อุโมงค์ใต้ดิน 32 ปล่อง
เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้ชม 2,157
[16.5275311, 99.5162363, อุโมงค์ใต้ดิน 32 ปล่อง]
บริเวณด้านหลังวัดศรีโยธิน มีสิ่งมหัศจรรย์ที่แปลกและสำคัญย่ิงของตำบลหนองปลิง คืออุโมงค์ 32 ปล่อง บางท่านเรียกว่า 33 ปล่อง เพราะมีอุโมงค์ขนาดกลาง ขนาดเล็กและขนาดใหญ่จำนวนมาก พื้นหินเป็นศิลาแลงหนาประมาณ 1 เมตร ลึกลงไปในดินกว่า 3 เมตร มีช่องเดินต่อถึงกันทั้งหมด มีรูอากาศสำหรับหายใจ โดยทั่วไปมีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เศษ มีตำนานเล่าขานกันหลายตำนานอาทิ
ในสมัยพระร่วงเจ้า กษัตริย์เมืองบางพาน ซึ่่งเป็นราชวงศ์สุโขทัย ตอนเกิดสงครามเมื่อไม่สามารถต้านทานได้ ได้เสร็จเข้ามาซ่อน หรือซ่องสุมผู้คนในอุโมงค์แห่งนี้ บางตำนานว่าทรงนำสมบัติมาเก็บไว้ที่แห่งนี้ อุโมงค์ 32 ปล่อง จึงกลายเป็นที่หลบภัยของกษัตริย์เมืองโบราณมาทุกยุคทุกสมัย
ในอดีตเมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า ได้ลงไปเดินเดล่นหรือลงไปค้นสมบัติกันในอุโมงค์ ได้พบพระพุทธรูปขนาดใหญ่อยู่ในอุโมงค์ มีขันพุทธสาครตั้งไว้ข้างหน้า มีร่องรอยการอยู่อาศัยของผู้คนจำนวนมาก ต่อมาพระพุทธรูปและขันพุทธสาครหายไป ไม่ทราบว่าผู้ใดลักไป
ต่อมาเมื่อประมาณ 50 ปี ได้มีผู้พยายามแผ้วถางป่าเมื่อทำไร ไถนา แต่เมื่อไปถึงบริเวณดังกล่าว ไม่สามารถที่จะไถนาหรือเอาเครื่องทุ่นแรงเข้าไปได้ เพราะกลัวประการหนึ่ง เพราะมีเรื่องเล่าขานถึงอาถรรพณ์ของอุโมงค์ 32 ปล่องหลายเรื่อง ผู้คนจึงเว้นที่ไว้ประมาณ 5 ไร่ เป็นป่าไม้แห่งเดียวในบริเวณนั้นๆ รอบๆ ถูกบุกแผ้วถางเป็นไร่นาไปสิ้น ที่แปลกมากคือเมื่อเกิดไฟป่ามาครั้งใด จะไหม้บริเวณรอบๆ ทั้งหมด ยกเว้นบริเวณอุโมงค์ 32 ปล่อง
เมื่อไม่กี่ปีนี้เอง มีแม่ชีท่าหนึ่ง มาทำพิธีค้นหาสมบัติในอุโมงค์ ผลสุดท้ายแม่ชีกลายเป็นกบจริตล้วนเป็นความเชื่อที่เล่าขานกันสืบมา บางท่านว่าอุโมงค์ 32 ปล่องอาจเป็นแหล่งแร่เหล็กแหล่งใหญ่ในกำแพงเพชร มีการถลุงเหล็กไปทำอาวุธ แต่ไม่มีหลักฐานของเศษแร่ตกอยู่เลย จึงไม่น่าจะใช่
ในแง่มุมของการจัดทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว อุโมงค์ 32 ปล่อง สามารถทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้ เพราะน่าสนใจมาก แต่ต้องดูดดินที่ตกลงไปในปล่อง จนทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถลงไปเดินได้ อุโมงค์ 32 ปล่อง จะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมาก และจะมีนักท่องเที่ยวที่ชอบการท้าทายมาเที่ยวชม
คำสำคัญ : อุโมงค์ใต้ดิน , การท่องเที่ยว
ที่มา : สันติ อภัยราช. (2548). หนองปลิง : เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). อุโมงค์ใต้ดิน 32 ปล่อง. สืบค้น 16 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1127&code_db=610002&code_type=01
Google search
เมืองไตรตรึงษ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลไตรตรึงษ์ เป็นเมืองเก่าแก่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยสิริกษัตริย์เชียงราย ซึ่งได้หนีข้าศึกจากเชียงรายลงมาสร้างเมืองนี้ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1542 ปัจจุบันโบราณสถานต่างๆ ทรุดโทรมลงมาก เหลือเพียงซากเจดีย์และเชิงเทินเท่านั้น
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,171
บรรยากาศตลาดแบบย้อนยุคภายในตลาดจะมีพ่อค้า แม่ค้าแต่งกายด้วย ชุดไทยนำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวนครชุมหรือ ร่วมสมัยวางจำหน่ายรวมถึงศิลปหัตถกรรม อาทิ การจักสานไม้ไผ่ งานผีมือใบตองหรือการวาดรูป ระบายสี มุ่งเน้นการ แต่งกายพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยสร้างสำนึกในการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งสร้างแหล่งเรียนรู้ปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่เยาวชนรุ่นลูกๆ หลานๆ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,873
สิริจิตอุทยาน เป็นสวนสาธารณะเอนกประสงค์ริมฝั่งแม่น้ำปิง มีเนื้อที่ 170 ไร่ ประกอบด้วยสนามเด็กเล่น สวนสุขภาพ ศาลาพักผ่อน สวนไม้ดอกไม้ประดับปลูก และลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ซึ่งสร้างเป็นเรือนไทย มีการแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบไทยประจำท้องถิ่นที่ลานเวทีกลางแจ้ง และมีการจำหน่ายสินค้าโครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,608
วัดหนองปลิง จัดพื้นที่วัดเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมหาชน โดยท่านเจ้าอาวาส พระครูวิเชียรธรรมนาท หรือหลวงพ่อสีหนาท เน้นจัดพื้นที่เพื่อการจัดกิจกรรมปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน เพื่อให้มนุษย์เข้าใจในการมีสติ ภายในวัดประกอบด้วยอาคารขนาดใหญ่ สามชั้นที่ประกอบด้วย ห้องพักชั้นดีสำหรับผู้มาอาศัยปฏิบัติธรรม ชั้นที่ 2 เป็นห้องสำหรับประกอบพิธีบุญ และชั้นที่ 3 เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ที่ใช้อบรมสัมมนา และยังมีโบสถ์ที่สร้างด้วยศิลาแลงจากหินธรรมชาติ แห่งเดียวใน
เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 2,319
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,022
ศาลพระอิศวร ตั้งอยู่ด้านหลังศาลจังหวัด เป็นฐานก่อด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมยกพื้นสูง 1.5 เมตร มีบันไดขึ้นด้านหน้า บนฐานชุกชีอยู่เป็นที่ตั้งของเทวรูปพระอิศวรสัมฤทธิ์ ซึ่งจำลองขึ้นในสมัยที่นายเชาวน์วัศ สุดลาภา เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เทวรูปพระอิศวรองค์จริงปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร รูปพระอิศวรนี้ ในสมัยรัชการที่ 5 ชาวเยอรมันมาเที่ยวเมืองกำแพงเพชร ได้ลักลอบตัดเศียรและพระหัตถ์ส่งลงเรือมากรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2429 เจ้าเมืองกำแพงเพชรได้บอกเข้ามายังกรุงเทพฯ จึงโปรดฯ ให้ขอพระเศียรและพระหัตถ์คืน และได้ทรงสร้างพระอิศวรจำลองประทานให้ ซึ่งปัจจุบันตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์ลิน
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,898
กรมศิลปากรได้ดำเนินการคุ้มครองป้องกันโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรและเมือนครชุม โดยการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2480 ต่อมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2511 ในส่วนของการขุดแต่ง บูรณะ และพัฒนาโบราณสถาน ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรก เมื่อพ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรจึงได้บรรจุงานปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525-2529) โดยใช้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่ และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือเสื่อมค่า
เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 2,510
“กรมการพัฒนาชุมชน” โดยภารกิจนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการเข้าถึงบริการของรัฐ เน้นการสร้างโอกาส อาชีพ และการมีรายได้ที่มั่นคงโดยการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง โดยการพัฒนาเส้น ทาง การท่องเที่ยว 8 เส้นทาง 31 จังหวัด 125 หมู่บ้าน บนพื้นฐานของอัตลักษณ์และภูมิปัญญาพื้นถิ่น วัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมของชุมชน สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเข้าสู่ชุมชนเพื่อสร้างรายได้สร้างความเข้ม แข็งให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ที่มีกลไกการขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับชาติสู่ระดับ พื้นที่ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบประชารัฐ โดยการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการของประชาชนนั้น
เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 2,119
ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร เป็นศาลที่เก่าแก่มานานกว่า 700 ปี เชื่อกันว่าพระเจ้าวรมันต์(เหม่) ผู้เรืองอำนาจเป็นผู้ก่อสร้างขึ้น ทำด้วยศิลาแลงรูปกลม ยาวประมาณ 2 เมตร ผังโผล่พื้นมาประมาณ 1 เมตร มีรูปเศียรเทพารักษ์อยู่บนยอดศิลาแลง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังคาศาลได้พังลงมาทับเสาหลักเมืองและเศียรเทพารักษ์ หลังจากนั้นก็อยู่ในสภาพรกร้างมานาน และเมื่อปี พ.ศ. 2527 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ประกอบพิธีเจิมเสาหลักเมือง เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2527 และมีพิธีเชิญเสาหลักเมืองและเศียรเทพารักษ์ขึ้นศาล เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2527
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,848
เมื่อมาเยือนถิ่นตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล วัดแรกที่นักท่องเที่ยวต้องมาเพื่อกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา และหุ่นขึ้ผึ้งจำลองหลวงพ่อหนู เป็นทีี่พึ่งทางใจประชาชนชาวตำบลนิคทุ่งโพธิ์ทะเล ตำบล จังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพและสักการะยิ่ง วัดพัฒนานิคม (บ่อทอง) นี้ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สำหรับเส้นทางการมากราบสักการะ พระบรมสารีริกธาตุนั้นไม่ยาก เนื่องจากติดริมทางสายหลักสายกำแพงเพชร-พิจิตร
เผยแพร่เมื่อ 06-01-2020 ผู้เช้าชม 1,094