ลายฉุ่ยข่อล่อ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 1,351
[16.121008, 99.3294759, ลายฉุ่ยข่อล่อ]
ชาวปากอเญอ มีพื้นฐานการทอผ้ามาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นการผลิตไว้ใช้ในครัวเรือน ที่เหลือจึงนำมาจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ลักษณะลายผ้าที่ผลิตกันจะเป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำ ลายผ้าเป็นไปตามความอำเภอใจของผู้ทอ ไม่มีเอกลักษณ์ มาตรฐานการผลิตที่แตกต่างกัน จึงมีการรวมกลุ่มกันขึ้น หญิงสาวชาวกะเหรี่ยงจะใส่ชุดยาวสีขาว ส่วนชายหนุ่มจะใส่สีแดงสด ส่วนหญิงชาวปากอเญอที่แต่งงานแล้วจะสวมใส่เสื้อสีดำและมีลวดลายปักที่หลากหลายผสมผสานกันในส่วนชายเสื้อตั้งแต่ใต้อกคลุมถึงสะโพก ผ้าถุงสีแดง ผ้าทอกะเหรี่ยง จะทอด้วยกี่เอว ลวดลายดั้งเดิมจะมีสีสันที่สดใสมีทั้งการทอลายในตัวผืนผ้า และการปักผ้า ผ้าบางผืนจะมีการเย็บลูกเดือยเป็นลวดลายต่าง ๆ ปัจจุบันการให้สีสันลายผ้าจะมีการทอหรือปักสีอื่นๆ เพิ่มขึ้น อาทิเช่น สีเขียว สีฟ้า สีเหลือง และสีชมพู
ภาพโดย : http://usaza-diiza.exteen.com/page-6
คำสำคัญ : เครื่องแต่งกาย ชุดประจำชนเผ่า
ที่มา : http://usaza-diiza.exteen.com/page-6
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ลายฉุ่ยข่อล่อ. สืบค้น 6 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=496&code_db=610007&code_type=02
Google search
อ๊ะหน่ายือ เป็นภาษาชนเผ่าลีซอ มีความหมายในภาษาไทยหมายถึง ฟันหมา (สุนัข) เป็นลวดลายโบราณ ดั้งเดิมที่บรรพบุรุษชาวลีซอเลียนแบบรูปร่างของฟันสุนัข ลักษณะของลวดลายมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมเล็กๆ เย็บ เรียงต่อกันเป็นแถวยาว การสร้างลวดลายทําได้โดยการการนําผ้าที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ พับเป็นสามเหลี่ยม นํามาเย็บ ติดกันต่อเนื่องกันเป็นสามเหลี่ยมซิกแซกดูคล้ายฟันของสุนัข
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,120
ปัจจุบันกลุ่มกะเหรี่ยงที่ยังคงสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำเผ่าในวิถีชีวิตปกติ มีเพียงกลุ่มโป และสะกอเท่านั้น ส่วนกลุ่มคะยา และตองสูไม่สวมใส่ชุดประจำเผ่าในชีวิตประจำวันแล้ว กะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม นอกจากจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน กะเหรี่ยงกลุ่มเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ ก็มีลักษณะการแต่งกายไม่เหมือนกันด้วย เช่น กะเหรี่ยงโปแถบอำเภอแม่เสรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่งกายมีสีสันมากกว่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ หญิงกะเหรี่ยงสะกอแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตกแต่งเสื้อมีลวดลายหลากหลาย และละเอียดมากกว่าแถบจังหวัดตาก หรือกะเหรี่ยงโปแถบจังหวัดกาญจนบุรี
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,690
ลายดาว เป็นลายผ้าทอของชาวเผ่าม้ง เป็นลายผ้าที่ชาวม้งส่วนใหญ่นิยมใส่กัน เป็นลายที่มีคล้ายดวงดาวบนท้องฟ้า จะมีกลีบเล็กกลีบใหญ่ออกมาเหมือนดวงดาว แล้วแต่คนชอบของลาย และอยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,715
ลีซูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มธิเบต-พม่า ของชนชาติโลโล ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของชนเผ่าลีซูอยู่บริเวณต้นน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน อยู่เหนือหุบเขาสาละวินในเขตมณฑลยูนนานตะวันตกเฉียงเหนือและตอนเหนือของรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า ชนเผ่าลีซูส่วนใหญ่เชื่อว่าเมื่อ 4,000 ปี ที่ผ่านมา เคยมีอาณาจักร เป็นของตนเอง แต่ต้องเสียดินแดนให้กับจีนและกลายเป็นคนไร้ชาติต่อมาชนเผ่าลีซู จึงได้เคลื่อนย้ายเข้าสู่รัฐฉานตอนใต้ กระจัดกระจายอยู่ตามภูเขาในเมืองต่างๆ เช่น เมืองเชียงตุง บางส่วนอพยพไปอยู่เขตเมืองซือเหมา สิบสองปันนา ประเทศจีน หลังจากนั้นได้อพยพลงมา ทางใต้เนื่องจากเกิดการสู้รบกันระหว่างชนเผ่าอื่น นับเวลาหลายศตวรรษ ชนเผ่าลีซูได้ถอยร่นเรื่อยลงมา จนในที่สุดก็แตกกระจายกัน เข้าสู่ประเทศพม่า จีน อินเดีย แล้วเข้าสู่ประเทศไทย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,985
การทอผ้าเป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่ดั้งเดิมอย่างหนึ่งของกะเหรี่ยง กะเหรี่ยงทอผ้าใช้ในครอบครัวมาเป็นเวลานาน กรรมวิธีการทอผ้าของกะเหรี่ยงคล้ายกับการทอผ้าของชาวเปรูในสมัยโบราณ และคล้ายกับการทอผ้าของชนเผ่าหนึ่งในแถบประเทศกัวเตมาลา ฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก การทอผ้าของกะเหรี่ยงจะใช้กี่ทอผ้าที่เป็นแบบ back strap (กี่เอว)
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,583
ลายบริเวณตีนขาที่เรียกว่า "ตัวตั้งตะ" มีเครื่องแต่งกายที่แตกต่างระหว่างม้งจั๊วะและม้งเด๊อะสำหรับผู้ชายจะเห็นได้ชัดในชุดของผู้ชายม้ง โดยที่กางเกงของผู้ชายม้งจั๊วะจะมีลักษณะเป็นกางเกงหย่อนลงมามาก ขากางเกงบริเวณส่วนบนกว้างมากและมีขอบปลายแคบผิดกับกางเกงของชายม้งเด๊อะซึ่งเหมือนกางเกงขาก๊วยจีนหรือที่ทางภาคเหนือเรียกว่า กางเกงสามดูก ส่วนเสื้อม้งเด๊อะชายจะสั้นกว่าม้งจั๊วะ การสวมเสื้อจะป้ายจากด้านขวาไปด้านซ้าย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 842
ตะต่อกิ๊ สามารถคั่นลวดลายต่างๆ ได้ทั้งหมด ลายผ้าทอกะเหรี่ยงโบราณมาจากผู้ทำลายชื่อ นางมึเอ โดยนางจะทอผ้าอยู่ในถ้ำ ซึ่งมีอยู่วันหนึ่งมีงูเหลือมเข้าไปในถ้ำนางมึเอเห็นลายงูเหลือมจึงได้นำลายของงูเหลือมมาทอเป็นลายในผืนผ้า และต่อมาก็ได้มีการดัดแปลงจนเกิดเป็นลวดลายต่างในปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 860
มูเซอ เป็นกลมชนเผ่าที่มีต้นกําเนิดในดินแดนทิเบต ชาวมูเซอเรียกตัวเองว่า ลาหู่ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยว่า คน ส่วนคําว่ามูเซอนั้นเป็นคําในภาษาไทยใหญ่มีความหมายหมายถึง นายพราน หรือ นักล่าสัตว์ ทั้งนี้เพราะในอดีตนั้นผู้ชายชนเผ่ามูเซอส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่มีฝีมือและความชํานาญในด้านการล่าสัตว์ ในประเทศไทยพบชาวมูเซอมากถึง 7 กลุ่ม ได้แก่มูเซอดํา มูเซอแดง มูเซอเหลือง มูเซอขาว มูเซอเฌเล มูเซอ ชีบาเกียว มูเซอลาบา แต่มูเซอกลุ่มใหญ่ๆ ที่มักพบบ่อยได้แก่กลุ่มมูเซอดํา และกลุ่มมูเซอเหลือง
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,192
กะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน กลุ่มนี้หันมานับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ กะเหรี่ยงโปร์นั้นเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเคร่งครัดในประเพณี อาศัยอยู่มากที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และแถบตะวันตกของประเทศไทย คือ กะเหรี่ยงบเว อาศัยอยู่มากที่อำเภอขุนยวม แม่ฮ่องสอน ส่วนปะโอ หรือตองสูก็มีอยู่บ้าง แต่พบน้อยมากในประเทศไทย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 13,107
อีก้อเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเรียกตนเองว่า "อาข่า" คนไทยและคนเมียนมาร์ เรียกว่า "อีก้อ" หรือ "ข่าก้อ" ลาวและชนชาติอินโดจีนตอนเหนือเรียกอีก้อว่า "โก๊ะ" คนจีนเรียกว่า "โวนี" หรือ "ฮานี" ซึ่งหมายรวมถึงชนเผ่าที่พูดภาษาโลโลในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ด้วย อีก้อเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเรียกตนเองว่า อาข่า คนไทยและคนเมียนมาร์ เรียกว่า อีก้อ หรือ ข่าก้อ ลาวและชนชาติอินโดจีนตอนเหนือ เรียกอีก้อว่า โก๊ะ คนจีนเรี่ยกว่า โวนี หรือฮานี ซึ่งหมายรวมถึงชนเผ่าที่พูดภาษโลโลในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ด้วย
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,388