ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 5,801

[16.121008, 99.3294759, ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ]

ภูมิปัญญาการแต่งกาย
        ลักษณะการแต่งกายของชนเผ่าลาหู่ หรือ มูเซอ
ชาวลาหู่ในแต่กลุ่มมีเครื่องแต่งกายที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวในด้านสีสัน และผ้าของลาหู่ใช้ผ้าสีดำ หรือผ้าสีฟ้าและสีแดง ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าลาหู่กลุ่มใด และตกแต่งด้วยผ้าหลายสีเป็นลวดลายสวยงาม รูปแบบของเสื้อลาหู่จึงแตกต่างกันไปตามกลุ่ม แต่ทุกกลุ่มจะนุ่งซิ่นเช่นเดียวกัน รูปแบบของเสื้อผู้หญิง จะเป็นเสื้อแขนยาวตัวสั้นแค่เอว ตกแต่งด้วยผ้าหลากสีและเครื่องเงิน สำหรับเสื้อผ้าของผู้ชายลาหู่ ทั้งเสื้อและกางเกงจะใช้ผ้าสีดำและใช้ผ้าสีต่างๆ ลวดลายที่สวยงามเหมือนของผู้หญิง
         ชาวลาหู่ในสมัยก่อนเวลามีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาก็จะมีการสวมใส่ชุดประจำเผ่าเสมอ แต่มาถึงปัจจุบัน การใส่ชุดประจำเผ่าในชนเผ่าลาหู่เริ่มหาดูได้ยาก เนื่องจากการพัฒนาของสังคมเมือง ทำให้ค่านิยมในการใส่เสื้อเปลี่ยนไป หันไปใส่เสื้อผ้าแบบทันสมัยใหม่ เช่นกางเกงยีนต์ เสื้อยีนต์เป็นต้น เพราะว่ามีการวางขายตามร้านทั่วไป ส่วนชุดชนเผ่าหาได้ยาก อีกอย่างสังคมไม่ยอมรับ เมื่อใส่ชุดชนเผ่าเข้าในเมือง กลับถูกมองเหมือนตัวประหลาดตัวหนึ่ง จึงทำให้เด็กรุ่นใหม่ไม่ชอบใส่ชุดประจำเผ่ากัน เพราะว่าอายคนในเมืองและ บางคนคิดว่าเขามีการพัฒนาพอที่จะแยกแยะออกว่า ควรใส่ช่วงเวลาไหนและไม่ควรใส่ช่วงเวลาไหน

ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย

         ลักษณะการแต่งกายของผู้ชายคือสวมใส่เสื้อแขนยาวสีดำ ประัดับด้วยเม็ดโลหะเงินและลายปักต่างๆ ส่วนกางเกงใช้สีดำ สีเขียว สีฟ้า เย็บปักด้วยมือที่สวยงาม
         มูเซอแดง: จะสวมเสื้อสีดำ ผ่าอกกลาง กระดุมโลหะเงิน หรือกระดุมเปลือกหอย กางเกงจีนสีดำหลวมๆ ยาวลงไปแค่เข่าหรือใต้เข่าเล็กน้อย
         มูเซอดำ: จะสวมกางเกงขาก๊วยสีดำ เสื้อสีน้ำเงินแขนยาวผ่าหน้าป้ายข้าง สั้นแค่บั้นเอว
ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง
         ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิงคือสวมใส่เสื้อแขนยาว สวมผ้าถุงยาวถึงข้อเท้า ตกแต่งด้วยแถบผ้าสีต่างๆและ มีเม็ดอลูมิเนียมเล็กๆ เย็บติดเสื้อ และมีสวดลายต่างๆ แปะติดไว้ด้านหน้าและด้านหลังอย่างสวยงาม
         มูเซอแดง: จะสวมเสื้อตัวสั้นสีดำ แขนยาว ผ่าอก ติดแถบผ้าสีแดงที่สาบเสื้อ รอบชายเสื้อและแขน ตกแต่งเสื้อด้วยกระดุมเงิน ส่วนผ้าซิ่นใช้สีดำเป็นพื้น มีลายสีต่างๆ สลับกันอยู่ที่เชิงผ้าโดยเน้นสีแดงเป็นหลัก
         มูเซอดำ: จะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงครึ่งน่อง ผ่ากลางตลอดตัวขลิบชายเสื้อและตกแต่งตัวเสื้อด้วยผ้าสีขาว นุ่งกางเกงขาก๊วยสีดำ โพกศีรษะด้วยผ้าดำยาว และปล่อยชายผ้าห้อยไปข้างหลังยาวประมาณ 1 ฟุต ปัจจุบันใช้ผ้าเช็ดตัวโพกศีรษะแทน ใช้ผ้าสีดำพันแข้ง

ภาพโดย :  http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/lahu.html

คำสำคัญ : เครื่องแต่งกาย ชุดประจำชนเผ่า

ที่มา : http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/lahu.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=425&code_db=610007&code_type=02

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=425&code_db=610007&code_type=02

Google search

Mic

ลายนิ่แมะ (มัดย้อม)

ลายนิ่แมะ (มัดย้อม)

นิ่แมะ (มัดย้อม) มีความสำคัญในอดีตพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้สั่งไว้ว่า ลายนิ่แมะอย่าทำหาย เพราะจะต้องใช้ในงานมงคล เช่น งานแต่งงานของกะเหรี่ยง ลักษณะลวดลายจะปรากฏ เป็นเส้นนูนตามแนวตั้ง หรือแนวนอนก็ได้ หากเป็นลายนูนตามแนวตั้ง การกำหนดลายจะทำพร้อมกับการเรียงด้าย คือใช้จำนวนด้ายเพิ่มขึ้นกว่าปกติมนที่ที่ต้องการให้เป็นลายนูน ส่วนด้ายขวางใช้จำนวนเท่าปกติ การทอวิธีนี้นิยมใช้ทอเสื้อผู้ชายสูงอายุของเผ่ากะเหรี่ยง

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 627

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : กะเหรี่ยง

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : กะเหรี่ยง

ปัจจุบันกลุ่มกะเหรี่ยงที่ยังคงสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำเผ่าในวิถีชีวิตปกติ มีเพียงกลุ่มโป และสะกอเท่านั้น ส่วนกลุ่มคะยา และตองสูไม่สวมใส่ชุดประจำเผ่าในชีวิตประจำวันแล้ว กะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม นอกจากจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน กะเหรี่ยงกลุ่มเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ ก็มีลักษณะการแต่งกายไม่เหมือนกันด้วย เช่น กะเหรี่ยงโปแถบอำเภอแม่เสรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่งกายมีสีสันมากกว่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ หญิงกะเหรี่ยงสะกอแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตกแต่งเสื้อมีลวดลายหลากหลาย และละเอียดมากกว่าแถบจังหวัดตาก หรือกะเหรี่ยงโปแถบจังหวัดกาญจนบุรี 

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,607

เสื้อลวดลายสลับสี

เสื้อลวดลายสลับสี

เป็นการทอแบบธรรมดา คือใช้ด้ายยืนและด้ายขวางจำนวนเท่าปกติ แต่แทรกด้ายสีต่าง ๆ สลับเข้าไป ขณะเรียงด้ายยืนหรือเมื่อสอดด้ายขวาง เช่น การทอผ้าห่ม ย่าม และผ้าถุงของหญิงที่แต่งงานแล้ว (ลวดลายผ้าถุงในบางท้องถิ่นจะมีลักษณะพิเศษกว่าการทอลายสลับสีธรรมดา คือจะใช้ด้ายย้อมมัดหมี่ หรือย้อมแบบลายนํ้าไหลเป็นด้ายยืน ลวดลายที่ปรากฏบนเนื้อผ้ามีลักษณะงดงามมากซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป) บางครั้งกะเหรี่ยงจะทอลวดลาย สลับสีเป็นลายนูนในเนื้อผ้า เช่น บริเวณเหนืออกของชุดเด็กหญิงกะเหรี่ยงสะกอ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 718

ลายฉุ่ยข่อล่อ

ลายฉุ่ยข่อล่อ

ชาวกะเหรี่ยงขาวมีความเชื่อแต่โบราณว่าลายของผ้าทอกะเหรี่ยงนั้น ได้มาจากลายหนังงูใหญ่ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยงโดยที่งูตัวนั้นจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวก็ทอผ้าตามลายที่ปรากฏจนครบ 7 วัน ทอได้ 7 ลาย คือ ลายโยห่อกือ เกอเปเผลอ ฉุ่ยข่อล่อ ที่ข่า เกอแนเดอ เซอกอพอ และแชะฉ่าแอะ แต่ลายที่นิยมนำมาทอและปัก มี 4 ลายคือ โยห่อกือ เกอเปเผลอ ฉุ่ยข่อลอ และลายทีข่า ปัจจุบันยังมีการคิดค้นลายใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,266

ลายปักชุดชาวเขา

ลายปักชุดชาวเขา

ลายดาว เป็นลายผ้าทอของชาวเผ่าม้ง เป็นลายผ้าที่ชาวม้งส่วนใหญ่นิยมใส่กัน เป็นลายที่มีคล้ายดวงดาวบนท้องฟ้า จะมีกลีบเล็กกลีบใหญ่ออกมาเหมือนดวงดาว แล้วแต่คนชอบของลาย และอยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,629

ลายผ้ากะเหรี่ยง

ลายผ้ากะเหรี่ยง

ลายผ้าทอกะเหรี่ยงโบราณมาจากผู้ทำลายชื่อ นางมึเอ โดยนางจะทอผ้าอยู่ในถ้ำ ซึ่งมีอยู่วันหนึ่งมีงูเหลือมเข้าไปในถ้ำนางมึเอเห็นลายงูเหลือมจึงได้นำลายของงูเหลือมมาทอเป็นลายในผืนผ้า และต่อมาก็ได้มีการดัดแปลงจนเกิดเป็นลวดลายต่างในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่ลวดลายนั้นจะมาจากการมองดูธรรมชาติรอบๆตัวแล้วนำมาดัดแปลงให้เป็นลวดลายในผืนผ้า โดยการยกเขา 4 เขา เป็นกะเหรี่ยงลายดั้งเดิมตั้งแต่นั้นมา

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,917

ลายตะต่อกิ๊

ลายตะต่อกิ๊

ตะต่อกิ๊ สามารถคั่นลวดลายต่างๆ ได้ทั้งหมด ลายผ้าทอกะเหรี่ยงโบราณมาจากผู้ทำลายชื่อ นางมึเอ โดยนางจะทอผ้าอยู่ในถ้ำ ซึ่งมีอยู่วันหนึ่งมีงูเหลือมเข้าไปในถ้ำนางมึเอเห็นลายงูเหลือมจึงได้นำลายของงูเหลือมมาทอเป็นลายในผืนผ้า และต่อมาก็ได้มีการดัดแปลงจนเกิดเป็นลวดลายต่างในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 815

ลายอ๊ะหน่ายือ (ฟันหมา)

ลายอ๊ะหน่ายือ (ฟันหมา)

อ๊ะหน่ายือ เป็นภาษาชนเผ่าลีซอ มีความหมายในภาษาไทยหมายถึง ฟันหมา  (สุนัข) เป็นลวดลายโบราณ ดั้งเดิมที่บรรพบุรุษชาวลีซอเลียนแบบรูปร่างของฟันสุนัข ลักษณะของลวดลายมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมเล็กๆ เย็บ เรียงต่อกันเป็นแถวยาว การสร้างลวดลายทําได้โดยการการนําผ้าที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ พับเป็นสามเหลี่ยม นํามาเย็บ ติดกันต่อเนื่องกันเป็นสามเหลี่ยมซิกแซกดูคล้ายฟันของสุนัข

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,063

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลัวะ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลัวะ

ชาวลัวะ มีขนบธรรมเนียมเครื่องแต่งกายต่างกับชาวเหนือ ผู้ชายนุ่งผ้าพื้นโจงกระเบนหรือโสร่ง ผู้หญิงสวมเสื้อสีดำผ่าอกแขนยาว ปักเป็นแผ่นใหญ่ที่หน้าอกตามแถวกระดุม และแถวรังดุมรอบคอ ปักที่ชายแขนเสื้อตรงข้อมือทั้งสองข้างและที่ใต้ตะโพกรอบเอวด้วยดิ้นเลื่อม ไหมเงินคล้ายเสื้อขุนนางไทยโบราณ ผ้าซิ่นติดผ้าขาวสลับดำเล็ก ๆ ตอนกลางเป็นริ้วลาย ชายซิ่นติดผ้าสีดำกว้างประมาณ 1 ศอก ตามปกติผู้หญิงอยู่บ้านไม่ค่อยสวมเสื้อชอบเปิดอกเห็นถัน

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,827

ลายดอกพริก

ลายดอกพริก

มูเซอ เป็นกลมชนเผ่าที่มีต้นกําเนิดในดินแดนทิเบต ชาวมูเซอเรียกตัวเองว่า ลาหู่ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยว่า คน ส่วนคําว่ามูเซอนั้นเป็นคําในภาษาไทยใหญ่มีความหมายหมายถึง นายพราน หรือ นักล่าสัตว์ ทั้งนี้เพราะในอดีตนั้นผู้ชายชนเผ่ามูเซอส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่มีฝีมือและความชํานาญในด้านการล่าสัตว์ ในประเทศไทยพบชาวมูเซอมากถึง 7 กลุ่ม ได้แก่มูเซอดํา มูเซอแดง มูเซอเหลือง มูเซอขาว มูเซอเฌเล มูเซอ ชีบาเกียว มูเซอลาบา แต่มูเซอกลุ่มใหญ่ๆ ที่มักพบบ่อยได้แก่กลุ่มมูเซอดํา และกลุ่มมูเซอเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,137