วัดเทพโมฬี

วัดเทพโมฬี

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้ชม 4,567

[16.4782861, 99.4564753, วัดเทพโมฬี]

          วัดเทพโมฬี ชาวกำแพงเพชร เรียกว่า วัดหลวงพ่อโม้ เป็นวัดทิ้งร้างนอกเขตคูเมืองเดิมด้านทิศใต้เป็นเวลานานนับร้อยปี ซากปรักหักพังเป็นศิลาแดง จึงกำหนดอายุว่าน่าจะร่วมสมัยกับโบราณสถาน ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมื่อครั้งยังเป็นเมืองชากังราว เฉพาะองค์หลวงพ่อเทพโมฬี เป็นพระประธานในอุโบสถมาแต่เดิม ได้ชำรุดแตกหักเหลือแต่พระปฤษฎางค์และพระเศียร ส่วนพระกรหลุดร่วงหายไป มีต้นไม้และเถาวัลย์ขึ้นรกคลุมจนแทบมองไม่เห็นองค์พระพุทธรูป นอกจากนี้ยังมี งู แมงป่อง เป็นต้น จำนวนมากมาย ทำให้ไม่มีผู้ใดกล้าเข้าใกล้
          ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ นายกาจ รักษ์มณี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ในสมัยนั้น มีความคิดที่จะบูรณะพุทธสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีคนกราบไหว้ เพื่อจะได้เป็นสาธารณสถานให้ชาวกำแพงเพชรได้กราบไหว้บูชา ท่านจึงปรึกษาหารือกับนายจำรูญ อรรถธรรมสุนทร อัยการจังหวัดกำแพงเพชร อัยการจังหวัดจำรูญเรียนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดว่า มีพระพุทธรูปเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์อยู่องค์หนึ่ง ชาวบ้านนับถือกันมาก อยู่หลังบ้านพักอัยการจังหวัด มีนามว่า หลวงพ่อโม้ มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ชาวบ้านนิยมกราบไหว้บูชา บนบานศาลกล่าวกันอยู่เสมอ
          ผู้ว่าราชการจังหวัดและอัยการจังหวัดกำแพงเพชร จึงตกลงพร้อมใจที่จะบูรณปฏิสังขรณ์วัดเทพโมฬีแห่งนี้ เพื่อให้เป็นสถานที่บูชากราบไหว้ของชาวกำแพงเพชร
และชาวจังหวัดใกล้เคียงสืบไปภายหน้า โดยชักชวนข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนชาวกำแพงเพชร ให้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ หลวงพ่อเทพโมฬี ควบคู่กับ หลวงพ่อแป้งข้าวหมาก ที่ปรักหักพังด้วยกัน ขึ้นมาใหม่ให้เป็นองค์พระพุทธรูปที่สมบูรณ์ โดยก่อปูนสร้างครอบหุ้มองค์พระพุทธรูปเดิมไว้ภายใน ทางจังหวัดกำแพงเพชรได้ไปกราบอาราธนา หลวงพ่อโง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการปั้นและทำพิธีทางศาสตร์เวทในด้านนี้มาเป็นผู้ปั้น พร้อมทั้งบูรณปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อเทพโมฬี หลวงพ่อโง่นได้เป็นองค์ประธาน ควบคู่กับการประกอบพิธีกรรมตามประเพณีทุกขั้นตอน โดยใช้เวลาปั้นหลวงพ่อเทพโมฬี พร้อมทั้งปรับปรุงบริเวณโดยรอบแล้ว แล้วเสร็จในปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ ในระหว่างนั้น พระครูวิธานวชิรศาสน์ หรือหลวงพ่อภา อดีตเจ้าอาวาสวัดเสด็จ (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) ได้นำพาพระภิกษุ-สามเณรมาช่วยร่วมบูรณปฏิสังขรณ์โดยตลอด
         ปัจจุบัน วัดเทพโมฬี เป็นพุทธศาสนสถานแห่งสาธารณชน อยู่ในความดูแลของวัดเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร และถูกบรรจุให้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร ในแต่ละวันจะมีพุทธศาสนิกชนแวะเวียนมากราบไหว้บูชาเพื่อขอพร และแก้บนเมื่อประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนาต่อท่านเสมอมิได้ขาด สำหรับเครื่องแก้บน นอกจากดอกไม้ธูปเทียนแล้วก็มีขนมจีนกับแป้งข้าวหมาก สาธุชนท่านใดที่มีโอกาสเดินทางผ่านไปยังจังหวัดกำแพงเพชร ควรจะแวะไปสักการบูชาขอพรต่อองค์หลวงพ่อเทพโมฬี ที่วัดเทพโมฬี โทร. ๐๘๑-๗๒๗-๒๖๘๙ เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว

ภาพโดย : http://www.paiduaykan.com/travel/ที่เที่ยวกำแพงเพชร

คำสำคัญ : วัดเทพโมฬี

ที่มา : http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16707

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดเทพโมฬี. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=276&code_db=610009&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=276&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดรามรณรงค์

วัดรามรณรงค์

วัดรามรณรงค์ ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก ใกล้กับวัดป่าแลง วัดหมาผี วัดตะแบก และวัดเตาหม้อ ในบริเวณนี้มีวัดที่มีชื่อที่น่าสนใจวัดหนึ่ง คือวัดรามรณรงค์

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,546

บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5

บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5

เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง รูปแบบไทยผสมตะวันตก ประดับด้วยไม้ฉลุลายอย่างประณีต เป็นบ้านของ พะโป้ คหบดีชาวพม่า ซึ่งมีอาชีพค้าไม้ที่บริเวณปากคลองสวนหมาก เมืองนครชุม ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ซื้อบ้านมาจากพระยาราม ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ. 2449 ได้เสด็จเยือนบ้านพะโป้ จนเป็นที่มาของชื่อ บ้านห้าง ร.5 ตามประวัติกล่าวว่า มองสุภอ หรือ พระยาตะก่า พี่ชายพะโป้ ได้เข้ามาขอรับเช่าทำการค้าไม้ จากพระยากำแพงเพชร (อ่อง) ในราวปลายรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2418 จนถึงปี พ.ศ. 2418 ได้ถึงแก่กรรม

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2018 ผู้เช้าชม 6,384

วัดมณฑป

วัดมณฑป

เป็นวัดขนาดเล็ก ที่อยู่ริมถนนทางทิศตะวันออกของวัดหมาผี ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญคือ มณฑปยอดเจดีย์ ซึ่งเป็นประธานของวัด มีวิหารขนาดปานกลางอยู่ด้านหน้า มีกำแพงล้อมโดยรอบปัจจุบันเหลือเพียง 3 ด้าน มีบ่อน้ำอยู่หน้าวัด วัสดุหลักในการสร้างวัดคือศิลาแลง ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เหมือนวัดทั่วไปในเขตอรัญญิก

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,116

วัดเสด็จ

วัดเสด็จ

วัดเสด็จ เป็นวัดมหานิกายที่เก่าแก่ไม่ปรากฏชื่อและหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พอจะสันนิษฐานว่าในสมัยเมืองกำแพงเพชรโบราณ ประชาชนในละแวกนี้ร่วมใจกันสร้างขึ้น เดิมชื่อวัดราชพฤกษ์ สาเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดเสด็จ จึงพอจะอนุมานได้เป็น ๒ ทาง คือทางหนึ่งอาจจะมีผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองบ้านเมืองสมัยก่อนเสด็จมาประทับที่วัดนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเคยมีผู้สูงอายุเล่าว่าเคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดเสด็จนี้ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้ จึงได้มีนามว่า “วัดเสด็จ”ก็เป็นได้

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,484

วัดสิงห์

วัดสิงห์

อยู่ถัดจากวัดพระสี่อิริยาบถไปทางทิศเหนือประมาณ 100 เมตร สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ผังรวมของวัดแบ่งเขตพุทธาวาสให้อยู่ในกลุ่มกลางล้อมรอบด้วยเขตสังฆาวาสหรือกุฏิสงฆ์ โดยมีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม มีซุ้มทั้ง 4 ด้านเป็นประธาน ด้านหน้าเป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ ยกฐานประทักษิณสูง บนฐานประทักษิณนี้ ประดิษฐานพัทธสีมาไว้ทั้งแปดทิศ มุขด้านหน้าของฐานประทักษิณ มีรูปสิงห์ นาค ประดับ

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 3,260

 วัดดงหวาย

วัดดงหวาย

วัดดงหวายตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองไปทางทิศเหนือ ห่างจากประตูสะพานโคมไปประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กำแพงเพชร สุโขทัย ตัดผ่านด้านหลังวัด ทำให้บริเวณสังฆาวาส และเจดีย์รายบางส่วนได้หายไปกับการสร้างถนน เหตุที่เรียกว่าวัดดงหวาย เพราะสมัยที่ประชาชนเข้าไปขุดค้นพระเครื่องและพระบูชานั้น บริเวณนั้นเป็นดงหวายจริงๆ กว่าจะเข้าไปถึงเจดีย์และวิหารได้ต้องแหวกดงหวายเข้าไป รกทึบมาก จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดดงหวาย 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,018

วัดกำแพงงาม

วัดกำแพงงาม

เป็นวัดที่อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรถ้านักท่องเที่ยวเดินทางมาจากทางวัดสิงห์แล้วให้ตรงไปตามทางจนเจอแยกให้ดูป้ายจะมีป้ายบอกว่าวัดกำแพงงามมาทางซ้ายตรงมาประมาณ 100-200 เมตร ก็จะถึงวัดกำแพงงาม  วัดกำแพงงาม เป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ส่วนที่สำคัญที่สุด คือมีกำแพงศิลาแลงที่มั่นคงและงดงามอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ จึงเรียกกันโดยสามัญว่า วัดกำแพงงามเพราะลักษณะของกำแพงงามนักส่วนชื่อเดิมของวัด ไม่มีผู้ใดทราบเช่นเดียวกับวัดอื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,911

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

สถานที่สำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของกำแพงเพชร นอกเหนือไปจากอุทยานประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีอีกที่หนึ่งที่รวบรวมปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานเอาไว้ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเป็นถิ่นกำเนิดของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากตัวเมืองกำแพงเพชรใช้ถนนสายเล็กๆ หมายเลข 1084 เป็นถนนขนานกับแม่น้ำ เชื่อมต่อหลายอำเภอของกำแพงเชรและนครสวรรค์ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,784

โบสถ์ศิลาแลง

โบสถ์ศิลาแลง

วัดเป็นแหล่งรวมของศิลปกรรมอันล้ำค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรมและจิตรกรรมที่ศิลปินได้ถ่ายทอดลักษณะเด่นของคำสอนทางพระพุทธศาสนาออกมาในงานศิลปะอย่างกลมกลืนน่าชื่นชมเป็นพุทธศิลป์ที่ให้คุณค่าทั้งด้านความงามและทั้งเป็นสื่อให้คนได้เข้าถึงธรรมปฏิบัติซึ่งช่วยกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อ่อนโยนและสะอาด บริสุทธิ์ขึ้น พุทธศิลป์ที่ปรากฏในวัดจึงเป็นศิลปะแห่งอุดมคติที่ให้คุณค่าและความหมายเชิงจริยธรรมอย่างสูง สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ศาสนสถานที่สำคัญของวัดให้เป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น พระปรางค์ อุโบสถวิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น นอกจากจะเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนสนใจเข้าวัดมากขึ้น ยังช่วยสะท้อนให้เห็นถึงอายธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และเทคโนโลยี รวมถึงวัดยังเป็นแหล่งเชื่อมโยงความเป็นมาของวัฒนธรรมกับชุมชน และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและอัจฉริยะของบรรพบุรุษที่เกิดการสั่งสมและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 2,595

วัดมะคอก

วัดมะคอก

เป็นวัดที่สำคัญอีกวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งชื่อตามชื่อต้นไม้ในบริเวณวัดคือต้นมะคอก เป็นวัดขนาดกลางที่ยังมิได้ขุดแต่ง วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ไม่พบกำแพงด้านนอกวัดทั้งสี่ด้าน อาจเป็นเพราะวัดมะคอก อาจสร้างก่อนวัดอื่นๆในบริเวณเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,616