คอกช้างเผือก

คอกช้างเผือก

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้ชม 4,383

[16.701945, 98.5095832, คอกช้างเผือก]

        คอกช้างเผือก ตั้งอยู่เขตบ้านท่าอาจ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก การเดินทางตามทางหลวงหมายเลข 105 ก่อนถึงตลาดริมเมยประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาผ่านหน้าวัดไทยวัฒนารามตามทางลาดยางประมาณ 2 กิโลเมตร จะพบโบราณสถานคอกช้างเผือก หรือพะเนียดช้างทำเป็นกำแพงก่อด้วยอิฐมอญ มีความสูงประมาณ 1 เมตรเศษ กว้างประมาณ 25 เมตร ยาวประมาณ 80 เมตร

ประวัติความเป็นมา
       สันนิษฐานว่า เป็นสถานที่ที่สร้างขึ้นสำคัญในสมัยกรุงสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตามเกล็ดพงศาวดาร กล่าวว่าเมื่อมะกะโท (คนเลี้ยงช้างชนชาติมอญ กาลต่อมาได้เป็นขุนวัง) ได้ลักพาเจ้าหญิงพระธิดาของพ่อขุนรามคำแหงหนีไปอยู่กรุงหงสาวดี ต่อมามะกะโทได้รับแต่งตั้งสถาปนาเป็นพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว ที่กรุงสุโขทัยในเวลานั้น มีช้างเผือกอยู่เชือกหนึ่งดุร้ายมาก พ่อขุนรามคำแหงจึงทรงเสี่ยงสัตย์อธิษฐานว่า หากช้างเผือกเชือกนั้นเป็นช้างคู่บารมีของกษัติรย์นครใดก็ขอให้บ่ายหน้าไปทางนั้น เมื่อทรงประกอบพิธีเสร็จก็ปล่อยไป ช้างเผือกเชือกนั้นจึงชูงวงเป็นทักษิณาวัตรเปล่งเสียงร้องสามครั้งแล้วบ่ายหน้าออกจากประตูเมืองไปทางทิศตะวันตก พระองค์ทรงทราบทันทีว่าเป็นช้างคู่บารมีของพระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) จึงร่างสาส์นให้ทหารนำไปให้พระเจ้าฟ้ารั่ว แจ้งว่าให้คอยมารับเอาช้างเผือกเชือกนั้น พร้อมกับให้ทหารสะกดรอยตามเชือกเผือกเชือกนั้นไปจนถึงเชิงเขาแห่งหนึ่งมีแม่น้ำขวางกั้น จึงได้ทรงพะเนียดล้อมไว้และได้ประกอบพิธีมอบกันที่บริเวณนี้

ลักษณะทั่วไป
       คอกช้างเผือกนี้เป็นกำแพงก่ออิฐโบกปูนรูปสี่เหลี่ยม ปากคอกกว้าง 15 เมตร เป็นรูปสอบเล็ก ๆ ขนานกันไปทั้งสองด้าน ยาวประมาณ 50 เมตร

หลักฐานที่พบ
       คอกช้างเผือก เป็นกำแพงรูปสี่เหลี่ยม

เส้นทางเข้าสู่คอกช้างเผือก
        จากอำเภอแม่สอดไปทางทิศตะวันตกประมาณ 7 กิโลเมตร แยกขวาจากทางหลวงหมายเลข 105 ตรงกิโลเมตรที่ 82-83 เข้าทางลูกรังประมาณ 35 กิโลเมตร ที่ปากทางเข้ามีป้ายเขียนว่าโรงเรียนท่าอาจ และโรงเรียนวังตะเคียน

คำสำคัญ : คอกช้างเผือก

ที่มา : https://www.thai-tour.com/place/tak/maesot/2847

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). คอกช้างเผือก. สืบค้น 27 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=824&code_db=610002&code_type=TK007

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=824&code_db=610002&code_type=TK007

Google search

Mic

วัดไทยสามัคคี

วัดไทยสามัคคี

วัดไทยสามัคคีเดิม มีชื่อว่า วัดเหนือ หรือวัดใหม่ ตั้งอยู่ บ้านแม่กื้ดหลวงหมู่ที่ 1 ตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สร้างเมื่อปี พ.ศ.2482 โดยมี ท่านพระครูอุทัย (ครูบามูล) เจ้าคณะตำบลแม่สอด มาเป็นประธานการก่อสร้าง โดยมีนายจักร แผ่กาษา ได้มอบที่ดินถวายให้สร้างวัด ต่อมาคณะศรัทธาสาธุชนได้ร่วมแรงกันสร้างกุฏิไม้ไผ่มุงหลังคาด้วยแฝกพอเป็นที่พักพิงอาศัยของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรขึ้นมา 1 หลัง เพื่อประกอบการบำเพ็ญกุศล เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ท่านพระครูอุทัยก็ได้จัดให้พระวัน (ครูบาวัน) มารักษาการแทนเจ้าอาวาสได้ 11 พรรษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้นิมนต์พระทอหล่อ กันทะวํโส มาเป็นแทนเจ้าอาวาส ปี 2501 ท่านได้มรณภาพไป จึงได้นิมนต์พระบุญช่วย โสปาโก มาเป็นเจ้าอาวาส ได้ 9 พรรษาท่านก็ได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 2,520

ตลาดดอยมูเซอ

ตลาดดอยมูเซอ

ตลาดดอยมูเซอ จัดว่าเป็นตลาดสดของชาวไทยภูเขาที่ใหญ่ ที่สุดแห่งหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพราะจำนวนร้านค้าแผงลอยและจำนวนความหลากหลายของสินค้าเกษตรภายในตลาด เรียกว่ามีเยอะแยะละลานตาไปหมด ตลาดดอยมูเซอในปัจจุบันมีด้วยกัน 2 ตลาด แบ่งเป็นตลาดเก่าและตลาดใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกันแค่ 1 กิโลเมตรเท่านั้น ลักษณะของตลาดดอยมูเซอเก่าจะเป็นตลาดในแนวยาวเรียงรายขนานไปตามถนนสายหลัก ซึ่งบรรยากาศจะคึกคักตลอดทั้งวัน ทั้งบรรดาพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยภูเขา ชาวบ้านในแถบนั้น รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างก็แวะเวียนมาจับจ่ายสินค้ากันเป็นจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 3,644

สะพานมิตรภาพไทย-พม่า

สะพานมิตรภาพไทย-พม่า

 สะพานมิตรภาพ ไทย–พม่า 2 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเมยขนาดใหญ่แห่งที่สอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านวังตะเคียนใต้ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตากของประเทศไทย เข้ากับบ้านเยปู หมู่ที่ 5 เมืองเมียวดี จังหวัดเมียวดี ของประเทศพม่า

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 3,499

พิพิธภัณฑ์นครแม่สอด

พิพิธภัณฑ์นครแม่สอด

เทศบาลนครแม่สอด ได้ดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์นครแม่สอด ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องขยายโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายและรองรับการศึกษายุคปฏิรูปให้ทันกับโลกยุคการเรียนรู้ แบบไร้ขีดจำกัด (school without walls) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อการเติบโตของความรู้ สติปัญญา และความงอกงามของจิตใจเกิดความเข้าใจ เห็นคุณค่า รู้จักตนเองเกิดจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองรวมไปถึงเด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชน

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 662

เนินพิศวง

เนินพิศวง

อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 68 สายตาก-แม่สอด มีลักษณะเป็นทางขึ้นเนินที่แปลก คือเมื่อนำรถไปจอดไว้ตรงทางขึ้นเนินโดยไม่ได้ติดเครื่องรถจะไหลขึ้นเนินไปเอง นอกจากความพิศวงของเนินแห่งนี้แล้ว ที่นี่ยังเป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2021 ผู้เช้าชม 3,929

เนินพิศวง

เนินพิศวง

เนินพิศวง อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 68 สายตาก - แม่สอด  มีลักษณะเป็นทางขึ้นเนินที่แปลก คือเมื่อนำรถไปจอดไว้ตรงทางขึ้นเนินโดยไม่ได้ติดเครื่องรถจะไหลขึ้นเนินไปเอง  มีนักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ถึงสาเหตุนี้พบว่า เกิดจากเป็นภาพลวงตา เนื่องจากได้มีการวัดระดับความสูงของเนินลูกนี้แล้วปรากฏว่า ช่วงที่มองเห็นเป็นที่สูงนั้น มีระดับความสูงต่ำกว่าช่วงที่เห็นเป็นทางลงเนิน ดังนั้นรถที่เรามองเห็นไหลขึ้นนั้นที่จริงไหลลงสู่ที่ต่ำกว่า แต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถบอกได้ว่าเหตุใดจึงมองเห็นเป็นภาพลวงตาเช่นนั้นได้

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,684

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

เทศบาลนครแม่สอด เล็งเห็นความสําคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก เยาชนในเขตเทศบาลนครแม่สอด และจัดให้มีการบริการสาธารณะ เช่น การคมนาคมทางบก ระบบรางระบายน้ํา ตลอดจนทํานุบํารุงถนนภายในเขตเทศบาลนครแม่สอด เพื่อสามารถรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนการสร้างแลนด์มาร์ก (Landmark) ให้เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตาก เทศบาลนครแม่สอดจึงได้จัดทําโครงการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ อําเภอแม่สอด ขึ้นเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายที่วางไว้สืบไป 

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 928

 ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน

ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน

ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน อยู่ทางขวามือริมเส้นทางสายตาก-แม่สอด ตรงกิโลเมตรที่ 71-72 เป็นศาลเจ้าริมทางลักษณะเดียวกับศาลเจ้าพ่อพะวอ ศาลนี้ทำพิธีเปิดเมือ่ปลายปี 2523 สาเหตุที่สร้างศาลนี้เล่ากันว่า มีคหบดีท่านหนึ่งเจ็บป่วยอัมพาตมาช้านาน ได้ฝันว่ามีผู้มาบอกให้สร้างศาลเจ้าพ่อขุนสามชนขึ้นที่บริเวณที่เป็นศาลเจ้าปัจจุบัน คหบดีผู้นั้นจึงสร้างศาลขึ้นถวาย เรียกกันว่า ศาลเจ้าพ่อขุนสามชนนับแต่นั้นมาอาการของคหบดีนั้นก็เป็นปกติ ชาวบ้านเคารพนับถือมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 9,028

วัดโพธิคุณ

วัดโพธิคุณ

สถานที่ตั้งวัดโพธิคุณก่อนปีพุทธศักราช 2523 ยังเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่เคยมีที่พักสงฆ์ สำนักสงฆ์ หรือวัดมาก่อนเลย มีประชาชนในตัวอำเภอแม่สอดมาจับจองแผ้วถางทำไร่พืชผักผลไม้อยู่ 5 เจ้าของด้วยกัน ประชาชนหมู่ที่ 6 ตำบลแม่ปะเป็นชาวพุทธทั้งสิ้น เพราะมีร่องรอยที่จะทำเป็นที่พักสงฆ์อยู่ทั้งที่บ้านห้วยหินฝนและบ้านห้วยเตย (เรื่องชื่อบ้านนั้นเอาไว้เล่าในเรื่องสันติเกนิทาน) แต่ไม่มีพระภิกษุ-สามเณรมาอยู่ประจำ ทั้งนี้ทั้งนั้นยากแก่การสันนิษฐาน แต่พออนุมานได้ว่า อาจเป็นเพราะสถานที่ตรงนี้ขณะนั้นยังมีไข้ป่า  เช่น ไข้มาลาเรียชุกชุมก็เป็นได้ และชาวบ้านโดยรวมมีความเป็นอยู่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์นัก   

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 2,935

พระธาตุหินกิ่วที่ดอยดินจี่

พระธาตุหินกิ่วที่ดอยดินจี่

ชมความมหัศจรรย์แห่งองค์พระธาตุที่ตั้งอยู่บนชะง่อนผาสูง โดยมีหินก้อนใหญ่ซึ่งมีฐานคอดกิ่วราวกับจะแยกขาด จากกันวางตัวอยู่บนหน้าผานั้น ซึ่งชาวบ้านต่างพากันขนานนามว่า “เจดีย์หินพระอินทร์แขวน” อีกทั้งหินที่อยู่บนดอยนี้ยังมีสีดำหรือน้ำตาลไหม้ บางคนจึงเรียกพระธาตุองค์นี้ว่า “พระธาตุดอยดินจี่” ซึ่งหมายถึงดินที่ถูกไฟไหม้นั่นเอง ทั้งนี้ภายในเจดีย์มีพระธาตุประดิษฐานอยู่ ที่เรียกกันว่า “พญาล่อง” ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของ ชาวจังหวัดตากและจังหวัดใกล้เคียง และในบริเวณวัดพระธาตุฯ ยังมีเรือโบราณที่มีอายุประมาณ 200 ปี พบเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2539 โดยชาวบ้านวังตะเคียนได้ช่วยกันกู้ขึ้นมาเก็บรักษาไว้ที่เชิงดอยดินจี่เรือลำนี้เป็นเรือขุดจากไม้ซุงทั้งต้น 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 5,090