ขนมทองเอก

ขนมทองเอก

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้ชม 3,552

[16.4705612, 99.5283865, ขนมทองเอก]

ส่วนผสม

- แป้งสาลีเอนกประสงค์                     1 ถ้วย
- แป้งท้าวยายม่อม                             2 ช้อนชา
- ไข่ไก่ (ใช้เฉพาะไข่แดง)                  8 ฟอง
- กะทิ (มะพร้าวขูดขาว 200 กรัม)      1 ถ้วย
- น้ำตาลทราย                                    1 ถ้วย
- พิมพ์ไม้สำหรับทำขนมทองเอก, ทองคำเปลว
    วิธีทำ
 -ใส่กะทิกับน้ำตาลลงในกะทะทอง ตั้งไฟกลาง เคี่ยวนานประมาณ 10-15 นาที จนมีลักษณะข้นขาว ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น
- ร่อนแป้งสาลีและแป้งท้าวยายม่อมเข้าด้วยกัน 2 ครั้งนำกะทิกับน้ำตาลาที่เคี่ยวไว้ (ส่วนผสมข้อ 1) ใส่ไข่แดง และแป้งที่ร่อนไว้ คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
- นำขึ้นกวนไฟอ่อน ๆ จนแป้งรวมตัวเป็นก้อน กวนจนแป้งเนียนใส ยกลง คลุมด้วยผ้าขาวบางทิ้งไว้ให้เย็น
- นำแป้งมาปั้นเป็นก้อนกลมเท่า ๆ กัน อัดลงในพิมพ์รูปต่าง ๆ ตามต้องการ เคาะออก นำมาติดทองคำเปลว

คำสำคัญ : ขนม ขนมทองเอก

ที่มา : http://www.ezythaicooking.com/free_dessert_recipes/Thai_dessert_kanom_tong_ake_th.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ขนมทองเอก. สืบค้น 29 พฤศจิกายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=583&code_db=DB0015&code_type=1

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=583&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

ขนมฟักทอง

ขนมฟักทอง

ขนมฟักทอง ขนมไทยยอดนิยมอีกหนึ่งประเภท ซึ่งยังหาทานได้ไม่ยากนัก ขนม ฟักทอง เป็นการนำฟักทองมาทำขนม โดยนวดผสมกับ แป้ง กะทิ และน้ำตาล และนำไปนึ่ง โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูดขาว มีความเหนียว นุ่ม หวานหอม คนชอบทานฟักทองน่าจะชอบขนมไทยชนิดนี้

เผยแพร่เมื่อ 17-03-2017 ผู้เช้าชม 4,087

ขนมตาล

ขนมตาล

ขนมตาล เป็นขนมไทยดั้งเดิม เนื้อขนมมีลักษณะเป็นแป้งสีเหลืองเข้ม นุ่ม ฟู มีกลิ่นตาลหอมหวาน ขนมตาลทำจากเนื้อตาลจากผลตาลที่สุกงอม แป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาล ผสมกันตามกรรมวิธี ใส่กระทงใบตอง โรยมะพร้าวขูด และนำไปนึ่งจนสุก เนื้อลูกตาลยีที่เป็นส่วนผสมในการทำขนมตาล ได้จากการนำผลตาลที่สุกจนเหลืองดำ เนื้อข้างในมีสีเหลือง มีกลิ่นแรง ซึ่งส่วนมากจะหล่นจากต้นเอง มาปอกเปลือกออก นำมายีกับน้ำสะอาดให้หมดสีเหลือง นำน้ำที่ยีแล้วใส่ถุงผ้า ผูกไว้ให้น้ำตกเหลือแต่เนื้อลูกตาลในปัจจุบัน หาทานขนมตาลรสชาติดีได้ยาก เนื่องจากปริมาณการปลูกต้นตาลที่ลดลง ขนมตาลที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการมักใส่เนื้อตาลน้อย เพิ่มแป้งและเจือสีเหลืองแทน ซึ่งทำให้ขนมตาลมีเนื้อกระด้าง ไม่หอมหวาน และไม่อร่อย

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 5,312

แกงก้านคูน

แกงก้านคูน

แกงก้านคูน หรือแกงคูน เป็นอาหารพื้นบ้าน ที่คนในชุมชนรู้จักกันเป็นอย่างดี วัสดุที่ใช้และเครื่องปรุงส่วนใหญ่ เป็นของที่หาได้ง่าย ราคาถูก ในชุมชน ส่วนผสมสำคัญประกอบด้วย คูนก้านอ่อน ๑๐๐ กรัม เนื้อปลาช่อนสด หรือปลาช่อนย่าง หรือกุ้งฝอย ๑๐๐ กรัม มะเขือเทศลูกเล็ก ๔ ลูก มะนาว ๑ ผล ใบแมงลัก ๓ ต้นใช้แต่ใบ เครื่องแกงประกอบด้วย พริกหนุ่ม ๓ เม็ด หอมแดง ๓ หัว กระเทียม ๒๐ กลีบ ขมิ้นซอย ๑ ช้อนโต๊ะ คะไคร้ซอย ๒ ช้อนโต๊ะ เกลือ ๑ ช้อนชา กะปิ ๑ ช้อนโต๊ะ วิธีปรุง ให้เริ่มจากการแกะเปลือกก้านคูนออก หั่นเป็นท่อน คลุกกับเกลือและน้ำ แล้วจึงบีบน้ำออกเพื่อให้ก้านคูนนิ่ม โขลกเครื่องแกงรวมกันจนละเอียด ต้มน้ำสะอาดจนเดือด ละลายเครื่องแกงลงในน้ำเดือด ใส่ก้านคูนที่เตรียมไว้ลงในหม้อ หลังจากนั้น จึงใส่น้ำมะนาว มะเขือเทศ พอน้ำเดือดใส่เนื้อปลาช่อน พอปลาสุก ใส่ใบแมงลัก คนจนเข้ากัน ปิดไฟ เป็นอันเสร็จ

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,798

ขนมจีบแป้งสด

ขนมจีบแป้งสด

ขนมจีบแป้งสด ขนมพื้นบ้านของคนจังหวัดกำแพงเพชร โดยนำแป้งข้าวเจ้ากวนกับน้ำให้สุก และนำลงมานวดพร้อมแป้งมันสำปะหลัง ขั้นตอนการทำไส้ขนมจีบ นำหน่อไม้ หมูสับ กุ้งแห้ง พริกไทยป่น ต้นหอม ผักชีสับผสมให้เข้ากัน นำแป้งนวดแยกเป็นก้อนขนาดเท่าหัว รีดแป้งให้บาง นำแป้งที่รีดแผ่นห่อกับไส้ที่ได้ และนำไปนึ่งประมาณ 15 นาที ขนมจีบสุขดีแล้ว นำลงมาคลุกกับน้ำมัน และคุกกับน้ำมัน โรยกระเทียมเจียว เสิร์ฟพร้อมเครื่องเคียง แตงกวา ผักชีใบยาว พริกขี้หนู

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 4,909

แกงหยวก

แกงหยวก

อาหารพื้นบ้าน "แกงหยวก” มีความสำคัญสำหรับครอบครัวชนบทในพื้นตำบลนครชุมมาก เพราะเป็นวิถีชีวิตที่คนรุ่นบรรพบุรุษในอดีตได้ทำอาหารแกงหยวกรับประทานกับข้าวมาแต่ดั้งเดิมแสดงถึงความรักความสามัคคีการอยู่การกินที่เรียบง่าย ประหยัดเพราะใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ตามธรรมชาติปลูกขึ้นในสวนใกล้บ้าน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายรับประทานได้ทั้งครอบครัว แสดงถึงคุณค่าทางสังคมที่รักสงบ มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง หยวกหรือต้นกล้วย ส่วนที่นำมาแกง คือใจกลางต้นที่ยังอ่อนอยู่ นิยมแกงใส่ไก่บ้าน และวุ้นเส้น บ้างแกงใส่ปลาแห้ง มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ อีกแบบหนึ่งมีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักหวาน สูตรที่แกงแบบเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ นั้น นิยมใช้เลี้ยงแขกในงานบุญต่างๆ หรืองานอื่นๆ เมื่อทำหม้อใหญ่ ไม่นิยมใส่วุ้นเส้น

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 1,767

กล้วยเชื่อม

กล้วยเชื่อม

กล้วยเชื่อม ขนมพื้นบ้านนครชุม ทำจากกล้วยไข่ตัดหัวและท้ายผลกล้วย จากนั้นก็ปอกเปลือกและผ่าครึ่งแช่น้ำไว้ เทน้ำเปล่าลงไปในกระทะ ใส่เกลือและใบเตยมัดปม แล้วตามด้วยกล้วย เทใส่ลงไป ต้ม 15 นาที ใส่น้ำตาลทรายและน้ำตาลมะพร้าว ต้มจนน้ำตาลละลาย บีบมะนาวลงไป ต้มจนน้ำแห้งลดลงครึ่งนึง เสร็จแล้วปิดไฟแล้ววางพักไว้ พร้อมเสิร์ฟ

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,084

ขนมหม้อแกง

ขนมหม้อแกง

ขนมหม้อแกง หรือ ขนมกุมภมาศ คือขนมที่ใช้ไข่ แป้ง และกะทิเป็นส่วนประกอบสำคัญ นำผสมกันในถาดตามสัดส่วน แล้วจึงนำไปอบจนหน้าของขนมหม้อแกงมีสีน้ำตาลทอง น่ารับประทาน ปัจจุบันมีการทำเผือก เม็ดบัว ถั่ว และหอมเจียว มาผสม และแต่งหน้าขนมหม้อแกง ทำให้ขนมหม้อแกงมีรสชาติที่กลมกล่อมมากขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 5,838

ห่อหมกหัวปลี

ห่อหมกหัวปลี

ห่อหมกหัวปลี ส่วนผสมประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า หัวกะทิ น้ำปลาดีเพื่อปรุงรส พริกแกงเผ็ด ไข่ไก่ เนื้อปลาช่อนหรือเนื้อกบ ใบมะกรูดซอยฝอย ใบยอ และหัวปลี โดยหัวปลีควรล้างน้ำเกลือสัก ๒๓ น้ำเพื่อให้รสขื่นๆ หายไป สำหรับวิธีทำเริ่มจาก การคลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน สำหรับการห่อ ใช้ใบตองสด การห่อเหมือนกับการห่อหมกทั่วไป รองด้วยผัก อาทิ ใบยอ ผักกาดขาว ใบโหระพา ตามด้วยส่วนผสมที่เตรียมไว้ เสร็จแล้วนำไปนึ่งในน้ำเดือด นานประมาณ ๕๑๐ นาที

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,388

ฉู่ฉี่แมงอีนูน

ฉู่ฉี่แมงอีนูน

ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ที่จังหวัดกำแพงเพชร จะมีแมง "แมงอีนูน" หรือแมงนูน ออกจากที่ซ่อนเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ โดยแมงนูนเป็นแมงปีกแข็งตัวสีน้ำตาล ลำตัวกลมขนาดหัวแม่มือ มีขา 6 ขา อาศัยอยู่ใต้ดินทราย สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ฉู่ฉี่ ต้ม คั่ว รวมไปถึงทอดในน้ำมันเดือดๆ อย่างไรก็ตามช่วงนี้เป็นช่วงที่แมงอีนูนจะมีไข่เต็มท้อง "แมงนูนจะมีรสชาติหอมมันเพราะมีไข่เต็มท้อง แต่ถ้าล่วงเลยจากเดือนนี้ไปแล้ว แมงอีนูนจะพากันขุดรูวางไข่ ดังนั้นในตัวจึงมีแต่เลือดซึ่งรับประทานไม่ได้ โดยปีที่ผ่านมาแมงอีนูนมีไม่มากเท่าปีนี้ สาเหตุเพราะปีนี้เกษตรกรไม่ได้ไถหน้าดินทำให้มีพงหญ้าและต้นอ้อยขึ้นหน้า แน่น แมงนูนจึงไม่ถูกทำลาย ดังนั้นในปีนี้จึงจับได้เป็นจำนวนมาก"

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,618

ขนมข้าวตอก

ขนมข้าวตอก

ขนมข้าวตอกตัด หรือขนมข้าวตอก เป็นขนมพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งของชุมชนโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ส่วนผสมสำคัญมีเพียง ๓ อย่างคือ ข้าวเปลือกข้าวเหนียว น้ำตาลปี๊บ และน้ำกะทิ นิยมปรุงขึ้นเพื่อใช้ในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันสารทไทย วันตรุษไทย หรือในพิธีสู่ขวัญข้าว วิธีการทำขนมข้าวตอกตัด เริ่มจากการนำข้าวเปลือกไปคั่วไฟให้เป็นดอกขาว คัดเปลือกข้าวทิ้งด้วยกระด้ง แล้วจึงนำข้าวตอกที่ได้ไปตำจนละเอียด จากนั้นนำข้าวตอกที่ตำแล้วมาร่อนเพื่อแยกข้าวตอกออกเป็นสามส่วน คือ ข้าวตอกขนาดโตที่จะนำไปผสมกับกะทิ ข้าวตอกขนาดกลางสำหรับโรยบนแม่พิมพ์ และข้าวตอกขนาดเล็กที่มีเนื้อละเอียดสุดจะนำไปโรยหน้า ส่วนแรกนำไปผสมกับน้ำหวานที่เคี่ยวด้วยน้ำกะทิ น้ำตาลปึก แบะแซ และมะพร้าวอ่อน จนเหนียวพอประมาณ แล้วทิ้งไว้จนเย็น หลังจากนั้น บางบ้านก็ปั้นเป็นลูกกลมๆ ขนาดพอคำ หรือบางบ้านก็บรรจุลงในถาดหรือพิมพ์ แล้วจึงโรยด้วยข้าวตอกที่ตำละเอียดให้เป็นเนื้อเดียวกันหรือส่วนที่สองลงในพิมพ์ ชนิดที่ใส่พิมพ์แล้วนำไปตัดแบ่งเป็นชิ้นๆ ขนาดพอคำ เรียกว่า ข้าวตอกตัก” ส่วนที่ปั้นเป็นลูกกลมพอคำเรียก ข้าวตอก” หลังจากนั้น จึงนำส่วนที่สามมาโรยหน้า ขั้นตอนสุดท้าย จึงนำขนมไปอบด้วยเครื่องหอม เช่น เทียนกำยาน นานประมาณ ๑๒ ชั่วโมง ข้าวตอกเป็นขนมท้องถิ่นที่ใช้ทั้งเพื่อการบริโภคเป็นขนมหรืออาหารว่าง หรือใช้ในพิธีการต่างๆ เช่น จัดวางในบายศรีสู่ขวัญข้าว หรือในชะลอมเพื่อนำไปถวายพระในวันหรือเทศกาลสำคัญต่า

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 8,788