เชียง แซ่แต้

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2018 ผู้ชม 1,425

[16.4264988, 99.215725, เชียง แซ่แต้]

         นายเซียง แซ่แต้ เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2454 มีภูมิกำเนิดที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายจุง นางฮวย แซ่แต้ บิดามารดาเป็นคนจีนอพยพมาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ นายเซียงจึงเป็นผู้ที่มีเชื้อสายจีน แต่สัญชาติไทย ด้วยถือกำเนิดในประเทศไทย 
         ขณะเมื่ออายุได้ไม่ถึงขวบ ต้องอพยพไปประเทศจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้งหนึ่งและดำเนินชีวิตอยู่ในประเทศจีนเป็นเวลา 8 ปี และเมื่อจำความได้ ได้พบเห็นการดำรงชีวิตที่ยากจนและเป็นทุกข์ของชาวจีน ครอบครัวของเด็กชายเซียง แซ่แต้ ก็ไม่อาจทดความทุกข์ยากในประเทศจีนได้จึงต้องพากันอพยพมาประเทศไทย ต่อมาไม่นานบิดาของเด็กชายเซียงก็เสียชีวิต เด็กชายเซียงจึงอยู่ในความดูแลของนางฮวยผู้เป็นมารดาและพี่น้องอีกแปดคน 
         นางเซียง แซ่แต้ มีชีวิตในวัยเด็กอยู่กับความยากจนลำบาก แต่ก็ไม่เคยท้อถอย พี่น้องคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวนายเซียง แซ่แต้ต่างช่วยกันทำงานสารพัดเท่าที่จะทำได้ เช่น ขายหนังสือพิมพ์ ขายไอศกรีม ขายก๋วยเตี๋ยว ขายขนมหวาน ฯลฯ เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงทุกชีวิตในครอบครัว ด้วยเหตุนี้ เด็กชายเซียงจึงไมได้เรียนหนังสือในระบบโรงเรียนเช่นเด็กในวัยเรียนคนอื่น ๆ แม้ว่านางเซียง และพี่น้องคนอื่น ๆ จะทำงานหนักอย่างขยันขันแข็งแต่ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น นายเซียงและครอบครัวจึงได้อพยพไปอยู่ที่ตำบลหนองตม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก นายเซียง ยังคงทำงานหนักรับจ้างหักล้างถางป่า ขุดบ่อน้ำ และสร้างเตาเผาถ่าน ในระยะนั้นคนในหมู่บ้านนิยมเผาถ่านจำหน่ายกันมาก นายเซียงได้รับจ้างสร้างเตาเผาถ่านหลายแห่ง จนหมู่บ้านบริเวณนั้นได้ชื่อว่า “บ้านเตาถ่าน” มาจนทุกวันนี้ 
          ครอบครัวของนายเซียงได้อาศัยอยู่ที่บ้านเตาถ่านระยะหนึ่ง แต่เห็นว่าไม่มีอะไรดีขึ้น จึงได้อพยพไปประกอบอาชีพที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่ออยู่ได้ระยะหนึ่งก็ไม่มี อะไรดีขึ้นมาอีก นายเซียงและครอบครัวจึงได้อพยพไปอยู่ที่ตลาดในเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยประกอบอาชีพรับจ้างทำงานทั่วไปและขายขนมไปด้วย และด้วยเหตุนั้นเองจึงทำให้นายเซียง แซ่แต่ได้มีโอกาสพบกันนางสาวเมี้ยน คชเถื่อน ธิดานายกอน คชเถื่อน ผู้ใหญ่บ้านบ้านโรงสูบ หมู่ 1 อำเภอขานุวรลักณบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ต่อมาไม่นานนทั้งสองก็ได้สมรสกัน 
         เมื่อนายเซียง แซ่แต้ได้สมรสกับนางเมี้ยน คชเถื่อนในระยะแรกยังคงอาศัยร่วมอยู่กับบิดามารดาของภรรายา เนื่องจากนางเมี้ยนเป็นธิดาคนเดียวของบิดามารดา เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ได้จากการทำงานก็ยังคงเป็นเจ้าของบ้าน ทำให้นายเซียงเกิดความเหนื่อยหน่ายท้อแท้ แต่ด้วยความดีของนางเมี้ยน ผู้ภรรยาเป็นสายใยผูกใจ นายเซียง แซ้แต้ให้คงอยู่กับครอบครัวต่อไป 
         นายเซียง แซ้แต้ต่อสู้ชีวิตด้วยความยากแค้น แต่ก็ได้กำลังใจที่ดีจากภรรยาคู่ชีวิต แต่ก็ต้องพบอุปสรรคอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งสำคัญถึงขั้นต้องโทษจำคุก เนื่องจากเกิดความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ นายเซียง แซแต้ จึงถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 6 เดือน อุทรณ์แล้วลดเหลือ 3 เดือน 
         การที่นายเซียง แซแต้ ถูกจำคุกครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นจุดผกผันของชีวิต ทำให้นายเซียงได้รู้จักข้าราชการผู้ใหญ่ของจังหวัดกำแพงเพชรหลายคน เนื่องจากบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย นายเซียง แซ่แต้ เป็นคนขยันอยู่แล้วจึงทำให้พัศดีในขณะนั้น คือ นายละม้าย จันทร์เพ็ญ รักใคร่นายเซียงมาก แม้กระทั่งผู้ว่าราชการจังหวัดก็ชอบพอรักใคร่ เมื่อได้เห็นผลงานของนายเซียง ซึ่งเป็นผู้ทำงานจริง ๆ จัง ๆ ขยันขันแข็ง ดังนั้นขณะที่นายเซียงถูกจำคุกจึงเข้า ๆ ออก ๆ เรือนจำเป็นประจำเพราะ ผู้ใหญ่ไว้วางใจเรียกใช้เสมอ 
         ดังนั้นชีวิตของนายเซียง แซ่แต้จึงเริ่มเปลี่ยนแปลง เพราะได้รับความเกื้อหนุนจากผู้ใหญ่ นำให้มีช่องทางทำมาหากินที่ดีขึ้น เนื่องจากเมื่อผู้ใหญ่ในจังหวัดท่านใดย้าย มาประจำที่จังหวัดกำแพงเพชร มักจะเดินทางไปเยื่ยมเยียนนายเซียงถึงบ้าน และได้พบว่านายเซียง แซ่แต้ ขยันขันแข็งทำมาหากินทุกอย่าง เจ้านายระดับต่าง ๆ ในจังหวัดมีความรักใคร่นายเซียงและมีความเชื่อถือในตัวนายเซียงมากขึ้นเป็นลำดับ 
        ครั้งหนึ่งนายสุวรรณ รื่นยศ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ได้เดินทางไปเยี่ยมเยือน นายเซียงที่บ้าน ทำให้ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และปัญหาของชาวบ้าน โดยเฉพาะปัญหาการเดินทาง โจรผู้ร้ายชุกชุม จึงได้ดำเนินการจัดส่งปืนเล็กขาวและปืนคาร์บิน รวม 2 กระบอก ให้นายเซียงเพื่อไว้ใช้ ในการปราบโจรกลุ่มก่อการร้ายในหมู่บ้านของตนและหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งนายเซียง ภาคภูมิใจมากที่ได้รับการให้เกียรติอย่างสูงสุดจากผู้ว่าราชการจังหวัดในครั้งนั้น นายเซียง แซ่แต้ จึงเกิดความมุ่งมั่นที่กระตำทุกอย่างเพื่อความสงบสุขของชาวบ้าน 

งานด้านประโยชน์ต่อสังคม 
         นายเชียง แซ่แต้ ได้ประกอบคุณงามความดีอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมหลายประการดังนี้ 
          1) การบำเพ็ญตนเป็นพลเมืองดี 
             นายเชียง แซ่แต้ กล่าวว่าสิ่งที่นายเชียงเกลียดที่สุดคือ “โจร” ดังนั้นนายเชียงจึงได้อาสาตามจับโจรผู้ร้ายให้บ้านเมืองอย่างไม่เกรงกลัวอันตรายใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง 
         2) การเสียสละทุนเพื่อประโยชน์ต่อสังคม 
            นายเชียง แซ่แต้ เป็นคนขยัน อดทน จึงทำให้มีที่ดินเป็นจำนวนมาก เนื่องจากในสมัยนั้นในการจับจองที่ดินทำกิน ใครถางป่าได้มากเท่าใดก็ได้สิทธิในที่ดินมาก เท่านั้น ต่อมานายเชียงเห็นว่าการมีที่ดินมาก ๆ โดยให้คนอื่นเช่าทำกินนั้น ทำให้หมู่บ้านมีคนอาศัยอยู่น้อย จึงได้ขายที่ดินให้กับคนที่เช่าที่ดินในราคาที่ถูก รายใดไม่มีเงินพอก็ให้ผ่อนส่งทีละเล็กทีละน้อย จนปัจจุบันเป็นหมู่บ้านที่มีการพัฒนาคือ “บ้านไร่ใหม่” อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร มีโรงเรียนประจำหมู่บ้านชื่อ โรงเรียนบ้านไร่ใหม่ (เชียงทองอุปถัมภ์) โดยมีนายเชียงเป็นผู้บริจาคที่ดินที่ตั้งของโรงเรียน เงินส่วนตัวซื้อวัสดุก่อสร้าง และอุปถัมภ์การเรียนต่าง ๆ ตลอดจนให้ทุน การศึกษาแก่เด็กนักเรียนที่ยากจน จนโรงเรียนได้ยกระดับเป็นโรงเรียนดีเด่นระดับจังหวัดโรงเรียนหนึ่ง นายเชียง แซ่แต้ เป็นบุคคลหนึ่งที่เล็งเห็นความสำคัญของชุมชน ได้บริจาคเงินส่วนตัวเพื่อประโยชน์ จึงได้รับรางวัลชนะเลิศในการสนับสนุนช่วยเหลือจากสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 2541 

ผลงานด้านภูมิปัญญา 
            นายเชียง แซ่แต้ นอกจากจะยึดมั่นในการทำความดีแล้ว ตลอดระยะเวลาการดำเนินชีวิตของนายเชียงจะมีความฉลาดทั้งในด้านการทำมาหากินและการดำรงชีวิต เมื่อนายเชียงพบเห็นอะไรก็จะจดจำและนำมาใช้เป็นประโยชน์โดยเฉพาะ “ยาพื้นบ้าน” นายเชียงมีความสนใจที่จะสืบเสาะหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร เพื่อปรุงยาพื้นบ้าน โดยสอบถามจากผู้รู้ เช่น คุณยาย หมอพื้นบ้าน ผู้รู้สูตรยาพื้นบ้าน หรือผู้ที่เคยทดลองใช้ยาพื้นบ้านขนาดใดได้ผล สูตรยาบางขนานได้มาจากประเทศเขมร นายเชียงนำสูตรยาต่างๆ ที่ได้มาทดลองทำ ทดลองใช้เมื่อได้ผลดีจึงแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านทดลองใช้ไว้รักษาโรคต่างๆ สืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ แม้นายเชียง แซ่แต้ จะมีอายุ 90 ปีแล้ว แต่ร่างกายยังไม่แข็งแรงมิได้เจ็บป่วยแต่อย่างใด แต่ยังมุ่งมั่นที่จะผลิตยาพื้นบ้านนี้ไว้ช่วยเหลือคนเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ อยู่เสมอมานับว่านายเชียง ทำเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นโดยแท้ 
            นายเชียง แซ่แต้ ปรุงยาสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ ดังนี้ 
               1. ยารักษาโรคริดสีดวงทวาร,และโรคเชื้อรา 
               2. ยาห้ามเลือด 
               3. ยารักษาโรคลงท้อง 
               4. ยารักษาโรคมะเร็ง 
               5. ยารักษาโรคบิด 
               6. น้ำมันขโมย(รักษาแผลไฟไหม้ , น้ำร้อนลวก) 
               7. ยารักษาโรคความอ้วน 
               8. ยารักษาโรคปวดศีรษะ 
               9. ยารักษาโรคเริม(งูสวัด) 
               10. ยารักษาโรคปวดฟัน 
               11. ยารักษาโรคปวดข้อ

 

คำสำคัญ : บุคคลสำคัญ

ที่มา : http://province.m-culture.go.th/kamphangphet/page/seang_per.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). เชียง แซ่แต้. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=628&code_db=DB0016&code_type=0014

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=628&code_db=610003&code_type=01

Google search

Mic

พระศรีวชิราภรณ์ (วีระ วรปญโญ)

พระศรีวชิราภรณ์ (วีระ วรปญโญ)

สถานะเดิม ชื่อ วีระ นามสกุล ภูมิเมือง เกิด ๒ ฯ๑ ๘ ปีกุน วันที่ ๖ เดือน กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒ นามบิดา นายทวี ภูมิเมือง นามมารดา นางบาง ภูมิเมือง บ้านเลขที่ ๖๐ หมู่ที่ ๕ ตำบลวังควง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร อุปสมบท วัน ๗ ฯ ๕ ปีกุน วันที่ ๒๒ เดือน มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๒ ณ พัทธสีมา วัดสุวรรณาราม ตำบลวังควง อำเภอพราน กระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร  นามพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการประสิทธิ์ เตชวโร (ปัจจุบัน พระครูวชิรวราภรณ์ เจ้าคณะอำเภอ ลานกระบือ) วัดราษฎร์บูรณะ ตำบลวังตะแบก อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2018 ผู้เช้าชม 1,878

พระครูอรรถกิจนันทคุณ (นพดล นนทโน)

พระครูอรรถกิจนันทคุณ (นพดล นนทโน)

พระครูอรรถกิจนันทคุณ (นพดล นันทโน) เจ้าคณะตำบลคลองแม่ลาย (ธรรมยุติ) และเจ้าอาวาสวัดป่าดอยลับงา ต.ท่าขุนราม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์ และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาบัณฑิตอาสาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับปริญญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ส่ิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 4,672

มาลัย ชูพินิจ : บุคคลสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร

มาลัย ชูพินิจ : บุคคลสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร

มาลัย ชูพินิจ เป็นชาวกำแพงเพชรโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ.2449 บ้านอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ตำบลคลองสวนหมาก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บิดามารดาคือ นายสอนและนางระเบียบ ชูพินิจ ตระกูลชูพินิจ มีบรรพบุรุษสืบต่อมาจากตระกูล ณ บางช้าง ซึ่งนิยมรับราชการสืบต่อกันมา จนกระทั่งถึงชั้นปู่ของมาลัย ชูพินิจ ซึ่งได้ย้ายไปรับราชการประจำอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชรในรัชกาลที่ 5 แต่บิดามารดาของมาลัย ชูพินิจ มิได้รับราชการตามบรรพบุรุษ หากหันมาค้าไม้สักและไม้กระยาเลย อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติสำคัญของจังหวัดนั้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,271

กชกร ด้วงเงิน

กชกร ด้วงเงิน

ข้าราชการบำนาญ (ครู) สอนวิชาจริยศึกษา และวิชาพระพุทธศาสนา จนเกษียณ สอนเด็กนั่งพับเพียบ สวดมนต์ไหว้พระ กราบคุณครูก่อนเร่ิมการเรียนการสอน ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมให้นักเรียน รู้จักกตัญญูต่อบิดามารดา รู้จักนำหลักคำสอนทางศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวัน สอนให้เด็กศึกษาคุณค่าศิลปวัฒนธรรมอนุรักษ์มรดกโลก

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 1,210

พระวิเชียรโมลี

พระวิเชียรโมลี

"พระวิเชียรโมลี" อดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร และอดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พระภิกษุผู้ทรงวิทยาคุณ ที่ชาวเมืองกำแพงเพชร ให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง เป็นเถระผู้ทรงวิทยาคุณ ได้รับอาราธนาเข้าร่วมในพิธีปลุกเสก พระกริ่งชนะสงคราม ที่รัฐบาลในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นมิ่งขวัญกำลังใจแก่ทหารหาญ นับว่าเป็นเถระผู้ทรงวิทยาคุณที่มีชื่อเสียงมากรูปหนึ่งในสมัยนั้น สมัยสงครามอินโดจีน ท่านยังได้ทำเสื้อยันต์แดง แจกทหารผู้ไปราชการสงคราม ทำให้มีผู้เลื่อมใสในตัวท่านเป็นอันมาก เนื่องจากประจักษ์ในวิทยาคม จนได้รับอาราธนาให้นั่งเครื่องบินเพื่อหว่านทรายเสกให้ประชาชนและทหารรอดพ้นจากอันตรายจากภัยสงคราม     

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2018 ผู้เช้าชม 10,671

ประสิทธิ์ วัฒนศิริ

ประสิทธิ์ วัฒนศิริ

นายประสิทธิ์ วัฒนศิริ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๔๗ ในหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ปากคลองลุน (บ้านโคนใต้) ซึ่งปัจจุบัน อยู่ในเขตหมู่ที่ ๑ ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บิดาชื่อนายพวง แซ่ลิ้ม มารดาชื่อ นางปุย ได้เรียนหนังสือจนอ่านออก เขียนได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาขอม จากสำนักเรียนวัดปราสาท บ้านโคนใต้ จากนั้นในปี ๒๔๖๑ ได้เรียนจบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จากโรงเรียนประชาบาล อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชรหลังจากนั้นท่านได้ย้ายตามบิดาไปอยู่ตำบลหูกวาง อ.บรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ในทางธรรมท่านสอบได้นักธรรมตรี หลังจากนั้นท่านได้อพยพกลับมาที่ตำบลคณฑีอีกครั้ง มาบุกเบิกบ้านโคนจนสำเร็จดังใจหมาย

เผยแพร่เมื่อ 30-07-2020 ผู้เช้าชม 1,967

รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์

รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์

 นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์  เป็นอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร มีผลงานทางด้านศิลปะประดิษฐ์มากมาย เป็นผู้นิยมความเป็นไทย และรักษาศิลปวัฒนธรรมประเพณีของไทยตลอดมา ผู้ริเร่ิมก่อตั้งศูนย์บริรักษ์ไทยวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร รวบรวมผลงานศิลปะประดิษฐ์ที่นักศึกษาจัดทำขึ้นไว้เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา เยาวชน และผู้ที่สนใจทั่วไปได้ศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้ ศูนย์บ่มเพาะงานศิลปะประดิษฐ์ ประณีตศิลป์ มีผลงานดีเด่นด้านศิลปะหัตถศิลป์มากกว่าหนึ่งพันชิ้น ศูนย์บริรักษ์ไทยจัดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาจนถึงปัจจุบัน และจะยังดำเนินการเรียนการสอนต่อไปในอนาคต

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 1,889

สันติ อภัยราช : ปราชญ์ท้องถิ่น แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร

สันติ อภัยราช : ปราชญ์ท้องถิ่น แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร

นายสันติ อภัยราช เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ในด้านของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา วรรณกรรมท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ด้วยกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่เป็นระบบ จัดทำเป็นข้อมูลองค์ความรู้ จึงทำให้เป็นผู้ที่ได้รับเชิญให้มีบทบาทในเรื่องดังกล่าวของทางจังหวัด อีกทั้งยังมีปณิธานในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและยังมีความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านั้นให้เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ผ่านทางการเป็นวิทยากรบรรยาย ทั้งยังเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางสื่อออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสในการเข้าศึกษาอย่างทั่วถึง

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 2,083

พระยาราม

พระยาราม

พระยาราม นามเต็ม พระยารามรณรงค์ เดิมเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ครั้นเมื่อสมเด็จพระมหินทราธิราชขึ้นครองราชย์ ได้เรียกพระยารามไปไว้กรุงศรีอยุธยาและให้เลื่อนเป็นพระยาจันทบุรี สมเด็จพระมหินทราธิราชได้ทรงไว้วางพระทัยพระยารามมาก กรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ต้องปรึกษาหารือพระยารามทุกครั้ง เช่น คราวที่ออกอุบายจะไปดีเมืองพิษณุโลก ซึ่งพระมหาธรรมราชาที่ 2 ครองอยู่ด้วยความแค้นพระทัยก็ปรึกษากับพระยารามเป็นความลับ แต่ทำไม่สำเร็จเพราะพระมหาธรรมราชาที่ 2 รู้ตัวก่อน โดยพระยาสีหราชเดโซบอกความลับให้ทราบ ดังนั้น พระยารามจึงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับพระมหาธรรมราชาที่ 2 ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระมหินทราธิราช

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 329

 พระยาวิเชียรปราการ

พระยาวิเชียรปราการ

พระยาวิเชียรปราการเดิมชื่อ (ฉาย อัมพเศวต) เจ้าเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447-2454 เดิมเป็นหลวงสรรค์บุรารักษ์ นายอำเภอสรรค์บุรี เมืองชัยนาทต่อมาได้เลื่อนเป็นพระวิเชียรปราการ ผู้ช่วยราชการเมืองกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร และได้เลื่อนเป็นพระยาวิเชียรปราการ พระยาวิเชียรปราการเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่ 7 ปีได้ทำประโยชน์แก่เมืองกำแพงเพชรมาก ความดีของพระยาวิเชียรปราการ เด่นชัดตอนรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองกำแพงเพชร ในปีพ.ศ. 2449 ตามที่ปรากฏในหนังสือเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ได้นำเสด็จฯ ชมโบราณสถานด้วยความสันทัดจัดเจน 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,146