กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 3,340
[16.473683, 99.502732 , กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี ]
กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ก่อนถึงตัวเมืองกำแพงเพชรเล็กน้อย จะเห็นกำแพงศิลาแลงเป็นป้อม มีใบเสมาเหลืออยู่ ป้อมก่อด้วยศิลาแลงกว้าง 83.5 เมตร รูปสี่เหลี่ยมสูงประมาณ 6 เมตร มีประตูทางเข้าตรงกลางป้อม 4 ด้าน ทางด้านในมีเชิงเทินพอเดินหลีกกันได้ ตรงฐานป้อมใต้เชิงเทินเป็นห้องมีทางเดินต่อต่อกันได้ ตรงมุมมีป้อมยื่นออก 4 มุม มีรูมองอยู่ติดกับพื้น การก่อสร้างป้อมนี้มีความมั่นคงมาก แต่ด้านทิศเหนือถูกรื้อออกเสียด้านหนึ่ง จึงเหลือเพียง 3 ด้าน บริเวณนี้มีวัดเก่าแก่หลายวัด เช่น วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ วัดหนองลังกา เป็นต้น ที่สำคัญ ต่อนักเลงพระก็คือ เป็นบริเวณที่พบพระเครื่องลือชื่อของเมืองกำแพงเพชร เช่น พระซุ้มกอ ลีลาเม็ดขนุน ทุ่งเศรษฐี หรือกำแพงเขย่ง เป็นต้น
หน่วยงานที่ดูแลรักษา: กรมศิลปากร
1. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478
2. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 วันที่ 3 มกราคม 2480
3. ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85 ตอนที่ 41 วันที่ 7 พฤษภาคม 2511
คำสำคัญ : ป้อมทุ่งเศรษฐี
ที่มา : http://www.sac.or.th/databases/archaeology/archaeology/ป้อมทุ่งเศรษฐี
รวบรวมและจัดทำข้อมูล :
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี . สืบค้น 10 มิถุนายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=236&code_db=610002&code_type=01
Google search
ริมถนนพระร่วง ใกล้กับอุโมงค์ 32 ปล่อง และจระเข้ปูน มีสถานที่สำคัญสถานที่หนึ่ง ชาวกำแพงเพชรเรียกกันว่า สระมรกต มีลักษณะพิเศษคือมีน้ำขังอยู่ตลอดปี ไม่ว่าจะเป็นฤดูอะไร แม้ฤดูแล้งน้ำก็ไม่แห้ง ทั้งๆ ที่ลึึกไม่ถึงเมตร เป็นลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เมตร มีอยู่ 3 สระติดต่อกัน เป็นเรื่องที่เล่าขานกันเป็นตำนานว่า เมื่อพระร่วงเจ้าเสด็จมาประทับที่อุโมงค์ 32 ปล่อง ได้นำนางสนมกำนัลมาอาบน้ำที่สระมรกตแห่งนี้ พระร่วงได้สาบสรรค์ไว้ว่าให้มีน้ำตลอดปี ไม่ให้แห้ง
เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,374
กรมศิลปากรได้ดำเนินการคุ้มครองป้องกันโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรและเมือนครชุม โดยการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2480 ต่อมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2511 ในส่วนของการขุดแต่ง บูรณะ และพัฒนาโบราณสถาน ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรจึงได้บรรจุงานปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525 – 2529) โดยใช้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่ และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือเสื่อมค่า
เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 1,793
บรรยากาศริมน้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนกำแพงเพชร อีกหนึ่งสถานที่ ช่วงเวลายามเย็นจะมีประชาชนมาวิ่งออกกำลังกาย นั่งชมบรรยากาศริมปิง เดินทางมาเป็นครอบครัว เป็นคู่ และบริเวณแม่น้ำปิง ตรงข้ามกับสวนสิริจิตอุทยาน ยังมีบริการนวดผ่าเท้า เพื่อผ่อนคลายท่ามกลางบรรยากาศที่สวยงามยามเย็นอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 1,071
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,364
ผู้ศรัทธาต่อองค์ปึงเถ่ากง-ปึงเถ่าม่า เจ้าพ่อเจ้าแม่กำแพงเพชร องค์เจ้าพ่อเสือ เจ้าแม่ทับทิมและองค์เทพภายในศาลทุกองค์ ผู้ที่ได้มากราบไหว้อธิษฐานจิตต่อศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ปึงเถ่าม่า หากปรารถนาสิ่งใดจะสมหวังตั้งใจ สำเร็จรุ่งเรืองถึงลูกหลาน ร่ำรวยด้วยเงินทอง สมบูรณ์สุขด้วยลาภยศและวาสนา สุขกายใจไร้โรคาเบียดเบียนด้วยผลจากความเพียรที่ผู้กราบไหว้ได้สร้างความดีมาอย่างต่อเนื่อง ตามกำลังแห่งศรัทธาและความมีคุณธรรมอย่างเต็มเปี่ยมในจิตใจ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,335
วัดสุนทริกาวาส ตั้งอยู่เลขที่ ๙๒ บ้านป่าใหม่ ถนนชิดวะนา ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตากเป็นวัดของชาวไทใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๗ เมื่อนายหม่งเสง แซ่กวา (ต้นตระกูลกวาตระกูล) ได้สร้างหอสวดมนต์ ศาลาอเนกประสงค์และกุฏิสงฆ์อย่างละ ๑ หลังพร้อมทั้งถวายที่เกือบ ๗ ไร่ให้ก่อตั้งเป็นวัดขึ้น เดิมมี ชื่อว่า “วัดตอยะใหม่” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดสุนทริกาวาส”
เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 528
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร สวนมะม่วงนพรัตน์ ตำบลเพชรชมภู ที่ริมถนนพหลโยธิน ตำบลเพชรชมพู อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร มีแผงขายมะม่วงตลอดทางทั้งขาขึ้นและขาล่อง มีมะม่วงหลายชนิด เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ เขียวเสวย เพชรบ้านลาด โชคอนันต์ เป็นต้น เนื่องจากตำบลเพชรชมภูแห่งนี้เป็นแหล่งปลูกมะม่วงแหล่งใหญ่ของจังหวัดกำแพงเพชร ทั้งขายเองในพื้นที่ ทั้งส่งขายให้แม่ค้าคนกลางส่งขายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศด้วย จึงเป็นที่รู้จักของนักบริโภคและนักท่องเที่ยวที่ขับรถผ่านเส้นทางนี้ ซึ่งถ้าเป็นช่วงเทศกาลจะมีรถจอดตลอดเส้นทางเพื่อซื้อมะม่วงกลับบ้าน
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 992
บริเวณริมถนนพระร่วง ถัดจากจระเข้ปูนมาเล็กน้อย ชาวบ้านแถบนั้นทำไร่มันสำปะหลัง แต่มีบริเวณหนึ่งประมาณ 3 ไร่เศษ ชาวไร่เล่าว่า ไม่สามารถนำรถไถไปไถได้ เพราะเครื่องจะดับ เมื่อเราเข้าใกล้ พบบ่อน้ำโบราณจำนวนมาก ที่ก่อด้วยศิลาแลง วางผังของบ่อน้ำไว้ เป็นแนวสี่เหลี่ยม มีบ่อน้ำทำมุมกับวัดเก่า ซึ่งไม่มีชื่อ อยู่กลาง มีลักษณะเป็นวัดร้างที่ถูกขุดทำลายโดยสิ้นเชิง เจดีย์หรือเฉพาะฐานวิหารโบสถ์ ถูกขุดอย่างยับเยิน แต่แนวกำแพงแก้วยังเห็นได้ชัด เมืองที่เราเห็นนี้ ห่างจากริมถนนพระร่วงเพียงเล็กน้อย
เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,132
เมื่อมาเยือนถิ่นตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล วัดแรกที่นักท่องเที่ยวต้องมาเพื่อกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา และหุ่นขึ้ผึ้งจำลองหลวงพ่อหนู เป็นทีี่พึ่งทางใจประชาชนชาวตำบลนิคทุ่งโพธิ์ทะเล ตำบล จังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพและสักการะย่ิง วัดพัฒนานิคม (บ่อทอง) นี้ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สำหรับเส้นทางการมากราบสักการะ พระบรมสารีริกธาตุนั้นไม่ยาก เนื่องจากติดริมทางสายหลักสายกำแพงเพชร-พิจิตร
เผยแพร่เมื่อ 06-01-2020 ผู้เช้าชม 617
หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปเชียงแสน สิงห์หนึ่งขนาดใหญ่ มีหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร ถูกพบที่ริมคลองสวนหมากในลักษณะคล้ายจอมปลวกขนาดใหญ่แต่มีลักษณะประหลาดคือ มีดินที่หุ้มไม่มิด และมีเถาวัลย์ขนาดใหญ่รกทึบปกคลุมอยู่ หลวงพ่อบุญมีเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดสว่างอารมณ์ จึงขอให้หลานชายและชาวบ้านช่วยกันถางเถาวัลย์ออกจึงพบกับพระพุทธรูปเชียงแสนขนาดใหญ่ เห็นพระพักตร์เหมือนอยู่ในอุโมงค์ จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,320