วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้ชม 8,378

[16.501357, 99.514672, วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน]

            วัดพระสี่อิริยาบถหรือวัดพระยืน ตั้งอยู่ที่ ถนน อบจ. กพ. 1040 ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง อยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 20-22 เป็นวัดขนาดใหญ่และมีโบราณสถานที่เป็นเอกลักษณ์ คือ มณฑปพระสี่อิริยาบถ ซึ่งเป็นรูปแบบเหมือนดังที่พบที่ วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินของพระมหามุนีรัตนโมลี สมเด็จพระสังฆราชเมืองกำแพงเพชรกล่าวถึง พระยาสอยหรือเจ้าแสนสอยดาวเสวยราชย์ในเมืองกำแพงเพชร และสมเด็จพระมหามุนีรัตนโมลีได้สร้างวัดนี้ถวาย ครั้งแรกเรียกว่า วัดพระยืน เพราะเห็นพระยืนเพียงองค์เดียว ต่อมาเรียกพระสี่อิริยาบถ เพราะว่ามีทั้งสี่ด้าน คือ ยืน เดิน นั่ง นอน มีพระพุทธรูปในอริยาบถที่คงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์และมีความงดงามทางด้านศิลปะ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์        
             เป็นวัดที่ทำจากศิลาแลง มีมณฑปจตุรมุขเป็นที่ประทับของพระพุทธรูปขนาดใหญ่มี สี่อริยาบถ พบหลักฐานว่ามีการลงรักปิดทองทั้งองค์ ลักษณะสกุลช่างกำแพงเพชรในศิลปะสุโขทัย มีบ่อน้ำและที่อาบน้ำอยู่หน้า วัดเช่นเดียวกับวัดพระนอน กำแพงเป็นศิลาแลงปักตั้งล้อม 4 ด้าน ด้านหน้าวัดมีวิหารที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ยกฐานสูง 2 เมตร กว้าง 17 เมตร ยาวกว่า 29 เมตร นับเป็นวิหารที่ใหญ่ที่สุดในอุทยานประวัติศาสตร์ เสาวิหารมี 4 เสา เป็น 5 ห้อง 2 แถว รวม 7 ห้อง มีเสาลูกกรง เป็นศิลาแลงเหลี่ยม และมีทับหลังบนมุขหน้าวิหาร สิ่งสำคัญของวัดได้แก่ มณฑปจัตุรมุข แต่ละทิศประดิษฐาน พระพุทธรูป 4 ปาง คือ เดิน นั่ง ยืน และนอน อยู่โดยรอบทั้ง 4 ทิศตามลำดับ ปัจจุบันเหลือเพียง พระยืนขนาดใหญ่ที่สวยงาม พระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย แบบกำแพงเพชรคือ พระนลาฏกว้าง และพระหนุเสี้ยม โบราณสถานสำคัญภายในวัด ประกอบด้วย
             พระมหาวิหาร เป็นวิหารขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าสุด พระวิหารตั้งอยู่บนฐาน 2 ชั้น ฐานไพทีชั้นล่าง ซึ่งก่อด้วยศิลาแลง เป็นฐานแบบบัวลูกแก้วอกไก่ รอบลานประทักษิณ ประดับด้วยราวลูกกรงศิลาแลงโดยรอบ ฐานวิหารชั้นบน มีมุขเด็จทั้งด้านหน้า และด้านหลัง ด้านบนมีแท่นอาสนะสงฆ์ และฐานชุกชี สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป
             มณฑปพระสี่อิริยาบถ เป็นมณฑปแบบจัตุรมุขขนาดใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ ใช้แทนเจดีย์ประธาน ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหาร ล้มรอบด้วยกำแพงแก้ว รอบมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นทั้งสี่ด้าน ประกอบด้วย อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) องค์พระได้ชำรุดไปมาก มีเพียงพระอูรุปรากฏให้เห็น อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) สภาพชำรุดมากเหลือเพียงส่วนของฐานและอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) สภาพชำรุดหมด จนไม่เห็นองค์พระโดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) พระพักตร์อิ่มเอิบ พระโมลีขมวดใหญ่ ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ
             พระเจดีย์ประจำมุม เป็นพระเจดีย์ ทรงปราสาทยอดระฆัง ตั้งอยู่มุมทั้งสี่ของมณฑป ต่อเนืองกับกำแพงแก้ว
             บ่อตัดศิลาแลง ตั้งอยู่ด้านหน้าวัด เป็นบ่อที่ใช้ในการตัดศิลาแลงให้เป็นรูปทรงต่างๆ ก่อนที่จะนำไปใช้ในการสร้างวัด 
             ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528 

ภาพโดย : http://gotravelstation.igetweb.com/index.php?mo=3&art=42079701

คำสำคัญ : วัดพระสี่อิริยาบถ วัดพระยืน วัดเชตุพน

ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/guidepong/2011/03/16/entry-2

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=269&code_db=DB0014&code_type=F001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=269&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดท่องเที่ยว 3 วิถี แต่ก่อนจะไปเดินเล่นที่ตลาด แวะมาชมความงดงามของตัวพระวิหาร รวมทั้งเสาและประตูวิหารที่แกะสลักอย่างอ่อนช้อยสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของวิถีภาคเหนือ พร้อมกราบสักการะหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ พระพุทธรูปศิลปะล้านนาในวิหารวัด เดินเข้าไปภายในวิหารรู้สึกได้ถึงความร่มเย็นและเงียบสงบ วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ เป็นวัดในท่าขุนราม ที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่นตามแบบฉบับล้านนาทางเหนือ ที่ไม่ควรพลาดมาเยี่ยมชม

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 819

วัดเสด็จ

วัดเสด็จ

วัดเสด็จ เป็นวัดมหานิกายที่เก่าแก่ไม่ปรากฏชื่อและหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พอจะสันนิษฐานว่าในสมัยเมืองกำแพงเพชรโบราณ ประชาชนในละแวกนี้ร่วมใจกันสร้างขึ้น เดิมชื่อวัดราชพฤกษ์ สาเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดเสด็จ จึงพอจะอนุมานได้เป็น ๒ ทาง คือทางหนึ่งอาจจะมีผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองบ้านเมืองสมัยก่อนเสด็จมาประทับที่วัดนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเคยมีผู้สูงอายุเล่าว่าเคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดเสด็จนี้ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้ จึงได้มีนามว่า “วัดเสด็จ”ก็เป็นได้

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,166

วัดสว่างอารมณ์

วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ จัดเป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ที่มีพุทธลักษณะงดงามหาใดเปรียบ และมีขนาดใหญ่ที่สุดในกำแพงเพชร โดยมีหน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร ถือเป็นหลักฐานสำคัญยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ  เป็นวัดตั้งอยู่ที่ตำบลนครชุมภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองกำแพงเพชร คือหลวงพ่ออุโมงค์ เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน มีพุทธลักษณะงดงามเชื่อกันว่าพบหลวงพ่ออยู่ในดินลักษณะคล้ายจอมปลวก จากการขุดคล้ายหลวงพ่ออยู่ภายในอุโมงค์จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์ นอกจากนี้โดรอบวัดมีบรรยากาศที่ไม่แออัด จอแจ ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปยืน “หลวงพ่อประทานพร” ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าหอระฆัง หลังคาของหอระฆังได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมทางเหนือ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกำแพงเพชร ในฐานะหัวเมืองฝ่ายเหนือ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,488

วัดมะคอก

วัดมะคอก

เป็นวัดที่สำคัญอีกวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งชื่อตามชื่อต้นไม้ในบริเวณวัดคือต้นมะคอก เป็นวัดขนาดกลางที่ยังมิได้ขุดแต่ง วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ไม่พบกำแพงด้านนอกวัดทั้งสี่ด้าน อาจเป็นเพราะวัดมะคอก อาจสร้างก่อนวัดอื่นๆในบริเวณเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,502

วัดเจดีย์กลม

วัดเจดีย์กลม

เป็นวัดที่อยู่ห่างจากทุกวัดในบริเวณเดียวกัน ทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสิงห์ เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 400 เมตร ในป่าค่อนข้างทึบ ห่างไกลผู้คน ไปสำรวจหลายครั้งแล้วยังไม่เคยพบผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวในบริเวณเจดีย์กลม อาจเป็นเพราะถ้ามองภายนอกแล้วเหมือนเนินดินที่ยังไม่มีการขุดแต่งแต่ประการใด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,597

วัดศรีโยธิน

วัดศรีโยธิน

หลวงพ่อศรีสรรเพชญ์วัดศรีโยธิน ที่วัดศรีโยธิน ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นวัดที่สร้างโดยรอ.ทำนอง โยธินธนสมบัติ ต่อมาท่านได้บวชและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส นาม หลวงพ่อทำนอง คุณังกะโร เมื่อท่านสร้างวัด ท่านนิมิตว่า มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งมาเข้านิมิตและจะมาช่วยสร้างวัด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,015

วัดหมาผี

วัดหมาผี

วัดหมาผีเป็นวัดที่อยู่ในบริเวณอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ตัววัดมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีกำแพงศิลาแลงคั่นกลางระหว่างเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสโดยมีคูน้ำล้อมรอบ ปัจจุบันเขตสังฆาวาสไม่ปรากฏหลักฐานของสิ่งก่อสร้าง ส่วนเขตพุทธาวาสปรากฏสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์ประธาน และวิหาร

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,949

วัดป่าแลง

วัดป่าแลง

วัดป่าแลง ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีวัดร้างที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมากมายนับร้อยวัด วัดป่าแลงเป็นวัดหนึ่งที่อยู่หน้าวัดหมาผี ได้รับการบูรณะและตกแต่งอย่างงดงามถูกต้องตามหลักการและนับว่าสมบูรณ์ที่สุดโดยมีข้อมูลอย่างครบถ้วน นับว่าน่าศึกษายิ่งนัก วัดป่าแลง เป็นวัดขนาดกลางมีเนื้อที่ 21,700 ตารางเมตร มีบ่อแลงโดยรอบ จึงเรียกกันตามชื่อสามัญว่าวัดป่าแลง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,433

วัดช้างรอบ

วัดช้างรอบ

"วัดช้างรอบ" ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดช้างรอบ เป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่บนเนินสูง มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางลานสี่เหลี่ยมที่ฐานเป็นรูปช้างครึ่งตัวเห็นแต่ 2 ขาหน้า หันศรีษะออกจากฐานรายรอบเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่อง จำนวน 68 เชือก

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 9,617

วัดเจดีย์กลางทุ่ง

วัดเจดีย์กลางทุ่ง

เมื่อท่านชมโบราณสถานฝั่งตะวันออกแม่น้ำปิงตามสมควรแล้ว ถ้ามีเวลาพอก็ข้ามสะพานกำแพงเพชรไปยังเมืองนครชุมฝั่งตะวันตก ท่านจะพบเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์กโลทัยอยู่ทางซ้ายมือ ไม่ห่างจากถนนมากนัก วัดนี้ชื่อวัดเจดีย์กลางทุ่ง ฐานสีเหลี่ยมกว้างด้านละ 17 เมตร มีฐานเชียงซ้อนกัน 3 ชั้น แล้วถึงหน้ากระดานย่อเหลี่ยม 4 มุม ๆ ละ 5 เหลี่ยม ตอนบนเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอกบัวตูม วัดนี้ยังไม่ได้ขุดแต่งบูรณะ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,049