ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 2,263

[16.4264988, 99.2157188, ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)]

          เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอกเมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน จากเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มีเส้นทางที่ใช้เชื่อมต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่เดิมอาจเป็นเส้นทางธรรมดา ภายหลังมีการยกคันดินขึ้นเป็นถนนแล้วเรียกชื่อว่า “ถนนพระร่วง” มี 2 สาย คือ สายเหนือจากเมืองสุโขทัยถึงเมืองศรีสัชนาลัย สายใต้จากเมืองสุโขทัยถึงเมืองกำแพงเพชร รวม ระยะทางทั้งสิ้น 123 กิโลเมตร ถือเป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่าอีกแห่งหนึ่งที่ผู้คนทั้ง 3 เมืองต่างภูมิใจ เพราะถือเป็นทางหลวงแผ่นดินสายแรกของประเทศไทย ถนนพระร่วงเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีใครทราบได้ แต่ถ้าสอบถามชาวบ้านที่อยู่ในเขตเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มักได้คำตอบว่า ถนนสายนี้มีมานานแล้วเห็นกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายยังเด็ก พร้อมกับมีเรื่องเล่าปรัมปราถึงพระร่วงเจ้าทรงชอบเล่นว่าว เลยสร้างถนนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นที่เล่นว่าว หรือบ้างก็ว่าพระร่วงเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์เสด็จไปยังเมืองศรีสัชนาลัย ระหว่าวที่อยู่ในขบวนได้ใช้พระบาทข้างซ้าย ข้างขวาเกลี่ยดินเล่นพูนขึ้นเป็นถนน ส่วนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างขึ้นมาในสมัยพ่อขุนรามคำแหงหรือพระยาลิไทกันแน่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นพระบรมโอรสาธิราชเป็น พระองค์แรกที่ได้สำรวจถนนพระร่วงโดยออกเดินทางตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม – 2 กมุภาพันธ์ พ.ศ 2450 แล้วทรงบันทึกเส้นทางเอาไว้ในหนังสือ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ซึ่งเป็นหนังสือแนะนำการท่องเที่ยวที่ดีเล่มหนึ่งของประเทศไทย เพราะนอกจากจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแล้วยังมีสาระทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ สามารถนำไปศศึกษาค้นคว้าได้หลายเรื่องราว  การสำรวจถนนพระร่วงในช่วงหลังได้มีการสำรวจกันกหลายครั้งค จากกรมศิลปากร นักวิชาการมหาวิทยาลัยหลายสถาบัน และล่าสุดคณะนักเรียนและครูมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษาของจังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร ได้ร่วมกันถนนพระร่วงเมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นการตามรอยพระยุคลบาทของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงสำรวจไว้เป็นครั้งแรก การสำรวจในครั้งหลังนี้ใช้บุคลากรในท้องถิ่น และอยู่ใกล้กลับแห่งประวัติศาสตร์มากที่สุด
          หลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่า ถนนพระร่วงเป็นถนนโบราณใช้เป็นเส้นทางคมนาคมทางบกคือจารึกบนฐานพระอิศวรสัมฤทธิ์ที่เคยประดิษฐานอยู่ที่เทวสถานในเมืองกำแพงเพชร กล่าวถึง พ.ศ. 2053 พระยาศรีธรรมาโศกราช ได้ประดิษฐานพระอิศวรไว้ให้คุ้มครองผู้คนและสัตว์ในเมืองกำแพงเพชร พร้อมทั้งซ่อมแปลงพระมหาธาตุ วัดต่าง ๆ ทั้งในเมืองนอกเมือง และมีการซ่อมแซมถนนใหญ่ (ถนนถลา) ซึ่งชำรุดลบเลือนไปแล้วถึงเมืองบางพาน ด้วยความสนใจในสภาพของถนนพระร่วงโบราณสถานสำคัญที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร จึงออกสำรวจร่องรอยที่เหลืออยู่ โดยเริ่มต้นที่ป้อมวัดช้าง พร้อมแผนที่ซึ่งคัดลอกมาจากหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง เพื่อหาร่องรอยของถนนพระร่วงสายใต้จากเมืองกำแพงเพชรสู่เมืองบางพานถึงเมืองสุโขทัยจากวัดช้าง เดินเท้าผ่านทุ่งนา ไร่กล้วยไข่ ยังไม่มีร่องรอยของถนนพระร่วงปรากฏให้เห็น เพราะถูกร้อถอนทำลายจนสิ้นสภาพไปหมดแล้ว ย่ำต่อไปด้วยด้วยความเหน็ดเหนื่อยและท้อใจกลับจะไม่พบแนวคันดินถนนโบราณที่อุตส่าห์ ดั้นด้นออกค้นหา เดินจากวัดช้างไปได้ประมาณ 5 กิโลเมตร พบวัดเก่ารกร้างไม่ได้บูรณตกแต่ง มีป้ายชื่อบอกให้รู้ว่าเป็นวัดอาวาสน้อย จึงเข้าไปสำรวจเที่ยวชมได้พบร่องรอยของโบราณสถานอันยิ่งใหญ่ จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกของวัดได้พบคันดินถมสูงขึ้นจากพื้นราบ 1 เมตร กว้าง 5-6 เมตร มีระยะยาวเพียง 50 เมตร ชาวบ้านแถวนั้นยืนยันว่าเป็นคันดินของถนนพระร่วงอย่างแท้จริง ณ ที่บริเวณนี้เมื่อปี พ.ศ. 2535 ดร.ไพฑูรย์  มีกุศล เคยมาสำรวจแล้วบันทึกเอาไว้พบวา่มีคันดินเป็นแนวถนนประมาณ 200เมตร แต่เพียงไม่กี่ปีต่อมาถูกทำลายไปจนเกือบหมดแล้ว
           แนวของถนนพระร่วงจากเมืองกำแพงเพชรไปยังเมืองสุโขทัย ถ้ายึดตามแผนที่ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเริ่มต้นจากป้อมวัดช้างที่อยู่นอกเมืองกำแพงเพชรขึ้นไปทางเหนือผ่านวัดช้าง วัดอาวาสน้อย บ้านบ่อสามแสน เมืองบางพาน เชิงเขานางทอง บ้านพรานกระต่ายใต้ (วัดไตรภูมิ) บ้านพรานกระต่ายเหนือ เข้าสู่บ้านเหมืองหาดทราย เมืองคีรีมาศ ไปจนถึงเมืองสุโขทัย รวมระยะทางประมาณ 73 กิโลเมตร ระหว่างทางที่ได้สำรวจพบแท่งศิลาแลงปักอยู่บนเนินดิน มีเศษกระเบื้องมุงหลังคาหักพังถมอยู่ นักวิชาการทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นศาลาที่พักริมทาง ถัดไปไม่ไกลมองเห็นซากโบราณสถานอยู่กลางบ่อลูกรังขนาดใหญ่ที่ถูกขุดลงไปจนลึกมาก อยากที่จะเข้าไปดู เห็นแล้วรู้สึกเสียดายเพราะคงไม่สามารถบูรณะซ่อมแซมได้ ทำให้ไม่ทราบถึงความสัมพันธ์ของถนนพระร่วงกับโบราณสถานแห่งนี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร ถือเป็นตัวอย่างอันสำคัญของความเห็นแก่ได้ของคนในยุนี้ที่กล้าทำลายความยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษลงได้อย่างไร้จิตสำนึก

คำสำคัญ : เที่ยวเมืองพระร่วง, ถนนพระร่วง

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ). สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1311&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1311&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เฉลิมฉลอง 504 ปี พระอิศวร เมืองกำแพงเพชร

เฉลิมฉลอง 504 ปี พระอิศวร เมืองกำแพงเพชร

กำแพงเพชร มีเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองสัตว์สองตีนสี่ตีนในเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นคือเทวรูปพระอิศวร พระอิศวร คือเทพสูงสุดแห่งศาสนาพราหมณ์ เรียกกันว่าพระศิวะก็ได้ พระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่มีอำนาจมากและดุร้าย จึงนับว่าเป็นเทพผู้สร้าง ผู้ทำลาย เป็นเทพที่มีลักษณะพิเศษ คือพระศอสีนิล พระองค์สีแดง มีพระเนตรที่สาม เมื่อลืมตาที่สามแล้วจะทำลายล้างโลกได้สิ้น แล้วจึงสร้างใหม่ สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของการเกิดคือ ศิวลึงค์ พระอิศวรมีพระมเหสี คือพระนางอุมาเทวี พระอิศวร มีงูเป็นสังวาล กะโหลกศีรษะมนุษย์ร้อยเป็นสร้อยพระศอ ทรงโคเผือก อุศุภราช นุ่งหนังเสือ แบบพระฤาษีทรงพระจันทร์เป็นปิ่นปักผม สถิต ณ เขาไกรลาส เป็นที่เคารพบูชาของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ทั่วโลก

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,926

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,272

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาสุรบดินทร์ ข้าหลวงเดิมเป็นพระยากำแพงเพชร ล่วงมาถึงปีขาล 2313 มีข่าวมาถึงกรุรธนบุรีว่า เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวนถึงเองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพจะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนทัพเรือยกกำลังออกจากรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฏรที่แตกฉานซ่านเซ็นให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,973

คำขวัญประจำจังหวัดกำแพงเพชร

คำขวัญประจำจังหวัดกำแพงเพชร

กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง พระแสงฯล้ำค่า ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก  กรุพระเครื่อง หมายถึง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่มีกรุพระเครื่องมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีพระเครื่องหรือพระพิมพ์นับพันพิมพ์ พระที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดกำแพงเพชร คือ พระซุ้มกอ พระเครื่องที่ศักดิ์สิทธิ์หนึ่งในเบญจภาคีของประเทศไทย เมืองคนแกร่ง หมายถึง จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองแห่งนักรบ นักสู้ เป็นเมืองที่ย่ิงใหญ่ในการสงคราม ประชาชนทำสงครามอย่างเข้มแข็ง เจ้าเมืองกำแพงเพชรทุกคนได้รับพระนามว่า พระยารามรณรงค์สงคราม ซึ่งหมายความว่า มีความกล้าหาญในสนามรบในสงครามราวกับพระราม มีพระยาวชิรปราการ เป็นคนแกร่งแห่งเมืองกำแพงเพชร พระแสงฯ ล้ำค่่า หมายถึง พระแสงราชศัสตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร (ด้ามและฝักทองคำ) ซึ่งมีเพียงองค์เดียวในประเทศไทย เป็นสิ่งล้ำค่าและมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์จังหวัดกำแพงเพชร จึงขอเสนอเพิ่มคำขวัญจังหวัดกำแพงเพชร โดยเพิ่มคำว่า "พระแสงฯ ล้ำค่า" ลงในคำขวัญ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นประวัติศาสตร์ และให้ชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเชิดชูมรดกล้ำค่าของจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 17,424

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 1

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 1

ย้อนหลังไปเมือง พ.ศ. 2450 หรือ 107 ปี ที่ผ่านมา ชาวกำแพงเพชรได้มีโอกาสต้อนรับการเสด็จมาของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งทรงสนพระทัยเกี่ยวกับเรื่องราวของเมืองพระร่วงคือเมืองกำแพงเพชร สุโขทัยและศรีสัชนาลัย และได้เสด็จขึ้นมาตรวจตราโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศึกษาข้อมูลตามตำนานในท้องถิ่น แล้วทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้เป็นหนังสือเรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” ซึ่งยอมรับกันว่าเป็นหนังสือนำเที่ยวเมืองไทยเล่มแรกที่มีคณุค่ายิ่งนัก และถือเป็นหนังสือดีอีกเล่มหนึ่งที่ชาวกำแพงเพชรควรต้องอ่าน ด้วยความสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงเสด็จเที่ยวเมืองกำแพงเพชรและทรงบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญเอาไว้อย่างละเอียดเป็นบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,489

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เอกสารจากพงศาวดารฉบับปลีก ซึ่งนายไมเคิล ริคคารี่ ได้นำลงในหนังสือสยามสมาคม มีข้อความสรุปได้ว่า เมืองสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอีกครั้งเมื่อสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ 2 และได้แบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ให้พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาลมหาธรรมราชา) ครองเมืองอยู่ที่สองแควหรือพิษณุโลก ส่วนที่ 2 ให้พระยารามครองเมืองอยู่ที่สุโขทัย ส่วนที่ 3 ให้พระยาเชลียงครองเมืองอยู่ที่สวรรคโลก และส่วนที่ 4 ให้เจ้าแสนสอยดาว ครองเมืองอยู่กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,333

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายในเมืองนครชุม สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังความที่ปรากฏใน จารึกหลักที่ ๓ ศิลาจารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เสด็จฯ ไปทรงสร้างพระธาตุและทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ที่เมืองนครชุม ใน พ.ศ.1900 พระธาตุที่กล่าวไว้ในจารึกเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดพระบรมธาตุแห่งนี้ เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเดิมมี 3 องค์ องค์กลางเป็นรูปพระเจดีย์ไทย (น่าจะหมายถึงพระเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย แต่ที่พบในปัจจุบันเป็นแบบพระเจดีย์พม่าเพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชานุญาติให้พ่อค้าชาวพม่าชื่อ “พญาตะก่า” ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ซึ่งชาวพม่าผู้ศรัทธานั้นได้สร้างตามแบบเจดีย์พม่า และมีขนาดใหญ่กว่าองค์เดิม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,783

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

 อำเภอลานกระบือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ คือ "แหล่งน้ำมันสิริกิติ์" บ่อน้ำมันสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเด่นพระ หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาสังข์ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอลานกระบือ ไปตามเส้นทางถนนสายลานกระบือ-พิษณุโลก ประมาณ 7 กิโลเมตร

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 15,331

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช “ ในหลวง” ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สดุในโลก ได้ทรงอุทิศพระวรกายพระราชหฤทัย และพระสติปัญญา บำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวง เพื่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างมากมายมหาศาล จนยากยิ่งที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกมาเทียบเคียงได้ ดังนั้นในโอกาสมหามงคล จึงขอนำเรื่องราวแห่งความปลื้มปิติมาน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อชาวกำแพงเพชรด้วยการเสด็จถึง 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลากว่า 69 ปีที่ครองราชย์ เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่พร้อมทั้งความบริสุทธิ์และบริบูรณ์ตลอด 69 ปีที่ผ่านมา

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,866

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอกเมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน จากเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มีเส้นทางที่ใช้เชื่อมต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่เดิมอาจเป็นเส้นทางธรรมดา ภายหลังมีการยกคันดินขึ้นเป็นถนนแล้วเรียกชื่อว่า “ถนนพระร่วง”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,263