ฝายท่ากระดาน
เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้ชม 1,353
[16.4495461, 99.4206895, ฝายท่ากระดาน]
นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ ที่ปรึกษาอธิบดีกรมชลประทาน ด้านบริหารจัดการน้ำ ประกอบพิธีเปิดการใช้งาน ประตูระบายน้ำฝายท่ากระดาน หมู่ที่ 9 ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร มีนายสุรชัย ริ้วตระกูลไพบูลย์ นายกมล สิมเมือง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร หัวหน้าส่วนราชการผู้นำท้องถิ่น กลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำโครงการ ฝายท่ากระดานร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีฝายท่ากระดานในวันนี้
นายอาจิตร์ สุวานิชวงศ์ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 4 กล่าว อาคารชลประทานที่ก่อสร้างขึ้น เพื่อทดน้ำในคลองสวนหมาก ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำปิง ซึ่งมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน เดิมเป็นฝายตอกหลัก ราษฎรได้ริเริ่ม และร่วมแรงร่วมใจกันก่อสร้างฝายหลักตอก ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น มาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2492 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลามากกว่า 60 ปี ต่อมา กรมชลประทานจึงได้ออกแบบและปรับปรุงฝายท่ากระดานขึ้นใหม่ มาเป็นฝายคอนกรีต ซึ่งได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปีพุทธศักราช 2563
แม้ว่าฝายท่ากระดานจะได้รับการปรับปรุงให้เป็นฝายคอนกรีต ที่มีความมั่นคงถาวรตามหลักวิชาการแล้วก็ตาม แต่จากการที่ฝายท่ากระดาน ได้ถูกใช้งานผ่านฤดูน้ำหลาก มาเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้มีสภาพชำรุดทรุดโทรม น้ำสามารถรั่วซึมผ่านตัวฝายได้ อีกทั้งมีปริมาณตะกอนทรายตกจมสะสมอยู่ที่หน้าฝายจำนวนมาก ฝายท่ากระดานจึงไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ทางการเกษตร 3 ตำบลในฤดูน้ำหลาก และพื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในฤดูแล้ง
ดังนั้น ทางสำนักงานชลประทานที่ 4 โดยส่วนวิศวกรรม จึงได้พิจารณาออกแบบฝายท่ากระดานขึ้นใหม่ โดยประยุกต์ใช้การออกแบบเป็นประตูระบายน้ำ มาผสมผสานกับฝายหยักคอนกรีต ในอาคารเดียวกัน โดยที่ฝายหยักคอนกรีตจะมีคุณสมบัติในการเพิ่มความสามารถในการระบายน้ำ เพื่อลดปัญหาน้ำหลากในช่วงฤดูฝน และสำหรับประตูระบายน้ำขนาดความกว้างบานระบายน้ำ 6 เมตรสูง 6 เมตร จำนวน 4 ช่อง เพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำได้ตามที่กลุ่มเกษตรกรมีความต้องการและเป็นช่องทางในการสามารถระบายทรายที่สะสมทางด้านหน้าฝายได้ ประตูระบายน้ำฝายท่ากระดาน ได้รับงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 และดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2559 รวมระยะเวลาในการก่อสร้าง จำนวน 840 วัน ใช้งบประมาณ รวมทั้งสิ้น 176,100,000 บาท
ทั้งนี้ ประตูระบายน้ำฝายท่ากระดาน จะเป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค และการเกษตร แก่พื้นที่ จำนวน 14,500 ไร่ รวม 12 หมู่บ้าน 3 ตำบลในเขต ตำบลท่าขุนราม ตำบลคลองแม่ลาย และตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยโครงการชลประทานกำแพงเพชรและกลุ่มผู้ใช้น้ำโครงการ ฝายท่ากระดาน จะเข้ามาบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วม
คำสำคัญ : ฝายท่ากระดาน ฝายน้ำล้น
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/721261
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ฝายท่ากระดาน. สืบค้น 29 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2164&code_db=610002&code_type=01
Google search
ริมถนนพระร่วง ใกล้กับอุโมงค์ 32 ปล่อง และจระเข้ปูน มีสถานที่สำคัญสถานที่หนึ่ง ชาวกำแพงเพชรเรียกกันว่า สระมรกต มีลักษณะพิเศษคือมีน้ำขังอยู่ตลอดปี ไม่ว่าจะเป็นฤดูอะไร แม้ฤดูแล้งน้ำก็ไม่แห้ง ทั้งๆ ที่ลึึกไม่ถึงเมตร เป็นลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เมตร มีอยู่ 3 สระติดต่อกัน เป็นเรื่องที่เล่าขานกันเป็นตำนานว่า เมื่อพระร่วงเจ้าเสด็จมาประทับที่อุโมงค์ 32 ปล่อง ได้นำนางสนมกำนัลมาอาบน้ำที่สระมรกตแห่งนี้ พระร่วงได้สาบสรรค์ไว้ว่าให้มีน้ำตลอดปี ไม่ให้แห้ง
เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 2,441
สถานที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและ ศิลปกรรมท้องถิ่นกำแพงเพชรแล้ว ยังเป็นศูนย์เผนแพร่พระพุทธศาสนา เป็นสำนักเล่าเรียนพระธรรมวินัย ของพระภิกษุสามเณร และประชาชนทั่วไป เป็นสนามสอบบาลีสนามหลวงประจำจังหวัด และเป็นศูนย์รวมการปกครอง ของคณะสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชร ต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,521
ปัจจุบันบึงวังดำน้ำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและทางกฎหมายที่สมควรได้รับการอนุรักษ์ สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและทางกฎหมายที่สมควรได้รับการอนุรักษ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอีกแหล่งหนึ่ง เพราะมีประวัติศาสตร์และมีที่มาที่ชัดเจน อันแสดงถึงเมืองกำแพงเพชรมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ท่านที่สนใจจะไปท่องเที่ยวบึงวังดำน้ำ ติดต่อที่นางสินบดีรัฐผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร ท่านจะประทับใจอย่างยิ่ง
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,419
สิริจิตอุทยาน เป็นสวนสาธารณะเอนกประสงค์ริมฝั่งแม่น้ำปิง มีเนื้อที่ 170 ไร่ ประกอบด้วยสนามเด็กเล่น สวนสุขภาพ ศาลาพักผ่อน สวนไม้ดอกไม้ประดับปลูก และลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ซึ่งสร้างเป็นเรือนไทย มีการแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบไทยประจำท้องถิ่นที่ลานเวทีกลางแจ้ง และมีการจำหน่ายสินค้าโครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,743
ป้อมทุ่งเศรษฐี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเมืองกำแพงเพชร มีลักษณะเป็นป้อมปราการรูปสี่เหลี่ยม สร้างด้วยก้อนศิลาแลง ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ก่อนถึงตัวเมืองกำแพงเพชรเล็กน้อย จะเห็นกำแพงศิลาแลงเป็นป้อม มีใบเสมาเหลืออยู่ ป้อมก่อด้วยศิลาแลงกว้าง 83.5 เมตร รูปสี่เหลี่ยมสูงประมาณ 6 เมตร มีประตูทางเข้าตรงกลางป้อม 4 ด้าน ทางด้านในมีเชิงเทินพอเดินหลีกกันได้ ตรงฐานป้อมใต้เชิงเทินเป็นห้องมีทางเดินต่อต่อกันได้ ตรงมุมมีป้อมยื่นออก 4 มุม มีรูมองอยู่ติดกับพื้น
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,329
บริเวณริมถนนพระร่วง ถัดจากจระเข้ปูนมาเล็กน้อย ชาวบ้านแถบนั้นทำไร่มันสำปะหลัง แต่มีบริเวณหนึ่งประมาณ 3 ไร่เศษ ชาวไร่เล่าว่า ไม่สามารถนำรถไถไปไถได้ เพราะเครื่องจะดับ เมื่อเราเข้าใกล้ พบบ่อน้ำโบราณจำนวนมาก ที่ก่อด้วยศิลาแลง วางผังของบ่อน้ำไว้ เป็นแนวสี่เหลี่ยม มีบ่อน้ำทำมุมกับวัดเก่า ซึ่งไม่มีชื่อ อยู่กลาง มีลักษณะเป็นวัดร้างที่ถูกขุดทำลายโดยสิ้นเชิง เจดีย์หรือเฉพาะฐานวิหารโบสถ์ ถูกขุดอย่างยับเยิน แต่แนวกำแพงแก้วยังเห็นได้ชัด เมืองที่เราเห็นนี้ ห่างจากริมถนนพระร่วงเพียงเล็กน้อย
เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,743
ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร เป็นศาลที่เก่าแก่มานานกว่า 700 ปี เชื่อกันว่าพระเจ้าวรมันต์(เหม่) ผู้เรืองอำนาจเป็นผู้ก่อสร้างขึ้น ทำด้วยศิลาแลงรูปกลม ยาวประมาณ 2 เมตร ผังโผล่พื้นมาประมาณ 1 เมตร มีรูปเศียรเทพารักษ์อยู่บนยอดศิลาแลง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังคาศาลได้พังลงมาทับเสาหลักเมืองและเศียรเทพารักษ์ หลังจากนั้นก็อยู่ในสภาพรกร้างมานาน และเมื่อปี พ.ศ. 2527 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ประกอบพิธีเจิมเสาหลักเมือง เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2527 และมีพิธีเชิญเสาหลักเมืองและเศียรเทพารักษ์ขึ้นศาล เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2527
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,967
บรรยากาศตลาดแบบย้อนยุคภายในตลาดจะมีพ่อค้า แม่ค้าแต่งกายด้วย ชุดไทยนำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวนครชุมหรือ ร่วมสมัยวางจำหน่ายรวมถึงศิลปหัตถกรรม อาทิ การจักสานไม้ไผ่ งานผีมือใบตองหรือการวาดรูป ระบายสี มุ่งเน้นการ แต่งกายพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยสร้างสำนึกในการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งสร้างแหล่งเรียนรู้ปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่เยาวชนรุ่นลูกๆ หลานๆ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,088
เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 2,700
กรมศิลปากรได้ดำเนินการคุ้มครองป้องกันโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรและเมือนครชุม โดยการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2480 ต่อมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2511 ในส่วนของการขุดแต่ง บูรณะ และพัฒนาโบราณสถาน ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรก เมื่อพ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรจึงได้บรรจุงานปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525-2529) โดยใช้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่ และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือเสื่อมค่า
เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 2,606