พิพิธภัณฑ์นครแม่สอด

พิพิธภัณฑ์นครแม่สอด

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้ชม 302

[16.7557014, 98.4335232, พิพิธภัณฑ์นครแม่สอด]

ประวัติความเป็นมา
          เทศบาลนครแม่สอด ได้ดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์นครแม่สอด ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องขยายโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายและรองรับการศึกษายุคปฏิรูปให้ทันกับโลกยุคการเรียนรู้ แบบไร้ขีดจำกัด (school without walls) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อการเติบโตของความรู้ สติปัญญา และความงอกงามของจิตใจเกิดความเข้าใจ เห็นคุณค่า รู้จักตนเองเกิดจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองรวมไปถึงเด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชน ให้มีพื้นที่ " มั่วสุมอย่างสร้างสรรค์ " ซึ่งเปิดให้เข้าชมครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2554 ซึ่งเป็นวันเด็กแห่งชาติและมีกระแสตอบรับที่ดีจาก  ผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก 

วัตถุประสงค์การจัดตั้ง
          เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเยาวชนและประชาชน ได้เข้ามาศึกษาประวัติศาสตร์ของนครแม่สอดบุคคลสำคัญในอดีตของนครแม่สอด เส้นทางการค้าสมัยก่อนที่เดินทางผ่านนครแม่สอดในอดีตและข้อสันนิษฐานการก่อตั้งนครแม่สอดในอดีต ภายในพิพิธภัณฑ์นครแม่สอดได้มีการตกแต่งตามโซนต่างๆ ให้เข้ากับบรรยากาศตามโซน


ที่อยู่
          อาคารศูนย์กลางการแสดงสินค้าและศูนย์ประชุมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว (OTOP) ชั้น 1 ถ.สายเอเชีย ต.แม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก 63110

เบอร์โทรศัพท์
          โทร. 055-533871

แผนผังโซนต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์นครแม่สอด
          1. โซนใต้ร่มพระบารมี ภายในโซน จะเก็บรวบรวมพระบรมฉายาลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ทรงเสด็จมานครแม่สอดเมื่อครั้งอดีต
          2. โซนพระราชประวัติรัชกาลที่ 9 โซนที่มีข้อมูล พระราชประวัติของรัชกาลที่ 9 รวมถึงสิ่งที่ท่านได้ทรงทำให้กับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2470 วันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งต่อมาภายหลังวันมหามงคลนี้ได้รับการจัดตั้งให้เป็น 'วันพ่อแห่งชาติ' ในปีพ.ศ. 2523 และกลายเป็นโอกาสในการแสดง ความกตัญญูกตเวทิตาอันยิ่งใหญ่ทว่านับเนื่องจากการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 อันนำมาซึ่งความโศกเศร้าของพสกนิกรอย่างหาที่สุดมิได้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบการลงนามรับสนองพระราชโองการในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการกำหนดวันสำคัญของชาติไทย กล่าวคือ ให้วันที่ 5 ธันวาคม เริ่มตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป ถือเป็นวันสำคัญของชาติ โดยหมายรวมถึง
              1. วันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
              2. วันชาติ
              3. วันพ่อแห่งชาติ
          ตลอดจนได้เชิดชูสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ให้ทรงเป็นพระบิดาแห่งศาสตร์ต่างๆ 9 แขนง อันได้แก่
              - พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ
              - พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย
              - พระบิดาแห่งฝนหลวง
              - พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย
              - พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย
              - พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย
              - พระบิดาแห่งการวิจัยไทย
              - พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย
              - พระบิดาแห่งการวิจัยและพัฒนาข้าวไทย
          3. โซนห้องฉาย Wide Screen เป็นห้องฉายภาพยนตร์แบบจอกว้าง พร้อมเสียงบรรยาย ระบบเสียงรอบทิศทาง โดยโซนนี้จะฉายภาพยนตร์ในรูปแบบของระบบ widescreen ซึ่งต้องใช้โปรเจ็คเตอร์ทั้งหมด 2 เครื่อง ฉายภาพที่ออกมา มีความยาว รองรับภาพระบบ Full HD มีระบบเสียงที่ครอบคลุมไปทั่วห้องพร้อมที่นั่งของผู้เข้าชมไม่น้อยกว่า 80 ที่นั่ง
          4. โซนข้อมูลโถงทางเดินโซนที่บอกเล่าเรื่องราวของอำเภอแม่สอด ที่ตั้งของสถานที่สำคัญ และบุคคลที่ชาวแม่สอดเคารพ นับถือ โดยจะมีข้อมูลต่างๆ มากมายบอกเล่าให้ผู้เข้าชมได้ศึกษา
          5. โซนวิถีชีวิตโซนที่จัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือของคนสมัยก่อนที่ใช้ในการทำมาหากิน ดำรงชีวิตในอดีต มีทั้งอุปกรณ์ของชาวนา ตกปลา และพาหนะข้ามชายแดน
          6. โซนนครแม่สอดโซนที่แนะนำประวัติความเป็นมาของแม่สอดพร้อมทั้งรูปภาพประกอบ มีรูปภาพของแม่สอดสมัยก่อน ประวัติบุคคลสำคัญ และข้อมูลชาติพันธุ์ต่างๆ ที่มาอาศัยที่แม่สอด
          7. โซนสถานที่ท่องเที่ยวแม่สอดโซนที่แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่อยู่ในแม่สอดเนื่องจากจุดขายของอำเภอแม่สอด คือสถานที่ท่องเที่ยว ดังนั้นนิทรรศการนี้จะเน้นให้ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวพร้อมทั้งแง่มุม และเกร็ดต่างๆ ของสถานที่นั้นๆ เสริมด้วยให้ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ สำหรับเด็กและเยาวชนรวมทั้งผู้สนใจทั่วไปเข้าไปค้นคว้าเรื่องราวของอำเภอแม่สอดและสถานที่ใกล้เคียงที่มีความคาบเกี่ยวกัน
          8. โซนเศรษฐกิจโซนที่รวบรวมข้อมูลการค้าขายเศรษฐกิจของแม่สอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไว้ให้ศึกษาหาความรู้ โดยเฉพาะ เส้นทางการค้า ESAT-WEST ECONOMIC CORRIDOR (เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจสายตะวันออก-ตะวันตก)สืบเนื่องจากที่ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยสนับสนุนให้มีการติดต่อและการแข่งขันระหว่างกัน รัฐบาลจากประเทศสมาชิก GMS จึงได้กำหนดแนวพื้นที่เศรษฐกิจในลุ่มแม่น้ำโขงจำนวน 9 เส้นทางหลักให้เป็นแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจของอนุภูมิภาค และหนึ่งในเส้นทางที่ขณะนี้กำลังเริ่มปรากฏผลเชิงรูปธรรมได้แก่ เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC)หรือเส้นทางหมายเลข 9 (R9)EWEC มีระยะทางยาว 1,450 กม. อยู่ในเขตไทยเป็นระยะทางยาวที่สุดคือประมาณ 950 กม.เส้นทางเริ่มจากเมืองท่าดานังของเวียดนาม ผ่านเมืองเว้และเมืองลาวบาว (Lao Bao) อันเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของเวียดนามซึ่งติดกับชายแดน สปป. ลาว จากนั้นเส้นทางหมายเลข 9 จะผ่านเข้าแขวงสะหวันนะเขตใน สปป. ลาว และมาข้ามสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ข้ามแม่น้ำโขงสู่ไทยที่จังหวัดมุกดาหาร ผ่านจังหวัด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น เพชรบูรณ์ พิษณุโลก จนไปสุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตากและเข้าไปยังประเทศพม่าจนทะลุ อ่าวเมาะตะมะที่เมืองเมาะลำไย หรือมะละแหม่ง (Mawlamyine/ Mawlamyaing) เป็นการเชื่อมจากทะเลจีนใต้ไปสู่มหาสมุทรอินเดีย ซึ่งอาจจะสามารถเชื่อมต่อไปยังอินเดียและตะวันออกกลางต่อไป ขณะนี้โครงข่ายคมนาคมที่เชื่อมโยงประเทศทั้งสี่เข้าด้วยกันในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตกนี้ สามารถเปิดใช้แล้วในระยะไทย-เวียดนาม มีเพียงช่วงหนึ่งในดินแดนพม่าที่ยังก่อสร้างอยู่

คำสำคัญ : พิพิธภัณฑ์นครแม่สอด

ที่มา : https://www.nakhonmaesotcity.go.th/web/mm/agencies/8/page/musium.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). พิพิธภัณฑ์นครแม่สอด. สืบค้น 4 ตุลาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2143&code_db=610002&code_type=TK007

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2143&code_db=610002&code_type=TK007

Google search

Mic

น้ำตกธารารักษ์

น้ำตกธารารักษ์

น้ำตกธารารักษ์ หรือน้ำตกผาชัน อยู่ในเขตบ้านเจดีย์โคะ เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามตามธรรมชาติเป็นน้ำตกขนาดเล็กมีชั้นเดียว มีลักษณะเป็นน้ำตกไหลลงมาจากหน้าผาหินปูนสูงประมาณ 30 เมตร น้ำตกแห่งนี้มีลักษณะพิเศษคือมีเจดีย์อยู่ข้างตัวน้ำตก ในบริเวณนั้นเป็นเทือกเขาไม่สูงนัก ด้านหน้ามีหนองน้ำซึ่งเด็กในพื้นที่จะไปเล่นน้ำกันที่นี่ เนื่องจากเป็นที่ค่อนข้างโล่งกว้าง และมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ใต้น้ำตกจึงมีลมเย็นๆ พัดตลอดน่าเป็นที่พักผ่อน นักท่องเที่ยวสามารถขับรถขึ้นไปดูเจดีย์บนยอดเขาได้ โดยการขับรถไปตามทางหลวงห่างจากน้ำตกประมาณ  700 เมตรจะมีทางเข้าไปตามถนนผ่านหมู่บ้านเจดีย์โค๊ะ ลัดเลาะไปตามไร่ข้าวโพดของชาวบ้าน แล้วเลี้ยซ้ายเข้าไปตามป้ายจะมีบอก หรือไม่ก็ถามชาวบ้านละแวกนั้นดู ไปได้ไม่ยาก เมื่อมาถึงบนยอดเขาแล้วจะเห็นเจดีย์ตั้งตระหง่าน พร้อมด้วยเส้นทางไปดูต้นทางของน้ำตกได้

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 2,673

ศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตาก

ศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตาก

อำเภอแม่สอด ได้รับงบประมาณตามแผนปฏิบัติไทยเข็มแข็ง 2555 ของจังหวัดตาก โครงการก่อสร้างศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตาก งบประมาณ 25,000,000 บาท (ยี่สิบห้าบาทถ้วน) เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ อำเภอแม่สอด ได้ขอให้จังหวัดตากส่งมอบศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตากให้กับเทศบาลนครแม่สอดเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการใช้งาน และเป็นผู้ควบคุมดูแลบำรุงรักษาจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น 

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 413

เนินพิศวง

เนินพิศวง

อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 68 สายตาก-แม่สอด มีลักษณะเป็นทางขึ้นเนินที่แปลก คือเมื่อนำรถไปจอดไว้ตรงทางขึ้นเนินโดยไม่ได้ติดเครื่องรถจะไหลขึ้นเนินไปเอง

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2021 ผู้เช้าชม 1,957

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

เมื่อเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่างๆ เช่น มูเซอดำ ม้ง ลีซอ ฯลฯ จึงได้มีการจัดตั้ง “ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาบ้านอุมยอม” เพื่อเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เรื่องราว ของวิถีชีวิตที่น่าสนใจของชนเผ่าต่างๆ โดยมีการจัดนิทรรศการแสดงเสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องใช้ จำลองของชาวมูเซอ และบริเวณด้านนอกยังจัดทำเป็นลานเต้น “จะคึ” ซึ่งคือการเต้นรำของเผ่ามูเซอที่นิยมเต้นกันในงาน “กินวอ” หรืองานขึ้นปีใหม่นั่นเอง  ซึ่งจะเต้นกันในงาน”กินวอ”หรืองานขึ้นปีใหม่นั่นเอง นอกจากเรื่องราวของวัฒนธรรมชนเผ่าแล้ว ยังมีการจัดเส้นทางศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านอุมยอม ชมบ้านพักอาศัย ตลอดทั้งเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เช่น สวนกาแฟ สวนชา พืชไร่ต่างๆ ข้าว แหล่งน้ำซับ ซึ่งระหว่างทางจะได้เพลิดเพลินไปกับสายน้ำตกอันบริสุทธิ์อีกด้วย โดยเส้นทางนี้ใช้เวลาเดินทางไปกลับราว 1 วัน 
 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,316

บ่อน้ำพุร้อนแม่กาษา

บ่อน้ำพุร้อนแม่กาษา

น้ำพุร้อนแม่กาษานั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 บ่อ วางตัวอยู่ท่ามกลางธรรมชาติโดยน้ำพุร้อนมีอุณหภูมิสูงถึง 75 องศาเซลเซียส โดยปัจจุบันมีห้องบริการอาบน้ำแร่และบ่ออาบน้ำซึ่งปราศจากกลิ่นฉุนจากก๊าซกำมะถัน ความสำคัญเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจยอดนิยมของชาวอำเภอแม่สอด และชาวประเทศเพื่อนบ้าน

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2021 ผู้เช้าชม 1,269

พิพิธภัณฑ์นครแม่สอด

พิพิธภัณฑ์นครแม่สอด

เทศบาลนครแม่สอด ได้ดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์นครแม่สอด ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องขยายโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายและรองรับการศึกษายุคปฏิรูปให้ทันกับโลกยุคการเรียนรู้ แบบไร้ขีดจำกัด (school without walls) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อการเติบโตของความรู้ สติปัญญา และความงอกงามของจิตใจเกิดความเข้าใจ เห็นคุณค่า รู้จักตนเองเกิดจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองรวมไปถึงเด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชน

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 302

วัดไทยสามัคคี

วัดไทยสามัคคี

วัดไทยสามัคคี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 516 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1 แยกซ้ายมือเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ที่ชุมทางประตูน้ำพระอิน ผ่าน จ.สิงห์บุรี จ.ชัยนาท เข้า จ.นครสวรรค์ แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1 อีกครั้งผ่าน จ.กำแพงเพชร ถึง จ.ตาก รวมระยะทาง 426 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง รถประจำทาง (บขส.) มีรถออกจากสถานีขนส่งสายเหนือทุก 2 ชั่วโมง โดยประมาณ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 22.30 น. สำหรับรถเอกชน ติดต่อ บริษัท ทันจิตต์ทัวร์ โทร. (02) 9363210 – 13, บริษัท เชิดชัยทัวร์ โทร. (02) 9360199 ทางเครื่องบิน สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึง แม่สอด โดยเครื่องบินโดยสารของบริษัทการบินไทย มีเฉพาะวันจันทร์, พฤหัส, เสาร์และอาทิตย์ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ บริษัท การบินไทย จำกัด โทร. (02) 280-0060, 280-0100-110

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 1,468

สะพานมิตรภาพไทย-พม่า

สะพานมิตรภาพไทย-พม่า

 สะพานมิตรภาพ ไทย–พม่า 2 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเมยขนาดใหญ่แห่งที่สอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านวังตะเคียนใต้ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตากของประเทศไทย เข้ากับบ้านเยปู หมู่ที่ 5 เมืองเมียวดี จังหวัดเมียวดี ของประเทศพม่า

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 1,880

 วัดมณีไพรสณฑ์

วัดมณีไพรสณฑ์

 วัดมณีไพรสณฑ์ เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่ตัวอำเภอแม่สอด สิ่งที่เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ต้องเข้าไปเยี่ยมชมคือ “เจดีย์วิหารสัมพุทเธ” เป็นเจดีย์ศิลปกรรมแบบพม่า ลักษณะเป็นเจดีย์ที่บนเจดีย์จะประกอบไปด้วยเจดีย์องค์เล็ก ๆ จำนวนมากล้อมรอบตัวเจดีย์องค์ใหญ่ และในแต่ละองค์เจดีย์จะประดิษฐานพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก (ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมของเราได้ถ่ายรูปมากฝากให้ชมด้วย)

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 2,355

อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ”

อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ”

อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ” เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอำเภอแม่สอด และจังหวัดตาก คือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เกิดจากการผสมผสานองค์ประกอบในการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างลงตัว โดยจะเน้นเกี่ยวกับสาขาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ มีรูปแบบการเรียนรู้ที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย เทคนิคแสง สี เสียงในการนำเสนอโดยมีทั้งส่วนที่ให้เรียนรู้ภายในอาคารและส่วนที่ให้เรียนรู้ภายนอกอาคาร ได้เปิดให้บริการแก่นักเรียน เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป เป็นการจัดให้มีการศึกษาที่เกื้อหนุนให้บุคคลสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 240