พระยอดขุนพล

พระยอดขุนพล

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 26,754

[16.4746251, 99.5079925, พระยอดขุนพล]

         พระยอดขุนพล กรุเก่าวัดพระบรมธาตุ เมืองกำแพงเพชร องค์นี้เป็นพระปางมารวิชัย พุทธลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูป "ทรงเทริด" ของเมืองลพบุรี (เทริด [อ่านว่า "เซิด"] หมายถึง เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า) องค์พระประดิษฐานอยู่บนฐานในซุ้มทรงห้าเหลี่ยม คล้ายกับรูปทรง ใบเสมา เซียนพระสมัยก่อนจึงเรียกว่า "พระเสมาตัด" มาในระยะหลังคนรุ่นใหม่เห็นว่า คำว่า "ตัด" ฟังแล้วไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก จึงตัดคำนี้ออกไป เหลือเพียง พระยอดขุนพล กำแพงเพชร ก็เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่ว (เช่นเดียวกับ พระขุนแผน พิมพ์ใบไม้ร่วง กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี ที่เซียนพระรุ่นเก่าเรียกกันมานานปี ต่อมาเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้  เซียนพระชาวสุพรรณพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อเรียกพระพิมพ์นี้เสียใหม่ว่า พระขุนแผน พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว ฟังดูแล้วไพเราะกว่า ใบไม้ร่วง ที่ไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก ทำให้พระพิมพ์นี้มีราคาพุ่งขึ้นทันที) พระยอดขุนพล กำแพงเพชร องค์นี้เป็นพระเก่าเก็บ สภาพเดิมๆ ทุกอย่าง ผิวพระไม่ได้ผ่านการใช้มาก่อนเลย  ผิวพระมีปรอทคลุมทั่วองค์พระ และมีคราบกรุติดอยู่โดยทั่วไป ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทำให้องค์พระมีเสน่ห์น่าชวนชม สวยงามสมบูรณ์ทุกซอกมุม แม้ว่าธรรมชาติของพระพิมพ์นี้จะเป็นพระพิมพ์ตื้น แต่เฉพาะองค์นี้มีความคมชัดมาก และหากพิจารณาให้ละเอียดจริงๆ จะเห็นว่า พระพักตร์เหมือนกับใบหน้าของคนจริงๆ (ใบหน้าของคนขณะหลับตา) ความสวยคมชัดของพระองค์นี้ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ได้คว้ารางวัลชนะเลิศมาแล้วหลายสิบงาน จนทำให้มีภาพปรากฏอยู่ในหนังสือรวมภาพพระยอดนิยม ยุคแรกๆ ที่มีการจัดพิมพ์กันขึ้นมา...ขอแสดงความยินดีด้วยกับ คุณหมอพัฒนพงศ์ ที่มีพระสวยระดับแชมป์อยู่ในครอบครองอีกองค์หนึ่ง พระยอดขุนพล เป็นพระศิลปลพบุรี เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้เป็นแม่ทัพนายกอง ผู้บริหารองค์กรใหญ่ๆ ควรจะหาไว้ใช้ติดตัว เป็นการเสริมสร้างบารมี อำนาจ ให้เป็นที่เคารพรักนับถือและเกรงขามของผู้ใต้บังคับบัญชา ขณะเดียวกัน ผู้ใช้พระพิมพ์นี้ก็ต้องมี "ความเมตตา" แก่ผู้น้อยด้วย ถึงจะได้อยู่ด้วยกันอย่างสันติสุขนานๆ
         อ.ประชุม กาญจนวัฒน์ นักพระเครื่องอาวุโสผู้ล่วงลับไปแล้ว ได้เขียนถึง พระยอดขุนพล ว่าเป็นพระที่น่าใช้มาก มี 3 เมืองใหญ่ๆ ที่สร้างพระพิมพ์นี้ คือ ลพบุรี ที่ท่านเรียกว่า พระยอดขุนพล เมืองละโว้ /กำแพงเพชร ที่เรียกว่า พระยอดขุนพล ชากังราว และ กรุงศรีอยุธยา ที่เรียกว่า พระยอดขุนพล อโยธยา แต่ไม่ว่าจะเป็น พระยอดขุนพล ของเมืองไหนก็ตาม ทุกวันนี้หาพระองค์แท้ๆ ได้ยากนัก ผู้สนใจจึงต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะ ของปลอม มีมากเหลือเกิน คือ มากกว่า ของแท้ เสียอีกพูดถึง เมืองกำแพงเพชร สุดยอดของพระเมืองนี้ต้องยกให้ พระซุ้มกอ ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 ของ พระชุดเบญจภาคี ที่เช่าหากันองค์หนึ่งหลายแสนบาท ไปจนถึงหลักล้านก็มี ตามสภาพความสวยงามคมชัด อย่างองค์ที่เป็นภาพประกอบหัวคอลัมน์ "คมเลนส์ส่องพระ" ที่เห็นข้างบนนี้ ฝ่ายศิลป์ทำให้ภาพเบลอๆ ความจริงแล้วภาพเดิมสวยคมชัดมาก องค์นี้แหละที่เรียกว่า พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ องค์เจ้าเงาะ องค์ดั้งเดิมของ อ.เชียร ธีรศานต์ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาอันน่าสนใจมาก ต่อมาได้เปลี่ยนมือไปโน่นไปนี่หลายแห่งหน จนในที่สุด มร.ไลน์ ก็อด วิน เศรษฐีจากเกาะฮ่องกง ก็มานิมนต์ท่านไปอยู่ที่โน่น ด้วยราคานับสิบล้านบาท ทุกวันนี้ยังหา พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ องค์อื่นใดมาเทียบความสวยคมชัดได้ยากยิ่ง ทิ้งไว้เป็นความทรงจำของคนในวงการพระเครื่องเมืองไทย จนทุกวันนี้พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก องค์ในภาพนี้เป็นพระของ พิทักษ์ ชำนาญวินิจฉัย นักธุรกิจหนุ่มผู้สนใจพระสวย ที่มีพุทธคุณทางเมตตามหานิยม และโชคลาภ จึงนิมนต์ พระซุ้มกอ องค์นี้ไปขึ้นคอด้วยความสุขสมหวังทุกประการ พระซุ้มกอ เป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อหามวลสารละเอียดมาก มีว่านดอกมะขามเป็นจุดแดงเล็กๆ ปรากฏทั่วองค์พระ เป็นพระปางสมาธิ มีทั้งสมาธิราบ และสมาธิเพชร ศิลปะเชียงแสนผสมกับสุโขทัย คือ องค์พระอวบอ้วน พระอุระผึ่งผาย นูนเด่นเป็นสง่า งดงามมาก เหมือนกับพระสมัยเชียงแสน พระนาภีเรียว การทิ้งพระพาหา และขัดสมาธิงดงามแบบสุโขทัย มีประภามณฑลรอบพระเศียรคล้ายรูปตัว ก ไก่ จึงมีการเรียกพระพิมพ์นี้ว่า พระซุ้มกอ มีหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์ใหญ่ มีกนก พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก (ส่วนมากเป็นพระซุ้มกอดำ) พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ขนมเปี๊ยะ (มีปีกกว้าง) และพระซุ้มกอ พิมพ์พัดใบลาน พระซุ้มกอ และ พระเมืองกำแพงเพชร อื่นๆ เป็นที่รู้จักกันครั้งแรกในสมัย พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 โดยมีบันทึกในพระราชนิพนธ์เรื่อง เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร ว่ามีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายตำนาน พระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นจารึกบนแผ่นลานทอง ซึ่งขุดได้จากเจดีย์ต่างๆ ในวัดพระบรมธาตุ บริเวณทุ่งเศรษฐี นครชุม พร้อมกับพระเครื่องจำนวนหนึ่ง นับเป็นการพบกรุพระเป็นครั้งแรก จนเป็นที่เลื่องลือในเวลาต่อมา และเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสกันมากในสมัยนั้น เพราะเชื่อกันว่า พระกรุนี้มีอานุภาพยอดเยี่ยมมาก ผู้ใดมีไว้จะประสบพบกับความสำเร็จสมหวังตามความปรารถนาทุกประการ 

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=164&code_db=DB0003&code_type=P004

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระยอดขุนพล. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=201&code_db=DB0011&code_type=F001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=201&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุอาวาสใหญ่

กรุอาวาสใหญ่

ที่ตั้งกระพระวัดอาวาสใหญ่ อยู่ริมถนนกำแพงพรานกระต่ายติดกับบ่อสามแสน ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระซุ้มเสมา พระคู่สวดอุปฌานอกเสมา พระโพธิ์บัลลังก์ พระฤาษีสนิมตีนกา พระท่ามะปราง พระลีลาพิมพ์ตะกวน พระซุ้มเรือนแก้ว พระคู่สวดอุปฌาในเสา พระมารวิชัยสนิมตีนกา และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,709

พระลูกแป้งเดี่ยว

พระลูกแป้งเดี่ยว

พระนางกำแพงลูกแป้ง เป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นพระอีกพิมพ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในบรรดาพระเครื่องของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระในตระกูลพระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์เล็กนั่นเอง พุทธลักษณะเป็นพระปางมารวิชัย ประทับนั่งสมาธิราบบนฐานหนึ่งชั้นและมีเส้นกรอบเป็นเส้นซุ้มรอบรูปสามเหลี่ยม และไม่มีการตัดขอบซึ่งจะต้องมีเส้นซุ้มรอบแบบนี้ทุกองค์ พบขึ้นจากกรุทั้งฝั่งนครชุมและลานทุ่งเศรษฐี ตลอดจนบริเวณที่ใกล้เคียง เช่นที่กรุวัดพิกุล กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดป่ามืด กรุวัดพระบรมธาตุ และกรุวัดพระแก้ว เป็นต้น พระนางกำแพงลูกแป้ง มีหลายพิมพ์ตามจำนวนองค์พระที่ปรากฎรวมกันอยู่ เช่น พระนางกำแพงลูกแป้งเดี่ยว พระนางกำแพงลูกแป้งคู่ พระนางกำแพงลูกแป้งสาม พระนางกำแพงลูกแป้งห้า เป็นต้น ส่วนทางด้านพุทธคุณนั้น เป็นที่ยอมรับการมาอย่างช้านานด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 10,454

ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ

ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ

ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ พระกำแพงต่างๆ ซึ่งเป็นพระกรุจังหวัดเดียวกันเหตุใดจึงมีเนื้อหาที่ต่างกัน ทำไมบางองค์เนื้อแดงดูฉ่ำมีแร่ใหญ่ ชัด บางองค์ละเอียดเนื้อแทบไม่มีเม็ดแร่ใหญ่ให้เห็น บางองค์ก็เหมือนเป็นพระที่ผ่านการใช้มามาก ลักษณะลื่นๆ เรียบๆ การที่พระเครื่องมีเนื้อหาต่างกัน ถ้าจะให้สันนิษฐานน่าจะเกิดจากสาเหตุการสร้างพระจำนวนมาก คงไม่ได้มีการผสมเนื้อครั้งเดียวเป็นแน่ ดังนั้นพระที่ผสมหลายครั้งอาจจะมีเนื้อหาแตกต่างกันไป เช่น ถ้าครั้งใดมีส่วนผสมที่แก่ว่านและเกสรก็อาจจะหนึกนุ่มกว่าที่ครั้งที่แก่ดิน แม้แต่พระเนื้อผงอย่างพระสมเด็จก็มีแบบหยาบที่เรียกตามๆ กันมาว่า ก้นครก 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 10,579

กรุวัดเชิงหวาย

กรุวัดเชิงหวาย

ที่ตั้งกรุพระวัดเชิงหวาย อยู่ถนนกำแพงพรานกระต่ายเข้าทางกรุวัดดงหวาย เรียบถนนริมคลองประมาณ 700 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงขาว พระท่ามะปราง พระร่วงประทานพร พระยอดขุนพลพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มยอพิมพ์เล็ก พระซุ้มจิก พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระโพธิบัลลังก์ พระลีลากำแพง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่งทรงสมาธิ พระซุ้มยอพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระกำแพงคืบ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 3,300

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย ได้มีการขุดพบอยู่หลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร พบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2392 ที่วัดพระบรมธาตุ ฝั่งทุ่งเศรษฐี ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ก็พบอีกที่กรุวัดกะโลทัย และต่อมาก็พบที่กรุวัดอาวาสน้อยทางฝั่งจังหวัด ศิลปะขององค์พระเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย มีประภามณฑล ขนาดของแต่ละองค์มีขนาดเล็กมาก คาดว่าคงสร้างในสมัยสุโขทัย ในราวปี พ.ศ. 1900 พระที่พบมีแต่พระเนื้อชินเงินเท่านั้นพระกำแพงห้าร้อย ถ้าสมบูรณ์เต็มแผ่นนั้นหายากมากๆ และสนนราคาสูง นิยมทำแผงไม้ตั้งไว้บูชาประจำบ้าน ถือว่ากันไปได้ชะงัดนัก

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 13,608

พระพุทธรูปกรุ

พระพุทธรูปกรุ

พระพุทธรูปโบราณใน 100 ส่วนจะเป็นเนื้อสำริดเสีย 99.5 ส่วน ดังนั้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาขึ้นไป พระพุทธรูปส่วนมากจะถูกสร้างด้วยเนื้อสำริดเท่านั้น ส่วนเนื้อศิลาไม่นำมาเขียนในที่นี้ ศิลปะการสร้าง จะสร้างอย่างประณีตฝีมือเป็นเลิศ เพราะสร้างเสร็จจะไม่มีร่องรอยในการตบแต่งหรือเพิ่มเติมใดๆ พระที่ถูกนำมาบรรจุตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา นับว่านานหลายร้อยปี ฉะนั้นพระกรุใน 100 ส่วน ประมาณ 80 ส่วนจะมีรอยเดาะหรือชำรุดผุกร่อนตามองค์พระจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งจะปรากฏให้เห็นโดยเป็นธรรมชาติ 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 8,007

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

ที่ตั้งกรุพระวัดทุ่งเศรษฐี อยู่ทิศตะวันตกของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันที่ตั้งกรุถูกขุดเป็นสระกว้างประมาณ 600 ตารางเมตร ชาวบ้านนิยมเรียกคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ก็เห็นจะเป็นนามมงคลของคำว่า "เศรษฐี" กรุพระต่างๆ ที่ชาวบ้านนิยมเรียกใช้นามคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ขอสรุปมีกรุดังนี้ กรุวัดทุ่งเศรษฐี กรุหนองลังกา กรุซุ้มกอ กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุตาลดำ กรุคลองไพร กรุบริเวณวัดพระบรมธาุและกรุอื่่นๆ ที่อยู่ในบริเวณลานทุ่ง กรุพระต่างๆ ที่เขียนนี้ สมัยก่อนเป็นบริเวณทุ่งนาของเศรษฐีพิกุล ปัจจุบันชาวบ้านจึงเรียกว่า "กรุทุ่งเศรษฐี"

 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 9,425

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระว่านหน้าทองนั้นในทรรศนะของผมเป็นพระเครื่องชั้นสูงของกำแพงเพชรอย่างแท้จริง และเป็นพระที่คู่ควรแก่การอาราธนาบูชาประจำตัว เพราะพระว่านหน้าเป็นพระที่พระมหากษตริย์ทรงสร้าง เป็นพระที่ศิลปสวยงามอลังการณ์ตามแบบของสกุลช่างสมัยสุโขทัยซึ่งเป็นยุคทองพระพุทธศาสนา การสร้างพระพิมพ์ด้วยทองคำซึ่งเป็นของสูงค่ามาตั้งแต่โบราณเป็นสิ่งที่บอกในตัวเองว่า พระว่านหน้าทองไม่ใช่พระในระดับธรรมดาแน่ พระกำแพงว่านหน้าทองที่นำมาให้ศึกษาอีกองค์หนึ่ง คือ พระกำแพงลีลาฝักดาบ สำหรับพุทธานุภาพของพระว่านหน้าทองนั้นเป็นที่ประจักษ์แก่นักพระเครื่องยุคเก่ากันมานักต่อนักว่า มีอานุภาพครอบจักรวาลสมดังคำจารึกในใบลานทอง เพื่อให้ท่านได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น จะขอคัดข้อเขียนของ อ.ประชุม ฯ ที่เขียนเล่าเรื่องพระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง ไว้ในหนังสือของท่านเมื่อกึ่งศตวรรษมาแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 9,594

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

เป็นพระพิมพ์แบบเทหล่อแบบครึ่งซีก สัณฐานรูปสี่เหลี่ยมยาว ด้านบนโค้งมน ยอดแหลม ส่วนด้านล่างตัดตรง พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางลีลา เหนืออาสนะเส้นตรง 2 ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้ว รอบซุ้มและฐานประดับด้วยเม็ดไข่ปลา พระเกศเป็นมุ่นเมาลี 2 ชั้น บนสุดมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม พระศกเป็นเม็ดงายาวรีโดยรอบ พระพักตร์เอียงไปด้านซ้าย กลมกลืนกับพระอิริยาบถก้าวย่างพระบาท ปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ชัดเจน ลำพระศอไม่เด่นชัด แต่สร้อยพระศอปรากฏชัดเจน พระอังสากว้าง พระอุระอวบอูมล่ำสัน แต่แฝงความอ่อนช้อยงามสง่าในที ลำพระองค์วาดเว้ากลมกลืนอย่างมีทรงและทอดต่อลงมาจนถึงพระบาท เส้นพระอังสะและชายจีวรอ่อนช้อยแลดูไหวพลิ้ว พระกรข้างซ้ายขององค์พระยกพาดเหนือพระอังสา พระกรข้างขวาทอดแอ่นไปตามลำพระองค์ ส่วนด้านหลังเป็นหลังแบนเรียบปรากฏลายผ้าหยาบๆ

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 2,961

กรุวังพระธาตุ

กรุวังพระธาตุ

ที่ตั้งกรุพระวังพระธาตุ จาก 4 แยกนครชุมกำแพงเพชรไปทิศใต้ตามถนนเอเซีย ประมาณ 14 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร อยู่ริมน้ำปิง ประเภทพระที่พบ ได้แก่
พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ๋  พระลีลากำแพง พระซุ้มยอ พระนางพญากำแพง พระเชตุพน พระกลีบจำปาพิมพ์ใหญ๋ พระท่ามะปราง พระอู่ทองกำแพง พระนางพญาตราตาราง และพิมพ์อื่นๆ  

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,145