืองกำแพงเพชร ไปนำทหารแปดหมื่นจากเชียงใหม่มาล้อมเมืองกำแพงเพชรไว้ให้พระสุคันธเถระเข้าเจรจาขอให้พระยาญาณดิสยอมถวายพระแก้วมรกตให้กับท้าวมหาพรหม พระยาญาณดิสเห็นจะสู้รบไม่ได้ จึงแต่งบรรณาการเครื่องช้างอย่างดีส่งไปถวายแด่ท้าวมหาพรหมขอเป็นทางราชไมตรีและยอมถวายพระแก้วมรกตให้ แต่ขอให้ท้าวมหาพรหมถอยทัพไปก่อนจึงจะส่งพระแก้วมรกตตามไปถวายภายหลัง เพราะว่ากองทัพจากกรุงศรีอยุธยา (สมเด็จพระรามราชาธิราช กษตัริย์ องค์ที่ 5 แห่งกรุงศรีอยุธยา) ยกทัพมาถึงปากน้ำโพแล้ว ถ้าเสด็จมาถึงก็จะไม่ได้พระแก้วมรกตไป ท้าวมหาพรหมจึงถอยทัพไปตั้ง ณ เมืองตาก ครั้นครบ 7 วัน พระเจ้าญาณดิสก็เชิญพระแก้วมรกตลงเรือ มอบให้พระสุคันธเถระไปถวายท้าวมหาพรหม จากหนังสือที่นำมาเสนอทั้ง 2 เรื่องนั้นสามารถที่จะกล่าวได้ว่า พระปัญญาอำมาตย์หรือพระยาญาณดิสนั้น เป็นโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขนุหลวงพะงั่ว) และพระมารดานั้นเป็นมเหสีคนโปรดของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขนุหลวงพะงั่ว) จนสามารถขอพระแก้วมรกตมาไว้ที่เมืองกำแพงเพชร ได้ นอกจากนั้นแล้ว พระปัญญาอำมาตย์หรือพระยาญาณดิส ได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ไม่น้อยกว่า 30 ปีตั้งแต่ปลายสมัยพระยาลิไทจนถึงสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราช (กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงศรีอยุธยา) จึงทำให้สันนิษฐานได้ว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขนุหลวงพะงั่ว) ไม่เคยยกทัพมายึดเมืองกำแพงเพชรแต่อย่างใด  

คำสำคัญ : สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1, ขุนหลวงพะงั่ว, กำแพงเพชร

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1304&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1304&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,228

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายในเมืองนครชุม สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังความที่ปรากฏใน จารึกหลักที่ ๓ ศิลาจารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เสด็จฯ ไปทรงสร้างพระธาตุและทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ที่เมืองนครชุม ใน พ.ศ.1900 พระธาตุที่กล่าวไว้ในจารึกเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดพระบรมธาตุแห่งนี้ เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเดิมมี 3 องค์ องค์กลางเป็นรูปพระเจดีย์ไทย (น่าจะหมายถึงพระเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย แต่ที่พบในปัจจุบันเป็นแบบพระเจดีย์พม่าเพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชานุญาติให้พ่อค้าชาวพม่าชื่อ “พญาตะก่า” ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ซึ่งชาวพม่าผู้ศรัทธานั้นได้สร้างตามแบบเจดีย์พม่า และมีขนาดใหญ่กว่าองค์เดิม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,781

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

มีนิทานอันลือชื่อในท้องถิ่นของชาวไตรตรึงษ์เรื่อง “ท้าวแสนปม” ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณถือเป็น นิทานฉบับท้องถิ่นโดยมีการถอดความจากการเล่าของนายสรวง ทองสีอ่อน ชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลวังพระ ธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้เล่าไว้ดังนี้ “ประวัติเรื่องท้าวแสนปม เดิมทีท้าวแสนปมไม่ใช่คนที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร บ้านช่องพ่อแม่อยู่ที่ระแหง อยู่เหนือจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นไป แต่พ่อแม่ของเจ้าแสนนี้ไม่ปรากฏว่าชื่ออะไร พอมีลูกชายก็ตั้งชื่อว่าเจ้าแสน เจ้าแสนคนนี้มีรูปร่างอัปลักษณ์ คือว่าผิวเนื้อของแกมีแต่ปุ่มเป็นปมขรุขระเหมือนผิวมะกรูด

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,015

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

บทพระราชนิพนธ์ เที่ยวเมืองพระร่วง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกเอาไว้ ตอนหนึ่งมีความว่า “…ยังมีสิ่งที่ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้นคือถนนระหว่างกำแพงเพชรกับสุโขทัยนั้นได้ผ่านไปใกล้เมืองย่อมๆ 3 เมืองตรงตามความในหลักศิลา แต่เมื่อข้าพเจ้าเดินตามถนนนั้นได้เห็นปลายถนนทางด้านตะวันตกไปหมดอยู่เพียงขอบบึงใหญ่อันหนึ่ง ห่างจากเมืองกำแพงเพชรกว่า 100 เส้น พระวิเชียรปราการแสดงความเห็นว่าน่าจะข้ามบึงไป แต่น้ำได้พัดทำลายไปเสียหมดแล้ว ข้อนี้ก็อาจจะเป็นได้ แต่ข้าพเจ้ายังไม่สู้จะเชื่อนัก ยังนึกสงสัยอยู่ว่าคงจะมีต่อไปจนถึงเมืองเชียงทอง แต่เมื่ออยู่ที่กำแพงเพชรก็ยังไม่ได้ความ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 880

เมืองคณฑี

เมืองคณฑี

ตำบลคณฑี หรือตำบลบ้านโคน หรือ เมืองคณฑี เมืองที่ยิ่งใหญ่ ในอดีตมีคำขวัญประจำตำบลที่นำเสนอเอกลักษณ์ของตำบลอย่างชัดเจน เมืองคณฑีเป็นเมืองยุคแรกๆของกำแพงเพชร ตามตำนานเมืองเหนือกล่าวไว้ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งกรุงสุโขทัย เสด็จไปจากบ้านโคน หรือเมืองคณฑี แสดงว่าเมืองคณฑีนี้เก่าแก่กว่าสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองมาก่อนกรุงสุโขทัย นับร้อยปี ทำให้ชาวบ้านโคนภูมิใจในบรรพบุรุษจึงนำมาเป็นคำขวัญประจำเมือง

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,255

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่สำคัญยิ่ง มาตลอดยุคสมัย และเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยมาโดยตลอด อาจนับตั้งแต่ พระร่วงโรจนราช กษัตริย์ต้นราชวงศ์พระร่วง
จากตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ว่ามาจากบ้านโคน เมืองคณฑี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งชาวบ้านโคนถือกันว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้ตำนานท้าวแสนปม ได้กล่าวถึงท้าวแสนปมเป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา..เป็นความเชื่อทั้งสองเรื่องที่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรเล่าขานสืบต่อกันมาช้านาน…ว่าปฐมกษัตริย์ทั้งกรุงสุโขทัย และอยุธยามาจากกำแพงเพชรทั้งสองพระองค์ …. จากตำนานสิงหนวติกุมาร ฉบับสอบค้น ของนายมานิต วัลลิโภดม ได้กล่าวถึงกำแพงเพชรที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หลายตอน

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,484

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,737

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร

มีเนื้อความในต้านานสิงหนวัติกุมารเล่าว่ากาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีโอรสของพระเจ้าพีล่อโก๊ะองค์หนึ่ง ชื่อพระเจ้าสิงหนวัติ ได้มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นทางใต้ ชื่อเมืองโยนกนาคนคร เมืองดังกล่าวนี้อยู่ในเขตละว้า หรือในแคว้นโยนก เมื่อประมาณปี พ.ศ.1111 เป็นเมืองที่สง่างามของย่านนั้น ในเวลาต่อมาก็ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ที่อ่อนน้อมให้มาเป็นเมืองขึ้นแล้วตั้งชื่อเป็นแคว้นชื่อว่าโยนกเชียงแสน มีอาณาเขตทางทิศเหนือตลอดสิบสองปันนา ทางใต้จดแคว้นหริภุญชัย มีกษัตริย์สืบเชื้อสาย ต่อเนื่องกันมา จนถึงสมัยพระเจ้าพังคราชจึงได้ เสียเมืองให้แก่ขอมดำ 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,621

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

เมืองไตรตรึงษ์เป็นนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร หมายถึงเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์เป็นมหาราชา ประจำสวรรค์ชั้นนี้ นครไตรตรึงษ์ เป็นเมืองโบราณแห่งแรกของกำแพงเพชร นับว่ายิ่งใหญ่และเกรียงไกรอย่างยิ่ง เมืองไตรตรึงษ์คู่กับเมืองเทพนคร ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งลำน้ำปิง เมืองไตรตรึงษ์ คือเมืองของนางอุษา เมืองเทพนคร คือเมืองของท้าวชินเสน หรือท้าวแสนปม ซึ่งเมืองทั้งสองยังมีหลักฐานที่ชัดเจน ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร มีคำขวัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของนครไตรตรึงษ์ว่า เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนาม

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,462

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑีหรือบ้านโคน มีการสืบเนื่องของชุมชนมาช้านานแล้ว แม้ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยของคูน้ำแนวคันดินอันเป็นที่ตั้งของเมือง แต่มีวัดและซากโบราณเก่าแก่ที่ทำให้เชื่อได้ว่าครั้งหนึ่งบริเวณบ้านโคนเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ คือ เมืองคณฑี มีตำนานเล่าเรื่องถึงชาติภูมิหรือบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระมหาธรรมราชหรือพระเจ้าโรจน หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นบ้าน ว่าพระร่วง

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,449