วัดเสด็จ
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 4,712
[16.4754659, 99.4568595, วัดเสด็จ]
วัดเสด็จ เป็นวัดมหานิกายที่เก่าแก่ไม่ปรากฏชื่อและหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พอจะสันนิษฐานว่าในสมัยเมืองกำแพงเพชรโบราณ ประชาชนในละแวกนี้ร่วมใจกันสร้างขึ้น เดิมชื่อวัดราชพฤกษ์ สาเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดเสด็จ จึงพอจะอนุมานได้เป็น ๒ ทาง คือทางหนึ่งอาจจะมีผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองบ้านเมืองสมัยก่อนเสด็จมาประทับที่วัดนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเคยมีผู้สูงอายุเล่าว่าเคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดเสด็จนี้ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้ จึงได้มีนามว่า “วัดเสด็จ”ก็เป็นได้ วัดนี้แต่เดิมเขตวัดจะถึงริมแม่น้ำปิง ทางวัดได้เคยสร้างศาลาท่าน้ำถนนหน้าวัดคงจะไม่มี แต่จะมีทางสัญจรให้คนเดินผ่านหน้าวัดได้ ครั้นต่อมาเมื่อทางราชการได้ย้ายตัวเมืองมาตั้งใหม่อยู่นอกตัวเมืองเก่าเพราะต้องอาศัยลำแม่น้ำปิง ครั้นเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นและเสด็จสำรวจปูชนียสถานและโบราณสถานในเมืองเก่าด้วย พระวิเชียรปราการท่านเจ้าเมืองในสมัยนั้น ได้ขอที่ประชาชนรวมทั้งที่วัดเสด็จด้วยและได้ตัดถนนจากประตูเมืองเก่า (ประตูน้ำอ้อยทางทิศตะวันตกเฉียงใต้) เป็นเส้นตรงมาทางทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตรและต่อมาถนนนี้ได้รับพระราชทานนามว่า “ถนนราชดำเนิน” วัดเสด็จมีรอยพระพุทธบาทจำลองแต่โบราณเคยเป็นที่เก็บศิลาจารึกนครชุมหลักที่ 3 และตำนานพระเครื่อง เมืองนี้ทั้งสมเด็จพุฒาจารย์ (โต)วัดระฆังและสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชต่างก็ได้เสด็จที่วัดนี้และได้ทำให้หลักฐานดังกล่าวเป็นที่รู้ทั่วไปโดยเฉพาะการนับถือพระเครื่อง การไหว้พระธาตุ และการไหว้พระพุทธบาทคือมีประเพณีการทำบุญกันสืบมาจนปัจจุบัน ที่ชาวบ้านเรียกว่า ทำบุญเพ็ญเดือน 3 มีการทำบุญไหว้พระธาตุที่ตำบลนครชุมและไหว้พระพุทธบาทจำลองที่วัดเสด็จพร้อมกันในปี พ.ศ.2550
วัดเสด็จมีรอยพระพุทธบาทจำลองแต่โบราณเคยเป็นที่เก็บศิลาจารึก และตำนานพระเครื่อง อีกทั้งสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังพร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยเสด็จมายังวัดนี้ทำให้หลักฐานดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่นเรื่องราวพระเครื่องจากตำนาน การทำบุญไหว้พระธาตุไหว้พระพุทธบาทที่มีในจารึกนครชุมซึ่งถือเป็นประเพณีการทำบุญกันสืบมาจนปัจจุบัน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2450 พระครูธรรมาทิมุตมุณี (กลึง) ได้สร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทจำลองไว้และมีการบูรณะอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 ปัจจุบัน มีพระอาจารย์เหว่า “พระครูสุทธิวชิรศาสตร์ เจ้าคณะตำบลในเมืองสระแก้ว เป็นเจ้าอาวาสวัดเสด็จ มีการปรับเปลี่ยนแปลงเเสนาสนะไปในทิศทางที่ดีมากขึ้น และมีวัตถุมงคลยอดนิยมคือ พระบูชากำแพงสามขา ที่สร้างมาแล้วหลายรุ่นเป็นที่นิยมของพุทธศาสนิกชนที่มาเช่าบูชาเป็นมงคลแก่ชีวิตและครอบครัว
ส่วนรอยพระพุทธบาทจำลองของวัดเสด็จนั้น วัดเสด็จเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองแต่โบราณ ทั้งยังเคยเป็นที่เก็บศิลาจารึกนครชุมหลักที่ ๓ ตลอดจนตำนานพระเครื่อง ซึ่งตามประวัติกล่าวว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต่างก็ได้เคยเสด็จมาที่วัดนี้ ในปี พ.ศ.2449 เพื่อสำรวจปูชนียสถานและโบราณสถาน ทำให้วัดนี้เป็นที่รู้จัก ทั่วไปในเรื่องราวเกี่ยวกับพระเครื่องและตำนานต่างๆ จากตำนานการทำบุญไหว้พระธาตุ และการไหว้พระพุทธบาท มีประเพณีสืบมาจนถึงปัจจุบันที่ชาวบ้านเรียกว่า “ทำบุญเพ็ญเดือน ๓” นั่นคือมีการทำบุญ ไหว้พระบรมสารีริกธาตุ ที่วัดพระบรมธาตุนครชุม และไหว้พระพุทธบาทจำลองที่วัดเสด็จพร้อมกัน
การเดินทาง จากถนนพหลโยธินเข้าเมืองกำแพงเพชร ถึงวงเวียนลานโพธิ์ เลี้ยวขวา เรียกว่าถนนราชดำเนิน 1 ขับตรงไปเรื่อยผ่านวัดเทพโมฬี จากนั้นสี่แยกที่ 2 เลี้ยวขวาเข้าซอยเทศา 1 ซอย 7 ถ้ามาจากสิริจัตอุทยานใช้ถนนเทศา 1 หน้าโรงแรมชากังราวริเวอร์วิวเป็นทางวันเวย์ขับตรงไปไม่ไกลวัดเสด็จอยู่ขวามือ
ภาพโดย : http://www.paiduaykan.com/travel/
คำสำคัญ : วัดเสด็จ
ที่มา : อาทิตย์ สุวรรณโชติ. (2562). วัดเสด็จ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/groups/254314207990910/ (เพจรักษ์กำแพง)
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดเสด็จ. สืบค้น 5 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=285&code_db=DB0001&code_type=001
Google search
เป็นอีกวัดหนึ่ง ที่อยู่ในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร อยู่ถัดจากวัด เพการามไปประมาณ 20 เมตร มีต้นตะแบกขนาดใหญ่ยืนตระหง่านอยู่หน้ากำแพงพระวิหาร อายุของต้นตะแบกนี้ราว 200 ปี
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,325
เจดีย์ทรงปราสาท จากการวิเคราะห์องค์ประกอบส่วนต่างๆ เบื้องต้นของเจดีย์วัดพระแก้ว เราได้ตั้งสมมติฐานเบื้องต้นว่าเจดีย์วัดพระแก้ว สรรคบุรีนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากเจดีย์สองแบบด้วยกันเจดีย์แบบแรกคือเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดซึ่งมีเค้าโครงปรากฏในเจดีย์วัดพระแก้วในส่วนฐาน, เรือนธาตุสี่เหลี่ยมและสถูปยอด ส่วนเจดีย์อีกแบบหนึ่งคือเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมที่มีเค้าโครงปรากฏในส่วนบนของเจดีย์ตั้งแต่เรือนธาตุแปดเหลี่ยมขึ้นไปจนถึงส่วนยอด (ลายเส้นที่ 6) ดังนั้นเพื่อที่จะตรวจสอบสมมติฐานดังกล่าว จะได้ทำการศึกษาองค์ประกอบส่วนล่างของเจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดก่อน
เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 2,924
วัดเตาหม้อ เมื่อได้ยินชื่อวัดเตาหม้อ จะไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นวัดสำคัญ คิดว่าเป็นวัดขนาดเล็กวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แต่เมื่อได้มีโอกาสเข้าชมแล้วจะรู้สึกถึงความมหัศจรรย์ ของ วัดเตาหม้อ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,537
เป็นวัดขนาดเล็ก ที่อยู่ริมถนนทางทิศตะวันออกของวัดหมาผี ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญคือ มณฑปยอดเจดีย์ ซึ่งเป็นประธานของวัด มีวิหารขนาดปานกลางอยู่ด้านหน้า มีกำแพงล้อมโดยรอบปัจจุบันเหลือเพียง 3 ด้าน มีบ่อน้ำอยู่หน้าวัด วัสดุหลักในการสร้างวัดคือศิลาแลง ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เหมือนวัดทั่วไปในเขตอรัญญิก
เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,275
วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดท่องเที่ยว 3 วิถี แต่ก่อนจะไปเดินเล่นที่ตลาด แวะมาชมความงดงามของตัวพระวิหาร รวมทั้งเสาและประตูวิหารที่แกะสลักอย่างอ่อนช้อยสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของวิถีภาคเหนือ พร้อมกราบสักการะหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ พระพุทธรูปศิลปะล้านนาในวิหารวัด เดินเข้าไปภายในวิหารรู้สึกได้ถึงความร่มเย็นและเงียบสงบ วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ เป็นวัดในท่าขุนราม ที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่นตามแบบฉบับล้านนาทางเหนือ ที่ไม่ควรพลาดมาเยี่ยมชม
เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,110
วัดดงหวายตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองไปทางทิศเหนือ ห่างจากประตูสะพานโคมไปประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กำแพงเพชร สุโขทัย ตัดผ่านด้านหลังวัด ทำให้บริเวณสังฆาวาส และเจดีย์รายบางส่วนได้หายไปกับการสร้างถนน เหตุที่เรียกว่าวัดดงหวาย เพราะสมัยที่ประชาชนเข้าไปขุดค้นพระเครื่องและพระบูชานั้น บริเวณนั้นเป็นดงหวายจริงๆ กว่าจะเข้าไปถึงเจดีย์และวิหารได้ต้องแหวกดงหวายเข้าไป รกทึบมาก จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดดงหวาย
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,120
เมื่อท่านชมโบราณสถานฝั่งตะวันออกแม่น้ำปิงตามสมควรแล้ว ถ้ามีเวลาพอก็ข้ามสะพานกำแพงเพชรไปยังเมืองนครชุมฝั่งตะวันตก ท่านจะพบเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์กโลทัยอยู่ทางซ้ายมือ ไม่ห่างจากถนนมากนัก วัดนี้ชื่อวัดเจดีย์กลางทุ่ง ฐานสีเหลี่ยมกว้างด้านละ 17 เมตร มีฐานเชียงซ้อนกัน 3 ชั้น แล้วถึงหน้ากระดานย่อเหลี่ยม 4 มุม ๆ ละ 5 เหลี่ยม ตอนบนเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอกบัวตูม วัดนี้ยังไม่ได้ขุดแต่งบูรณะ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,580
เป็นวัดสำคัญ ที่สุดของบ้านร้านดอกไม้ ซึ่งปัจจุบัน เรียนขานกันว่าบ้านลานดอกไม้ ซึ่งมีที่มาว่าเมื่อเจ้าดารารัศมี พระวรชายา ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครา เสด็จ กลับชียงใหม่ ได้ประทับที่ บ้านร้านดอกไม้ ซึ่งประชาชนได้ เตรียมร้านดอกไม้เพื่อเตรียมการรับเสด็จเจ้าดารารัศมี ชาวบ้านกล่าวขานกันว่า เจ้าดารารัศมี เรียกชุมชนแห่งนี้ว่าบ้านร้าน ดอกไม้ ต่อมา เลือนไปกลายเป็นบ้านลานดอกไม้ ในที่สุด
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,924
ในเขตอรัญญิก เมืองนครชุม โบราณสถานอายุ กว่า 700 ปี มีวัดในเขตอรัญวาสี เรียงรายอยู่หลายสิบวัด แต่ที่เหลือจากการถมทำลาย ขุดทิ้ง ไม่ถึง สิบวัด บริเวณทุ่งเศรษฐี ที่มีชื่อเสียง มานาน นับร้อยปี เนื่องจากมีพระเครื่องที่มีชื่อเสียง อาทิ พระซุ้มกอ พระกำแพงเขย่ง พระกำแพงนางพญา วัดที่เหลืออยู่ พอมีหลักฐานที่เห็นเด่นชัดคือ วัดซุ้มกอ วัดหนองพิกุล วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดที่พึ่งสาญสูญ ไปเร็วๆนี้ คือ วัดหนองพุทรา
เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,033
วัดพระนอน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ (พ.ศ. ๒๑๐๐ – พ.ศ. ๒๒๙๙) เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีแผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ หน้าวัดมีศาลา บ่อน้ำ และห้องน้ำ ภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส มีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธาวาสประกอบด้วย พระอุโบสถ วิหารพระนอน เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เขตสังฆาวาสตั้งอยู่ด้านเหนือของเขตพุทธาวาส เป็นบริเวณที่พักอาศัยของสงฆ์ มีกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ และเว็จกุฎิ (ห้องส้วม) และได้พบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 6,873