วัดเสด็จ
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 3,526
[16.4754659, 99.4568595, วัดเสด็จ]
วัดเสด็จ เป็นวัดมหานิกายที่เก่าแก่ไม่ปรากฏชื่อและหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พอจะสันนิษฐานว่าในสมัยเมืองกำแพงเพชรโบราณ ประชาชนในละแวกนี้ร่วมใจกันสร้างขึ้น เดิมชื่อวัดราชพฤกษ์ สาเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดเสด็จ จึงพอจะอนุมานได้เป็น ๒ ทาง คือทางหนึ่งอาจจะมีผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองบ้านเมืองสมัยก่อนเสด็จมาประทับที่วัดนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเคยมีผู้สูงอายุเล่าว่าเคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดเสด็จนี้ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้ จึงได้มีนามว่า “วัดเสด็จ”ก็เป็นได้ วัดนี้แต่เดิมเขตวัดจะถึงริมแม่น้ำปิง ทางวัดได้เคยสร้างศาลาท่าน้ำถนนหน้าวัดคงจะไม่มี แต่จะมีทางสัญจรให้คนเดินผ่านหน้าวัดได้ ครั้นต่อมาเมื่อทางราชการได้ย้ายตัวเมืองมาตั้งใหม่อยู่นอกตัวเมืองเก่าเพราะต้องอาศัยลำแม่น้ำปิง ครั้นเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นและเสด็จสำรวจปูชนียสถานและโบราณสถานในเมืองเก่าด้วย พระวิเชียรปราการท่านเจ้าเมืองในสมัยนั้น ได้ขอที่ประชาชนรวมทั้งที่วัดเสด็จด้วยและได้ตัดถนนจากประตูเมืองเก่า (ประตูน้ำอ้อยทางทิศตะวันตกเฉียงใต้) เป็นเส้นตรงมาทางทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตรและต่อมาถนนนี้ได้รับพระราชทานนามว่า “ถนนราชดำเนิน” วัดเสด็จมีรอยพระพุทธบาทจำลองแต่โบราณเคยเป็นที่เก็บศิลาจารึกนครชุมหลักที่ 3 และตำนานพระเครื่อง เมืองนี้ทั้งสมเด็จพุฒาจารย์ (โต)วัดระฆังและสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชต่างก็ได้เสด็จที่วัดนี้และได้ทำให้หลักฐานดังกล่าวเป็นที่รู้ทั่วไปโดยเฉพาะการนับถือพระเครื่อง การไหว้พระธาตุ และการไหว้พระพุทธบาทคือมีประเพณีการทำบุญกันสืบมาจนปัจจุบัน ที่ชาวบ้านเรียกว่า ทำบุญเพ็ญเดือน 3 มีการทำบุญไหว้พระธาตุที่ตำบลนครชุมและไหว้พระพุทธบาทจำลองที่วัดเสด็จพร้อมกันในปี พ.ศ.2550
วัดเสด็จมีรอยพระพุทธบาทจำลองแต่โบราณเคยเป็นที่เก็บศิลาจารึก และตำนานพระเครื่อง อีกทั้งสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังพร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยเสด็จมายังวัดนี้ทำให้หลักฐานดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่นเรื่องราวพระเครื่องจากตำนาน การทำบุญไหว้พระธาตุไหว้พระพุทธบาทที่มีในจารึกนครชุมซึ่งถือเป็นประเพณีการทำบุญกันสืบมาจนปัจจุบัน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2450 พระครูธรรมาทิมุตมุณี (กลึง) ได้สร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทจำลองไว้และมีการบูรณะอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 ปัจจุบัน มีพระอาจารย์เหว่า “พระครูสุทธิวชิรศาสตร์ เจ้าคณะตำบลในเมืองสระแก้ว เป็นเจ้าอาวาสวัดเสด็จ มีการปรับเปลี่ยนแปลงเเสนาสนะไปในทิศทางที่ดีมากขึ้น และมีวัตถุมงคลยอดนิยมคือ พระบูชากำแพงสามขา ที่สร้างมาแล้วหลายรุ่นเป็นที่นิยมของพุทธศาสนิกชนที่มาเช่าบูชาเป็นมงคลแก่ชีวิตและครอบครัว
ส่วนรอยพระพุทธบาทจำลองของวัดเสด็จนั้น วัดเสด็จเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองแต่โบราณ ทั้งยังเคยเป็นที่เก็บศิลาจารึกนครชุมหลักที่ ๓ ตลอดจนตำนานพระเครื่อง ซึ่งตามประวัติกล่าวว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต่างก็ได้เคยเสด็จมาที่วัดนี้ ในปี พ.ศ.2449 เพื่อสำรวจปูชนียสถานและโบราณสถาน ทำให้วัดนี้เป็นที่รู้จัก ทั่วไปในเรื่องราวเกี่ยวกับพระเครื่องและตำนานต่างๆ จากตำนานการทำบุญไหว้พระธาตุ และการไหว้พระพุทธบาท มีประเพณีสืบมาจนถึงปัจจุบันที่ชาวบ้านเรียกว่า “ทำบุญเพ็ญเดือน ๓” นั่นคือมีการทำบุญ ไหว้พระบรมสารีริกธาตุ ที่วัดพระบรมธาตุนครชุม และไหว้พระพุทธบาทจำลองที่วัดเสด็จพร้อมกัน
การเดินทาง จากถนนพหลโยธินเข้าเมืองกำแพงเพชร ถึงวงเวียนลานโพธิ์ เลี้ยวขวา เรียกว่าถนนราชดำเนิน 1 ขับตรงไปเรื่อยผ่านวัดเทพโมฬี จากนั้นสี่แยกที่ 2 เลี้ยวขวาเข้าซอยเทศา 1 ซอย 7 ถ้ามาจากสิริจัตอุทยานใช้ถนนเทศา 1 หน้าโรงแรมชากังราวริเวอร์วิวเป็นทางวันเวย์ขับตรงไปไม่ไกลวัดเสด็จอยู่ขวามือ
ภาพโดย : http://www.paiduaykan.com/travel/
คำสำคัญ : วัดเสด็จ
ที่มา : อาทิตย์ สุวรรณโชติ. (2562). วัดเสด็จ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/groups/254314207990910/ (เพจรักษ์กำแพง)
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดเสด็จ. สืบค้น 10 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=285&code_db=610009&code_type=01
Google search
การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศไทย ช่วยฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ประชาชนในสังคม ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการเติบโตและแข่งขันกันสูง ทุกประเทศเริ่มนำสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมของตนเองที่เป็นอัตลักษณ์มาเป็นจุดขายในการดึงดูดนักท่องเที่ยวกันอย่างดุเดือด จังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีความโดดเด่นทางอัตลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรม จากการได้รับขึ้นทะเบียนให้เป็นเมืองมรดกโลกจาก UNESCO โดยมีอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นจุดขาย เช่นเดียวกันกับ สุโขทัยและศรีสัชนาลัย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเช่นเดียวกัน
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 494
เป็นวัดที่ก่อสร้างใหญ่โต มีเจดีย์และวิหารมาก อยู่ริมถนนไปอำเภอพรานกระต่าย ห่างจากประตูโคมไฟไปทางเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร กำแพงวัดเป็นศิลาแลง กลางวัดมีฐานพระเจดีย์แปดเหลี่ยมใหญ่กว้างด้านละ 16 เมตร ด้านหน้าวัดอาวาสใหญ่ ริมถนนมีบ่อสี่เหลี่ยมใหญ่ขุดลงไปในพื้นศิลาแลงกว้าง 9 เมตร ยาว 17 เมตร ลึก 7-8 เมตร เรียกว่า “บ่อสามแสน” และตรงด้านหน้าเจดีย์ประธานด้านทิศเหนือ มีบ่อศิลาแลงขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีฐานวิหารทั้งใหญ่และเล็กรวม 10 วิหาร ฐานเจดีย์รวม 9 ฐาน วัดนี้อยู่ริมถนนสะดวกในการเข้าชม
เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 2,841
วัดกรุสี่ห้อง โบราณสถานวัดกรุสี่ห้อง เป็นโบราณสถานอยู่ที่ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏโบราณสถานอยู่ทั่วไป รวมถึงสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์
เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 1,903
วัดบ่อเงิน ตั้งอยู่เลขที่ 264 หมู่ที่ 12 ตำบลเทพนคร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรโดยสำนักพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้ตั้งเป็นวัดบ่อเงิน ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 หลักฐานที่ดินในการตั้งวัดบ่อเงิน เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เล่มที่ 13 (3) หน้า 53 จากที่ดินอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เดิมวัดบ่อเงิน ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 869
วัดป่ามืดในแห่งนี้ ที่น่าชมยิ่ง ไม่เหมือนวัดใดทุกแห่งในกำแพงเพชร คือมณฑปที่ขนาดใหญ่และงดงามที่สุด ในอดีตเมื่อมองภาพย้อนกลับไป วัดป่ามืดในจะงดงามน่าชม เหลือที่จะพรรณนา เมื่อมีโอกาสชมมณฑปของวัดป่ามืดใน จะประทับใจไปอีกนานแสนนาน
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,129
วัดดงหวายตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองไปทางทิศเหนือ ห่างจากประตูสะพานโคมไปประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กำแพงเพชร สุโขทัย ตัดผ่านด้านหลังวัด ทำให้บริเวณสังฆาวาส และเจดีย์รายบางส่วนได้หายไปกับการสร้างถนน เหตุที่เรียกว่าวัดดงหวาย เพราะสมัยที่ประชาชนเข้าไปขุดค้นพระเครื่องและพระบูชานั้น บริเวณนั้นเป็นดงหวายจริงๆ กว่าจะเข้าไปถึงเจดีย์และวิหารได้ต้องแหวกดงหวายเข้าไป รกทึบมาก จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดดงหวาย
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,683
เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง รูปแบบไทยผสมตะวันตก ประดับด้วยไม้ฉลุลายอย่างประณีต เป็นบ้านของ พะโป้ คหบดีชาวพม่า ซึ่งมีอาชีพค้าไม้ที่บริเวณปากคลองสวนหมาก เมืองนครชุม ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ซื้อบ้านมาจากพระยาราม ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ. 2449 ได้เสด็จเยือนบ้านพะโป้ จนเป็นที่มาของชื่อ บ้านห้าง ร.5 ตามประวัติกล่าวว่า มองสุภอ หรือ พระยาตะก่า พี่ชายพะโป้ ได้เข้ามาขอรับเช่าทำการค้าไม้ จากพระยากำแพงเพชร (อ่อง) ในราวปลายรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2418 จนถึงปี พ.ศ. 2418 ได้ถึงแก่กรรม
เผยแพร่เมื่อ 16-02-2018 ผู้เช้าชม 5,231
เป็นวัดที่อยู่ห่างจากทุกวัดในบริเวณเดียวกัน ทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสิงห์ เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 400 เมตร ในป่าค่อนข้างทึบ ห่างไกลผู้คน ไปสำรวจหลายครั้งแล้วยังไม่เคยพบผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวในบริเวณเจดีย์กลม อาจเป็นเพราะถ้ามองภายนอกแล้วเหมือนเนินดินที่ยังไม่มีการขุดแต่งแต่ประการใด
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,303
ที่ท้ายเมืองเก่าของกำแพงเพชร มีวัดอยู่ทางทิศตะวันออก นอกกำแพงเมือง พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐเรียกว่า วัดยม เป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่พักทัพ ของ กษัตริย์ อยุธยาที่ยกมาเมืองกำแพงเพชร หรือไปตีเมืองเหนือ ลักษณะของวัดที่ปรากฏ มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ขนาดใหญ่ที่งดงามและสมบูรณ์ ที่สุด และเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ องค์เดียว ทางฝั่งกำแพงเพชร วัดนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดกะโลทัย เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ในยุคเดียวกับการสร้างเมืองนครชุม มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือเป็นวัดที่ได้เคยใช้เป็นที่ประทับแรมของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งยกทัพไปตีเมืองเหนือ วัดกะโลทัยมีโบราณสถานที่ โดดเด่น คือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เช่นเดียวกับวัดเจดีย์กลางทุ่ง และ วัดวังพระธาตุ
เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 2,613
เป็นวัดขนาดเล็ก ที่อยู่ริมถนนทางทิศตะวันออกของวัดหมาผี ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญคือ มณฑปยอดเจดีย์ ซึ่งเป็นประธานของวัด มีวิหารขนาดปานกลางอยู่ด้านหน้า มีกำแพงล้อมโดยรอบปัจจุบันเหลือเพียง 3 ด้าน มีบ่อน้ำอยู่หน้าวัด วัสดุหลักในการสร้างวัดคือศิลาแลง ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เหมือนวัดทั่วไปในเขตอรัญญิก
เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 1,726