เหรียญพระวิบูลวชิรธรรม

เหรียญพระวิบูลวชิรธรรม

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้ชม 10,356

[16.4912654, 99.4868829, เหรียญพระวิบูลวชิรธรรม]

หลวงพ่อพระวิบูลวชิธรรม อุปสมบทเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2445 ตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำ เดือนอ้าย ปีขาล ณ พัทธสีมา วัดขุนญาณ ตำบลคลองเมือง อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพระญาณไตรโลกย์ (สะอาด) วัดศาลาปูน อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยธรศรี วัดศาลาปูน อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดแพ วัดศาลาปูน อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฉาย์ ให้นามฉายาว่า “อุตตโร” เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดศาลาปูน เป็นเวลา 2 ปี จึงกลับมาอยู่กับหลวงพ่อเผือก หรือพระครูบรรพโตปมญาณ ที่วัดหัวดงเหนือ ตำบลหัวดง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย จากพระอาจารย์สด (พระครูสวรรค์วิถี) อยู่ 2 พรรษา แล้วได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์เป็นเวลา 2 พรรษา ต่อจากนั้นได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดเขาแก้ว (วัดมณีบรรพตวรวิหาร) อำเภอเมือง จังหวัดตาก อีก 2 พรรษา แล้วจึงได้ย้ายกลับมาอยู่ที่วัดท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เมื่ออาจารย์ปั้นเจ้าอาวาสวัดท่างิ้วได้มรณะภาพลง หลวงพ่อพระครูน้อย ขณะนั้นยังเป็นประทวนสมณะศักดิ์อยู่ ได้ตั้งให้หลวงพ่อเป็นเจ้าอาวาสวัดท่างิ้ว ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาในปี พ.ศ.2468 หลวงพ่อได้รับแต่งตั้งห้เป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี และกิ่งอำเภอแสนตอ จังหวัดกำแพงเพชร (สมัยนั้นอำเภอคลองขลุงยังเป็อำเภอขาณุอยู่ อำเภอขาณุยังเป็นกิ่งอำเภอแสนตอ ต่อมาราวปี พ.ศ.2493 จึงเปลี่ยนอำเภอแสนตอเป็นอำเภอขาณุวรลักษบุรีมาจนทุกวันนี้) แต่ยังดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลท่างิ้วอยู่อีกด้วย และยังอยู่ที่วัดท่างิ้วตามเดิม ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ใน พ.ศ.2468 ครั้นถึงปี พ.ศ.2470 ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูวิบูลวชิธรรม” ครั้นทางราชการได้แยกอำเภอขาณุวรลักษบุรี เป็นอำเภอคลองขลุง กิ่งอำเภอแสนตอเป็นอำเภอขาณุวรลักษบุรี แล้ว หลวงพ่อ ฯ ได้รับใบตราตั้งให้เป็นกรรมการศึกษาประจำตำบลคลองขลุง เมื่อปี 2500 คณะสงฆ์อำเภอคลองขลุงและประชาชนชาวตำบลท่าพุทรา ได้พร้อมกันไปอาราธนาพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระวิบูลวชิรธรรม ให้ขึ้นมาประจำอยู่ที่วัดคฤหบดีสงฆ์ ตำบลท่าพุทรา อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ดังนั้น พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระวิบูลวชิรธรรม จึงได้มาประจำอยู่ที่วัดคฤหบดีสงฆ์ จนตราบเท่าถึงอวสานแห่งชีวิตของท่าน เมื่อ พ.ศ.2501 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระวิบูลวชิรธรรม”

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=665&code_db=DB0003&code_type=P006

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). เหรียญพระวิบูลวชิรธรรม. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=212&code_db=DB0009&code_type=J003

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=212&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุคลองไพร

กรุคลองไพร

ที่ตั้งกรุพระคลองไพร ฝั่งตะวันตกจากใต้หัวสะพานกำแพงเพชรไปทางทิศใต้ 2 กิโลเมตร ทิศตะวันออกของหัวสะพานคลองไพร ประมาณ 100 เมตร ปัจจุบันถูกทำเป็นพื้นที่การเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระพลูจีบ พระอู่ทองทองเจดีย์ พระกลีบบัว พระเปิดโลก พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 4,158

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก องค์เจ้าเงาะ

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก องค์เจ้าเงาะ

พระเครื่องในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุ ขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อปี พ.ศ. 2392  ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชร ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระและอุปเท่ห์การอาราธนาพร ะ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 27,360

พระซุ้มชินราช

พระซุ้มชินราช

พระซุ้มชินราช กำเนิดที่วัดร้าง คือวัดหัวมีนาและวัดโพธิ์ ตำบลท่าเรือ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดสองวัดนี้ปัจจุบันไม่มีแล้วเพราะสถานที่ทั้งสองกลายเป็นโรงเรียนนาฏศิลป์ไปแล้ว พระถูกค้นพบเมื่อประมาณพ.ศ. ๒๔๙๖ นอกจากจะพบพระซุ้มชินราชแล้งยังพบพระพิมพ์อื่นปนออกมาหลายพิมพ์ เช่นพิมพ์วงเขน พิมพ์ตรีกรายฯ ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดิน ส่วนเนื้อชินมีน้อย ศิลปะของพระกรุนี้จะเป็นยุคอยุธยาตอนต้น

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 9,137

กรุวัดตะแบกลาย

กรุวัดตะแบกลาย

ที่ตั้งกรุพระวัดตะแบกลาย อยู่ทิศใต้ของกรุวัดเชิงหวาย ประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระลีลากำแพง พระซุ้มกอแผง พระเจ้าสิบพระองค์ พระสิบชาติ พระกลีบบัว พระลีลาสิบพระองค์ พระนารายณ์ทรงปีน พระสิบชาตินารายณ์แปรง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 5,718

สีของพระเครื่องเนื้อดินและว่าน

สีของพระเครื่องเนื้อดินและว่าน

สีของพระเครื่องเนื้อดินฝังตัวเมืองกำแพงเพชร และฝั่งนครชุมมีหลายสีด้วยกัน พระเครื่องเนื้อดินที่ปรากฏเป็นสีต่างๆ คือมาจากส่วนผสมของวัสดุและสาเหตุต่างๆ ดังนี้ 1. ดินที่ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แหล่งต่างๆ สีและเนื้อดินจะไม่เหมือนกัน 2. เกสรว่าน ดอกว่าน เมล็ดว่าน ใบว่านและต้นว่าน วิธีการของการเก็บว่านมาใช้ ฤดูของต้นว่านดินที่มีเกสรก็เก็บเอาเกสรเมื่อไม่มีเกสรก็จะเก็บเอาดอก เมื่อไม่มีดอกก็จะเก็บเอาเมล็ด เมื่อไม่มีเมล็ดก็จะเก็บเอาใบ และเมื่อไม่มีใบก็ใช้ต้นว่าน 3. ผงใบลานเผาของพระคัมภีร์ที่ใช้การไม่ได้เผาแล้วจะเป็นผงสีดำ 4. น้ำท่ี่ศักดิสิทธิ์นำมาผสมสีทำให้เป็นสีต่างๆ  5. จากผงพระพุทธคุณจะเป็นผงสีขาว 6. เมื่อทำพระต่างๆ เสร็จก็จะนำไปเผาไฟ ซึ่่งการเผาเมื่อแก่ไฟสีจะแดง เมื่ออ่อนไฟสีจะเหลืองแดง เมื่อเผาไม่สุกสีก็จะดำและดำเขียวหรือสีเทา 7. ท่าไม่เผาไฟก็จะเป็นเนื้อดินดิบ สีคงไปตามสีของดินและส่วนผสมของว่านโดยธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 18,593

พระกำแพงกลีบจำปา เนื้อชิน

พระกำแพงกลีบจำปา เนื้อชิน

พระกำแพงกลีบจำปาเนื้อชินที่พบเป็นพระชินเงิน พิมพ์ทรงเหมือนกับเนื้อดินทุกประการ เนื่องจากพระกำแพงกลีบจำปาเป็นพระที่สัณฐานบางมาก พระส่วนมากจะผุพังและชำรุดหาที่สมบูรณ์ยาก พระกำแพงกลีบจำปาเป็นพระชินเงินที่มีตะกั่วผสม เนื้อของพระมักจะมีไขขึ้นเป็นบางจุด เนื้อหาจะระเบิดผุเป็นส่วนใหญ่ ส่วนด้านหลังจะเป็นแอ่งและมีลักษณะเป็นลายผ้าทุกองค์ ลักษณะการผุระเบิดเช่นนี้เป็นลักษระของพระ กรุเก่า ซึ่งหมายถึงพระที่ขึ้นมาจากกรุวัดพระบรมธาตุและบริเวณฝั่งทุ่งเศรษฐีในยุคก่อนมี ๒๔๙๐

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 7,203

กรุ สปจ.

กรุ สปจ.

ที่ตัั้งกรุพระ สปจ. อยุ่ในรั้วที่ทำการศึกษานิเทศก์จังหวัดกำแพงเพชร มุมรั้วทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดถนนราชดำเนิน เข้าด้านถนนเทศา ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระสังกัจจายณ์ พระร่วงนั่งพิมพ์ฐานสูง พระร่วมนั่งพิมพ์สามเหลี่ยม พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพง พระร่วงนั่งพิมพ์ปีกกว้าง พระเชตุพนพิมพ์ฐานบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 4,523

กรุวัดคูยาง

กรุวัดคูยาง

เมื่อพูดถึงพระกรุวัดคูยาง ก็อดที่จะกล่าวถึงพระสงฆ์ผู้ที่คนเคารพนับถือว่าเป็นผู้ทรงวิทยาคุณ ขนานนามว่าพระเกจิอาจารย์เสียมิได้ โดยเฉพาะในส่วนของวัดคูยางแล้วก็นับว่าเป็นที่รู้จักและยอมรับนับถือของคนทั่วไป ไม่น้อยไปกว่าวัดอื่นๆ เลย เช่น พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) พระครูเมธีคณานุรักษ์ (ปลั่ง) ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระวิเชียรโมลี และพระวิเชียรธรรมคณี (ทองพาน) อดีตเจ้าอาวาสวัดคูยางและอดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรทั้ง 3 รูป เป็นต้น โดยเฉพาะพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยกับหลวงพ่อขำ อินทะปัญญา วัดลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่อศุข วัดปากคลอง มะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท และหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 5,002

ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

พระกำแพงพลูจีบในปัจจุบันนี้ ได้กลายเป็นพระเครื่อง ในตำนานไปแล้วอย่างแท้จริง เมื่อราว พ.ศ. 2500 พระกำแพงพลูจีบเป็นพระเครื่องที่ค่านิยมสูงสุดของพระเมืองกำแพงสูงกว่าพระกำแพงเม็ดขนุน และพระกำแพงซุ้มกอ แม้แต่นักนิยมพระรุ่นเก่ามีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เคยเห็นและพิจารณาของจริง ในยุคนั้นจึงมีพระพลูจีบที่ทำปลอมออกมาเป็นแบบต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของนักปลอมแปลงพระ บางทีก็เป็นรูปบิดม้วนเป็นเกลียวบ้าง แบบเรียวยาวชะลูดปลายแหลมบ้าง เพื่อให้เข้ากับคำว่าพลูจีบตามที่ได้ยินมา     

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 10,147

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

เป็นพระพิมพ์แบบเทหล่อแบบครึ่งซีก สัณฐานรูปสี่เหลี่ยมยาว ด้านบนโค้งมน ยอดแหลม ส่วนด้านล่างตัดตรง พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางลีลา เหนืออาสนะเส้นตรง 2 ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้ว รอบซุ้มและฐานประดับด้วยเม็ดไข่ปลา พระเกศเป็นมุ่นเมาลี 2 ชั้น บนสุดมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม พระศกเป็นเม็ดงายาวรีโดยรอบ พระพักตร์เอียงไปด้านซ้าย กลมกลืนกับพระอิริยาบถก้าวย่างพระบาท ปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ชัดเจน ลำพระศอไม่เด่นชัด แต่สร้อยพระศอปรากฏชัดเจน พระอังสากว้าง พระอุระอวบอูมล่ำสัน แต่แฝงความอ่อนช้อยงามสง่าในที ลำพระองค์วาดเว้ากลมกลืนอย่างมีทรงและทอดต่อลงมาจนถึงพระบาท เส้นพระอังสะและชายจีวรอ่อนช้อยแลดูไหวพลิ้ว พระกรข้างซ้ายขององค์พระยกพาดเหนือพระอังสา พระกรข้างขวาทอดแอ่นไปตามลำพระองค์ ส่วนด้านหลังเป็นหลังแบนเรียบปรากฏลายผ้าหยาบๆ

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 2,792