วัดรามรณรงค์
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 1,121
[16.4969438, 99.440908, วัดรามรณรงค์]
ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก ใกล้กับวัดป่าแลง วัดหมาผี วัดตะแบก และวัดเตาหม้อ ในบริเวณนี้มีวัดที่มีชื่อที่น่าสนใจวัดหนึ่ง คือวัดรามรณรงค์ น่าแปลกใจที่ชื่อของวัดดูเป็นทางการกว่าทุกวัด มิใช่ชื่อที่ ชาวบ้านเรียก แต่เป็นชื่อที่ราชการตั้ง วัดรามรณรงค์เป็นวัดขนาดกลางที่ได้รับการขุดแต่งและบูรณะแล้ว
คำว่ารามรณรงค์ มาจากชื่อของเจ้าเมืองกำแพงเพชร ตั้งแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยาแล้ว เพราะผู้มาเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรทุกท่าน ต้องได้รับพระราชทานทินนามว่า พระยารามรณรงค์สงคราม รามภักดี พิริยพาหุปรากรม จนกระทั่งถึงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นับว่า เกือบ 600 ปี ที่เจ้าเมืองกำแพงเพชร ใช้นาม พระยารามรณรงคสงคราม มาโดยตลอด วัดแห่งนี้จึงได้รับนาม ตามชื่อของพระยารามรณรงค์ แต่ไม่มีหลักฐานว่า พระยารามรณรงค์ สร้างวัดนี้ เพราะขนาดของวัดที่เป็นวัดขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับวัดอื่นๆ ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
วัดรามรณรงค์ ด้านหน้ามีวิหารที่งดงาม ลงตัวร่องรอยของการก่อสร้างวิหารยังอยู่ชัดเจน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดเหมาะสมงดงาม พระประธานหายไปเหมือนกับทุกวัด ด้านหลังของฐานพระประธาน มีพระพุทธรูปโกลนศิลาแลง ที่นำลงมาจากฐานประธาน นั่งเรียงรายอยู่ แต่ละองค์ไม่ครบชิ้นส่วนมีส่วนสำคัญที่ถูกทำลายหายไปหมดสิ้น ด้านหลังเป็นเจดีย์ประธานที่งดงาม ตามแบบสถาปัตยกรรมของเมืองกำแพงเพชร ขนาดกำลังดี เหมาะกับพื้นที่ก่อสร้างและวิหารที่งดงามและลงตัว ระหว่างวิหารกับเจดีย์ประธาน มีเจดีย์รายที่ก่อสร้างขนาดใหญ่เกือบเท่าเจดีย์ประธาน ยืนยันจากการก่อสร้าง มีหลักฐานชัดเจนว่าสร้างภายหลัง คาดว่าอาจเป็นที่ เก็บอัฐิ แห่งพระยารามรณรค์สงคราม ท่านใดท่านหนึ่ง จึงเป็นที่มาของชื่อก็ได้
เจดีย์รายที่วัดรามรณรงค์ มีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดใหญ่มาก จนถึงขนาดใดมายืนยันได้ หลักฐานจาก เขตสังฆาวาส ไม่มีหลักฐานให้เห็นเลย แสดงว่าถูกไถกลบเมื่อคราวขุดแต่งจนหมดสิ้น หรือถูกทำลายในคราวขุดค้น ของประชาชน ในยุคกว่าร้อยปีที่ผ่านมา
วัดรามรณรงค์มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน และน่าสนใจแม้เป็นวัดขนาดเล็กแต่ก็น่าสนใจไม่แพ้วัดขนาดใหญ่ทั่วไป มีโอกาสมาชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเมืองมรดกโลก
ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528
ภาพโดย : https://ttspace.wordpress.com/2012/12/17/
คำสำคัญ : วัดรามรณรงค์
ที่มา : http://sunti-apairach.com/03N/03NU.htm
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดรามรณรงค์. สืบค้น 1 เมษายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=290&code_db=610009&code_type=01
Google search
วัดรามรณรงค์ ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก ใกล้กับวัดป่าแลง วัดหมาผี วัดตะแบก และวัดเตาหม้อ ในบริเวณนี้มีวัดที่มีชื่อที่น่าสนใจวัดหนึ่ง คือวัดรามรณรงค์
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,121
วัดบ่อเงิน ตั้งอยู่เลขที่ 264 หมู่ที่ 12 ตำบลเทพนคร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรโดยสำนักพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้ตั้งเป็นวัดบ่อเงิน ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 หลักฐานที่ดินในการตั้งวัดบ่อเงิน เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เล่มที่ 13 (3) หน้า 53 จากที่ดินอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เดิมวัดบ่อเงิน ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 383
วัดเชิงหวาย เป็นวัดร้าง ที่อยู่นอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์ เป็นวัดขนาดใหญ่ มีเจดีย์ประธานทรงลังกา ที่มีรูปทรงชะลูดงดงาม ฐานมี 4 เหลี่ยม ซ้อนกัน 4 ชั้น ยอดเจดีย์พังตกลงมา มีประวัติเล่ากันต่อมาว่า ผู้ขุดค้นและทำลายเจดีย์ เมื่อ 70 ปีก่อนนั้น ได้นำหวาย ในบริเวณวัด คล้องยอดเจดีย์กับต้นไม้ขนาดใหญ่ และโค่นต้นไม้นั้น ทำให้แรงดึงของต้นไม้ทำให้ยอดเจดีย์พังตกลงมาด้วย เหตุที่เรียกว่า วัดเชิงหวาย เพราะ บริเวณนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งของดงหวาย
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,143
มณฑปจตุรมุข ซึ่งมีรูปแบบเหมือนดังที่พบที่วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑปได้กล่าวไว้ว่าพระมหามุนีรัตนโมลีเป็นผู้สร้างและเสด็จพ่อพระยาสอยเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น โดยโบราณสถานแห่งนี้ มีเอกลักษณ์ตรงที่แต่ละทิศเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ปางหรือ 4 อิริยาบถ อันได้แก่ อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) และอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) โดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ กล่าวคือพระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชร คือพระนลาฏกว้างพระหนุเสี้ยม
เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 6,835
วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดท่องเที่ยว 3 วิถี ไฮไลท์สำคัญของทริปนี้ แต่ก่อนจะไปเดินเล่นที่ตลาด แวะมาชมความงดงามของตัวพระวิหาร รวมทั้งเสาและประตูวิหารที่แกะสลักอย่างอ่อนช้อยสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของวิถีภาคเหนือ พร้อมกราบสักการะหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ พระพุทธรูปศิลปะล้านนาในวิหารวัด เดินเข้าไปภายในวิหารรู้สึกได้ถึงความร่มเย็นและเงียบสงบ วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ เป็นวัดในท่าขุนราม ที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่นตามแบบฉบับล้านนาทางเหนือ ที่ไม่ควรพลาดมาเยี่ยมชม
เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 257
อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยวัดตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัดพระแก้ว มีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมเป็นประธาน ล้อมรอบด้วยระเบียบคด ที่เชื่อมต่อกับวิหารด้านทิศตะวันออก ที่สองข้างวิหารมีเจดีย์รายอยู่ข้างละ ๑ องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ
เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 1,482
ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ในศาลาโล่ง คือ พระเทพโมฬี (หลวงพ่อโม้) พระ พุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ก่อ อิฐถือปูน ขนาดหน้าตักกว้าง 10 ศอก 1 คืบ สูง 13 ศอก 1 คืบ ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างครอบองค์เดิมไว้ภายในเมื่อพุทธศักราช 2519 เดิมสันนิฐานเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันบูรณะแล้วเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์
เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 2,854
อยู่ในเขตอรัญญิกบริเวณทุ่งเศรษฐี บริเวณตรงกันข้ามกับสถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วยป้อมทุ่งเศรษฐี วัดหนองพิกุล วัดหนองลังกา วัดหนองพุทรา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล และวัดเจดีย์กลางทุ่งวัดซุ้มกอ ที่เรียกว่าวัดซุ้มกอเพราะ พบพระเครื่อง ที่วงการพระเครื่องเรียกกันว่า พระซุ้มกอ ทุกพิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก และพิมพ์คะแนน จำนวนมากที่วัดนี้
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,766
เป็นวัดที่ก่อสร้างใหญ่โต มีเจดีย์และวิหารมาก อยู่ริมถนนไปอำเภอพรานกระต่าย ห่างจากประตูโคมไฟไปทางเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร กำแพงวัดเป็นศิลาแลง กลางวัดมีฐานพระเจดีย์แปดเหลี่ยมใหญ่กว้างด้านละ 16 เมตร ด้านหน้าวัดอาวาสใหญ่ ริมถนนมีบ่อสี่เหลี่ยมใหญ่ขุดลงไปในพื้นศิลาแลงกว้าง 9 เมตร ยาว 17 เมตร ลึก 7-8 เมตร เรียกว่า “บ่อสามแสน” และตรงด้านหน้าเจดีย์ประธานด้านทิศเหนือ มีบ่อศิลาแลงขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีฐานวิหารทั้งใหญ่และเล็กรวม 10 วิหาร ฐานเจดีย์รวม 9 ฐาน วัดนี้อยู่ริมถนนสะดวกในการเข้าชม
เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 2,502
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองไตรตรึงษ์ มีวังแม่น้ำปิงขนาดใหญ่ใกล้บริเวณวัด คนในท้องถิ่นเรียกว่า "วัดวังพระธาตุ" ภายในมีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์พระประธานทรงข้าวบิณฑ์ (ทรงดอกบัว) ศิลปะสุโขทัย
เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 3,399