ถนนพระร่วง

ถนนพระร่วง

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้ชม 3,792

[16.5681843, 99.4659323, ถนนพระร่วง]

ถนนพระร่วงเป็นถนนสายประวัติศาสตร์ที่ตัดผ่านตำบลหนองปลิง มีหลักฐานที่ชัดเจนและมีตำนานที่เล่าขานกันมานาน ว่าพระร่วงเจ้า ทรงใช้พระบาทซ้ายและพระบาทขวา กวาดให้เป็นถนนพระร่วง ตั้งแต่กำแพงเพชรไปสุโขทัย และสุโขทัยไปศรีสัชนาลัย ระยะทางประมาณ 128 กิโลเมตร นับว่าเป็นส่ิงมหัศจรรย์ ทางการก่อสร้างที่ถนนกว้างถึง 8-12 เมตร สูง 2-5 เมตร ตัดผ่านจากประตูสะพานโคม บริเวณสระมนพระราชวังโบราณของเมืองกำแพงเพชร เส้นทางหนึ่งออกทางป้อมวัดช้าง สำหรับอาณาประชาราษฏร์ใช้เส้นทางหนึ่งออกทางประตูสะพานโคม ไปตามถนนพรานกระต่ายไปถึงวัดอาวาสใหญ่ผ่านบ่อสามแสนตัดผ่านโรงเรียนบ่อสามแสน ทะลุถนนเลี่ยงเมืองออกไปหลังสถานีวิทยุ อสมท. ผ่านบ่อลูกรัง เข้าเขตหนองปลิง ผ่านไปทางหมู่บ้านจระเข้ปูนตามตำนานจระเข้ปูน ถนนพระร่วงนับเป็นส่ิงมหัศจรรย์ย่ิง สำรวจครั้งสุดท้าย เมื่อปีพุทธศักราช 2543  โดยอาจารย์สันติ อภัยราช และคณะ ใช้วิธีการเดินทางสำรวจ นำโดยนักโบราณคดี นายพิทยา ดำเด่นงาม และสำรวจด้วยระบบจีพีเอส (สำรวจด้วยดาวเที่ยม) โดยนายอาคม สอนสมบุรณ์  ผังเมืองจัังหวัดกำแพงเพชรในสมัยนั้นได้บันทึกไว้เป็นเอกสารทีี่ชัดเจนมาก ถนนพระร่วงจึงเป็นส่ิงมหัศจรรย์ส่ิงหนึ่งของตำบลหนองปลิงที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และโบราณคดีของตำบลหนองปลิงที่น่าสนใจย่ิ่ง

คำสำคัญ : สถานที่ท่องเที่ยว

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2548). หนองปลิง : เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ถนนพระร่วง. สืบค้น 13 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1131&code_db=610002&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1131&code_db=610002&code_type=01

Google search

Mic

สิริจิตอุทยาน

สิริจิตอุทยาน

สิริจิตอุทยาน เป็นสวนสาธารณะเอนกประสงค์ริมฝั่งแม่น้ำปิง มีเนื้อที่ 170 ไร่ ประกอบด้วยสนามเด็กเล่น สวนสุขภาพ ศาลาพักผ่อน สวนไม้ดอกไม้ประดับปลูก และลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ซึ่งสร้างเป็นเรือนไทย มีการแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบไทยประจำท้องถิ่นที่ลานเวทีกลางแจ้ง และมีการจำหน่ายสินค้าโครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,567

ศาลพระอิศวร

ศาลพระอิศวร

ศาลพระอิศวร ตั้งอยู่ด้านหลังศาลจังหวัด เป็นฐานก่อด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมยกพื้นสูง 1.5 เมตร มีบันไดขึ้นด้านหน้า บนฐานชุกชีอยู่เป็นที่ตั้งของเทวรูปพระอิศวรสัมฤทธิ์ ซึ่งจำลองขึ้นในสมัยที่นายเชาวน์วัศ สุดลาภา เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เทวรูปพระอิศวรองค์จริงปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร รูปพระอิศวรนี้ ในสมัยรัชการที่ 5 ชาวเยอรมันมาเที่ยวเมืองกำแพงเพชร ได้ลักลอบตัดเศียรและพระหัตถ์ส่งลงเรือมากรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2429 เจ้าเมืองกำแพงเพชรได้บอกเข้ามายังกรุงเทพฯ จึงโปรดฯ ให้ขอพระเศียรและพระหัตถ์คืน และได้ทรงสร้างพระอิศวรจำลองประทานให้ ซึ่งปัจจุบันตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์ลิน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,857

กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี

กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี

ป้อมทุ่งเศรษฐี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเมืองกำแพงเพชร มีลักษณะเป็นป้อมปราการรูปสี่เหลี่ยม สร้างด้วยก้อนศิลาแลง ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ก่อนถึงตัวเมืองกำแพงเพชรเล็กน้อย จะเห็นกำแพงศิลาแลงเป็นป้อม มีใบเสมาเหลืออยู่ ป้อมก่อด้วยศิลาแลงกว้าง 83.5 เมตร รูปสี่เหลี่ยมสูงประมาณ 6 เมตร มีประตูทางเข้าตรงกลางป้อม 4 ด้าน ทางด้านในมีเชิงเทินพอเดินหลีกกันได้ ตรงฐานป้อมใต้เชิงเทินเป็นห้องมีทางเดินต่อต่อกันได้ ตรงมุมมีป้อมยื่นออก 4 มุม มีรูมองอยู่ติดกับพื้น 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,952

อุโมงค์ใต้ดิน 32 ปล่อง

บริเวณด้านหลังวัดศรีโยธิน มีสิ่งมหัศจรรย์ที่แปลกและสำคัญย่ิงของตำบลหนองปลิง คืออุโมงค์ 32 ปล่อง บางท่านเรียกว่า 33 ปล่อง เพราะมีอุโมงค์ขนาดกลาง ขนาดเล็กและขนาดใหญ่จำนวนมาก พื้นหินเป็นศิลาแลงหนาประมาณ 1 เมตร ลึกลงไปในดินกว่า 3 เมตร มีช่องเดินต่อถึงกันทั้งหมด มีรูอากาศสำหรับหายใจ โดยทั่วไปมีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เศษ มีตำนานเล่าขานกันหลายตำนาน

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 2,127

เมืองไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลไตรตรึงษ์ เป็นเมืองเก่าแก่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยสิริกษัตริย์เชียงราย ซึ่งได้หนีข้าศึกจากเชียงรายลงมาสร้างเมืองนี้ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1542 ปัจจุบันโบราณสถานต่างๆ ทรุดโทรมลงมาก เหลือเพียงซากเจดีย์และเชิงเทินเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,144

ตลาดย้อนยุคนครชุม

ตลาดย้อนยุคนครชุม

บรรยากาศตลาดแบบย้อนยุคภายในตลาดจะมีพ่อค้า แม่ค้าแต่งกายด้วย ชุดไทยนำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวนครชุมหรือ ร่วมสมัยวางจำหน่ายรวมถึงศิลปหัตถกรรม อาทิ การจักสานไม้ไผ่ งานผีมือใบตองหรือการวาดรูป ระบายสี มุ่งเน้นการ แต่งกายพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยสร้างสำนึกในการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งสร้างแหล่งเรียนรู้ปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่เยาวชนรุ่นลูกๆ หลานๆ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,812

ถนนพระร่วง

ถนนพระร่วง

ถนนพระร่วงเป็นถนนสายประวัติศาสตร์ที่ตัดผ่านตำบลหนองปลิง มีหลักฐานที่ชัดเจนและมีตำนานที่เล่าขานกันมานาน ว่าพระร่วงเจ้า ทรงใช้พระบาทซ้ายและพระบาทขวา กวาดให้เป็นถนนพระร่วง ตั้งแต่กำแพงเพชรไปสุโขทัย และสุโขทัยไปศรีสัชนาลัย ระยะทางประมาณ 128 กิโลเมตร นับว่าเป็นส่ิงมหัศจรรย์ ทางการก่อสร้างที่ถนนกว้างถึง 8-12 เมตร สูง 2-5 เมตร ตัดผ่านจากประตูสะพานโคม บริเวณสระมนพระราชวังโบราณของเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 3,792

พระบรมสารีริกธาตุ

พระบรมสารีริกธาตุ

เมื่อมาเยือนถิ่นตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล วัดแรกที่นักท่องเที่ยวต้องมาเพื่อกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา และหุ่นขึ้ผึ้งจำลองหลวงพ่อหนู เป็นทีี่พึ่งทางใจประชาชนชาวตำบลนิคทุ่งโพธิ์ทะเล ตำบล จังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพและสักการะยิ่ง วัดพัฒนานิคม (บ่อทอง) นี้ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สำหรับเส้นทางการมากราบสักการะ พระบรมสารีริกธาตุนั้นไม่ยาก เนื่องจากติดริมทางสายหลักสายกำแพงเพชร-พิจิตร

เผยแพร่เมื่อ 06-01-2020 ผู้เช้าชม 1,066

พระบาทหันตาม

พระบาทหันตาม

ท่านไม่ควรพลาดที่จะเดินทางไปถวายพระพร ภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลย์เดชรัชกาลที่ 9 ภาพนี้ที่น่าแปลกก็คือ ไม่ว่าคุณจะอยู่ด้านซ้ายของภาพ พระบาทของท่าน ก็จะหันมาชี้ที่คุณอยู่ คุณมาอยู่ตรงกลางหรือไปทางขวา พระบาทก็จะชี้ตามไปทางนั้น เรียกว่าเราไปทางไหน ก็จะมองเห็นพระบาทชี้ตามไปตลอด และภาพนี้ไม่ใช่ภาพ 3 มิติ เป็นภาพถ่ายธรรมดาทั่วไป จึงขอเชิญท่านร่วมได้ด้วยถวายพระพรด้วยตนเองได้ที่วัดปราสาท ต.คณฑี อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 669

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล

ประเพณีบุญบั้งไฟ ถือเป็นการแจ้งข่าวให้พระยาแถนได้รับรู้ด้วยการจุดบั้งไฟเป็นสัญญาณบอกให้ท่านประทานฝนลงมาเป็นการเริ่มฤดูเพาะปลูก เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีระบบชลประทาน และเมื่อจัดประเพณีดังกล่าว ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ทำให้การเกษตรอุดมสมบูรณ์ จึงทำมีการจัดประเพณีสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประเพณีดังกล่าวจะจัดในช่วงเดือนหกต่อเดือนเจ็ดไทย ซึ่งจะอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,272