วัดเทพโมฬี
เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้ชม 5,524
[16.4782861, 99.4564753, วัดเทพโมฬี]
วัดเทพโมฬี ชาวกำแพงเพชร เรียกว่า วัดหลวงพ่อโม้ เป็นวัดทิ้งร้างนอกเขตคูเมืองเดิมด้านทิศใต้เป็นเวลานานนับร้อยปี ซากปรักหักพังเป็นศิลาแดง จึงกำหนดอายุว่าน่าจะร่วมสมัยกับโบราณสถาน ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมื่อครั้งยังเป็นเมืองชากังราว เฉพาะองค์หลวงพ่อเทพโมฬี เป็นพระประธานในอุโบสถมาแต่เดิม ได้ชำรุดแตกหักเหลือแต่พระปฤษฎางค์และพระเศียร ส่วนพระกรหลุดร่วงหายไป มีต้นไม้และเถาวัลย์ขึ้นรกคลุมจนแทบมองไม่เห็นองค์พระพุทธรูป นอกจากนี้ยังมี งู แมงป่อง เป็นต้น จำนวนมากมาย ทำให้ไม่มีผู้ใดกล้าเข้าใกล้
ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ นายกาจ รักษ์มณี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ในสมัยนั้น มีความคิดที่จะบูรณะพุทธสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีคนกราบไหว้ เพื่อจะได้เป็นสาธารณสถานให้ชาวกำแพงเพชรได้กราบไหว้บูชา ท่านจึงปรึกษาหารือกับนายจำรูญ อรรถธรรมสุนทร อัยการจังหวัดกำแพงเพชร อัยการจังหวัดจำรูญเรียนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดว่า มีพระพุทธรูปเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์อยู่องค์หนึ่ง ชาวบ้านนับถือกันมาก อยู่หลังบ้านพักอัยการจังหวัด มีนามว่า หลวงพ่อโม้ มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ชาวบ้านนิยมกราบไหว้บูชา บนบานศาลกล่าวกันอยู่เสมอ
ผู้ว่าราชการจังหวัดและอัยการจังหวัดกำแพงเพชร จึงตกลงพร้อมใจที่จะบูรณปฏิสังขรณ์วัดเทพโมฬีแห่งนี้ เพื่อให้เป็นสถานที่บูชากราบไหว้ของชาวกำแพงเพชร
และชาวจังหวัดใกล้เคียงสืบไปภายหน้า โดยชักชวนข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนชาวกำแพงเพชร ให้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ หลวงพ่อเทพโมฬี ควบคู่กับ หลวงพ่อแป้งข้าวหมาก ที่ปรักหักพังด้วยกัน ขึ้นมาใหม่ให้เป็นองค์พระพุทธรูปที่สมบูรณ์ โดยก่อปูนสร้างครอบหุ้มองค์พระพุทธรูปเดิมไว้ภายใน ทางจังหวัดกำแพงเพชรได้ไปกราบอาราธนา หลวงพ่อโง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการปั้นและทำพิธีทางศาสตร์เวทในด้านนี้มาเป็นผู้ปั้น พร้อมทั้งบูรณปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อเทพโมฬี หลวงพ่อโง่นได้เป็นองค์ประธาน ควบคู่กับการประกอบพิธีกรรมตามประเพณีทุกขั้นตอน โดยใช้เวลาปั้นหลวงพ่อเทพโมฬี พร้อมทั้งปรับปรุงบริเวณโดยรอบแล้ว แล้วเสร็จในปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ ในระหว่างนั้น พระครูวิธานวชิรศาสน์ หรือหลวงพ่อภา อดีตเจ้าอาวาสวัดเสด็จ (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) ได้นำพาพระภิกษุ-สามเณรมาช่วยร่วมบูรณปฏิสังขรณ์โดยตลอด
ปัจจุบัน วัดเทพโมฬี เป็นพุทธศาสนสถานแห่งสาธารณชน อยู่ในความดูแลของวัดเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร และถูกบรรจุให้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร ในแต่ละวันจะมีพุทธศาสนิกชนแวะเวียนมากราบไหว้บูชาเพื่อขอพร และแก้บนเมื่อประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนาต่อท่านเสมอมิได้ขาด สำหรับเครื่องแก้บน นอกจากดอกไม้ธูปเทียนแล้วก็มีขนมจีนกับแป้งข้าวหมาก สาธุชนท่านใดที่มีโอกาสเดินทางผ่านไปยังจังหวัดกำแพงเพชร ควรจะแวะไปสักการบูชาขอพรต่อองค์หลวงพ่อเทพโมฬี ที่วัดเทพโมฬี โทร. ๐๘๑-๗๒๗-๒๖๘๙ เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว
ภาพโดย : http://www.paiduaykan.com/travel/ที่เที่ยวกำแพงเพชร
คำสำคัญ : วัดเทพโมฬี
ที่มา : http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16707
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดเทพโมฬี. สืบค้น 25 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=276&code_db=DB0001&code_type=001
Google search
ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เขตอรัญญิก ที่มีวัดที่สำคัญจำนวนมาก เรียงรายติดต่อกัน กำแพงเพชรจึงมีวัดขนาดใหญ่เรียงรายติดต่อกัน จำนวนมากมายกำแพงเพชรเคยเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาทั้งสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ต่อเนื่องกันมาหลายศตวรรษจึงมีวัดมากมายและยิ่งใหญ่อลังการ จนได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก ให้กำแพงเพชรเป็นมรดกโลก
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,753
วัดเป็นแหล่งรวมของศิลปกรรมอันล้ำค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรมและจิตรกรรมที่ศิลปินได้ถ่ายทอดลักษณะเด่นของคำสอนทางพระพุทธศาสนาออกมาในงานศิลปะอย่างกลมกลืนน่าชื่นชมเป็นพุทธศิลป์ที่ให้คุณค่าทั้งด้านความงามและทั้งเป็นสื่อให้คนได้เข้าถึงธรรมปฏิบัติซึ่งช่วยกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อ่อนโยนและสะอาด บริสุทธิ์ขึ้น พุทธศิลป์ที่ปรากฏในวัดจึงเป็นศิลปะแห่งอุดมคติที่ให้คุณค่าและความหมายเชิงจริยธรรมอย่างสูง สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ศาสนสถานที่สำคัญของวัดให้เป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น พระปรางค์ อุโบสถวิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น นอกจากจะเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนสนใจเข้าวัดมากขึ้น ยังช่วยสะท้อนให้เห็นถึงอายธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และเทคโนโลยี รวมถึงวัดยังเป็นแหล่งเชื่อมโยงความเป็นมาของวัฒนธรรมกับชุมชน และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและอัจฉริยะของบรรพบุรุษที่เกิดการสั่งสมและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 3,537
วัดนี้อยู่ริมถนน เมื่อผ่านไปจะเห็นเจดีย์ทรงลังกาขนาดย่อมยอดหัก ซึ่งมองเห็นแต่ไกล โดยเฉพาะวัดนี้มีผู้พบพระพิมพ์เป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว คล้ายลักษณะตัว ก จึงเรียกว่าพระซุ้มกอ โบราณสถานของวัดนี้เป็นเจดีย์แบบทรงลังกายอดหัก มีคูน้ำล้อมรอบบริเวณอีกชั้นหนึ่ง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,870
เจดีย์ทรงปราสาท จากการวิเคราะห์องค์ประกอบส่วนต่างๆ เบื้องต้นของเจดีย์วัดพระแก้ว เราได้ตั้งสมมติฐานเบื้องต้นว่าเจดีย์วัดพระแก้ว สรรคบุรีนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากเจดีย์สองแบบด้วยกันเจดีย์แบบแรกคือเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดซึ่งมีเค้าโครงปรากฏในเจดีย์วัดพระแก้วในส่วนฐาน, เรือนธาตุสี่เหลี่ยมและสถูปยอด ส่วนเจดีย์อีกแบบหนึ่งคือเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมที่มีเค้าโครงปรากฏในส่วนบนของเจดีย์ตั้งแต่เรือนธาตุแปดเหลี่ยมขึ้นไปจนถึงส่วนยอด (ลายเส้นที่ 6) ดังนั้นเพื่อที่จะตรวจสอบสมมติฐานดังกล่าว จะได้ทำการศึกษาองค์ประกอบส่วนล่างของเจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดก่อน
เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 3,157
เป็นวัดที่อยู่ห่างจากทุกวัดในบริเวณเดียวกัน ทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสิงห์ เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 400 เมตร ในป่าค่อนข้างทึบ ห่างไกลผู้คน ไปสำรวจหลายครั้งแล้วยังไม่เคยพบผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวในบริเวณเจดีย์กลม อาจเป็นเพราะถ้ามองภายนอกแล้วเหมือนเนินดินที่ยังไม่มีการขุดแต่งแต่ประการใด
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,458
วัดนาควัชรโสภณ เดิมชื่อ วัดช้าง สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย ประมาณหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นวัดที่มีความสำคัญ ตั้งอยู่หน้าเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงข้ามกับวัดเจ้าเมือง กำแพงเพชร เป็นวัดอยู่ในกลุ่มอรัญญิกด้านทิศตะวันออก รูปแบบสภาพแวดล้อมทั้งหมดได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสมัยลพบุรีหรือขอม นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของถนนพระร่วงตัดผ่านหน้าวัดนี้ด้วย วัดช้างนับเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาประมาณ ๗๐๐ ปีเศษ ลักษณะสภาพโดยทั่วไปของกลุ่มโบราณสถานจะถูกล้อมรอบด้วยคูน้ำกว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๕๐๙ เมตร มีเนื้อที่ตั้งวัด ๖๒ ไร่ การคมนาคมสะดวก บริเวณวัดสะอาด ร่มรื่นด้วยต้นไม้ สวยงามตามธรรมชาติ วัดช้าง เป็นวัดที่ร้างจากพระสงฆ์มาประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ ปี ครั้นลุถึงปีพุทธศักราช พ.ศ. ๒๕๐๙ พระวิชัย ปสนฺโน
เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 3,294
มณฑปจตุรมุข ซึ่งมีรูปแบบเหมือนดังที่พบที่วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑปได้กล่าวไว้ว่าพระมหามุนีรัตนโมลีเป็นผู้สร้างและเสด็จพ่อพระยาสอยเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น โดยโบราณสถานแห่งนี้ มีเอกลักษณ์ตรงที่แต่ละทิศเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ปางหรือ 4 อิริยาบถ อันได้แก่ อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) และอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) โดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ กล่าวคือพระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชร คือพระนลาฏกว้างพระหนุเสี้ยม
เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 9,478
ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ในศาลาโล่ง คือ พระเทพโมฬี (หลวงพ่อโม้) พระ พุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ก่อ อิฐถือปูน ขนาดหน้าตักกว้าง 10 ศอก 1 คืบ สูง 13 ศอก 1 คืบ ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างครอบองค์เดิมไว้ภายในเมื่อพุทธศักราช 2519 เดิมสันนิฐานเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันบูรณะแล้วเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์
เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 5,524
วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่และมีปริศนาอยู่ เนื่องจากไม่มีผู้ใดสืบหาได้ว่าวัดนี้มีชื่อว่าอะไร ใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยไหนไม่มีใครสามารถหาคำตอบได้ แต่มีผู้สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้มีอายุมากกว่า 400 ปี จนเข้าสู่สมัยของพระบามสมเด็จกระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จึงได้มีผู้ก่อตั้งวัดขึ้นมาใหม่ในบริเวณที่ตั้งเดิม ในปีพ.ศ. 2394- 2399 ปัจจุบันได้มีพระเทพปริยัติเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเจ้าอาวาสของวัดแห่งนี้
เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,773
วัดดงหวายตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองไปทางทิศเหนือ ห่างจากประตูสะพานโคมไปประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กำแพงเพชร สุโขทัย ตัดผ่านด้านหลังวัด ทำให้บริเวณสังฆาวาส และเจดีย์รายบางส่วนได้หายไปกับการสร้างถนน เหตุที่เรียกว่าวัดดงหวาย เพราะสมัยที่ประชาชนเข้าไปขุดค้นพระเครื่องและพระบูชานั้น บริเวณนั้นเป็นดงหวายจริงๆ กว่าจะเข้าไปถึงเจดีย์และวิหารได้ต้องแหวกดงหวายเข้าไป รกทึบมาก จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดดงหวาย
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,353