วัดหนองปลิง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 3,087
[16.529345, 99.4952823, วัดหนองปลิง]
บนเนินเขา ริมสายน้ำปิงลมพัดโบกโบยเย็นสบายตลอดทั้งวัน…ริมคลองบางทวน ดินแดนทางประวัติศาสตร์ ติดกับค่ายลูกเสือในปัจจุบันสถานที่งดงามตอนเหนือของตัวเมืองกำแพงเพชรที่ตำบลหนองปลิง สร้างตามหลักของฮวงจุ้ย มีวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่งที่ดูสงบเงียบและงดงามและมีระเบียบ ออกจะแตกต่างจากวัดทั่วๆไป ที่สร้างตามแบบของกรมการศาสนา ที่มีการจัดวางและออกแบบเป็นพิมพ์เดียวกันหมดทำให้ขาดความน่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์
วัดที่สวยงามและออกแบบแปลกไม่เหมือนใครนี้คือวัดหนองปลิง การจัดการของวัดยึดประโยชน์การใช้สอย ให้เกิดประโยชน์ต่อมหาชน มากกว่า ท่านเจ้าอาวาส พระครูวิเชียรธรรมนาท หรือหลวงพ่อสีหนาท ใช้เวลาเพียง 6 ปี จัดการวัดหนองปลิง จนอยู่ในสภาพที่ เกิดประโยชน์และรับใช้สังคม มากกว่า เน้นไปที่การปฏิบัติ วิปัสนากรรมฐาน เพื่อให้มนุษย์เข้าใจในการมีสติ เมื่อปฏิบัติงาน ทุกประเภทการออกแบบ การใช้พื้นที่ของวัดด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ของพระครูวิเชียรธรรมนาททำให้อาคารขนาดใหญ่ สามชั้นที่ประกอบด้วย ห้องพัก ชั้นดีสำหรับผู้มาอาศัยปฏิบัติธรรม ชั้นที่2 เป็นห้องสำหรับประกอบพิธีบุญ และชั้นที่ 3 เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ที่ใช้อบรมสัมมนาทำให้การจัดการของวัดนี้จึงแตกต่างจากวัดอื่นๆที่มุ่งสร้างคุณภาพของชีวิตของผู้คน..มากกว่าที่จะรับประโยชน์จากผู้คนด้วยบุคลิกที่เป็นนักประชาสัมพันธ์.นักจัดการนักบริหารและนักปกครอง ของท่านเจ้าอาวาสทำให้วัดหนองปลิงกลายเป็นวัดที่น่าสนใจในสายตาของปัญญาชนอาจจะแปลกแยกกับวัดทั่วไปทำให้คนทั่วไปในบริเวณใกล้เคียงที่มีวิสัยทัศน์ดั้งเดิมมองวัดหนองปลิงด้วยสายตาที่แตกต่างและยังไม่เข้าใจดีพอพราะเจตนารมณ์ของการสร้างวัดหนองปลิงอยู่ที่การสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนโชคดีของชาวกำแพงเพชร ที่ได้พบทางธรรมที่แตกต่างไม่สามัญเหมือนที่ปฏิบัติธรรมแห่งใด
ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=&code_db=DB0011
คำสำคัญ : วัดหนองปลิง
ที่มา : http://www.sunti-apairach.com
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดหนองปลิง. สืบค้น 4 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=298&code_db=DB0002&code_type=W001
Google search
วัดเตาหม้อ เมื่อได้ยินชื่อวัดเตาหม้อ จะไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นวัดสำคัญ คิดว่าเป็นวัดขนาดเล็กวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แต่เมื่อได้มีโอกาสเข้าชมแล้วจะรู้สึกถึงความมหัศจรรย์ ของ วัดเตาหม้อ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,918
หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ จัดเป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ที่มีพุทธลักษณะงดงามหาใดเปรียบ และมีขนาดใหญ่ที่สุดในกำแพงเพชร โดยมีหน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร ถือเป็นหลักฐานสำคัญยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ เป็นวัดตั้งอยู่ที่ตำบลนครชุมภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองกำแพงเพชร คือหลวงพ่ออุโมงค์ เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน มีพุทธลักษณะงดงามเชื่อกันว่าพบหลวงพ่ออยู่ในดินลักษณะคล้ายจอมปลวก จากการขุดคล้ายหลวงพ่ออยู่ภายในอุโมงค์จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์ นอกจากนี้โดรอบวัดมีบรรยากาศที่ไม่แออัด จอแจ ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปยืน “หลวงพ่อประทานพร” ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าหอระฆัง หลังคาของหอระฆังได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมทางเหนือ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกำแพงเพชร ในฐานะหัวเมืองฝ่ายเหนือ
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,929
วัดเป็นแหล่งรวมของศิลปกรรมอันล้ำค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรมและจิตรกรรม ที่ศิลปินได้ถ่ายทอดลักษณะเด่นของคำสอนทางพระพุทธศาสนาออกมาในงานศิลปะอย่างกลมกลืนน่าชื่นชมเป็นพุทธศิลป์ที่ให้คุณค่าทั้งด้านความงามและทั้งเป็นสื่อให้คนได้เข้าถึงธรรมปฏิบัติซึ่งช่วยกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อ่อนโยนและสะอาด บริสุทธิ์ขึ้น พุทธศิลป์ที่ปรากฏในวัดจึงเป็นศิลปะแห่งอุดมคติที่ให้คุณค่าและความหมายเชิงจริยธรรมอย่างสูง สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ศาสนสถานที่สำคัญของวัดให้เป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น พระปรางค์ อุโบสถวิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น นอกจากจะเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนสนใจเข้าวัดมากขึ้น ยังช่วยสะท้อนให้เห็นถึงอายธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และเทคโนโลยี รวมถึงวัดยังเป็นแหล่งเชื่อมโยงความเป็นมาของวัฒนธรรมกับชุมชน และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและอัจฉริยะของบรรพบุรุษที่เกิดการสั่งสมและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 1,818
เป็นวัดที่สำคัญอีกวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งชื่อตามชื่อต้นไม้ในบริเวณวัดคือต้นมะคอก เป็นวัดขนาดกลางที่ยังมิได้ขุดแต่ง วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ไม่พบกำแพงด้านนอกวัดทั้งสี่ด้าน อาจเป็นเพราะวัดมะคอก อาจสร้างก่อนวัดอื่นๆในบริเวณเดียวกัน
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,360
เมื่อท่านชมโบราณสถานฝั่งตะวันออกแม่น้ำปิงตามสมควรแล้ว ถ้ามีเวลาพอก็ข้ามสะพานกำแพงเพชรไปยังเมืองนครชุมฝั่งตะวันตก ท่านจะพบเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์กโลทัยอยู่ทางซ้ายมือ ไม่ห่างจากถนนมากนัก วัดนี้ชื่อวัดเจดีย์กลางทุ่ง ฐานสีเหลี่ยมกว้างด้านละ 17 เมตร มีฐานเชียงซ้อนกัน 3 ชั้น แล้วถึงหน้ากระดานย่อเหลี่ยม 4 มุม ๆ ละ 5 เหลี่ยม ตอนบนเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอกบัวตูม วัดนี้ยังไม่ได้ขุดแต่งบูรณะ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,632
มณฑปจตุรมุข ซึ่งมีรูปแบบเหมือนดังที่พบที่วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑปได้กล่าวไว้ว่าพระมหามุนีรัตนโมลีเป็นผู้สร้างและเสด็จพ่อพระยาสอยเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น โดยโบราณสถานแห่งนี้ มีเอกลักษณ์ตรงที่แต่ละทิศเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ปางหรือ 4 อิริยาบถ อันได้แก่ อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) และอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) โดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ กล่าวคือพระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชร คือพระนลาฏกว้างพระหนุเสี้ยม
เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 7,666
เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง รูปแบบไทยผสมตะวันตก ประดับด้วยไม้ฉลุลายอย่างประณีต เป็นบ้านของ พะโป้ คหบดีชาวพม่า ซึ่งมีอาชีพค้าไม้ที่บริเวณปากคลองสวนหมาก เมืองนครชุม ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ซื้อบ้านมาจากพระยาราม ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ. 2449 ได้เสด็จเยือนบ้านพะโป้ จนเป็นที่มาของชื่อ บ้านห้าง ร.5 ตามประวัติกล่าวว่า มองสุภอ หรือ พระยาตะก่า พี่ชายพะโป้ ได้เข้ามาขอรับเช่าทำการค้าไม้ จากพระยากำแพงเพชร (อ่อง) ในราวปลายรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2418 จนถึงปี พ.ศ. 2418 ได้ถึงแก่กรรม
เผยแพร่เมื่อ 16-02-2018 ผู้เช้าชม 5,213
วัดพระนอน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ (พ.ศ. ๒๑๐๐ – พ.ศ. ๒๒๙๙) เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีแผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ หน้าวัดมีศาลา บ่อน้ำ และห้องน้ำ ภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส มีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธาวาสประกอบด้วย พระอุโบสถ วิหารพระนอน เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เขตสังฆาวาสตั้งอยู่ด้านเหนือของเขตพุทธาวาส เป็นบริเวณที่พักอาศัยของสงฆ์ มีกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ และเว็จกุฎิ (ห้องส้วม) และได้พบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 5,402
อยู่ถัดจากวัดพระสี่อิริยาบถไปทางทิศเหนือประมาณ 100 เมตร สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ผังรวมของวัดแบ่งเขตพุทธาวาสให้อยู่ในกลุ่มกลางล้อมรอบด้วยเขตสังฆาวาสหรือกุฏิสงฆ์ โดยมีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม มีซุ้มทั้ง 4 ด้านเป็นประธาน ด้านหน้าเป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ ยกฐานประทักษิณสูง บนฐานประทักษิณนี้ ประดิษฐานพัทธสีมาไว้ทั้งแปดทิศ มุขด้านหน้าของฐานประทักษิณ มีรูปสิงห์ นาค ประดับ
เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 2,771
วัดรามรณรงค์ ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก ใกล้กับวัดป่าแลง วัดหมาผี วัดตะแบก และวัดเตาหม้อ ในบริเวณนี้มีวัดที่มีชื่อที่น่าสนใจวัดหนึ่ง คือวัดรามรณรงค์
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,280