ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลัวะ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลัวะ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 3,548

[16.121008, 99.3294759, ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลัวะ]

         ก่อนที่ไทยเราจะอพยพลงมาสู่แคว้นสุวรรณภูมิ ตามตำนานของเชียงรายได้บันทึกไว้ว่า ชาวละว้า เคยมีอำนาจปกครองไทยสมัยหนึ่งเป็นเวลาพอสมควร แต่ต่อมาภายหลังได้เกิดการต่อสู้รบพุ่งกัน ไทยประสบชัยชนะได้ฆ่าฟันขับไล่และทำลายล้างชาติละว้า ชาวละว้าหรือลัวะ เป็นจำนวนไม่น้อยที่หนีกระจัดกระจายไปอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง อาศัยอยู่ในบริเวณห่างไกลจากเขตเจริญ โดยตั้งบ้านเรือนรวมกันเป็นหมู่บ้านเฉพาะพวกของเขา ครั้นบ้านเมืองย่างเข้าสู่ความเจริญ  
         ชาวลัวะ มีขนบธรรมเนียมเครื่องแต่งกายต่างกับชาวเหนือ ผู้ชายนุ่งผ้าพื้นโจงกระเบนหรือโสร่ง ผู้หญิงสวมเสื้อสีดำผ่าอกแขนยาว ปักเป็นแผ่นใหญ่ที่หน้าอกตามแถวกระดุม และแถวรังดุมรอบคอ ปักที่ชายแขนเสื้อตรงข้อมือทั้งสองข้างและที่ใต้ตะโพกรอบเอวด้วยดิ้นเลื่อม ไหมเงินคล้ายเสื้อขุนนางไทยโบราณ ผ้าซิ่นติดผ้าขาวสลับดำเล็ก ๆ ตอนกลางเป็นริ้วลาย ชายซิ่นติดผ้าสีดำกว้างประมาณ 1 ศอก ตามปกติผู้หญิงอยู่บ้านไม่ค่อยสวมเสื้อชอบเปิดอกเห็นถัน ถ้าเข้าไปในเมืองก็จะสวมเสื้อแต่งกายอย่างชาวเหนือ ถ้าออกไปหาผักตามป่า เอาผ้าขาวโพกศีรษะสะบายกระบุงก้นลึกโดยเอาสายเชือกคล้องศีรษะตรงเหนือหน้าผาก ใส่คาดคอรองรับน้ำหนักอีกชั้นหนึ่ง ไม่สวมเสื้อ แต่ดึงผ้าซิ่นขึ้นไปเหน็บปิดเหนือถันแบบนุ่งผ้ากระโจมอก เวลาเดินน่ากลัวผ้าซิ่นหลุด แต่ไม่เคยปรากฎเพาะเหน็บแน่น ไปไหนถือกล้องยาทำด้วยรากไม้ไผ่เป็นประจำ เสื้อของผู้ชายอย่างเดียวกันกับผู้หญิง แต่ไม่ปักดอกลวดลายที่คอเสื้อและชายเสื้อ เครื่องแต่งกายดังกล่าวนี้ปัจจุบันไม่ใช้กันแล้ว หันมานิยมเสื้อเชิ้ตแขนยาวผ่าอกกลาง กางเกงจีนธรรมดา แต่ผู้ชายที่นุ่งผ้ากระโจงกระเบนยังมีอยู่บ้าง ชาวลัวะ มีอาชีพทางกสิกรรม ทำนา ไร่ สวน เลี้ยงสัตว์จำพวกวัว ควาย หมู ไก่ หมูของเขาปล่อยให้หากินตามบริเวณบ้าน ถ้าฤดูข้าวเหลืองจึงนำมาขังไว้ในคอกเวลาว่างก็ทอผ้า ตำข้าว จักสาน เช่น กระบุง ตะกร้า ฯลฯ ฤดูแล้งชอบเข้าป่าล่าสัตว์ เมื่อได้สัตว์ป่ามาหนึ่งตัว ผู้ล่าแบ่งเอาไว้ครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งนำไปมอบให้แก่ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านตีเกราะสัญญาณเรียกชาวบ้านมาแบ่งกันไปจนทั่วทุกหลังคาเรือน

ภาพโดย : http://www.hugchiangkham.com/

คำสำคัญ : เครื่องแต่งกาย ชุดประจำชนเผ่า

ที่มา : http://www.hugchiangkham.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลัวะ. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=497&code_db=610007&code_type=02

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=497&code_db=610007&code_type=02

Google search

Mic

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : กระเหรี่ยง

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : กระเหรี่ยง

กะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน กลุ่มนี้หันมานับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ กะเหรี่ยงโปร์นั้นเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเคร่งครัดในประเพณี อาศัยอยู่มากที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และแถบตะวันตกของประเทศไทย คือ กะเหรี่ยงบเว อาศัยอยู่มากที่อำเภอขุนยวม แม่ฮ่องสอน ส่วนปะโอ หรือตองสูก็มีอยู่บ้าง แต่พบน้อยมากในประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 12,200

ลายตัวตั้งตะ

ลายตัวตั้งตะ

ลายบริเวณตีนขาที่เรียกว่า "ตัวตั้งตะ" มีเครื่องแต่งกายที่แตกต่างระหว่างม้งจั๊วะและม้งเด๊อะสำหรับผู้ชายจะเห็นได้ชัดในชุดของผู้ชายม้ง โดยที่กางเกงของผู้ชายม้งจั๊วะจะมีลักษณะเป็นกางเกงหย่อนลงมามาก ขากางเกงบริเวณส่วนบนกว้างมากและมีขอบปลายแคบผิดกับกางเกงของชายม้งเด๊อะซึ่งเหมือนกางเกงขาก๊วยจีนหรือที่ทางภาคเหนือเรียกว่า กางเกงสามดูก ส่วนเสื้อม้งเด๊อะชายจะสั้นกว่าม้งจั๊วะ การสวมเสื้อจะป้ายจากด้านขวาไปด้านซ้าย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 692

ลายน้ําเต้า

ลายน้ําเต้า

บรรพบุรุษของชนเผ่ามูเซอนั้นมีทั้งกลุ่มที่นับถือผีและกลุ่มที่นับถือคริสต์ศาสนา ดังนั้นในการ สร้างสรรค์ศิลปะเอกลักษณ์ลวดลายบนผืนผ้าของชาวมูเซอจึงมักสะท้อนออกมาถึงเรื่องราวที่ความเกี่ยวพันกับ ความเชื่อเรื่องผีวิญญาณ และลวดลายที่มีความสอดคล้องกับความเชื่อในพระคัมภีร์ของคริสต์ศาสนาผสม รวมเข้าอยู่ด้วยกัน ดังเช่น ลายน้ําเต้า หรือในภาษาชนเผ่ามูเซอเรียกว่า อ่าพู้

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 625

ลายกาบาท

ลายกาบาท

ลวดลายบนผืนผ้าแต่ละผืนจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ความชํานาญของผู้วาด ลวดลายมีทั้งลาย ดั้งเดิมที่สืบทอดต่อๆ กันมา และลวดลายทเกี่ ิดจากจิตนาการ การสร้างสรรค์ใหม่ๆ แต่กระนั้นก็ยังมีลักษณะ ลวดลายที่สะทอนความเป ้ ็นชนเผ่าม้งให้ปรากฎอยู่บนผืนผ้าแต่ละผืน เชน่ ลายกากบาท ลายก้นหอย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 907

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า

ชาวเมี่ยน (เย้า) ถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำแยงซี “เมี่ยน” เป็นชื่อที่ทางราชการตั้งให้ หรือบางครั้งจะเรียกว่า “อิ้วเมี่ยน” แปลว่า มนุษย์ ได้รับการจัดให้อยู่ในเชื้อชาติ มองโกลอยด์ คือ อยู่ในตระกูลจีนธิเบต บรรพชนได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ราบรอบทะเลสาปตงถิง แถบแม่น้ำแยงซี ยอมอ่อนน้อมให้ชนชาติผู้ปกครองรัฐ และไม่ยินยอมอยู่ภายใต้การบังคับกดขี่ของรัฐ จึงได้ทำการอพยพเข้าไปในป่าลึกบนภูเขาสูง ได้ตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านด้วยมือของเขาเอง เพื่อปกป้องเสรีภาพจึงถูกขนานนามว่า ม่อ เย้า ซึ่ง เหยา ซี เหลียน ได้บันทึกไว้ในเหลียงซูต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง คำเรียกนี้ี้ถูกยกเลิกไปเหลือแต่คำว่า "เย้า" เท่านั้น จุดเด่นของชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) บ้านปางค่าใต้ ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา ได้แก่ พาสปอร์ตที่ยาวที่สุดในโลก (ปัจจุบันในพื้นที่โครงการหลวงมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า อำเภอปง จังหวัดพะเยา)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,101

ลายอ๊ะหน่ายือ (ฟันหมา)

ลายอ๊ะหน่ายือ (ฟันหมา)

อ๊ะหน่ายือ เป็นภาษาชนเผ่าลีซอ มีความหมายในภาษาไทยหมายถึง ฟันหมา  (สุนัข) เป็นลวดลายโบราณ ดั้งเดิมที่บรรพบุรุษชาวลีซอเลียนแบบรูปร่างของฟันสุนัข ลักษณะของลวดลายมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมเล็กๆ เย็บ เรียงต่อกันเป็นแถวยาว การสร้างลวดลายทําได้โดยการการนําผ้าที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ พับเป็นสามเหลี่ยม นํามาเย็บ ติดกันต่อเนื่องกันเป็นสามเหลี่ยมซิกแซกดูคล้ายฟันของสุนัข

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 949

ลายดอกพริก

ลายดอกพริก

มูเซอ เป็นกลมชนเผ่าที่มีต้นกําเนิดในดินแดนทิเบต ชาวมูเซอเรียกตัวเองว่า ลาหู่ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยว่า คน ส่วนคําว่ามูเซอนั้นเป็นคําในภาษาไทยใหญ่มีความหมายหมายถึง นายพราน หรือ นักล่าสัตว์ ทั้งนี้เพราะในอดีตนั้นผู้ชายชนเผ่ามูเซอส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่มีฝีมือและความชํานาญในด้านการล่าสัตว์ ในประเทศไทยพบชาวมูเซอมากถึง 7 กลุ่ม ได้แก่มูเซอดํา มูเซอแดง มูเซอเหลือง มูเซอขาว มูเซอเฌเล มูเซอ ชีบาเกียว มูเซอลาบา แต่มูเซอกลุ่มใหญ่ๆ ที่มักพบบ่อยได้แก่กลุ่มมูเซอดํา และกลุ่มมูเซอเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,021

ลายตะต่อกิ๊

ลายตะต่อกิ๊

ตะต่อกิ๊ สามารถคั่นลวดลายต่างๆ ได้ทั้งหมด ลายผ้าทอกะเหรี่ยงโบราณมาจากผู้ทำลายชื่อ นางมึเอ โดยนางจะทอผ้าอยู่ในถ้ำ ซึ่งมีอยู่วันหนึ่งมีงูเหลือมเข้าไปในถ้ำนางมึเอเห็นลายงูเหลือมจึงได้นำลายของงูเหลือมมาทอเป็นลายในผืนผ้า และต่อมาก็ได้มีการดัดแปลงจนเกิดเป็นลวดลายต่างในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 695

ลายขิด

ลายขิด

ลายขิด คือ การทอผ้าให้ลวดลายที่ปรากฏเหมือนกันทั้งผืน ลักษณะลายแบบยกดอกในตัว กะเหรี่ยงสะกอนิยมทอผ้าลายขิดเพื่อเย็บเป็นผ้าถุงสำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว ผ้าทอลายขิดของกะเหรี่ยงมีลักษณะคล้ายของชาวอีสาน แต่ลวดลายซับซ้อนน้อยกว่า กะเหรี่ยงนิยมทอลายขิดและใช้ด้ายสลับสีซึ่งแตกต่างจากของ ชาวอีสานที่ไม่นิยมใช้ด้ายสลับสี

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,368

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลีซอ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลีซอ

ลีซูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มธิเบต-พม่า ของชนชาติโลโล ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของชนเผ่าลีซูอยู่บริเวณต้นน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน อยู่เหนือหุบเขาสาละวินในเขตมณฑลยูนนานตะวันตกเฉียงเหนือและตอนเหนือของรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า ชนเผ่าลีซูส่วนใหญ่เชื่อว่าเมื่อ 4,000 ปี ที่ผ่านมา เคยมีอาณาจักร เป็นของตนเอง แต่ต้องเสียดินแดนให้กับจีนและกลายเป็นคนไร้ชาติต่อมาชนเผ่าลีซู จึงได้เคลื่อนย้ายเข้าสู่รัฐฉานตอนใต้ กระจัดกระจายอยู่ตามภูเขาในเมืองต่างๆ เช่น เมืองเชียงตุง บางส่วนอพยพไปอยู่เขตเมืองซือเหมา สิบสองปันนา ประเทศจีน หลังจากนั้นได้อพยพลงมา ทางใต้เนื่องจากเกิดการสู้รบกันระหว่างชนเผ่าอื่น นับเวลาหลายศตวรรษ ชนเผ่าลีซูได้ถอยร่นเรื่อยลงมา จนในที่สุดก็แตกกระจายกัน เข้าสู่ประเทศพม่า จีน อินเดีย แล้วเข้าสู่ประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,471