ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 2,544
[16.121008, 99.3294759, ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า]
ชาวเมี่ยนมีชื่อเสียงในเรื่องการตีเครื่องเงิน ทั้งนี้เพราะเมี่ยนนิยมใช้เครื่องประดับที่เป็นเงินเช่นเดียวกับชาวชนเผ่ากลุ่มอื่นๆ และรูปแบบเครื่องประดับแต่ล่ะชิ้น เป็นงานฝีมือปราณีต เมื่อมีงานประเพณีผู้หญิงเมี่ยนจะประดับเครื่องเงินกันอย่างเต็มที่
การตัดเย็บการปักลายและการใช้สีในการปักลายเครื่องใช้ต่างๆ ทั้งในชีวิตประจำวัน และใช้ในพิธีกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีบวช (กว๋าตัง) และพิธีแต่งงานเช่น ผ้าต้มผาเป็นผ้าคลุมวางทับโครงไว้บนศีรษะของเจ้าสาวในพิธีแต่งงานแบบใหญ่ ฯลฯ แต่ที่เมี่ยนนิยมปักลายมีผ้าห่อเด็กสะพายหลัง [ซองปุ๋ย] และถุงใส่เงิน [ย่านบั่ว] และสิ่งที่เมี่ยนนำมาตกแต่งคือ การถักเส้นด้าย คล้ายดิ้นใช้สำหรับติดปลายชายเสื้อผ้าการใช้ผ้าตัดปะเป็นวิธีการอันเก่าแก่ของเมี่ยนที่ได้ รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนส่วนใหญ่เมี่ยนที่พันหัวแบบหัวแหลม (ก่องเปลวผาน) จะนิยมการตัดปะ ส่วนการใช้พู่ประดับสตรีเมี่ยนทุกกลุ่มจะติดพู่ก้อนกลม สีแดงเป็นแถวยาวและสร้อยลูกปัดติดพู่ห้อย อาจจะใช้ไหมพรมสีแดงจำนวนเส้นคู่ตั้งแต่ 2-8 เส้นติดที่ชายเสื้อสตรีตรงข้างเอว
ประกอบไปด้วยเสื้อตัวสั้นหลวม คอกลมชิ้นหน้าห่ออกอ้อมไปติดกระดุมลูกตุ้มเงินถึงสิบเม็ด เป็นแถวทางด้านขวาของร่างในบางที่อาจนิยม ปักลายดอกที่ผืนผ้าด้วย แล้วสวมกับกางเกงขาก๊วยทั้งเสื้อ และกางเกงตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายทอมือย้อมครามสีน้ำเงิน หรือย้อมดำคนรุ่นเก่ายังสวมเสื้อกำมะหยี่ในงานพิธี แต่ยิ่งอายุมากขึ้นเสื้อของชายเมี่ยนก็จะลดสีสันลงทุกทีจนเรียบสนิท ในวัยชราบุรุษเมี่ยนจะใช้ผ้าโพกศีรษะในงานพิธีเท่านั้น เครื่องแต่งกายเด็ก ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายจะมีการแต่งกายที่คล้ายกับแบบฉบับของการแต่งกายผู้ใหญ่ทั้งหญิง และชาย เพียงแต่เครื่องแต่งกาย ของเด็กจะมีสีสันน้อยกว่าบ้าง เช่น เด็กหญิงอาจจะยังไม่ปักกางเกงให้ เพราะยังไม่สามารถรักษาหรือดูแลให้สะอาดได้ จึงเป็นการสวมกางเกง เด็กธรรมดาทั่วไป ส่วนเด็กชายก็เหมือนผู้ใหญ่ คือ มีเสื้อกับกางเกงและที่ไม่เหมือนคือเด็กชายจะมีหมวกเด็ก ซึ่งทั้งเด็กหญิงและเด็กชายจะมีการปักก็มีลักษณะคล้ายกัน แต่หมวกเด็กผู้ชายจะเย็บด้วยผ้าดำสลับผ้าแดง เป็นเฉกประดับด้วยผ้าตัดเป็นลวดลายขลิบริมด้วยแถบไหมขาวติดปุยไหมพรมแดงบนกลางศีรษะ หรือมีลายเส้นหนึ่งแถวและลายปักหนึ่งแถวสลับกันอย่างละสองแถว สำหรับหมวกเด็กหญิงมีลายปักเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแถว หรือสองแถวและจะมีผ้าดำปักลวดลายประดับไหมพรมสีแดงสดบนกลางศีรษะและข้างหู
ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง
ประกอบไปด้วยกางเกงขาก๊วย ซึ่งเต็มไปด้วยลายปักเสื้อคลุมตัวยาวถึงข้อเท้า มีไหมพรมอยู่รอบคอ ผ้าคาดเอวและผ้าโพกศีรษะ การพันศีรษะต้องพันศีรษะ ด้วยผ้าพื้นเป็นชั้นแรก จากนั้นก็มาพันชั้นนอกทับอีกที การพันชั้นนอกจะใช้ผ้าพันลายปัก ซึ่งมีลักษณะการพันสองแบบคือแบบหัวโต (ก่องจุ้น) และแบบหัวแหลม (ก่องเปลวผาน) และผ้านี้จะพันไว้ตลอดแม้ในเวลานอน หญิงเมี่ยนนุ่งกางเกงขาก๊วยสีดำด้านหน้ากางเกง เป็นลายปักที่ละเอียด และงดงามมาก ลวดลายนี้ใช้เวลาปัก 1 - 5 ปีขึ้นอยู่กับความละเอียดของลวดลาย และเวลาว่างของผู้ปักเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้หญิงเมี่ยนจึงอวดลายปักของตน ด้วยการรวบปลายเสื้อที่ผ่าด้านข้างทั้งสองมามัดด้านหลัง และใช้ผ้าอีกผืนหนึ่งทำหน้าเป็นเข็มขัดทับเสื้อ และกางเกงอีกรอบหนึ่ง โดยทิ้งชายเสื้อซึ่งปักลวดลายไว้ข้างหลัง การตัดเย็บจะตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายพื้นสีดำ ยกเว้นเสื้อคลุมซึ่งอาจใช้ผ้าทอเครื่องในบางกรณี การปักลายของเมี่ยนตามบางท้องถิ่นอาจเหมือนหรือแตกต่างกันบ้างตามความนิยม
คำสำคัญ : เครื่องแต่งกาย ชุดประจำชนเผ่า
ที่มา : http://www.openbase.in.th/node/5466
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า. สืบค้น 12 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=414&code_db=DB0007&code_type=G001
Google search
ผู้หญิงที่เป็นชนเผ่ากระเหรี่ยงส่วนใหญ่จะมีทักษะ ฝีมือในการทอผ้า และปักเม็ดมะเดือย เพราะว่ามีการสืบทอดมาสู่คนรุ่นหลัง โดยมีการรวมกลุ่มทำอาชีพเสริมทอผ้า ปักผ้า ฝีมือ แรงงานในการผลิตเป็นคนในชุมชน นอกจากนั้นยังได้มีการถ่ายทอดความรู้ ทักษะในการทอผ้า ปักผ้าด้วยมะเดือย ตลอดจนวิธีการปลูกมะเดือยจากคนรุ่นเก่าไปยังเด็กๆในโรงเรียน เยาวชนคนรุ่นใหม่ด้วย
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 962
ตะต่อกิ๊ สามารถคั่นลวดลายต่างๆ ได้ทั้งหมด ลายผ้าทอกะเหรี่ยงโบราณมาจากผู้ทำลายชื่อ นางมึเอ โดยนางจะทอผ้าอยู่ในถ้ำ ซึ่งมีอยู่วันหนึ่งมีงูเหลือมเข้าไปในถ้ำนางมึเอเห็นลายงูเหลือมจึงได้นำลายของงูเหลือมมาทอเป็นลายในผืนผ้า และต่อมาก็ได้มีการดัดแปลงจนเกิดเป็นลวดลายต่างในปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 883
มูเซอ เป็นกลมชนเผ่าที่มีต้นกําเนิดในดินแดนทิเบต ชาวมูเซอเรียกตัวเองว่า ลาหู่ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยว่า คน ส่วนคําว่ามูเซอนั้นเป็นคําในภาษาไทยใหญ่มีความหมายหมายถึง นายพราน หรือ นักล่าสัตว์ ทั้งนี้เพราะในอดีตนั้นผู้ชายชนเผ่ามูเซอส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่มีฝีมือและความชํานาญในด้านการล่าสัตว์ ในประเทศไทยพบชาวมูเซอมากถึง 7 กลุ่ม ได้แก่มูเซอดํา มูเซอแดง มูเซอเหลือง มูเซอขาว มูเซอเฌเล มูเซอ ชีบาเกียว มูเซอลาบา แต่มูเซอกลุ่มใหญ่ๆ ที่มักพบบ่อยได้แก่กลุ่มมูเซอดํา และกลุ่มมูเซอเหลือง
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,237
ลายขิด คือ การทอผ้าให้ลวดลายที่ปรากฏเหมือนกันทั้งผืน ลักษณะลายแบบยกดอกในตัว กะเหรี่ยงสะกอนิยมทอผ้าลายขิดเพื่อเย็บเป็นผ้าถุงสำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว ผ้าทอลายขิดของกะเหรี่ยงมีลักษณะคล้ายของชาวอีสาน แต่ลวดลายซับซ้อนน้อยกว่า กะเหรี่ยงนิยมทอลายขิดและใช้ด้ายสลับสีซึ่งแตกต่างจากของ ชาวอีสานที่ไม่นิยมใช้ด้ายสลับสี
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,652
นิ่แมะ (มัดย้อม) มีความสำคัญในอดีตพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้สั่งไว้ว่า ลายนิ่แมะอย่าทำหาย เพราะจะต้องใช้ในงานมงคล เช่น งานแต่งงานของกะเหรี่ยง ลักษณะลวดลายจะปรากฏ เป็นเส้นนูนตามแนวตั้ง หรือแนวนอนก็ได้ หากเป็นลายนูนตามแนวตั้ง การกำหนดลายจะทำพร้อมกับการเรียงด้าย คือใช้จำนวนด้ายเพิ่มขึ้นกว่าปกติมนที่ที่ต้องการให้เป็นลายนูน ส่วนด้ายขวางใช้จำนวนเท่าปกติ การทอวิธีนี้นิยมใช้ทอเสื้อผู้ชายสูงอายุของเผ่ากะเหรี่ยง
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 693
ชาวเมี่ยน (เย้า) ถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำแยงซี “เมี่ยน” เป็นชื่อที่ทางราชการตั้งให้ หรือบางครั้งจะเรียกว่า “อิ้วเมี่ยน” แปลว่า มนุษย์ ได้รับการจัดให้อยู่ในเชื้อชาติ มองโกลอยด์ คือ อยู่ในตระกูลจีนธิเบต บรรพชนได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ราบรอบทะเลสาปตงถิง แถบแม่น้ำแยงซี ยอมอ่อนน้อมให้ชนชาติผู้ปกครองรัฐ และไม่ยินยอมอยู่ภายใต้การบังคับกดขี่ของรัฐ จึงได้ทำการอพยพเข้าไปในป่าลึกบนภูเขาสูง ได้ตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านด้วยมือของเขาเอง เพื่อปกป้องเสรีภาพจึงถูกขนานนามว่า ม่อ เย้า ซึ่ง เหยา ซี เหลียน ได้บันทึกไว้ในเหลียงซูต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง คำเรียกนี้ี้ถูกยกเลิกไปเหลือแต่คำว่า "เย้า" เท่านั้น จุดเด่นของชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) บ้านปางค่าใต้ ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา ได้แก่ พาสปอร์ตที่ยาวที่สุดในโลก (ปัจจุบันในพื้นที่โครงการหลวงมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า อำเภอปง จังหวัดพะเยา)
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,544
ลายดาว เป็นลายผ้าทอของชาวเผ่าม้ง เป็นลายผ้าที่ชาวม้งส่วนใหญ่นิยมใส่กัน เป็นลายที่มีคล้ายดวงดาวบนท้องฟ้า จะมีกลีบเล็กกลีบใหญ่ออกมาเหมือนดวงดาว แล้วแต่คนชอบของลาย และอยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,779
ลีซูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มธิเบต-พม่า ของชนชาติโลโล ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของชนเผ่าลีซูอยู่บริเวณต้นน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน อยู่เหนือหุบเขาสาละวินในเขตมณฑลยูนนานตะวันตกเฉียงเหนือและตอนเหนือของรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า ชนเผ่าลีซูส่วนใหญ่เชื่อว่าเมื่อ 4,000 ปี ที่ผ่านมา เคยมีอาณาจักร เป็นของตนเอง แต่ต้องเสียดินแดนให้กับจีนและกลายเป็นคนไร้ชาติต่อมาชนเผ่าลีซู จึงได้เคลื่อนย้ายเข้าสู่รัฐฉานตอนใต้ กระจัดกระจายอยู่ตามภูเขาในเมืองต่างๆ เช่น เมืองเชียงตุง บางส่วนอพยพไปอยู่เขตเมืองซือเหมา สิบสองปันนา ประเทศจีน หลังจากนั้นได้อพยพลงมา ทางใต้เนื่องจากเกิดการสู้รบกันระหว่างชนเผ่าอื่น นับเวลาหลายศตวรรษ ชนเผ่าลีซูได้ถอยร่นเรื่อยลงมา จนในที่สุดก็แตกกระจายกัน เข้าสู่ประเทศพม่า จีน อินเดีย แล้วเข้าสู่ประเทศไทย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,125
ปัจจุบันกลุ่มกะเหรี่ยงที่ยังคงสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำเผ่าในวิถีชีวิตปกติ มีเพียงกลุ่มโป และสะกอเท่านั้น ส่วนกลุ่มคะยา และตองสูไม่สวมใส่ชุดประจำเผ่าในชีวิตประจำวันแล้ว กะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม นอกจากจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน กะเหรี่ยงกลุ่มเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ ก็มีลักษณะการแต่งกายไม่เหมือนกันด้วย เช่น กะเหรี่ยงโปแถบอำเภอแม่เสรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่งกายมีสีสันมากกว่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ หญิงกะเหรี่ยงสะกอแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตกแต่งเสื้อมีลวดลายหลากหลาย และละเอียดมากกว่าแถบจังหวัดตาก หรือกะเหรี่ยงโปแถบจังหวัดกาญจนบุรี
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,742
ตะโก๊ะเหล่ เป็นลวดลายกะเหรี่ยงที่ใช้กันทั้งกะเหรี่ยงโปและสะกอ ซึ่งสามารถพัฒนาลวดลายต่างๆได้ เช่น ลายตา ลายโค้ง กรรไกร ฯลฯ
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,572