ตลาดดอยมูเซอ
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้ชม 3,431
[16.7642571, 98.9023268, ตลาดดอยมูเซอ]
“ตลาดดอยมูเซอ” จัดว่าเป็นตลาดสดของชาวไทยภูเขาที่ใหญ่ ที่สุดแห่งหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพราะจำนวนร้านค้าแผงลอยและจำนวนความหลากหลายของสินค้าเกษตรภายในตลาด เรียกว่ามีเยอะแยะละลานตาไปหมด ตลาดดอยมูเซอในปัจจุบันมีด้วยกัน 2 ตลาด แบ่งเป็นตลาดเก่าและตลาดใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกันแค่ 1 กิโลเมตรเท่านั้น ลักษณะของตลาดดอยมูเซอเก่าจะเป็นตลาดในแนวยาวเรียงรายขนานไปตามถนนสายหลัก ซึ่งบรรยากาศจะคึกคักตลอดทั้งวัน ทั้งบรรดาพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยภูเขา ชาวบ้านในแถบนั้น รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างก็แวะเวียนมาจับจ่ายสินค้ากันเป็นจำนวนมาก เดินเล่นกันได้เพลินๆ ค่อยๆ เลือกหยุดไปทีละร้านเมื่อได้ยินเสียงเรียกขานให้เข้าไปชม ไปชิมกันฟรีๆ ก่อนจะตบด้วยลูกอ้อนว่า “ช่อซึหน่อนะ” แปลไทยเป็นไทยได้ความว่า “ช่วยซื้อหน่อยนะ” หากพูดคุยกันถูกคอบางทีพ่อค้าแม่ค้าใจดีก็พร้อมจะหยิบยื่นโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม มายั่วกิเลสให้เราต้องยอมควักกระเป๋าไปโดยปริยาย
เช่นเดียวกันกับตลาดดอยมูเซอใหม่ที่มีชีวิตชีวาแทบไม่ต่างกัน จะต่างกันก็แค่จำนวนร้านค้า และปริมาณสินค้าในตลาดที่มีมากกว่าตลาดเก่า แถมด้วยพื้นที่ที่กว้างขวางกว่า พร้อมพื้นที่จอดรถเป็นสัดส่วน ทำให้เราได้เดินเลี้ยวซอกแซกไปตามซอยนั้นซอยนี้กันสนุกสนาน ซึ่งเสน่ห์อย่างหนึ่งของตลาดดอยมูเซอก็คือ อัธยาศัยอันดีของบรรดาพ่อค้าแม่ค้าที่เป็นธรรมชาติไร้ซึ่งการปรุงแต่งใดๆ และคำพูดคำจาภาษาท้องถิ่น รวมถึงสำเนียงพูดภาษาไทยที่ชัดบ้างไม่ชัดบ้างจนเราต้องถามซ้ำอยู่บ่อยๆ บรรยากาศเหล่านี้นับว่าถูกใจเราไม่น้อยเลยทีเดียว
คำสำคัญ : ตลาดดอยมูเซอ ตลาดชาวเขา
ที่มา : https://www.thai-tour.com/place/tak/maesot/1021
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ตลาดดอยมูเซอ. สืบค้น 13 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=815&code_db=610002&code_type=TK007
Google search
สถานที่ตั้งวัดโพธิคุณก่อนปีพุทธศักราช 2523 ยังเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่เคยมีที่พักสงฆ์ สำนักสงฆ์ หรือวัดมาก่อนเลย มีประชาชนในตัวอำเภอแม่สอดมาจับจองแผ้วถางทำไร่พืชผักผลไม้อยู่ 5 เจ้าของด้วยกัน ประชาชนหมู่ที่ 6 ตำบลแม่ปะเป็นชาวพุทธทั้งสิ้น เพราะมีร่องรอยที่จะทำเป็นที่พักสงฆ์อยู่ทั้งที่บ้านห้วยหินฝนและบ้านห้วยเตย (เรื่องชื่อบ้านนั้นเอาไว้เล่าในเรื่องสันติเกนิทาน) แต่ไม่มีพระภิกษุ-สามเณรมาอยู่ประจำ ทั้งนี้ทั้งนั้นยากแก่การสันนิษฐาน แต่พออนุมานได้ว่า อาจเป็นเพราะสถานที่ตรงนี้ขณะนั้นยังมีไข้ป่า เช่น ไข้มาลาเรียชุกชุมก็เป็นได้ และชาวบ้านโดยรวมมีความเป็นอยู่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์นัก
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 2,776
น้ำพุร้อนแม่ภาษา ตั้งอยู่ในตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก การเดินทางไปน้ำพุร้อนสะดวกสบาย ใช้เวลาเดินทางเพียงประมาณยี่สิบกว่านาทีจากเมืองแม่สอด บริเวณโดยรอบบ่อน้ำพุร้อนมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ มีการปรับปรุงตกแต่งสนามหญ้าและสวนหย่อม มีน้ำพุร้อนให้สำหรับต้มไข่ มีบ่อน้ำแร่ให้แช่เท้า และมีห้องอาบน้ำแร่
เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 2,269
สะพานมิตรภาพ ไทย–พม่า 2 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเมยขนาดใหญ่แห่งที่สอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านวังตะเคียนใต้ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตากของประเทศไทย เข้ากับบ้านเยปู หมู่ที่ 5 เมืองเมียวดี จังหวัดเมียวดี ของประเทศพม่า
เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 3,155
ตลาดริมเมย หรือ สุดประจิมที่ริมเมย สะพานมิตรภาพไทย-พม่า (ประตูเชื่อมอันดามันสู่อินโดจีน) ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด สุดทางหลวงหมายเลข 105 (สายตาก-แม่สอด) เป็นสะพานสร้างข้ามแม่น้ำเมยระหว่างอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กับ เมืองเมียวดีสหภาพเมียนมาร์ (หรือพม่าเดิม) มีความยาว 420 เมตร กว้าง 13 เมตร สร้างเพื่อเชื่อมถนนสายเอเซียจากประเทศไทยสู่สหภาพเมียนมาร์ ตลอดจนภูมิภาคเอเซียใต้ ถึงตะวันออกกลางและยุโรป เป็นประตูสู่ อินโดจีนและอันดามัน แม่น้ำเมย หรือแม่น้ำต่องยิน เป็นเส้นกั้นเขตแดนไทย เมียนมาร์ที่ยาวถึง 327 กิโลเมตร
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 4,100
วัดมณีไพรสณฑ์ เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่ตัวอำเภอแม่สอด สิ่งที่เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ต้องเข้าไปเยี่ยมชมคือ “เจดีย์วิหารสัมพุทเธ” เป็นเจดีย์ศิลปกรรมแบบพม่า ลักษณะเป็นเจดีย์ที่บนเจดีย์จะประกอบไปด้วยเจดีย์องค์เล็ก ๆ จำนวนมากล้อมรอบตัวเจดีย์องค์ใหญ่ และในแต่ละองค์เจดีย์จะประดิษฐานพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก (ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมของเราได้ถ่ายรูปมากฝากให้ชมด้วย)
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 3,153
วัดมณีไพรสณฑ์ ตั้งอยู่ถนนอินทรคีรี เขตเทศบาลเมืองแม่สอด พื้นที่ตั้งหน้าวัดติดถนนใหญ่ด้านหลังติดลำห้วยแม่สอด สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2328 ภายในวัดมีปูชนียวัตถุโบราณสถาน
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2021 ผู้เช้าชม 751
วัดไทยสามัคคีเดิม มีชื่อว่า วัดเหนือ หรือวัดใหม่ ตั้งอยู่ บ้านแม่กื้ดหลวงหมู่ที่ 1 ตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สร้างเมื่อปี พ.ศ.2482 โดยมี ท่านพระครูอุทัย (ครูบามูล) เจ้าคณะตำบลแม่สอด มาเป็นประธานการก่อสร้าง โดยมีนายจักร แผ่กาษา ได้มอบที่ดินถวายให้สร้างวัด ต่อมาคณะศรัทธาสาธุชนได้ร่วมแรงกันสร้างกุฏิไม้ไผ่มุงหลังคาด้วยแฝกพอเป็นที่พักพิงอาศัยของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรขึ้นมา 1 หลัง เพื่อประกอบการบำเพ็ญกุศล เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ท่านพระครูอุทัยก็ได้จัดให้พระวัน (ครูบาวัน) มารักษาการแทนเจ้าอาวาสได้ 11 พรรษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้นิมนต์พระทอหล่อ กันทะวํโส มาเป็นแทนเจ้าอาวาส ปี 2501 ท่านได้มรณภาพไป จึงได้นิมนต์พระบุญช่วย โสปาโก มาเป็นเจ้าอาวาส ได้ 9 พรรษาท่านก็ได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น
เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 2,218
อโรคยาศาลโป่งคำราม หรือ บ่อน้ำแร่โป่ง โป่งคำรามออนเซ็นแห่งแม่กาษา ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตาก เป็นการแช่ออนเซ็นในถังไม้โอ๊คแบบญี่ปุ่นแบบเก๋ๆ โดยใช้สายธารน้ำร้อนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มาปรับปรุงเสริมแต่งเพื่อความเหมาะสม ใช้เป็นสถานที่บำบัดรักษาโรค และพอกบ่อโคลนเพื่อสุขภาพ จุดเด่นของน้ำแร่โป่งคำราม คือ เป็นน้ำพุร้อนมีอุณหภูมิประมาณ 60 องศาเซลเซียส ปราศจากกรด และกลิ่นกำมะถัน มีแร่ธาตุที่มีประโยชน์ คนที่เคยมาแช่น้ำแร่ร้อนที่นี่จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าผ่อนคลายดี
เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 864
ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน อยู่ทางขวามือริมเส้นทางสายตาก-แม่สอด ตรงกิโลเมตรที่ 71-72 เป็นศาลเจ้าริมทางลักษณะเดียวกับศาลเจ้าพ่อพะวอ ศาลนี้ทำพิธีเปิดเมือ่ปลายปี 2523 สาเหตุที่สร้างศาลนี้เล่ากันว่า มีคหบดีท่านหนึ่งเจ็บป่วยอัมพาตมาช้านาน ได้ฝันว่ามีผู้มาบอกให้สร้างศาลเจ้าพ่อขุนสามชนขึ้นที่บริเวณที่เป็นศาลเจ้าปัจจุบัน คหบดีผู้นั้นจึงสร้างศาลขึ้นถวาย เรียกกันว่า ศาลเจ้าพ่อขุนสามชนนับแต่นั้นมาอาการของคหบดีนั้นก็เป็นปกติ ชาวบ้านเคารพนับถือมาก
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 8,499
เนินพิศวง อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 68 สายตาก - แม่สอด มีลักษณะเป็นทางขึ้นเนินที่แปลก คือเมื่อนำรถไปจอดไว้ตรงทางขึ้นเนินโดยไม่ได้ติดเครื่องรถจะไหลขึ้นเนินไปเอง มีนักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ถึงสาเหตุนี้พบว่า เกิดจากเป็นภาพลวงตา เนื่องจากได้มีการวัดระดับความสูงของเนินลูกนี้แล้วปรากฏว่า ช่วงที่มองเห็นเป็นที่สูงนั้น มีระดับความสูงต่ำกว่าช่วงที่เห็นเป็นทางลงเนิน ดังนั้นรถที่เรามองเห็นไหลขึ้นนั้นที่จริงไหลลงสู่ที่ต่ำกว่า แต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถบอกได้ว่าเหตุใดจึงมองเห็นเป็นภาพลวงตาเช่นนั้นได้
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,553