ผักหวานบ้าน

ผักหวานบ้าน

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้ชม 3,295

[16.4534229, 99.4908215, ผักหวานบ้าน]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
      ลำต้น ผักหวานป่า เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 5-10 เมตร หรือโตเต็มที่อาจสูงได้มากถึง15 เมตร แต่ที่พบทั่วไปในแปลงปลูกจะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก เพราะมีการตัดยอด และตัดแต่งกิ่ง โดยลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นแตกกิ่งมาก เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทา ผิวลำต้นขรุขระ

     ใบ 
ผักหวานป่าเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ แตกใบออกเป็นใบเดี่ยวๆ เรียงสลับกันบริเวณปลายกิ่ง มีก้านใบสั้น ใบมีรูปไข่ค่อนข้างรี โคนใบสอบ ปลายใยแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ ใบอ่อนหรือยอดอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่มีสีเขียวเข้ม และเป็นมัน แผ่นใบบาง ค่อนข้างกรอบ ขนาดใบกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร

     ดอก 
ดอกผักหวานป่าออกดอกเป็นช่อบริเวณกิ่ง และลำต้น ก้านช่อดอกยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ช่อดอกประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกย่อยมีลักษณะทรงกลม สีเขียวอ่อน ประกอบด้วยดอกตัวผู้ที่ไม่มีก้านดอก 3-5 ดอก ส่วนดอกตัวเมียมีก้านดอกยาวประมาณ 3-8 มิลลิเมตร มักพบเป็นดอกเดี่ยว หรืออาจพบเป็นกลุ่ม 3-5 ดอก

      ผล และเมล็ด 
ผลของผักหวานป่ามีลักษณะกลมเกือบเป็นรูปไข่ ขนาดผล 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 2.2-4 เซนติเมตร เปลือกผลเรียบ และบาง เนื้อผลค่อนข้างหนา และฉ่ำน้ำ ผลอ่อนมีสีเขียว และมีนวลเคลือบ เมื่อสุกมีสีเหลือง และสุกจัดจนร่วงจะมีสีเหลืองเข้ม ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด

ประโยชน์ของผักหวานป่า
– ผักหวานสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงเลียง แกงจืด แกงส้ม เป็นต้น
– นิยมนำผักหวานมาเป็นแกล้มอาหารรสจัดจำพวก ส้มตำและลาบ หรือจิ้มกับแจ่วและน้ำพริกได้ทุกชนิด
– ประโยชน์ของผักหวานป่า คนโบราณนิยมนำมาทำยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคได้หลายชนิด
– มีโปรตีน วิตามินซีและใยอาหารสูง ช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟันและช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี
– รากผักหวานป่า สามารถนำมาต้มเพื่อแก้อาการปวดมดลูกและแก้ดีพิการ
– แก่นต้นผักหวานสามาถนำมาต้มรับประทานแก้อาการปวดตามข้อ
– แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำให้รู้สึกชุ่มชื่นขึ้น
– ผักหวานอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินซี และสารประกอบฟีนอลิก
– ช่วยลดอาการไข้ ทำให้ไข้หายเร็วขึ้น
– ประโยชน์ของผักหวานป่า นำมาทำชาผักหวานป่า ดื่มแก้ร้อนในและต้านอนุมูลอิสระ
– ผักหวานป่ามีประโยชน์แก้อาการกระสับกระส่าย
– ผักหวานป่ามีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง มีประโยชน์ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
– นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของยาแผนไทยเพื่อแก้ธาตุไฟ
– ประโยชน์ของผักหวานป่าช่วยเพิ่มน้ำนมแม่หลังการคลอดบุตรได้ โดยนำมาต้มรวมกับต้นนมสาว
– ใบและรากสามารถนำมาตำเพื่อรักษาแผลได้ ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
พืชสมุนไพรชนิดนี้ปลูกได้ทั่วๆไปเพราะเป็นพืชสมุนไพรครัวเรือน

ภาพโดย : http://www.google.com

คำสำคัญ : สมุนไพร

ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ผักหวานบ้าน. สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=27&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=27&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว (Cow Pea, Chinese Long Bean) เป็นพืชผักสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียก ถั่วนา, ถั่วขาว หรือถั่วฝักยาว ส่วนภาคเหนือเรียก ถั่วหลา, ถั่วปี หรือถั่วดอก เป็นต้น ซึ่งถั่วฝักยาวนี้มีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียและจีน เรียกว่าเป็นพืชผักสมุนไพรที่ชาวเอเชียเรานิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานกันเป็นอย่างมากชนิดหนึ่งเลยก็ว่าได้ และในถั่วฝักยาวนี้ก็ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์เราหลากหลายชนิดเลยทีเดียว เช่น ธาตุเหล็ก, ฟอสฟอรัส, แมกนีเซียม, โพแทสเซียม, วิตามินเอ, วิตามินบี, วิตามินซี, โฟเลต, แมงกานีส ฯลฯ

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 7,565

กระวาน

กระวาน

ต้นกระวานเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้า กาบใบหุ้มซ้อนกันทำให้ดูคล้ายลำต้น ใบกระวานใบเดี่ยว แคบยาว ปลายแหลม ดอกกระวานช่อดอกออกจากเหง้าชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน รูปทรงกระบอก ใบประดับสีเหลืองนวล มีขนคาย เรียงซ้อนสลับกันตลอดช่อ ผลกระวานค่อนข้างกลม สีนวล มี 3 พู ผลอ่อนมีขนและจะร่วงไปเมื่อแก่ ผลแก่จะแตก มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดอ่อนสีขาวมีเยื่อหุ้ม เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำ ทั้งผลและเมล็ดมีกลิ่นหอม

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,386

ขมิ้นเครือ

ขมิ้นเครือ

ต้นขมิ้นเครือ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยหรือไม้เถาเนื้อแข็ง ทุกส่วนเกลี้ยง ยกเว้นมีต่อมที่ใบ ลำต้นมีเนื้อไม้เป็นสีเหลือง เมื่อสับหรือฟันจะมียางสีเหลือง มีรอยแผลเป็นตามก้านใบที่หลุดร่วงไป ซึ่งรอยแผลเป็นจะมีลักษณะเป็นรูปถ้วย[1],[2] ส่วนรากสดที่อายุน้อยและขนาดเล็กจะมีรูปร่างโค้งงอไปมา ลักษณะค่อนข้างแบน และมีร่องคล้ายแอ่งเล็กอยู่ตรงกลางตลอดความยาวของราก ส่วนผิวนั้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเขียวหรือเป็นสีเทาปนน้ำตาล บางตอนของรากมีรอยแตกเล็ก ๆ พาดขวางอยู่ ส่วนรากที่มีอายุมากและมีขนาดใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 5,324

ตองกง

ตองกง

ต้นตองกง จัดเป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า มีอายุหลายปี ลำต้นกลม มีลักษณะคล้ายต้นไผ่ ลำต้นตั้งมีกอที่แข็งแรงมาก มีความสูงของต้นประมาณ 3-4 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและส่วนของลำต้นหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดิน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง โดยสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศอินเดีย จีน หม่า รวมไปถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยขึ้นเป็นวัชพืชตามที่โล่งสองข้างทาง ตามไหล่เขา และตามชายป่า ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,800 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,448

ชะอม

ชะอม

ชะอม (Cha-om, Acacia, Climbing Wattle) เป็นพืชที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ผักละหรือผักหละ ส่วนภาคอีสานเรียก ผักขะ เป็นต้น ซึ่งชะอมนี้เป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยทั่วทุกภาครู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว และมักนำมาประกอบอาหารต่างๆ โดยเฉพาะไข่ทอดชะอม ที่เป็นเมนูโปรดของใครหลายๆคนเลยทีเดียว แถมในชะอมนี้ยังมีประโยชน์ต่างๆมากมายอีกด้วย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักนิยมนำชะอมมาปลูกไว้บริเวณรั้วบ้าน เพราะมีหนามแหลมและยังสามารถรับประทานได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,208

กระทิง

กระทิง

ต้นกระทิงเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มกลมหรือรูปไข่ ทรงพุ่มแน่นทึบ แตกกิ่งในระยะต่ำ ลำต้นมักจะบิดงอไม่ตั้งตรง โคนต้นเป็นพูพอนเล็กน้อย เปลือกสีเทาเข้มเกือบดำค่อนข้างเรียบ แตกเป็นสะเก็ดหรือร่องเล็กๆ ทั่วไป มียางสีเหลืองอมเขียวซึมออกมาจากร่องของเปลือกที่แตก ใบกระทิงใบเดี่ยวออกเรียงตรงกันข้าม รูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 8-16 เซนติเมตร ปลายใบกว้างกลมเว้าเข้าเล็กน้อย แล้วค่อยสอบเรียวจากกลางใบไปสู่โคนใบและก้านใบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันเกลี้ยงและหนา 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,786

ผักปลาบใบแคบ

ผักปลาบใบแคบ

ลักษณะทั่วไป  เป็นพืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตโดยอยู่ข้ามปีได้ มีลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ลำต้นกลม เรียบหรือมีขนเล็กน้อย อวบน้ำ จะชูส่วนปลายยอด แตกแขนงบริเวณโคนต้น รากฝอยแตกออกตามข้อของลำต้น  ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ ใบรูปร่างยาวรีรูปหยก ปลายใบแหลมไม่มีก้านใบ ฐานใบเรียวและแผ่ออกเป็นกาบห่อหุ้มลำต้น ใบกว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-7 ซม.  ดอกออกเป็นช่อชนิดไซม์ บนก้านช่อดอกจะมีใบประดับดอก สีเขียวคล้ายใบเป็นแผ่นกลม หรือรูปหัวใจห่อหุ้มดอกเอาไว้ ช่อดอกแตกออกเป็น 2 กิ่ง กิ่งบนมีดอกย่อย 1-3 ดอก ก้านดอกยาว กิ่งล่างมีดอกย่อย 2-5ดอก ก้านดอกสั้น ดอกย่อยแต่ละดอกจะมีกลีบดอกด้านล่าง มีเกสรตัวผู้ 6 อัน เป็นหมัน 4 อัน เกสรตัวเมียมีท่อรังไข่ยาวสีขาว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,046

เขยตาย

เขยตาย

เขยตาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำตั้งแต่โคนต้นเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา ผิวลำต้นตกกระเป็นวงสีขาว ใบออกดกทึบ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เป็นพืชในเขตร้อนของทวีปเอเชียและออสเตรเลีย พบได้ในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ประเทศในแถบคาบสมุทรอินโดจีน สุมาตราและชวา ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 7,592

แตงกวา

แตงกวา

แตงกวา (Cucumber) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก แตงร้าน, แตงช้าง, แตงขี้ควาย หรือแตงขี้ไก่ ส่วนชาวเขมรเรียก ตาเสาะ, แตงฮัม, แตงเห็น, แตงยาง หรือแตงปี เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างแตงกวานั้นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย ส่วนประเทศไทยเราก็นิยมปลูกแตงกวาเช่นกัน เรียกได้ว่าปลูกกันเป็นอาชีพเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นพืชที่ได้รับความนิยมนำมารับประทานกันไม่ว่าจะเป็นเครื่องเคียงแก้เลี่ยนอยู่ในเมนูต่างๆ หรือนำมารับประทานคู่กับน้ำพริกก็อร่อย หรือนำมาใช้ประโยชน์ในการบำรุงผิวพรรณก็เยี่ยม แถมยังเป็นพืชผักที่สามารถปลูกได้ง่าย รวมทั้งให้ผลผลิตเร็ว และเก็บรักษาก็ง่ายกว่าพืชผักชนิดอื่นๆ ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,491

กระทุงหมาบ้า

กระทุงหมาบ้า

ต้นกระทุงหมาบ้า จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ยาวได้ถึง 10 เมตร เถาจะพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ ลำต้นมีลักษณะเป็นเถากลม เปลือกเถาอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนเถาแก่เป็นสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลอ่อน ตามผิวกิ่งตะปุ่มตะป่ำและมีช่องอากาศ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำดี ชอบที่ชื้น ทนแล้งได้ดี มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียจนถึงจีนตอนใต้ ไต้หวัน ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยพบขึ้นตามบริเวณป่าดิบ ป่าราบ หรือบริเวณชายป่าทั่วทุกภาคของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 2,083